ท่านที่ชำระค่าสินค้าผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส โปรดระวัง !

ผมขอใช้เรื่องหรือบทเรียนนี้ในการแจ้งให้ประชาชนทั่วไปทราบ เผื่อท่านที่ยังไม่โดน จะได้หาทางป้องกัน ไม่เสียเงินฟรี เสียเวลา และเสียความรู้สึก  และส่วนหนึ่งก็เป็นการสอบถามและหาข้อมูลเพิ่มเติมไปในตัว ว่าในเขตพื้นอื่น ๆ มีเหตุ หรือ กรณีแบบนี้เคยเกิดขึ้นหรือไม่



เรื่องมีอยู่ว่า

        เกี่ยวข้องกับค่าประกันสังคมสำหรับผู้ที่อดีตเคยเป็นพนักงานในโรงงานมาก่อน แต่ปัจจุบันได้ออกจากงานมาแล้ว  และมีความประสงค์จะค่าประกันสังคมต่อ  เรียกว่ามาตรา 39
ก็คือเป็นค่าประกันสังคมสำหรับผู้ที่เคยทำงานในโรงงานมาก่อน แต่ปัจจุบันอกจากงานมาแล้ว และต้องการจ่ายค่าประกันสังคมต่อเอง ก็จะเกี่ยวข้องกับ
มาตรา 39 นี้ คือชำระเอง จะไม่มีส่วนของนายจ้างแล้ว  คาดว่าหลาย ๆ ท่านที่เคยทำงานคงทราบดี
       ซึ่งแต่ละเดือนก็จะไปชำระที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสตามปกติประจำ  เพราะง่าย อยู่ไกล้และสดวกดี ชำระได้ตลอด ไม่เว้นวันหยุดราชการ   ซึ่งบางเดือนอาจจะช้าบ้าง ติดค้างบ้าง แต่ก็ชำระมาโดยตลอด  ไม่เคยปล่อยให้ค้างนานเกิน 3 - 4 เดือน เพราะมิฉะนั้นจะโดนตัดสิทธิ
        โดยหารู้ไม่ว่ากำลังจะเสียเงินไปฟรี ๆ       โดยอยู่มาวันหนึ่ง  วันดีคืนดีก็มีหนังสือส่งมาจากประกันสังคม ว่าเราค้างชำระค่าประกันสังคมเป็นเวลา 4 เดือน  บางเดือนเป็นของปี 2555  ก็มี  แล้วมันก็เป็นในเดือนที่เราไม่ได้เก็บใบสลิปที่เราชำระไว้ด้วยนะ 2 เดือนล่าสุดที่เราเก็บใบสลิปที่ชำระไว้ก่อนนี้ไม่เป็น  ดันไปเป็นอีก 3 -4  ถัดไปโน้น รวมไปถึงของปีที่แล้วด้วย
คือสลิปจากการชำระ ถ้ามันนานเกินบางทีก็ไม่ได้เก็บไว้ครับ
         พอตรวจสอบผ่านเคาเตอร์เซอวิสถึงเดือนที่ค้างชำระ ก็บอกไม่มี   พอจะให้ตรวจตรวจเช็คมีว่าเดือนใหนที่ชำระไปแล้วมั่ง  ก็บอกไม่มีนโยบาย
      ซึ่ง เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะคนเดียว และไม่ได้มีเดือนเดียวที่ค้างชำระ  แต่มีหลายคนและคนละหลายเดือน   และถ้าเรื่องเกิดขึ้นกับคน 10 คน 100 คน หรือ 1,000 คน  
คิดดูว่าเงินจะเป็นเท่าไหร่


ด้วยเหตุนี้จึงเกิดคำถามขึ้นในใจว่า   ????????????????


ในส่วนของเคาน์เตอร์เซอร์วิส

1.ในด้านของข้อมูลต่าง ๆ เช่น ยอดเงินที่รับชำระของลูกค้าแต่ละคน  หรือจำนวนเงินที่ถ่ายโอนเข้าออก ของเคาน์เตอร์เซอร์วิสมีความเชื่อถือเที่ยงตรงมากน้อยเพียงใด
2.การให้บริการ เอาใจใส่ต่อลูกค้าหรือเปล่า  หรือชำระเสร็จเสียค่าบริการแล้วก็จบทันที
3.มีการจัดเก็บข้อมูลไว้เพื่อเป็นหลักฐานหรือไม่
4.กรณีที่มีระบบการจัดเก็บข้อมูล  ระบบนั้นมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
5.กรณีที่มีการจัดเก็บข้อมูล    เหตุใดจึงไม่สามารถตรวจเช็คข้อมูลการรับชำระย้อนหลังได้
6.ข้อมูลต่าง ๆ สามารถตรวจสอบ ตรวจเช็ค ยืนยัน  ในภายหลังได้หรือไม่
7.ระบบการเชื่อมโยงข้อมูลการรับชำระหว่างเคาเตอร์เซอร์ กับ องค์พานิชต่าง ๆ  เช่น อิออน  ไฟฟ้า หรือ ประกันสังคมเอง   มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
8.หลังจากชำระค่าสินค้าต่าง ๆ  แล้ว  เงินเหล่านั้นจะถูกเก็บไว้ที่ระบบของเคาน์เตอร์เซอร์วิสก่อน  หรือว่าเงินจะถูกโอนไปยังปลายทางทันที


ในส่วนของประกันสังคม

1.การลิ้งค์ข้อมูลระหว่างประกันสังคมกับเคาน์เตอร์เซอร์วิส มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
2.นอกเหนือจากตัวเลขจำนวนเงินของผู้ประกันตนที่โชว์อยู่หน้าเครื่อง  มีข้อมูลอื่น ๆ อีกหรือไม่ที่จะสามารถตรวจเช็คหรือให้การยืนยันได้ว่า ข้อมูลนั้นถูกต้องจริง ๆ
3.ข้อมูลการรับชำระต่าง ๆ  สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้หรือไม่
4.ความถูกต้องข้อมูลมีมากน้อยเพียงใด
5.ระบบการรับชำระของประกันสังคม ยกเว้นกรณีที่ไปชำระเอง   มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง ครบถ้วน เที่ยงตรง  หรือเปล่า
6.หลักเกณท์หรือข้อกำหนดในการชำระค่าประกันสังคมของผู้ประกันตนจะต้องชำระไม่เกิน  หรือระหว่างวันที่เท่าไหร่ของแต่ละเดือน  กรณีที่ชำระเกินวันที่กำหนดไว้   เงินที่ผู้ประกันตน  จะไปถึงประกันสังคมหรือไม่ หรือยังค้างอยู่ที่ระบบของเคาน์เตอร์เซอร์วิส
7. ตามข้อกำหนด ของประกันสังคมจริง ๆ   ผู้ประกันตน มีสิทธค้างชำระได้ไม่เกินกี่เดือน
7.กรณีที่เกิดเหตุการณ์ หรือกรณีในลักษณะนี้ขึ้น  ประกันสังคมให้การช่วยเหลือ  หรือหาทางออก  หรือให้คำแนะนำ อะไรบ้างที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน   หรือช่วยเหลืออะไรไม่ได้เลย  ประชาชนต้องเสียเงิน พร้อมดอกเบี้ย ให้กับประกันสังคมใหม่และเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น



ผมไม่รู้ว่าท่านที่ชำระค่าสินค้าอื่น ๆ  ที่ไม่ใช่ค่าประกันสังคม จะเคยเจอเหตุการหรือกรณีเดียวกันนี้หรือเปล่า  จึงอยากจะให้ผู้ที่ได้รับความเสียหาย  หรือผู้ที่สามารถให้คำแนะนำ และให้ความกระจ่าง
ในเรื่องนี้ออกมาช่วยกันให้ข้อมูลกันเยอะ ๆ ครับ



สุดท้ายจึงอยากจะขอใช้บทเรียนนี้เตือนไปยังประชาชนทั่วไปว่า  กรณีที่ท่านหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะใช้เคาเตอร์เซอวิส ในการชำระค่าสินค้า  ไม่ว่าจะเป็นอิออน , ค่าน้ำ , ค่าไฟ  หรือสารพัดค่าอื่น ๆ  อะไรก็แล้วแต่  โปรดเก็บสลิปไว้อย่าทิ้งไม่ต่ำกว่า 3 ปีเป็นอย่างน้อย   เพราะเมื่อชำระเสร็จก็จบทันที  เคาน์เตอร์เซอร์วิส ไม่ได้รับผิดชอบอะไรต่าง ๆ ให้ทั้งสิ้น  ท่านได้เพียงกระใบหนึ่งมาเท่านั้น  หลักฐานที่จะใช้ยืนยัน
การชำระเงินของท่านได้ มีเพียงกระดาษใบเดียวที่อยู่ในมือของท่านเท่านั้น
หรือถ้าไม่อยากเสี่ยง   ให้ใช้ทางเลือกอื่นที่ดีกว่ามีประสิทธิภาพมากว่า มีความน่าเชื่อถือ สามารถตรวจเช็คข้อมูลย้อนกลับได้เช่น ชำระโดยหักจากบัญชีธนาคาร หรือ ชำระในอินเตอร์เน็ตผ่านเว็บของธนาคารที่เราเปิดบัญชีอยู่  หรือไม่ก็ไปชำระด้วยตัวท่านเองจะดีที่สุดครับ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
หลักฐานก็ไม่เอามาแสดง
พูดปากเปล่า ใครก็ไม่เชื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่