เป็นข่าวทางเศรษฐกิจที่น่าตกใจอยู่ไม่น้อย หลังจากที่คนงานของบริษัทสหฟาร์ม จ.ลพบุรี รวมตัวกันประท้วง เนื่องจากไม่ได้รับเงินเดือนค่าจ้าง ซึ่งสามในสี่ของคนงานทั้งหมดเป็นแรงงานต่างด้าว เหตุการณ์ก็จบลงด้วยบริษัทสหฟาร์ม ยินยอมจ่ายเงินค่าแรงให้ 50% ก่อน และจะจ่ายให้อีกภายในเดือนนี้ แต่คนงานกว่า 4,000 คน ก็ต้องตกงานชั่วคราว เพราะ “บริษัท สหฟาร์ม” ประกาศขอปิดกิจการในส่วนลูกจ้างแรงงานต่างด้าว 3 – 4 เดือน โดยรองผู้จัดการใหญ่บริษัทสหฟาร์มจำกัด ได้ออกมาประกาศปิดกิจการของบริษัท โดยให้เหตุผลว่า บริษัทประสบปัญหาการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท และที่ผ่านมาต้นทุนวัตถุดิบ มีราคาสูงขึ้นและบริษัทต่างประเทศที่ส่งออกไป มีปัญหาขาดสภาพคล่อง
บริษัท สหฟาร์ม จำกัด ถือเป็นโรงงานชำแหละไก่สด และเป็นผู้ส่งออกไก่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เริ่มก่อตั้งแต่มาปีพ.ศ. 2512 หรือก่อตั้งมาแล้ว 44 ปี ด้วยมีกำลังการผลิตมากกว่า 350000-500000 เมตริตัน หากประเมินภาพรวมจากสถานะบริษัทแล้ว บริษัทก็น่าจะมีสภาพคล่องที่ดีระดับหนึ่งแต่ยังได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นถึงขนาดต้องปิดกิจการในบางส่วน หากเทียบกับบริษัทขนาดเล็ก หรือเอสเอ็มอี ที่มีสายป่าน หรือเงินหมุนเวียนน้อยกว่ามากจะมีสภาพอย่างไร หากไม่สามารถปรับตัวรับผลกระทบจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้
นโยบายปรับค่าแรง 300 บาทเกิดขึ้นทั่วประเทศ ตามนโยบายหาเสียงของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2556 จนถึง 1ไตรมาส สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้จัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นจากสมาชิกอุตสาหกรรมทั่วประเทศ เกี่ยวกับผลกระทบที่ได้รับจากการปรับค่าจ้าง พบว่าผู้ประกอบการซึ่งส่วนใหญ่เป็น SME ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 80 ของทั้งประเทศ ได้รับผลกระทบจนถึงธุรกิจประสบการขาดทุน คิดเป็นร้อยละ 80 ขณะที่ร้อยละ 23.33 ขาดสภาพคล่อง ร้อยละ 10.42 อาจจะต้องปิดกิจการ ซึ่งหากรัฐบาลไม่มีมาตรการช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรมอาจทำให้ต้องมีการลดปริมาณการผลิต ซึ่งนำไปสู่การลดจำนวนพนักงาน/แรงงานรวมไปถึงการเลิกจ้างผล ส่วนร้อยละ 58 ยังคิดว่าสามารถประคองธุรกิจได้
ส่วนแนวคิดในด้านการลงทุนไปต่างประเทศ ส่วนใหญ่ร้อยละ 60 แจ้งว่าไม่เคยคิดที่จะย้ายฐานการผลิต แต่ผู้ประกอบการร้อยละ 26 มีแนวคิดจะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน คือ ประเทศกัมพูชา พม่า และลาว เนื่องจากมีต้นทุนต่ำกว่าไทย อันดับค่าแรงขั้นต่ำของประเทศในอาเซียน
ทั้งนี้หากเปรียบเทียบอันดับอัตราค่าแรงในกลุ่มประเทศอาเซียน หลังไทยประกาศใช้ค่าแรง 300 บาททั่วประเทศพบว่า สิงคโปร์มีอัตราค่าแรงสูงเป็นอันดับ1 เฉลี่ยที่ 1,912.7 บาทต่อวัน รองลงมา ฟิลิปปินส์ 300.7 บาทต่อวัน และไทยขึ้นมาครองแชมป์อยู่ที่อันดับ 3 ที่ค่าแรง 300 บาทต่อวัน ขณะที่ มาเลเซีย 260.4 บาท อินโดนีเซีย 155 บาท ลาว 93 บาท และ เวียดนาม 77.5 บาทต่อวัน
นอกจากนี้ใน ช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมา ยังพบ ปริมาณเช็คเด้งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยส่วนใหญ่เกิดจากผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งได้รับผลกระทบด้านต้นทุนที่สูงขึ้น เนื่องจากอัตราค่าแรง 300 บาท รวมถึงการแข็งค่าของเงินบาทที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่สามารถรับออร์เดอร์การผลิตได้และนำไปสู่การขาดสภาพคล่อง ขณะที่ผู้ประกอบการอีกส่วนที่ไม่ได้ส่งออกก็ได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อของคนไทยที่ชะลอตัวช่วงต้นปี ซึ่ง ส.อ.ท.ประเมินว่า ธุรกิจSMEs ต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น เนื่องจากสัญญาณครึ่งปีหลังตลาดในประเทศยังไม่มีปัจจัยใดที่จะทำให้แรงซื้อคนไทยฟื้นตัว ขณะที่ประเทศคู้ค้าที่สำคัญ เช่น ยุโรป สหรัฐฯ และ จีน เศรษฐกิจก็มีปัญหา ย่อมมีผลต่อภาคการส่งออกของไทยให้ชะลอตัวลงตามไปด้วยอย่างแน่นอน
www.tnews.co.th/html/news/62467/สหฟาร์มปิดกิจการ-กรณีตัวอย่างธุรกิจไทยกระอักพิษ!!-ค่าแรง-300-บาท.html
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://news.ch7.com/detail/37545/สหฟาร์มที่ลพบุรียังไม่ปิดกิจการ.html
"สหฟาร์มปิดกิจการ" กรณีตัวอย่างธุรกิจไทยกระอักพิษ!! ค่าแรง 300 บาท???
บริษัท สหฟาร์ม จำกัด ถือเป็นโรงงานชำแหละไก่สด และเป็นผู้ส่งออกไก่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เริ่มก่อตั้งแต่มาปีพ.ศ. 2512 หรือก่อตั้งมาแล้ว 44 ปี ด้วยมีกำลังการผลิตมากกว่า 350000-500000 เมตริตัน หากประเมินภาพรวมจากสถานะบริษัทแล้ว บริษัทก็น่าจะมีสภาพคล่องที่ดีระดับหนึ่งแต่ยังได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นถึงขนาดต้องปิดกิจการในบางส่วน หากเทียบกับบริษัทขนาดเล็ก หรือเอสเอ็มอี ที่มีสายป่าน หรือเงินหมุนเวียนน้อยกว่ามากจะมีสภาพอย่างไร หากไม่สามารถปรับตัวรับผลกระทบจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้
นโยบายปรับค่าแรง 300 บาทเกิดขึ้นทั่วประเทศ ตามนโยบายหาเสียงของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2556 จนถึง 1ไตรมาส สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้จัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นจากสมาชิกอุตสาหกรรมทั่วประเทศ เกี่ยวกับผลกระทบที่ได้รับจากการปรับค่าจ้าง พบว่าผู้ประกอบการซึ่งส่วนใหญ่เป็น SME ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 80 ของทั้งประเทศ ได้รับผลกระทบจนถึงธุรกิจประสบการขาดทุน คิดเป็นร้อยละ 80 ขณะที่ร้อยละ 23.33 ขาดสภาพคล่อง ร้อยละ 10.42 อาจจะต้องปิดกิจการ ซึ่งหากรัฐบาลไม่มีมาตรการช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรมอาจทำให้ต้องมีการลดปริมาณการผลิต ซึ่งนำไปสู่การลดจำนวนพนักงาน/แรงงานรวมไปถึงการเลิกจ้างผล ส่วนร้อยละ 58 ยังคิดว่าสามารถประคองธุรกิจได้
ส่วนแนวคิดในด้านการลงทุนไปต่างประเทศ ส่วนใหญ่ร้อยละ 60 แจ้งว่าไม่เคยคิดที่จะย้ายฐานการผลิต แต่ผู้ประกอบการร้อยละ 26 มีแนวคิดจะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน คือ ประเทศกัมพูชา พม่า และลาว เนื่องจากมีต้นทุนต่ำกว่าไทย อันดับค่าแรงขั้นต่ำของประเทศในอาเซียน
ทั้งนี้หากเปรียบเทียบอันดับอัตราค่าแรงในกลุ่มประเทศอาเซียน หลังไทยประกาศใช้ค่าแรง 300 บาททั่วประเทศพบว่า สิงคโปร์มีอัตราค่าแรงสูงเป็นอันดับ1 เฉลี่ยที่ 1,912.7 บาทต่อวัน รองลงมา ฟิลิปปินส์ 300.7 บาทต่อวัน และไทยขึ้นมาครองแชมป์อยู่ที่อันดับ 3 ที่ค่าแรง 300 บาทต่อวัน ขณะที่ มาเลเซีย 260.4 บาท อินโดนีเซีย 155 บาท ลาว 93 บาท และ เวียดนาม 77.5 บาทต่อวัน
นอกจากนี้ใน ช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมา ยังพบ ปริมาณเช็คเด้งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยส่วนใหญ่เกิดจากผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งได้รับผลกระทบด้านต้นทุนที่สูงขึ้น เนื่องจากอัตราค่าแรง 300 บาท รวมถึงการแข็งค่าของเงินบาทที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่สามารถรับออร์เดอร์การผลิตได้และนำไปสู่การขาดสภาพคล่อง ขณะที่ผู้ประกอบการอีกส่วนที่ไม่ได้ส่งออกก็ได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อของคนไทยที่ชะลอตัวช่วงต้นปี ซึ่ง ส.อ.ท.ประเมินว่า ธุรกิจSMEs ต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น เนื่องจากสัญญาณครึ่งปีหลังตลาดในประเทศยังไม่มีปัจจัยใดที่จะทำให้แรงซื้อคนไทยฟื้นตัว ขณะที่ประเทศคู้ค้าที่สำคัญ เช่น ยุโรป สหรัฐฯ และ จีน เศรษฐกิจก็มีปัญหา ย่อมมีผลต่อภาคการส่งออกของไทยให้ชะลอตัวลงตามไปด้วยอย่างแน่นอน
www.tnews.co.th/html/news/62467/สหฟาร์มปิดกิจการ-กรณีตัวอย่างธุรกิจไทยกระอักพิษ!!-ค่าแรง-300-บาท.html
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้