http://www.gmwebsite.com/webboard/Topic.asp?TopicID=Topic-080723102829207
"เซ็นเป็นสายสุญญตาโดยเฉพาะ เฉพาะ มหาสุญญตาสูตรนี้ เป็นปัญญาวิมุติล้วน แทบจะไม่มีเรื่องอภินิหาร (ขอโทษ) เรื่องงมงายแทบไม่มี สติปัฏฐานสี่ มรรคแปด โพธิปักขิยธรรม อยู่ในนั้นครบ
ที่ถูกใจท่านพุทธทาสมากที่สุดคือ มหาสติปัฏฐานสี่ของไทยเรามี กาย เวทนา จิต ธรรม เขาบอกว่า พิจารณาเห็นกายในกาย เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้ครบ แต่ไ
ทยเน้นแต่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สุญญตาแทบไม่เคยได้พูด ยกเว้นแต่ที่เจ้าคุณพุทธทาส ยกมา ท่านเป็นคนบุกเบิกสุญญตา อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เราได้ยินกันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ตามหลักเซ็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และสุดท้ายเป็นสุญญตา สามอย่างแรกแปลเหมือนกันคือ อนิจจังแปลว่าไม่ เที่ยง ทุกขังคือทนอยู่ไม่ได้ แต่เซ็นเติมไปอีกนิดว่า "ยึดมั่นเป็นทุกข์" ไทยไม่พูดคำนี้ ใช้แต่ว่า "ทนอยู่ไม่ได้" แล้วอนัตตา "ใช่ตัวใช่ตน ไม่มีตัวตน" แปลความหมายตรงกันทั้งสามคำ แต่เซ็นเติมว่า
ถ้าเอามหาสุญญตาสูตร เป็นหลัก สามอย่างนี้ยังเป็นโลกีย ธรรม ไม่ใช่โลกุตตระ เพราะอนิจจัง จิตยังปรุงแต่ง ทุกขังก็ยังปรุงแต่ง อนัตตาก็ยังปรุงแต่ง ต้องจิตหลุดพ้นจากความคิดปรุงแต่ง นั่นถึงจะเป็นสุญญตาเป็นนิพพาน ตราบใดยังอยู่ที่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จิตเธอยังปรุงแต่ง จิตยังวนเวียนเกิดดับ ยังเป็นโลกีย์ ไม่เป็นโลกุตตระ จิตต้องหลุดพ้นจากกระแสดึงดูดของโลกีย์ จึงจะเป็นสุญญตา อันนี้เป็นสิ่งที่เร้าใจให้ท่านศึกษาเซ็น

เมื่อ"เจ้าคุณนรรัตน์"รับรอง"สุญญตา"ของ"พุทธทาสภิกขุ"
"เซ็นเป็นสายสุญญตาโดยเฉพาะ เฉพาะ มหาสุญญตาสูตรนี้ เป็นปัญญาวิมุติล้วน แทบจะไม่มีเรื่องอภินิหาร (ขอโทษ) เรื่องงมงายแทบไม่มี สติปัฏฐานสี่ มรรคแปด โพธิปักขิยธรรม อยู่ในนั้นครบ
ที่ถูกใจท่านพุทธทาสมากที่สุดคือ มหาสติปัฏฐานสี่ของไทยเรามี กาย เวทนา จิต ธรรม เขาบอกว่า พิจารณาเห็นกายในกาย เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้ครบ แต่ไทยเน้นแต่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สุญญตาแทบไม่เคยได้พูด ยกเว้นแต่ที่เจ้าคุณพุทธทาส ยกมา ท่านเป็นคนบุกเบิกสุญญตา อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เราได้ยินกันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ตามหลักเซ็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และสุดท้ายเป็นสุญญตา สามอย่างแรกแปลเหมือนกันคือ อนิจจังแปลว่าไม่ เที่ยง ทุกขังคือทนอยู่ไม่ได้ แต่เซ็นเติมไปอีกนิดว่า "ยึดมั่นเป็นทุกข์" ไทยไม่พูดคำนี้ ใช้แต่ว่า "ทนอยู่ไม่ได้" แล้วอนัตตา "ใช่ตัวใช่ตน ไม่มีตัวตน" แปลความหมายตรงกันทั้งสามคำ แต่เซ็นเติมว่า ถ้าเอามหาสุญญตาสูตร เป็นหลัก สามอย่างนี้ยังเป็นโลกีย ธรรม ไม่ใช่โลกุตตระ เพราะอนิจจัง จิตยังปรุงแต่ง ทุกขังก็ยังปรุงแต่ง อนัตตาก็ยังปรุงแต่ง ต้องจิตหลุดพ้นจากความคิดปรุงแต่ง นั่นถึงจะเป็นสุญญตาเป็นนิพพาน ตราบใดยังอยู่ที่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จิตเธอยังปรุงแต่ง จิตยังวนเวียนเกิดดับ ยังเป็นโลกีย์ ไม่เป็นโลกุตตระ จิตต้องหลุดพ้นจากกระแสดึงดูดของโลกีย์ จึงจะเป็นสุญญตา อันนี้เป็นสิ่งที่เร้าใจให้ท่านศึกษาเซ็น