โรคแพ้อาหารและผื่นภูมิแพ้ เป็นโรคที่หลายๆ คนกังวลว่าลูกเราจะเป็นหรือเปล่านะ
ทั้งแพ้นมวัว แพ้ไข่ แพ้แป้ง แพ้อาหารทะเล ผื่นภูมิแพ้ โรคหอบหืด เยอะแยะไปหมด ทำยังไงจึงจะลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้ วันนี้เรามาดูกันคะ
... จากการรวบรวมข้อมูลพบว่าโรคแพ้อาหารและผื่นภูมิแพ้เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชีย
การศึกษาจากประเทศออสเตรเลียเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคภูมิแพ้อาหาร
พบว่าความเสี่ยงจะมากขึ้นในกลุ่มเชื้อชาติเอเชียมากกว่าชนชาติอื่นๆ โดยเชื่อว่าเป็นผลมาจากการรับประทานอาหารแบบตะวันตกมากขึ้น
... นอกจากนี้ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้น ถ้ามีประวัติครอบครัวเป็นภูมิแพ้โดยเฉพาะถ้าคุณแม่เป็นภูมิแพ้
ลูกจะมีโอกาสเป็นภูมิแพ้ได้ประมาณ 30-50% แต่ถ้าพ่อเป็นภูมิแพ้ ความเสี่ยงก็จะเหลือประมาณ 30%
และความเสี่ยงจะเยอะที่สุดถ้าเป็นภูมิแพ้ทั้งพ่อและแม่ ประมาณ 60-70%
แต่ถ้าไม่ใช่พ่อแม่ แต่เป็นน้องของพ่อ หลานของตา อันนี้ไม่เกี่ยวนะคะ
คราวนี้มาดูกันว่าปัจจัยที่มีผลในระหว่างการตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง
ปัจจัยแรกก็เป็นเรื่องของพันธุกรรม ได้แก่เชื้อชาติและประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวดังที่ได้บอกไปแล้วข้างต้น
ปัจจัยต่อมาก็คืออายุครรภ์ที่สัมผัสสารก่อภูมิแพ้และปริมาณของสารก่อภูมิแพ้ที่ได้รับ
... โดยทั่วไปถ้าได้รับสารก่อภูมิแพ้ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ไม่ค่อยมีผลอะไรมากนักกับความเสี่ยงในการเกิดภูมิแพ้ในอนาคต
แต่ถ้าได้รับสารก่อภูมิแพ้ในช่วงไตรมาสที่ 2 ขึ้นไปก็อาจจะมีผลขึ้นกับปริมาณของสารก่อภูมิแพ้ที่ได้รับ
ถ้าได้รับในขนาดที่น้อยถึงน้อยมากก็จะไม่มีผลอะไร แต่ถ้าได้รับในขนาดปานกลางก็อาจจะกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทาน
แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่มากเกินไป ก็อาจจะก่อให้เกิดการแพ้
... แต่ถ้าได้รับหลังคลอด ในปริมาณเล็กน้อยก็จะไม่มีผล แต่ถ้าปริมาณมากก็จะทำให้เกิดการแพ้
... สารก่อภูมิแพ้ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงไรฝุ่น หรือขนสัตว์อะไรนะคะ เพราะว่าเรากำลังพูดถึงการแพ้อาหาร
และสิ่งต่างๆที่จะสามารถส่งผ่านไปยังทารกได้ ต้องดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและผ่านรกไปยังทารก
ดังนั้นคุณแม่ที่กวาดขยะเจอฝุ่นแล้วจาม ก็ไม่ต้องมานั่งกลัวว่าลูกจะเป็นภูมิแพ้หรือเปล่านะ (-*-)
สารก่อภูมิแพ้ที่พูดถึงในที่นี้ คือ อาหารของคุณแม่นั่นเอง
แล้วจะควรจะกินอย่างไร ถึงจะลดความเสี่ยงได้ล่ะ
คำตอบง่ายๆ คือ กินอาหารแต่ละอย่างในสัดส่วนที่พอดีๆ กัน (balanced diet)
อย่า "โหลด" อาหารอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป
...เช่นพอหมอบอกว่า ให้กินนมเสริมแคลเซียม เกิดมาในชีวิตนี้ไม่เคยกินนมเลย พอท้องกินเข้าไปวันละ 3-4 แก้ว พอคลอดออกมาลูกก็แพ้นมวัว
...บางคนได้ยินเรื่องแพ้นมวัว เลยเปลี่ยนไปกินนมถั่วเหลืองแทน วันนึง 3-4 กล่อง พอคลอดลูกก็แพ้นมถั่วเหลือง
...บางคนพอท้องแล้วไม่รู้อะไร อยากกินแต่พิซซ่า สปาเกตตี้ กินขนมเบเกอร์รี่เช้า เที่ยง เย็น คราวนี้ลูกแพ้หมดเลย นม ไข่ แป้ง ชีสต์ ...
สรุปลูกกินอะไรไม่ได้ซักอย่าง ... อันนี้ไม่ได้ขำนะคะ เค้ามีการศึกษารวบรวมมาแล้วจริงๆ
... บางคนแย่กว่านั้น กินอาหารปกติครบถ้วนแล้ว โหลดนมยังไม่พอ โหลดโปรตีนเสริมที่ขายกันเกลื่อนเข้าไปอีก
เพราะคนนั้นบอกว่าดีคนนี้บอกว่าดี กินมาแล้วตอนท้องอย่างนั้นอย่างนี้ สุดท้ายลูกแพ้โปรตีน อดกินเนื้อสัตว์ไปตลอดชีวิต ... เฮ้อ
เวลาเลือกรับประทานอาหาร ก็เหมือนที่เราเคยเรียนสมัยเด็กๆ กินให้ครบ 5 หมู่ แป้ง เนื้อสัตว์ ไข่ นม ผักและผลไม้
พยายามเปลี่ยนชนิดอาหารให้หลากหลาย อย่าจำเจอยู่แต่ชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น มื้อนี้กินข้าวกับหมูผัดขิง แล้วก็ไข่ต้ม 1 ฟอง
แล้วมื้อต่อไปก็เปลี่ยนเป็น แกงจืดตำลึง กับปลาทอด ตอนเย็นก็กินก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น
เช้ากินไข่ไปแล้ว 1 ฟอง ตอนเที่ยงตอนเย็นอาจจะไม่กินแล้ว
ขนมเค้ก เบเกอร์รี่ก็อาจจะนานๆ ที ไม่ใช่หลังอาหารทุกมื้อต้องตามด้วย After you แบบนี้นอกจากน้ำหนักเกิน อาจจะได้รับแป้ง นม ไข่มากไปก็ได้
พยายามเลือกอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่และให้สมดุลกันดีที่สุดนะคะ
โดยส่วนตัว ไม่เคยแนะนำให้ใครกินอาหารอะไรเพิ่มขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ แต่บอกให้กินแบบพอดีๆ ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่พอเหมาะ
ส่วนอาหารบำรุงก็ไม่เคยแนะนำอะไรเป็นพิเศษเหมือนกัน สามารถอ่านบทความเก่าๆ ได้ตาม link ข้างล่างนะคะ
โดยเฉพาะตอนที่ 2 จะเขียนเกี่ยวกับอาหารของคุณแม่ไว้ค่ะ
----------------------------------------------------------
ตอนที่ 1 การเพิ่มน้ำหนักของคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
http://www.facebook.com/photo.php?fbid=138764226302370&set=a.146340208878105.1073741831.138161163029343&type=3&theater
ตอนที่ 2 อาหารสำหรับคุณแม่
http://www.facebook.com/photo.php?fbid=139592799552846&set=a.146340208878105.1073741831.138161163029343&type=3&theater
ตอนที่ 3 เมื่อว่าที่คุณแม่ติดกาแฟ
http://www.facebook.com/photo.php?fbid=141132272732232&set=a.146340208878105.1073741831.138161163029343&type=3&theater
ตอนที่ 4 กินปลาแล้วลูกจะฉลาด ... จริงหรือเปล่า
http://www.facebook.com/photo.php?fbid=142925705886222&set=a.146340208878105.1073741831.138161163029343&type=3&theater
-----------------------------------------------------------
หมอเมษ์@ใกล้มิตรชิดหมอ
Credit pict -
http://www.ahdubai.com/
กินอย่างไร ... ไม่ทำร้ายลูกในท้อง ตอน กินอย่างไร ลูกจะไม่เสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้อาหารและผื่นแพ้
โรคแพ้อาหารและผื่นภูมิแพ้ เป็นโรคที่หลายๆ คนกังวลว่าลูกเราจะเป็นหรือเปล่านะ
ทั้งแพ้นมวัว แพ้ไข่ แพ้แป้ง แพ้อาหารทะเล ผื่นภูมิแพ้ โรคหอบหืด เยอะแยะไปหมด ทำยังไงจึงจะลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้ วันนี้เรามาดูกันคะ
... จากการรวบรวมข้อมูลพบว่าโรคแพ้อาหารและผื่นภูมิแพ้เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชีย
การศึกษาจากประเทศออสเตรเลียเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคภูมิแพ้อาหาร
พบว่าความเสี่ยงจะมากขึ้นในกลุ่มเชื้อชาติเอเชียมากกว่าชนชาติอื่นๆ โดยเชื่อว่าเป็นผลมาจากการรับประทานอาหารแบบตะวันตกมากขึ้น
... นอกจากนี้ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้น ถ้ามีประวัติครอบครัวเป็นภูมิแพ้โดยเฉพาะถ้าคุณแม่เป็นภูมิแพ้
ลูกจะมีโอกาสเป็นภูมิแพ้ได้ประมาณ 30-50% แต่ถ้าพ่อเป็นภูมิแพ้ ความเสี่ยงก็จะเหลือประมาณ 30%
และความเสี่ยงจะเยอะที่สุดถ้าเป็นภูมิแพ้ทั้งพ่อและแม่ ประมาณ 60-70%
แต่ถ้าไม่ใช่พ่อแม่ แต่เป็นน้องของพ่อ หลานของตา อันนี้ไม่เกี่ยวนะคะ
คราวนี้มาดูกันว่าปัจจัยที่มีผลในระหว่างการตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง
ปัจจัยแรกก็เป็นเรื่องของพันธุกรรม ได้แก่เชื้อชาติและประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวดังที่ได้บอกไปแล้วข้างต้น
ปัจจัยต่อมาก็คืออายุครรภ์ที่สัมผัสสารก่อภูมิแพ้และปริมาณของสารก่อภูมิแพ้ที่ได้รับ
... โดยทั่วไปถ้าได้รับสารก่อภูมิแพ้ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ไม่ค่อยมีผลอะไรมากนักกับความเสี่ยงในการเกิดภูมิแพ้ในอนาคต
แต่ถ้าได้รับสารก่อภูมิแพ้ในช่วงไตรมาสที่ 2 ขึ้นไปก็อาจจะมีผลขึ้นกับปริมาณของสารก่อภูมิแพ้ที่ได้รับ
ถ้าได้รับในขนาดที่น้อยถึงน้อยมากก็จะไม่มีผลอะไร แต่ถ้าได้รับในขนาดปานกลางก็อาจจะกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทาน
แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่มากเกินไป ก็อาจจะก่อให้เกิดการแพ้
... แต่ถ้าได้รับหลังคลอด ในปริมาณเล็กน้อยก็จะไม่มีผล แต่ถ้าปริมาณมากก็จะทำให้เกิดการแพ้
... สารก่อภูมิแพ้ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงไรฝุ่น หรือขนสัตว์อะไรนะคะ เพราะว่าเรากำลังพูดถึงการแพ้อาหาร
และสิ่งต่างๆที่จะสามารถส่งผ่านไปยังทารกได้ ต้องดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและผ่านรกไปยังทารก
ดังนั้นคุณแม่ที่กวาดขยะเจอฝุ่นแล้วจาม ก็ไม่ต้องมานั่งกลัวว่าลูกจะเป็นภูมิแพ้หรือเปล่านะ (-*-)
สารก่อภูมิแพ้ที่พูดถึงในที่นี้ คือ อาหารของคุณแม่นั่นเอง
แล้วจะควรจะกินอย่างไร ถึงจะลดความเสี่ยงได้ล่ะ
คำตอบง่ายๆ คือ กินอาหารแต่ละอย่างในสัดส่วนที่พอดีๆ กัน (balanced diet)
อย่า "โหลด" อาหารอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป
...เช่นพอหมอบอกว่า ให้กินนมเสริมแคลเซียม เกิดมาในชีวิตนี้ไม่เคยกินนมเลย พอท้องกินเข้าไปวันละ 3-4 แก้ว พอคลอดออกมาลูกก็แพ้นมวัว
...บางคนได้ยินเรื่องแพ้นมวัว เลยเปลี่ยนไปกินนมถั่วเหลืองแทน วันนึง 3-4 กล่อง พอคลอดลูกก็แพ้นมถั่วเหลือง
...บางคนพอท้องแล้วไม่รู้อะไร อยากกินแต่พิซซ่า สปาเกตตี้ กินขนมเบเกอร์รี่เช้า เที่ยง เย็น คราวนี้ลูกแพ้หมดเลย นม ไข่ แป้ง ชีสต์ ...
สรุปลูกกินอะไรไม่ได้ซักอย่าง ... อันนี้ไม่ได้ขำนะคะ เค้ามีการศึกษารวบรวมมาแล้วจริงๆ
... บางคนแย่กว่านั้น กินอาหารปกติครบถ้วนแล้ว โหลดนมยังไม่พอ โหลดโปรตีนเสริมที่ขายกันเกลื่อนเข้าไปอีก
เพราะคนนั้นบอกว่าดีคนนี้บอกว่าดี กินมาแล้วตอนท้องอย่างนั้นอย่างนี้ สุดท้ายลูกแพ้โปรตีน อดกินเนื้อสัตว์ไปตลอดชีวิต ... เฮ้อ
เวลาเลือกรับประทานอาหาร ก็เหมือนที่เราเคยเรียนสมัยเด็กๆ กินให้ครบ 5 หมู่ แป้ง เนื้อสัตว์ ไข่ นม ผักและผลไม้
พยายามเปลี่ยนชนิดอาหารให้หลากหลาย อย่าจำเจอยู่แต่ชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น มื้อนี้กินข้าวกับหมูผัดขิง แล้วก็ไข่ต้ม 1 ฟอง
แล้วมื้อต่อไปก็เปลี่ยนเป็น แกงจืดตำลึง กับปลาทอด ตอนเย็นก็กินก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น
เช้ากินไข่ไปแล้ว 1 ฟอง ตอนเที่ยงตอนเย็นอาจจะไม่กินแล้ว
ขนมเค้ก เบเกอร์รี่ก็อาจจะนานๆ ที ไม่ใช่หลังอาหารทุกมื้อต้องตามด้วย After you แบบนี้นอกจากน้ำหนักเกิน อาจจะได้รับแป้ง นม ไข่มากไปก็ได้
พยายามเลือกอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่และให้สมดุลกันดีที่สุดนะคะ
โดยส่วนตัว ไม่เคยแนะนำให้ใครกินอาหารอะไรเพิ่มขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ แต่บอกให้กินแบบพอดีๆ ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่พอเหมาะ
ส่วนอาหารบำรุงก็ไม่เคยแนะนำอะไรเป็นพิเศษเหมือนกัน สามารถอ่านบทความเก่าๆ ได้ตาม link ข้างล่างนะคะ
โดยเฉพาะตอนที่ 2 จะเขียนเกี่ยวกับอาหารของคุณแม่ไว้ค่ะ
----------------------------------------------------------
ตอนที่ 1 การเพิ่มน้ำหนักของคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ http://www.facebook.com/photo.php?fbid=138764226302370&set=a.146340208878105.1073741831.138161163029343&type=3&theater
ตอนที่ 2 อาหารสำหรับคุณแม่ http://www.facebook.com/photo.php?fbid=139592799552846&set=a.146340208878105.1073741831.138161163029343&type=3&theater
ตอนที่ 3 เมื่อว่าที่คุณแม่ติดกาแฟ http://www.facebook.com/photo.php?fbid=141132272732232&set=a.146340208878105.1073741831.138161163029343&type=3&theater
ตอนที่ 4 กินปลาแล้วลูกจะฉลาด ... จริงหรือเปล่า http://www.facebook.com/photo.php?fbid=142925705886222&set=a.146340208878105.1073741831.138161163029343&type=3&theater
-----------------------------------------------------------
หมอเมษ์@ใกล้มิตรชิดหมอ
Credit pict - http://www.ahdubai.com/