ผมถึงบางอ้อแล้วว่า ทำไมไทยจึงสูญเสียเขาพระวิหารให้เขมรเมื่อ 50 ปีก่อน

เพราะ    คนไทยเปิดเผยข้อมูลที่จะให้ต่อสู้กันในชั้นศาล  ซึ่งวันนี้มีคนไทยเปิดเผยข้อมูลออกสื่อแล้ว    และสื่อผู้จัดการก็ได้นำเสนอไปแล้ว  ตอนนี้ฝ่ายเขมรได้เตรียมรับมือการต่อสู้ด้วยข้ออ้างของฝ่ายไทยไว้เรียบร้อยแล้ว   โอเค.. ตอนนี้ฝ่ายเขมรรู้แล้วว่า ฝ่ายไทยจะสู้ด้วยวิธีใด  แล้วฝ่ายไทยรู้ไหมว่า  ฝ่ายเขมรเขาจะสู้ด้วยวิธีใด  สื่อเขมรเขาออกข่าวไหม  ว่าเขาจะสู้ด้วยวิธีไหน  เขาอุบเงียบหมด  ตอนนี้ทุกคนทำใจกับคดีนี้ไว้ได้แล้ว    
........................................................


แหล่งข่าวเผย "ทูตวีรชัย" ยกเลิกแถลงข่าวเมื่อวาน เพื่อเตรียมความพร้อมสู้คดีพระวิหาร เล็งแจงแนวทางต่อสู้ในคืนนี้แทน
      
       วันนี้ (15เม.ย.) วันนี้ แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลแจ้งว่า เอกอัครราชทูตวีรชัย พลาศรัย" ได้แจ้งยกเลิกแถลงข่าวจากกรุงเฮกเมื่อเวลา 23.30น. คืนที่ผ่านมา" เพื่อเตรียมความพร้อมในการสู้คดีปราสาทพระวิหาร
      
       อย่างไรก็ตามค่ำวันนี้ นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัคราชทูตไทยประจำกรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ ในฐานะตัวแทนประเทศไทยในการต่อสู้คดีปราสาทเขาพระวิหารในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จะเปิดเผยถึงแนวทางการต่อสู้คดี ที่ประกอบไปด้วย
      
       1. ศาลโลก ไม่มีอำนาจรับคำร้องของกัมพูชา เนื่องจากเป็นคดีใหม่ ไม่เกี่ยวกับคดีเดิมที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตัดสินไปแล้วในปี 2505
      
       2. กัมพูชาอ้างธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ข้อ 60 อย่างไม่ถูกต้อง เพราะคำตัดสินของศาลฯถึอเป็นที่สุดไม่มีการอุทธรณ์ กรณีของกัมพูชาเปรียบเสมือนการยื่นอุทธรณ์คดีเดิม
      
       3. หลังคำพิพากษาปี 2505 ตลอด 50 ปีที่ผ่านมาไม่เคยมีข้อขัดแย้งเกี่ยวกับคำพิพากษาดังกล่าว แต่กัมพูชาเพิ่งเปลี่ยนท่าทีเมื่อไม่นานมานี้
      
       4. คำร้องของกัมพูชาขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิพากษาเรื่องแผนที่และเขตแดน ซึ่งเป็นประเด็นที่กัมพูชาเคยยื่นคำร้องต่อศาลมาแล้วตั้งแต่ปัี 2505 แต่ศาลปฏิเสธ การยื่นร้องซ้ำจึงเหมือนกับการยื่นอุทธรณ์คดีเดิมซึ่งทำไม่ได้
      
       5. ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างไทย - กัมพูชา เป็นเรื่องใหม่ ไม่เกี่ยวข้องกับคำพิพากษาปี 2505
      
       6. หลักการของศาลฯคือ ต้องดูบริบทคำพิพากษาทั้งฉบับ แต่ข้อความที่จะนำไปตีความนั้น ต้องเป็นข้อบทปฏิบัติการที่อยู่ในคำตัดสินเท่านั้น ส่วนที่จะตีความตัดสินนั้น ต้องแยกไม่ได้จากส่วนตัดสิน ต้องไม่เกินขอบเขตจากที่ศาลเคยตัดสินไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่