********* ได้พยายามหาข้อมูลว่า ทำไมจึงมีพระธรรมในพระสูตรว่า พระอภิธรรม มี 7 ปกรณ์ ทั้งที่มีการแสดงว่าปกรณ์ กถาวัตถุ

1.  จากที่ีมีข้อสงสัย ที่ยังไม่มีคลี่คลาย(ส่วนตัว)เกี่ยวกับพระอภิธรรม  ว่าทำไมจึงนับเป็น 7 ปกรณ์ ( 7 คัมภีร์)(ปกรณ์ หมายถึง คัมภีร์) คัมภีร์)  
              
               2. และขณะนี้มีการตั้งกระทู้สอบถามเรื่องเดียวกัน

               3.  จึงได้พยายามหาข้อมูลว่า  ทำไมจึงมีพระธรรมในพระสูตรว่า พระอภิธรรม มี 7 ปกรณ์ ทั้งที่มีการแสดงว่าปกรณ์ กถาวัตถุ  เป็นปกรณ์ที่แต่งขึ้นใหม่  

               4.    ได้พบข้อมูล ที่แสดงไว้   จึงนำมาเพื่อร่วมกันพิจารณา  จะเห็นเช่นใด ก็ขอแสดงด้วยเหตุด้วยผล ขอให้งดเว้นการกล่าวร้ายใดๆ

               5.    ทั้งได้พบ พระธรรม ที่กล่าวถึง พระวินัย พระธรรม พระอภิธรรม ครบ ในพระไตรปิฎก ด้วย  จึงขอนำมาเพื่อร่วมพิจารณา

------------------------------------------

ข้อมูลตามข้อ 4.  ทำไม พระอภิธรรม จึงเป็น 7 ปกรณ์ ตามพระสูตร

ในข้อความถามตอบ  ท่านผู้ตั้งคำถาม(สกวาที)เป็นผู้เข้าใจถูกต้อง
                             ท่านผู้ตอบ(ปรวาที) เป็นผู้เข้าใจผิด

คำถามบางข้อ ท่านผู้ตั้งคำถาม(สกวาที) ตั้งคำถามเอง ตอบเอง เพื่อแสดงให้(ปรวาที)ทราบและเข้าใจได้ถูกต้อง
--------------------------------------------

http://www.online-english-thai-dictionary.com/definition.aspx?data=2&word=%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5
สกวาที แปลว่า

1.น. ผู้กล่าวถ้อยคำฝ่ายตน, คู่กับ ปรวาที ผู้กล่าวถ้อยคำฝ่ายอื่น คือผู้คัดค้าน.2.น. ผู้กล่าวคำของตน ในการเทศน์ ๒ ธรรมาสน์ พระผู้ทำหน้าที่ถามเรียกว่า สกวาที (กล่าวคำของตน) ผู้ทำหน้าที่ตอบเรียกว่า ปรวาที (กล่าวคำของคนอื่น).
source : อ.เปลื้อง ณ.นคร

สกวาที : น. ผู้กล่าวถ้อยคําฝ่ายตน คือ ฝ่ายเสนอหรือฝ่ายถาม, คู่กับ ปรวาที. (ป.).

------------------------------------------------------------

******************************************************************************************************
http://www.thepalicanon.com/91book/book75/001_050.htm
...
...
...


ว่าโดยปกรณ์  ๗



ว่าโดยการกำหนดปกรณ์    พระอภิธรรมนี้ทรงตั้งไว้ด้วยอำนาจปกรณ์
๗  คือ
๑.  ธรรมสังคณีปกรณ์
๒.  วิภังคปกรณ์
๓.  ธาตุกถาปกรณ์
๔.  ปุคคลบัญญัติปกรณ์
๕.  กถาวัตถุปกรณ์
๖.  ยมกปกรณ์
๗.  ปัฏฐานปกรณ์



พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 13

นี้เป็นกถาที่เหมือนกันของอาจารย์ทั้งหลายในอรรถกถานี้  ส่วนอาจารย์
วิตัณฑวาที  (ผู้ค้าน)  กล่าวว่า  เพราะเหตุไรจึงถือเอากถาวัตถุด้วย  กถาวัตถุนั้น
พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระตั้งไว้เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว  ๒๑๘
ปี  มิใช่หรือ ?   ฉะนั้น   ขอให้ตัดเอากถาวัตถุนั้นออก  เพราะเป็นสาวกภาษิต
ดังนี้.


สกวาที  ถามว่า   ก็ปกรณ์  ๖  จะเป็นพระอภิธรรมได้หรือ  ?
ปรวาที  ตอบว่า   ข้าพเจ้ามิได้กล่าวอย่างนั้น.

ส.   ถามว่า   ถ้าอย่างนั้นท่านกล่าวอย่างไร  ?
ส.   ตอบว่า   ข้าพเจ้ากล่าวว่า  ปกรณ์  ๗ ชื่อว่า  อภิธรรม.
ส.   ถามว่า    ท่านเอาปกรณ์ไหนมาเป็นปกรณ์ที่  ๗  ?

ป.   ตอบว่า   ปกรณ์ชื่อว่ามหาธรรมหทัยมีอยู่  รวมกับปกรณ์ ๖
ก็เป็น ๗ ปกรณ์.

ส.  กล่าวว่า ในมหาธรรมหทัยปกรณ์ไม่มีอะไรที่ไม่เคยกล่าว
มาแล้ว   (คือไม่มีอะไรใหม่)  และปัญหาวาระที่เหลือก็มีเล็กน้อย   เพราะฉะนั้น
จึงเป็น ๗ พร้อมด้วยกถาวัตถุ   มิใช่เป็น ๗ ทั้งกถาวัตถุ  เป็น ๗  ทั้งปกรณ์ที่
ชื่อว่ามหาธาตุกถา   ในมหาธรรมหทัยปกรณ์   มีปัญหาวาระที่เหลืออยู่เล็กน้อย
เท่านั้น     ทั้งในมหาธาตุกถาก็ไม่มีอะไรใหม่เลย     มีตันติคือแบบแผนแห่งคำ
เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเหลืออยู่   จึงรวมเป็น  ๗  ด้วยกถาวัตถุนั้น.

ความเป็นมาของกถาวัตถุ

จริงอยู่   พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อทรงแสดงซึ่งปกรณ์แห่งอภิธรรม ๗
(สัตตัปปกรณ์)
  มาโดยลำดับ    พอถึงกถาวัตถุ  ก็ทรงตั้งมาติกา (แม่บท)  แห่ง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 14

บาลีมีประมาณภาณวาระหนึ่งซึ่งยังไม่เต็มในกถามรรคทั้งปวง     ทรงทำให้พอ
เหมาะแก่การประกอบวาทะที่เป็นประธานไว้  ๘ ข้อ  (อัฏฐมุขา  วาทยุตติ)  ด้วย
อำนาจปัญจกะทั้ง ๒  (คืออนุโลมปัญจกะและปัจจนิกปัญจกะ)  ในปุคคลวาทะ
จนถึงปัญหา  ๔  ข้อเป็นต้นก่อน.
ก็แบบแผนนี้นั้น      พระศาสดาทรงอาศัยวาทะที่หนึ่งทรงแสดงนิคคหะ
ที่หนึ่ง  ทรงอาศัยวาทะที่สองทรงแสดงนิคคหะที่สอง. . . ฯลฯ  ทรงอาศัยวาทะ
ที่  ๘    ทรงแสดงนิคคหะที่  ๘   คือ   ทรงตั้งมาติกาไว้อย่างนี้ว่า

สกวาที ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้ด้วยอรรถอันเป็นจริง    (สัจฉิกัตถะ)
และอรรถอันยิ่ง  (ปรมัตถะ)  หรือ  ?
ปรวาที ถูกแล้ว.

ส.   สภาวะใดมีอรรถอันเป็นจริง   มีอรรถอันยิ่ง   ท่านหยั่งเห็น
บุคคลนั้นได้ด้วยอรรถอันเป็นจริงและอรรถอันยิ่งนั้นหรือ  ?
ป.   ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส.   ท่านจงรับรู้นิคคหะ...

ป.   ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลได้ด้วยอรรถอันเป็นจริงและอรรถ
อันยิ่งหรือ  ?
ส.   ถูกแล้ว.

ป.   สภาวะใดมีอรรถอันเป็นจริง   มีอรรถอันยิ่ง   ท่านไม่หยั่ง
เห็นบุคคลนั้นด้วยอรรถอันเป็นจริงและอรรถอันยิ่งนั้นหรือ  ?
ส.   ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
ป.   ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม   (การทำตอบ)...

ส.   ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้ในที่  (สรีระ) ทั้งปวง...
ป.   ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลได้ในที่ทั้งปวง...

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 15

ส.   ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้ในกาลทั้งปวง...
ป.   ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลได้ในกาลทั้งปวง...

ส.   ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้ในสภาวธรรม (ขันธาทิ)  ทั้งปวง ...
ป.   ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลได้ในสภาวธรรมทั้งปวงหรือ  ?
ส.   ถูกแล้ว.

ป.   สภาวะใดมีอรรถอันเป็นจริง  มีอรรถอันยิ่ง  ท่านไม่หยั่งเห็น
บุคคลนั้นด้วยอรรถอันเป็นจริงและอรรถอันยิ่งนั้นหรือ  ?
ส.   ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
ป.   ท่านจงรับรู้นิคคหะ...

พึงทราบการตั้งมาติกาในพระบาลีทั้งปวงโดยนัยนี้   ก็เมื่อทรงตั้งมาติกา
นี้นั้น  ทรงเห็นเหตุนี้แหละจึงทรงตั้งไว้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า     เมื่อเราปรินิพพานล่วงไป   ๒๑๘  ปี
พระเถระชื่อว่าโมคคัลลีปุตตติสสะ   จะนั่งในท่ามกลางภิกษุหนึ่งพัน   ประมวล
พระสูตรมาพันหนึ่ง  คือ  พระสูตร  ๕๐๐  สูตรในฝ่ายสกวาที   พระสูตร   ๕๐๐
สูตรในฝ่ายปรวาที     แล้วจักจำแนกกถาวัตถุปกรณ์ประมาณเท่ากันทีฆนิกาย
แม้พระโมคคัลลีปุตตติสสเถระ  เมื่อจะแสดงปกรณ์นี้   มิได้แสดงด้วยญาณของ
ตน  แต่แสดงตามมาติกาที่ตั้งไว้โดยนัยที่พระศาสดาประทาน   ดังนั้น     ปกรณ์นี้
ทั้งสิ้นจึงชื่อว่าพุทธภาษิตเหมือนกัน     เพราะพระเถระแสดงตามมาติกาที่ตั้งไว้
โดยนัยที่พระศาสดาประทาน  เหมือนมธุปิณฑิกสูตรเป็นต้น
.
จริงอยู่     มธุปิณฑิกสูตร *      พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งมาติกาไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุ   ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้าย่อมครอบงำบุรุษ   เพราะเหตุใด  ?
ถ้าว่าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน   ยึดถือ  กล้ำกลืน   ไม่มีในเหตุนี้    อันนี้แหละ
*  ม. มู.  ๑๒. ๒๔๕/๒๒๒

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 16

เป็นที่สุดแห่งราคานุสัยทั้งหลาย   ดังนี้เป็นต้น    แล้วเสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่
พระวิหาร.
ภิกษุทั้งหลายผู้รับพระธรรมเทศนาเข้าไปหาพระมหากัจจายนเถระแล้ว
ถามเนื้อความแห่งมาติกาที่พระศาสดาทรงตั้งไว้แล้ว    พระเถระไม่กล่าววิสัชนา
สักว่าคำถูกถามเท่านั้น     เพื่อจะแสดงความนอบน้อมต่อพระทศพล   จึงนำการ
เปรียบเทียบเช่นกับแก่นไม้มาแสดงว่า     ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย   เปรียบ
เหมือนบุรุษผู้มีความต้องการด้วยแก่นไม้    ย่อมแสวงหาแก่นไม้เป็นต้น    แล้ว
ชมเชยพระศาสดาว่า  พระผู้มีพระภาคเจ้าเปรียบเหมือนต้นไม้มีแก่น  พระสาวก
เช่นกับกิ่งไม้และใบไม้  ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้นทรงรู้สิ่งที่ควรรู้  ทรงเห็นสิ่งที่ควรเห็น  เป็นผู้มีจักษุ   มีพระญาณ   มีธรรม
เป็นพรหม   เป็นผู้เผยแผ่  เป็นผู้ประกาศ   เป็นผู้ขยายเนื้อความ   เป็นผู้ประ-
ทานอมตธรรม   เป็นเจ้าของธรรม   เป็นพระตถาคต  ดังนี้   พระเถระทั้งหลาย
วิงวอนแล้วบ่อย ๆ  จึงจำแนกเนื้อความมาติกาตามที่พระศาสดาทรงตั้งไว้   ด้วย
ประสงค์อันนี้ว่า  " ก็เมื่อท่านทั้งหลายปรารถนาก็พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค-
เจ้าโดยตรง  แล้วทูลถามเนื้อความนี้   ถ้าเทียบเคียงเข้ากันได้กับพระสัพพัญญุต.
ญาณก็พึงถือเอา      ถ้าเทียบเคียงกันไม่ได้ก็อย่าถือเอา
"   ดังนี้   เเล้วกล่าวว่า
"  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ประการใด     ท่านทั้งหลายพึงทรงจำข้อนั้น
ไว้เถิด "  แล้วส่งภิกษุเหล่านั้นไป.
พวกภิกษุเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถามเนื้อความนั้น

พระศาสดาไม่ตรัสว่า   กัจจายนะกล่าวไม่ดี  แต่ทรงน้อมพระศอไปราวกะทรงยก
พระสุวรรณภิงคาร  (หม้อน้ำเย็นทองคำ)  ขึ้น  (สรงสนานพระเถระ)  เมื่อจะยัง
อรรถนั้นให้บริบูรณ์ด้วยพระโอษฐ์อันมีสิริดุจดอกบัว     (สตบัตร)   ซึ่งกำลัง
แย้มบานอย่างดี    จึงทรงเปล่งพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม   ประทานสาธุการแก่

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 17

พระเถระว่า  " สาธุ สาธุ "   ดังนี้  แล้วตรัสว่า  " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหากัจจายนะ
เป็นบัณฑิต    มหากัจจายนะเป็นผู้มีปัญญามาก   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ถึงพวก
เธอพึงถามเนื้อความนี้กะเรา     แม้เราก็พึงพยากรณ์เนื้อความนั้นเหมือนกับ
มหากัจจายนะนั่นแหละ "  ดังนี้    จำเดิมแต่กาลที่พระศาสดาทรงอนุโมทนาแล้ว
อย่างนี้  พระสุตตันตะทั้งสิ้นชื่อว่าเป็นพุทธภาษิต  แม้พระสูตรที่พระอานนทเถระ
เป็นต้นให้พิสดารแล้ว   ก็นัยนี้เหมือนกัน   พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อทรงแสดง
ปกรณ์อภิธรรม ๗ พอถึงกถาวัตถุ   จึงทรงตั้งมาติกาไว้โดยนัยที่กล่าวแล้ว  อนึ่ง
เมื่อทรงหยุด  ได้ทรงเห็นเหตุนี้ว่า
" เมื่อเราปรินิพพานล่วงแล้ว  ๒๑๘ ภิกษุชื่อว่าโมคคัลลีปุตตติสสเถระ
นั่งในท่ามกลางภิกษุหนึ่งพันรูป    แล้วจักประมวลพระสูตรหนึ่งพันสูตร    คือ
ในสกวาทะห้าร้อยสูตร    ในปรวาทะห้าร้อยสูตร    แล้วจำแนกกถาวัตถุปกรณ์
มีประมาณเท่าทีฆนิกาย "    ดังนี้    แม้พระโมคคัลลีปุตตติสสเถระเมื่อจะแสดง
ปกรณ์นี้ก็ไม่แสดงด้วยความรู้ของตน      แต่แสดงตามมาติกาที่ตั้งไว้โดยนัยที่
พระศาสดาประทาน
    เพราะฉะนั้น     ปกรณ์นี้ทั้งหมดจึงชื่อว่าเป็นพุทธภาษิต
โดยแท้   เพราะพระเถระแสดงตามมาติกาที่ตั้งไว้  โดยนัยที่พระศาสดาประทาน
แล้ว   ปกรณ์ทั้ง ๗
รวมทั้งกถาวัตถุจึงชื่อว่า   " อภิธรรม "   ด้วยประการฉะนี้.


...
...
...
******************************************************************************************************
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่