หลังปีใหม่ จัดเก็บสัมภาระให้เข้าที่ เห็นวารสารแจกฟรีอยู่กองหนึ่ง หยิบมาดู เป็น อบจ.นิวส์ ฟ้าใหม่ ฉบับประจำเดือนธันวาคม 2555 พลิกไปพลิกมา เจอคอลัมน์ "บันทึกวีรกรรม ร.ศ.112 สงครามปกป้องแผ่นดินไทย" เขียนโดย Mana ซึ่งเป็นตอนที่ 5 แล้ว อ่านแล้วอึ้งกับความอ่อนแอของสยาม เลยคัดมาเผื่อผ่านตาเพื่อนๆ แล้วมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม เชิญทัศนา...
ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ผู้บันทึกหลายคนระบุไว้ว่า เป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่งของสยาม คือ วิธีการทูตที่ใช้ในครั้งนั้น ดังเช่นข้อความในโทรเลขที่มาร์คีส์แห่งดัฟเฟอริน (ทูตอังกฤษประจำกรุงปารีส) ส่งถึงเอิร์ลแห่งโรสเบอรี (รมต.ต่างประเทศอังกฤษ) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม ความว่า
"ผมสังเกตเห็นว่า ฝ่ายสยามขาดความช่ำชองในการใช้ภาษาอันแยบยลทางการทูตอย่างชาวยุโรป" ข้อความนี้ตรงกับความเห็นของนายสมิธที่ว่า "ท่าทีและภาษาที่ฝ่ายสยามใช้ตอบข้อเรียกร้องของฝรั่งเศสนั้น ปั้นปึ่งถือดีเกินขีดการแสดงออกถึงศักดิ์ศรีจนเกินไป และทำให้ฝ่ายศัตรูโกรธ" ... ข้อเสียอย่างหนึ่งของฝ่ายสยามคือ "ความรู้สึกต่อต้านอิทธิพลของยุโรปในสยามที่รุนแรงเกินไป"
นอกจากปัจจัยข้างต้นกองกำลังสยาม ณ เวลานั้นคือปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าศักยภาพของกองทัพสยามมีโอกาสเพลี่ยงพล้ำสูง...
ขณะที่นายนอร์แมนแสดงความเห็นถึงกองกำลังสยามว่า "โรงเรียนนายทหารที่มีอาคารและการจัดการอันน่าเกรงขาม มีครูฝึกชาวยุโรปสี่หรือห้านายที่มีอำนาจจำกัด เด็กหนุ่มชาวสยามได้พักอาศัอย่างสะดวกสบาย ได้รับการเลี้ยงดูและรับเงินเดือนเดือนละ 30 ชิลลิ่ง เพื่อให้สวมเครื่องแบบและเล่นในโรงเรียนที่ไม่มีการฝึกอบรมใด ๆ ...สยามรับวิธีการของฝรั่งมาโดยไม่เอาจิตวิญญาณของฝรั่งติดมาด้วย... จริงๆ แล้ว ไม่มีคำว่า 'วินัย' ในภาษาสยาม"
นายสมิธเล่าถึงความสามารถของทหารที่ประจำเรือรบของสยามว่า "เป็นทหารที่เพิ่งเกณฑ์มาจากท้องนา นอกจากผู้บัญชาการบนเรือรบแล้ว ก็ไม่มีใครอื่นที่รู้วิธียิงปืนรบ... นายทหารสามนายที่รักษาการณ์อยู่ก็มีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่พูดภาษาสยามได้ อีกสองนายเป็นชาวเดนมาร์กจากกรมแผนที่และเพิ่งเดินทางเข้ามายังสยามได้ไม่นาน รวมทั้งเป็นอาสาสมัครที่พูดภาษาสยามไม่ได้แม้แต่คำเดียว ในระหว่างการต่อสู้กันนั้น นายทหารเหล่านี้วิ่งจนหอบไปที่ปืนแต่ละกระบอกสลับกัน... พร้อมทั้งออกคำสั่งเป็นภาษาที่ทหารชาวสยามฟังไม่เข้าใจ"
อย่างไรก็ตาม กองกำลังสยามในเวลานั้นก็ไม่ถึงกับสิ้นเขี้ยวเล็บซะทีเดียว เรือพระที่นั่งมหาจักรี ซึ่งเป็นเรือลาดตระเวนติดปืนอาร์มสตรอง พร้อมระวางขับน้ำ 2,400 ตัน ความเร็ว 15 น็อต ปืนขนาด 4.7 หอต่อสู้ 2 หอ และหัวเรือที่ใช้ชนได้ ระวางขับน้ำของเรือลำนี้สูงกว่าเรือทั้งสามของฝรั่งเศสรวมกันถึง 600 ตัน เรือที่สมรรถนะสูงลำนี้กลับไม่ได้ร่วมสมรภูมิรบซึ่งนายนอร์แมนกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า
"คำตอบนั้นง่ายและเจ็บปวด รวมทั้งเป็นตัวอย่างอีกอย่างหนึ่งที่ว่า เรือพระที่นั่งมหาจักรีจอดอยู่หน้าพระบรมมหาราชวัง ภายใต้คำสั่งที่เข้มงวดไม่ให้เคลื่อนย้าย ยกเว้นเมื่อจำเป็นต้องใช้เป็นพาหนะให้พระเจ้าอยู่หัว... แต่ถึงจะมีความตั้งใจใช้เรือลำนี้ก็ตาม คงเป็นไปได้ยาก ข้าพเจ้าเชื่อว่า ตั้งแต่เรือลำนี้มาถึงสยาม ยังไม่มีการลองยิงปืนเลย ไม่มีใครในราชอาณาจักรนี้ ยกเว้นนายทหารชาวเดนมาร์ก 2 หรือ 3 นายเท่านั้นที่รู้วิธีใช้ กระสุนปืนถูกขนขึ้นเรือเป็นครั้งแรกเพียง 2-3 ชั่วโมงก่อนเกิดเหตุที่ปากน้ำ นอกจากนั้นเครื่องยนต์ที่มีขนาดใหญ่และยุ่งยาก ไม่มีชาวสยามคนใดรู้วิธีจัดการกับเครื่องยนต์นี้แม้แต่คนเดียว ส่วนคนในอารักขาของอังกฤษก็ไม่สามารถยื่นมือเข้าช่วยได้"
...
อ่านแล้วเป็นอย่างไรบ้างครับ ?
แน่นอนว่าประวัติศาสตร์มีหลายมุมมอง แม้ว่ามีหลายคนมองทางบวกว่าการที่สยามไม่สามารถจมเรือรบฝรั่งเศสที่ปากน้ำได้นั้นกลับกลายเป็นเรื่องดีที่สามารถเข้าสู่การเจรจากได้ แต่จากมุมมองของฝ่ายรุกรานเองกลับมองหลายๆ ปัจจัยเป็นสิ่งล่อแหลมที่พวกเขาอาจเพลี่ยงพล้ำสยามได้ หากสยามไม่ไร้เดียงสาการทูตทั้งการปั้นปึ่งถือดีและยึดศักดิ์ศรีจนทำให้ศัตรูโกรธ หากสยามมีนายทหารที่สามารถใช้ป้อมปืนที่ปากน้ำได้ดี หากสยามมีนายทหารเรือนำเรือพระที่นั่งมหาจักรีออกไปปะทะเรือฝรั่งเศส ผลที่ตามมาอาจดีต่อฝ่ายสยามมากกว่านี้ก็เป็นได้
แต่ที่ยังอึ้งไม่หายก็คือ เวลาผ่านไปร้อยปีแล้ว การทูตแบบไร้เดียงสาก็ยังคงสถิตอยู่กับประเทศไทย ความพร้อมทางทหารก็ยังเป็นเรื่องที่น่ากังขา แถมยังมีคนบางกลุ่มบางจำพวกที่ไร้เดียงสาทั้งการทูตและการทหารจะยุให้เกิดสงครามแย่งชิงกองหินบนภูเขาโบราณเสียอีก
ร.ศ. 112 : เราเรียนรู้อะไรจากประวัติศาสตร์บ้างหรือเปล่า
ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ผู้บันทึกหลายคนระบุไว้ว่า เป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่งของสยาม คือ วิธีการทูตที่ใช้ในครั้งนั้น ดังเช่นข้อความในโทรเลขที่มาร์คีส์แห่งดัฟเฟอริน (ทูตอังกฤษประจำกรุงปารีส) ส่งถึงเอิร์ลแห่งโรสเบอรี (รมต.ต่างประเทศอังกฤษ) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม ความว่า
"ผมสังเกตเห็นว่า ฝ่ายสยามขาดความช่ำชองในการใช้ภาษาอันแยบยลทางการทูตอย่างชาวยุโรป" ข้อความนี้ตรงกับความเห็นของนายสมิธที่ว่า "ท่าทีและภาษาที่ฝ่ายสยามใช้ตอบข้อเรียกร้องของฝรั่งเศสนั้น ปั้นปึ่งถือดีเกินขีดการแสดงออกถึงศักดิ์ศรีจนเกินไป และทำให้ฝ่ายศัตรูโกรธ" ... ข้อเสียอย่างหนึ่งของฝ่ายสยามคือ "ความรู้สึกต่อต้านอิทธิพลของยุโรปในสยามที่รุนแรงเกินไป"
นอกจากปัจจัยข้างต้นกองกำลังสยาม ณ เวลานั้นคือปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าศักยภาพของกองทัพสยามมีโอกาสเพลี่ยงพล้ำสูง...
ขณะที่นายนอร์แมนแสดงความเห็นถึงกองกำลังสยามว่า "โรงเรียนนายทหารที่มีอาคารและการจัดการอันน่าเกรงขาม มีครูฝึกชาวยุโรปสี่หรือห้านายที่มีอำนาจจำกัด เด็กหนุ่มชาวสยามได้พักอาศัอย่างสะดวกสบาย ได้รับการเลี้ยงดูและรับเงินเดือนเดือนละ 30 ชิลลิ่ง เพื่อให้สวมเครื่องแบบและเล่นในโรงเรียนที่ไม่มีการฝึกอบรมใด ๆ ...สยามรับวิธีการของฝรั่งมาโดยไม่เอาจิตวิญญาณของฝรั่งติดมาด้วย... จริงๆ แล้ว ไม่มีคำว่า 'วินัย' ในภาษาสยาม"
นายสมิธเล่าถึงความสามารถของทหารที่ประจำเรือรบของสยามว่า "เป็นทหารที่เพิ่งเกณฑ์มาจากท้องนา นอกจากผู้บัญชาการบนเรือรบแล้ว ก็ไม่มีใครอื่นที่รู้วิธียิงปืนรบ... นายทหารสามนายที่รักษาการณ์อยู่ก็มีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่พูดภาษาสยามได้ อีกสองนายเป็นชาวเดนมาร์กจากกรมแผนที่และเพิ่งเดินทางเข้ามายังสยามได้ไม่นาน รวมทั้งเป็นอาสาสมัครที่พูดภาษาสยามไม่ได้แม้แต่คำเดียว ในระหว่างการต่อสู้กันนั้น นายทหารเหล่านี้วิ่งจนหอบไปที่ปืนแต่ละกระบอกสลับกัน... พร้อมทั้งออกคำสั่งเป็นภาษาที่ทหารชาวสยามฟังไม่เข้าใจ"
อย่างไรก็ตาม กองกำลังสยามในเวลานั้นก็ไม่ถึงกับสิ้นเขี้ยวเล็บซะทีเดียว เรือพระที่นั่งมหาจักรี ซึ่งเป็นเรือลาดตระเวนติดปืนอาร์มสตรอง พร้อมระวางขับน้ำ 2,400 ตัน ความเร็ว 15 น็อต ปืนขนาด 4.7 หอต่อสู้ 2 หอ และหัวเรือที่ใช้ชนได้ ระวางขับน้ำของเรือลำนี้สูงกว่าเรือทั้งสามของฝรั่งเศสรวมกันถึง 600 ตัน เรือที่สมรรถนะสูงลำนี้กลับไม่ได้ร่วมสมรภูมิรบซึ่งนายนอร์แมนกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า
"คำตอบนั้นง่ายและเจ็บปวด รวมทั้งเป็นตัวอย่างอีกอย่างหนึ่งที่ว่า เรือพระที่นั่งมหาจักรีจอดอยู่หน้าพระบรมมหาราชวัง ภายใต้คำสั่งที่เข้มงวดไม่ให้เคลื่อนย้าย ยกเว้นเมื่อจำเป็นต้องใช้เป็นพาหนะให้พระเจ้าอยู่หัว... แต่ถึงจะมีความตั้งใจใช้เรือลำนี้ก็ตาม คงเป็นไปได้ยาก ข้าพเจ้าเชื่อว่า ตั้งแต่เรือลำนี้มาถึงสยาม ยังไม่มีการลองยิงปืนเลย ไม่มีใครในราชอาณาจักรนี้ ยกเว้นนายทหารชาวเดนมาร์ก 2 หรือ 3 นายเท่านั้นที่รู้วิธีใช้ กระสุนปืนถูกขนขึ้นเรือเป็นครั้งแรกเพียง 2-3 ชั่วโมงก่อนเกิดเหตุที่ปากน้ำ นอกจากนั้นเครื่องยนต์ที่มีขนาดใหญ่และยุ่งยาก ไม่มีชาวสยามคนใดรู้วิธีจัดการกับเครื่องยนต์นี้แม้แต่คนเดียว ส่วนคนในอารักขาของอังกฤษก็ไม่สามารถยื่นมือเข้าช่วยได้"
...
อ่านแล้วเป็นอย่างไรบ้างครับ ?
แน่นอนว่าประวัติศาสตร์มีหลายมุมมอง แม้ว่ามีหลายคนมองทางบวกว่าการที่สยามไม่สามารถจมเรือรบฝรั่งเศสที่ปากน้ำได้นั้นกลับกลายเป็นเรื่องดีที่สามารถเข้าสู่การเจรจากได้ แต่จากมุมมองของฝ่ายรุกรานเองกลับมองหลายๆ ปัจจัยเป็นสิ่งล่อแหลมที่พวกเขาอาจเพลี่ยงพล้ำสยามได้ หากสยามไม่ไร้เดียงสาการทูตทั้งการปั้นปึ่งถือดีและยึดศักดิ์ศรีจนทำให้ศัตรูโกรธ หากสยามมีนายทหารที่สามารถใช้ป้อมปืนที่ปากน้ำได้ดี หากสยามมีนายทหารเรือนำเรือพระที่นั่งมหาจักรีออกไปปะทะเรือฝรั่งเศส ผลที่ตามมาอาจดีต่อฝ่ายสยามมากกว่านี้ก็เป็นได้
แต่ที่ยังอึ้งไม่หายก็คือ เวลาผ่านไปร้อยปีแล้ว การทูตแบบไร้เดียงสาก็ยังคงสถิตอยู่กับประเทศไทย ความพร้อมทางทหารก็ยังเป็นเรื่องที่น่ากังขา แถมยังมีคนบางกลุ่มบางจำพวกที่ไร้เดียงสาทั้งการทูตและการทหารจะยุให้เกิดสงครามแย่งชิงกองหินบนภูเขาโบราณเสียอีก