เหตุปัจจัยไร้เจ้าของ: เมื่อความจริงไม่ใช่ของใคร
ปรัชญาตะวันตกมักตั้งคำถามถึงขอบเขตที่มนุษย์จะเข้าถึงความจริงได้ นักปรัชญาอย่างค้านท์ และเฮเกลต่างสำรวจประเด็นนี้
ค้านท์ เชื่อว่าเราสามารถรับรู้ได้เพียงสิ่งที่ปรากฏแก่การรับรู้ของเราเท่านั้น (phenomena) ส่วนสิ่งในตัวเอง ซึ่งเป็นแก่นแท้ของสิ่งนั้น มนุษย์ไม่อาจเข้าถึงได้ (noumena)
ขณะที่เฮเกล มองว่าความรู้ไม่ได้หยุดนิ่งมันพัฒนาและวิวัฒน์อย่างต่อเนื่องผ่านประวัติศาสตร์ สังคม และการขัดแย้งภายใน จนในที่สุดจะเข้าสู่ภาวะที่เรียกว่า Absolute Knowledge ซึ่งเป็นการเข้าใจความจริงในองค์รวม แต่ในมุมของผมคิดว่า ทั้งค้านท์และเฮเกลไม่มีใครเข้าถึงแก่นแท้ของมันจริง ๆ
วิตเกนสไตน์ ในยุคแรกเคยเสนอว่า ขอบเขตของภาษาคือขอบเขตของโลก แต่ต่อมาเขากลับเปลี่ยนมุมมอง โดยชี้ว่าความหมายของคำไม่ได้อยู่ที่สิ่งที่คำชี้ไป แต่อยู่ที่การใช้งานในบริบทของเกมภาษา นั่นหมายความว่าเมื่อเราคุยกันเรื่องความจริง มันอาจเป็นเพียงเกมของคำที่ไม่มีคำตอบ มีเพียงการตีความและถกเถียงกันไม่รู้จบ จนกระทั่งจักรวาลล่มสลายก็ยังไม่มีใครเป็นผู้ชนะ
ในทำนองเดียวกันเดอร์ริดา ก็เคยกล่าวไว้ว่า ไม่มีคำใดที่มีความหมายตายตัว ทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับการตีความและเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ ความจริงจึงอาจไม่ต่างจากรสชาติของขนมชนิดเดียวกัน ที่แต่ละคนชิมแล้วรู้สึกไม่เหมือนกัน บางคนว่าอร่อย บางคนว่าเค็มเกิน แล้วใครจะบอกได้ว่ารสชาติไหนคือความจริงสัมบูรณ์?
มุมมองจากพุทธศาสนา: อนัตตา
หากหันมามองในมุมของพุทธศาสนา โดยเฉพาะในแนวอภิธรรมแห่ง อนัตตา เราจะพบว่า ไม่มีผู้รู้ ไม่มีสิ่งที่ถูกรู้ มีเพียงการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเหตุปัจจัยที่ไร้เจ้าของ ทุกประสบการณ์คือผลผลิตของการปรุงแต่ง เช่นเดียวกับรสชาติที่ไม่ได้อยู่ในอาหาร แต่เป็นผลจากการแปลความของประสาทลิ้น สิ่งที่ปรากฏต่อการรับรู้จึงไม่เคยเป็นของแท้ เพราะมันต้องมีผู้รู้จึงจะมีสิ่งที่ถูกรู้ แต่ถ้าแม้กระทั่งผู้รู้เองก็เป็นเพียงหนึ่งในกระแสของเหตุปัจจัยไร้เจ้าของล่ะ?
หลักฐานจากประสาทวิทยา: โลกในสมอง
นักประสาทวิทยาอย่างอย่าง David Eagleman ยังกล่าวใน The Brain: The Story of You ว่า สี กลิ่น รส สัมผัส ล้วนเป็นเพียงแบบจำลองที่สมองสร้างขึ้นเพื่อความอยู่รอด โลกภายนอกมีเพียงพลังงานและอนุภาคที่ไร้ความหมายในตัวเอง
กรณีศึกษาของ ไมค์ เมย์ ที่ตาบอดตั้งแต่เด็กและได้มองเห็นอีกครั้งในวัยผู้ใหญ่ก็ตอกย้ำแนวคิดนี้อย่างชัดเจน แม้ดวงตาของเขาจะทำงานได้ปกติ แต่เนื่องจากสมองไม่เคยเรียนรู้การตีความภาพ เขาก็ไม่สามารถมองเห็นได้เลย นี่เป็นการยืนยันว่าการรับรู้ไม่ใช่การรับตรง แต่คือการแปลผ่านโครงสร้างภายในของสมอง
พระพุทธเจ้ามีจริงไหม? มาถึงประเด็นที่ผมอยากจะพูดจริงๆ
พระพุทธเจ้ามีจริงไหม การตั้งคำถามเช่นนี้อาจยังคงอยู่ในกรอบของการมีอยู่แบบมีเจ้าของ แต่หากเรากลับมามองผ่านสายตาแห่งเหตุปัจจัยไร้เจ้าของ เราจะพบว่าคำถามนั้นไม่จำเป็นต้องหาคำตอบเลย เพราะแม้แต่ความรู้แจ้งก็ไม่ใช่สิ่งที่มีผู้เป็นเจ้าของ มันเกิดขึ้นเมื่อเหตุปัจจัยพร้อม เช่นเดียวกับเปลวไฟที่ลุกขึ้นเมื่อเชื้อเพลิง ไฟ และลม มาบรรจบกันไม่มีผู้จุด มีแต่การแจ้งที่แจ้งขึ้นมาเฉยๆ
ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลในฐานะผู้เป็นเจ้าของความรู้แจ้ง แต่คือการเปิดออกของความว่าง ที่เกิดขึ้นในกระแสแห่งเหตุปัจจัย ไม่มีผู้ตรัสรู้ มีแต่ธรรมะที่เกิดขึ้นชั่วขณะแล้วดับไป ไม่มีผู้ฟัง มีแต่เสียงของความเข้าใจที่ลอยผ่านใจหนึ่งชั่วคราวแล้วหายไป
สุดท้ายความจริงอาจไม่ได้อยู่ในศูนย์กลาง ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องค้นพบ แต่เป็นเพียงปีกผีเสื้อที่กระพืออยู่ในโลกของเหตุปัจจัยซึ่งพัดพาให้เราคิดว่ามีพายุทั้งที่ไม่มีผู้ก่อ ไม่มีผู้ถูกกระทบ มีแต่กระแสที่ไหลผ่านกันไปอย่างไม่รู้จบ ไม่มีความจริงใดที่อยู่หลังภาษามีเพียงภาษาที่สร้างสิ่งที่เราเรียกว่าความจริง หากจะนิยามความจริงสัมบูรณ์ ให้เข้ากับโลกของเหตุปัจจัยไร้เจ้าของ ก็คงต้องบอกว่าความจริงสัมบูรณ์คือสิ่งที่ไม่มีใครเข้าถึง เพราะไม่มีใครเป็นใครให้เข้าถึงอะไร มีแต่หมี่กึ่งสำเร็จรูปที่สุกตามอุณหภูมิแห่งเหตุปัจจัย
พระพุทธเจ้ามีจริงไหม?
ปรัชญาตะวันตกมักตั้งคำถามถึงขอบเขตที่มนุษย์จะเข้าถึงความจริงได้ นักปรัชญาอย่างค้านท์ และเฮเกลต่างสำรวจประเด็นนี้
ค้านท์ เชื่อว่าเราสามารถรับรู้ได้เพียงสิ่งที่ปรากฏแก่การรับรู้ของเราเท่านั้น (phenomena) ส่วนสิ่งในตัวเอง ซึ่งเป็นแก่นแท้ของสิ่งนั้น มนุษย์ไม่อาจเข้าถึงได้ (noumena)
ขณะที่เฮเกล มองว่าความรู้ไม่ได้หยุดนิ่งมันพัฒนาและวิวัฒน์อย่างต่อเนื่องผ่านประวัติศาสตร์ สังคม และการขัดแย้งภายใน จนในที่สุดจะเข้าสู่ภาวะที่เรียกว่า Absolute Knowledge ซึ่งเป็นการเข้าใจความจริงในองค์รวม แต่ในมุมของผมคิดว่า ทั้งค้านท์และเฮเกลไม่มีใครเข้าถึงแก่นแท้ของมันจริง ๆ
วิตเกนสไตน์ ในยุคแรกเคยเสนอว่า ขอบเขตของภาษาคือขอบเขตของโลก แต่ต่อมาเขากลับเปลี่ยนมุมมอง โดยชี้ว่าความหมายของคำไม่ได้อยู่ที่สิ่งที่คำชี้ไป แต่อยู่ที่การใช้งานในบริบทของเกมภาษา นั่นหมายความว่าเมื่อเราคุยกันเรื่องความจริง มันอาจเป็นเพียงเกมของคำที่ไม่มีคำตอบ มีเพียงการตีความและถกเถียงกันไม่รู้จบ จนกระทั่งจักรวาลล่มสลายก็ยังไม่มีใครเป็นผู้ชนะ
ในทำนองเดียวกันเดอร์ริดา ก็เคยกล่าวไว้ว่า ไม่มีคำใดที่มีความหมายตายตัว ทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับการตีความและเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ ความจริงจึงอาจไม่ต่างจากรสชาติของขนมชนิดเดียวกัน ที่แต่ละคนชิมแล้วรู้สึกไม่เหมือนกัน บางคนว่าอร่อย บางคนว่าเค็มเกิน แล้วใครจะบอกได้ว่ารสชาติไหนคือความจริงสัมบูรณ์?
มุมมองจากพุทธศาสนา: อนัตตา
หากหันมามองในมุมของพุทธศาสนา โดยเฉพาะในแนวอภิธรรมแห่ง อนัตตา เราจะพบว่า ไม่มีผู้รู้ ไม่มีสิ่งที่ถูกรู้ มีเพียงการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเหตุปัจจัยที่ไร้เจ้าของ ทุกประสบการณ์คือผลผลิตของการปรุงแต่ง เช่นเดียวกับรสชาติที่ไม่ได้อยู่ในอาหาร แต่เป็นผลจากการแปลความของประสาทลิ้น สิ่งที่ปรากฏต่อการรับรู้จึงไม่เคยเป็นของแท้ เพราะมันต้องมีผู้รู้จึงจะมีสิ่งที่ถูกรู้ แต่ถ้าแม้กระทั่งผู้รู้เองก็เป็นเพียงหนึ่งในกระแสของเหตุปัจจัยไร้เจ้าของล่ะ?
หลักฐานจากประสาทวิทยา: โลกในสมอง
นักประสาทวิทยาอย่างอย่าง David Eagleman ยังกล่าวใน The Brain: The Story of You ว่า สี กลิ่น รส สัมผัส ล้วนเป็นเพียงแบบจำลองที่สมองสร้างขึ้นเพื่อความอยู่รอด โลกภายนอกมีเพียงพลังงานและอนุภาคที่ไร้ความหมายในตัวเอง
กรณีศึกษาของ ไมค์ เมย์ ที่ตาบอดตั้งแต่เด็กและได้มองเห็นอีกครั้งในวัยผู้ใหญ่ก็ตอกย้ำแนวคิดนี้อย่างชัดเจน แม้ดวงตาของเขาจะทำงานได้ปกติ แต่เนื่องจากสมองไม่เคยเรียนรู้การตีความภาพ เขาก็ไม่สามารถมองเห็นได้เลย นี่เป็นการยืนยันว่าการรับรู้ไม่ใช่การรับตรง แต่คือการแปลผ่านโครงสร้างภายในของสมอง
พระพุทธเจ้ามีจริงไหม? มาถึงประเด็นที่ผมอยากจะพูดจริงๆ
พระพุทธเจ้ามีจริงไหม การตั้งคำถามเช่นนี้อาจยังคงอยู่ในกรอบของการมีอยู่แบบมีเจ้าของ แต่หากเรากลับมามองผ่านสายตาแห่งเหตุปัจจัยไร้เจ้าของ เราจะพบว่าคำถามนั้นไม่จำเป็นต้องหาคำตอบเลย เพราะแม้แต่ความรู้แจ้งก็ไม่ใช่สิ่งที่มีผู้เป็นเจ้าของ มันเกิดขึ้นเมื่อเหตุปัจจัยพร้อม เช่นเดียวกับเปลวไฟที่ลุกขึ้นเมื่อเชื้อเพลิง ไฟ และลม มาบรรจบกันไม่มีผู้จุด มีแต่การแจ้งที่แจ้งขึ้นมาเฉยๆ
ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลในฐานะผู้เป็นเจ้าของความรู้แจ้ง แต่คือการเปิดออกของความว่าง ที่เกิดขึ้นในกระแสแห่งเหตุปัจจัย ไม่มีผู้ตรัสรู้ มีแต่ธรรมะที่เกิดขึ้นชั่วขณะแล้วดับไป ไม่มีผู้ฟัง มีแต่เสียงของความเข้าใจที่ลอยผ่านใจหนึ่งชั่วคราวแล้วหายไป
สุดท้ายความจริงอาจไม่ได้อยู่ในศูนย์กลาง ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องค้นพบ แต่เป็นเพียงปีกผีเสื้อที่กระพืออยู่ในโลกของเหตุปัจจัยซึ่งพัดพาให้เราคิดว่ามีพายุทั้งที่ไม่มีผู้ก่อ ไม่มีผู้ถูกกระทบ มีแต่กระแสที่ไหลผ่านกันไปอย่างไม่รู้จบ ไม่มีความจริงใดที่อยู่หลังภาษามีเพียงภาษาที่สร้างสิ่งที่เราเรียกว่าความจริง หากจะนิยามความจริงสัมบูรณ์ ให้เข้ากับโลกของเหตุปัจจัยไร้เจ้าของ ก็คงต้องบอกว่าความจริงสัมบูรณ์คือสิ่งที่ไม่มีใครเข้าถึง เพราะไม่มีใครเป็นใครให้เข้าถึงอะไร มีแต่หมี่กึ่งสำเร็จรูปที่สุกตามอุณหภูมิแห่งเหตุปัจจัย