สุขวิชโนมิกส์ (Sukavichinomics) : แผนแม่บทระบบทางพิเศษ กรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล ปี 2536 (ยังไม่เสร็จ ปี2568)

กระทู้สนทนา
ด้วยปริมาณการใช้รถใช้ถนนของคนกรุงเทพมหานครมีจำนวนมากในแต่ละวัน จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า “ทางด่วน” หรือทางพิเศษเป็นอีกตัวเลือกชั้นดีเพื่อช่วยให้เดินทางถึงที่หมายภายในเวลาอันรวดเร็วมากขึ้น
รวมทางด่วน กรุงเทพฯ และปริมณฑล ครบทุกสาย

ปัจจุบันทางด่วน หรือ ทางพิเศษใช้งาน และดูแลโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) มีด้วยกันทั้งหมด 8 สาย ระยะทางทั้งหมด 224.60 กิโลเมตร ครอบคลุมเส้นทางในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งเมื่อรวมทางด่วนทุกเส้นแล้ว มีด้วยกันดังนี้

ทางพิเศษเฉลิมมหานคร




เส้นทางนี้จะแบ่งออกทั้งหมด 3 สาย มีระยะทางทั้งหมด 27.1 กิโลเมตร ประกอบไปด้วย

เส้นดินแดง - ท่าเรือ เริ่มจากปลายถนนวิภาวดีรังสิตไปทางใต้จนถึงแยกต่างระดับท่าเรือ ผ่านย่านสำคัญ อาทิ แยกต่างระดับมักกะสัน ถนนสุขุมวิท ถนนพระราม 4 ระยะทางทั้งหมด 8.9 กิโลเมตร

เส้นบางนา - ท่าเรือ เริ่มจากแยกต่างประดับบางนา (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34) ไปทางทิศตะวันตกจนถึงแยกต่างระดับท่าเรือ ผ่านย่านสำคัญ เช่น แยกต่างระดับสุขุมวิท ระยะทางทั้งหมด 7.9 กิโลเมตร

เส้นดาวคะนอง - ท่าเรือ เริ่มจากแยกต่างระดับท่าเรือไปจนถึงถนนพระราม 2 ผ่านจุดสำคัญ เช่น แยกต่างระดับบางโคล่ สะพานพระราม 9 ถนนสุขสวัสดิ์ ระยะทางทั้งหมด 10.3 กิโลเมตร




ทางพิเศษศรีรัช  ค่าก่อสร้างแพงสุด ปัจจุบันค่าผ่านทางจึงแพง สร้างเสร็จแล้วเปิดไม่ได้ ผลงานรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ  โดนรัฐประหารเพราะ คดี
คอรัปชั่น สร้างแพงจึงต้อง ขึ้นราคาตลอดเวลา






เส้นทางนี้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน มีระยะทางทั้งหมด 38.4 กิโลเมตร ประกอบไปด้วย
ส่วน A เริ่มจากถนนรัชดาภิเษกไปจนถึงถนนพระราม 9 ผ่านแยกต่างระดับพญาไท ระยะทางทั้งหมด 12.4 กิโลเมตร

ส่วน B เป็นจุดเชื่อมต่อกับส่วน A ช่วงแยกต่างระดับพญาไท (โรงกรองน้ำสามเสน) จนถึงบางโคล่ ผ่านเส้นทางสำคัญ เช่น ยมราช ถนนศรีอยุธยา ถนนจันทน์ ถนนสาทร ถนนสีลม ถนนสุรวงศ์ หัวลำโพง ถนนพระราม 4 ระยะทางทั้งหมด 9.4 กิโลเมตร

ส่วน C เป็นจุดเชื่อมต่อกับส่วน A ช่วงถนนรัชดาภิเษก มุ่งหน้าทางเหนือจนถึงถนนแจ้งวัฒนะ ผ่านถนนประชาชื่น และยังเชื่อมต่อกับทางพิเศษอุดรรัถยามุ่งหน้าบางปะกง จ.อยุธยา เป็นอีกจุดรวมทางด่วนเพื่อระบายรถไปแถบชานเมืองฝั่งเหนือ

ส่วน D เป็นจุดเชื่อมต่อกับส่วน A ช่วงถนนพระราม 9 มุ่งหน้าทิศตะวันออกจนถึงถนนศรีนครินทร์ เชื่อมต่อกับเส้นทางยกระดับจตุรทิศขาออก สำหรับเดินทางต่อไปยังมอเตอร์เวย์ ทางพิเศษหมายเลข 7 กรุงเทพ – ชลบุรี และยังเชื่อมต่อไปสนามบินสุวรรณภูมิได้เร็วขึ้น มีจุดเชื่อมทางพิเศษฉลองรัชตรงถนนพระราม 9 จึงจัดเป็นอีกจุดรวมทางด่วน 2566 ที่คนใช้งานกันเยอะมากในแต่ละวัน





ทางพิเศษฉลองรัช ผลงาน ฯฑณฯ สุขวิช รังสืตพล รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 2537-2540 ผู้คิด ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ : สุขวิชโนมิกส์ (Sukavichinomics)




เส้นรามอินทรา – อาจณรงค์ เริ่มต้นจากถนนรามอินทราตรงกิโลเมตรที่ 5.5 ไปทางทิศใต้จากนั้นเบี่ยงออกทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดทางพิเศษศรีรัช ส่วน D จนถึงทางพิเศษเฉลิมมหานครสายบางนา - ท่าเรือ ตรงช่วงอาจณรงค์ ผ่านเส้นทางสำคัญ เช่น ถนนลาดพร้าว ถนนพระราม 9 ถนนประชาอุทิศ ถนนรามคำแหง ถนนพัฒนาการ ระยะทางทั้งหมด 18.7 กิโลเมตร

# เดิมค่าผ่านทาง 30 บาทตลอดสาย

เส้นรามอินทรา - วงแหวนรอบนอกฯ เริ่มต้นจากถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ตะวันออกช่วงจตุโชติ ทางใต้ของแยกต่างระดับลำลูกกา ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จนเชื่อมต่อทางพิเศษฉลองรัชรามอินทรา – อาจณรงค์ (ส่วนต่อขยายทางพิเศษฉลองรัชฝั่งเหนือ) ผ่านเส้นทางสำคัญ เช่น ถนนสุขาภิบาล 5 ถนนรามอินทรา กม. 5.5 ระยะทางทั้งหมด 9.5 กิโลเมตร

#ต่อขยายเพียง 9.5  แต่กลับ ขึ้นราคาทั้งสาย และไม่มี ทางเลียบด่วน







ทางพิเศษบูรพาวิถี ผลงานท่านสุขวิช รังสิตพล ทางพิเศษค่าผ่านทางถูก ก่อสร้างถูก และ ก่อสร้างเสร็จเร็ว รวมทั้งได้รับรางวัล  





เริ่มจากพื้นที่เกาะกลางของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 ช่วงบางนา - บางปะกง ไปทางทิศตะวันออกมุ่งหน้าจังหวัดสมุทรปราการจนถึงอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ผ่านจุดสำคัญ เช่น อำเภอบางพลี อำเภอบางบ่อ ตัดถนนกาญจนาภิเษก จังหวัดฉะเชิงเทรา แม่น้ำบางปะกง ระยะทางทั้งหมด 55 กิโลเมตร





ทางพิเศษอุดรรัถยา อยู่ในแผนแม่บท 300 กิโลเมตร   แต่สร้างภายหลัง ด้อยคุณภาพ ไม่มีเลียบด่วน  และ ราคาค่าผ่านทางแพง

เส้นแจ้งวัฒนะ - เชียงราก (ระยะที่ 1) เริ่มจากจุดเชื่อมต่อปลายทางพิเศษศรีรัชช่วงถนนแจ้งวัฒนะไปทางทิศเหนือ ผ่านจุดสำคัญ เช่น เมืองทองธานี อำเภอเมืองปทุมธานี ตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346 คลองเชียงราก บางพูน และเข้าสู่อำเภอสามโคก ตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3241 ระยะทางทั้งหมด 22 กิโลเมตร

เส้นเชียงราก - บางไทร (ระยะที่ 2) เริ่มจากจุดเชื่อมต่อระยะที่ 1 บริเวณเชียงรากโค้งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านจุดสำคัญ เช่น อำเภอบางไทร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 จนถึง กม. 79 ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ตะวันตก อำเภอบางไทร ระยะทางทั้งหมด 10 กิโลเมตร

เปลี่ยนชื่อ เพื่อเคลมผลแพงงค่าก่อสร้างแพงขึ้น เกือบ 1 หมื่นล้าน ใน ปี 2538

https://www.exat.co.th/download/%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%258D%25E0%25B8%258D%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2587/5098bd936ea5b.pdf?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR2F4CxzW0lpDw22WARCCbGsnWjyj7ZrdGK4hw4d7VggaKwqIAdsK5PxcBU_aem_Adm-4_0Hd1LQwkWcZWT2Io-aDp5kUcsmXaQKa6_UryhOFVc_2Q_RMeitUdSN7smui7s23K2T6-vWIqM6jZZi9aR_



อ้างอิง รายงานการประชุม คณะกรรมการจัดการจราจรทางบก ครั้งที่ 15/2537 วันที่ 20 ตุลาคม 2537

https://www.otp.go.th/uploads/tiny_uploads/MainGroup/2537(1-19)/15-2537(%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AF).PDF

ทางพิเศษบางนา – อาจณรงค์ 

เริ่มจากปลายทางพิเศษฉลองรัชซ้อนทับทางพิเศษเฉลิมมหานครช่วงแยกต่างระดับอาจณรงค์ต่อเนื่องสู่ทางพิเศษบูรพาวิถี ระยะทางทั้งหมด 4.7 กิโลเมตร



ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์)

เริ่มจากวงแหวนรอบนอกกรุงเทพใกล้โรงกรองน้ำมหาสวัสดิ์จนถึงถนนกำแพงเพชร 2 ผ่านจุดสำคัญ เช่น ทางรถไฟสายใต้เดิม สะพานพระราม 6 เชื่อมต่อทางพิเศษศรีรัชช่วงขนส่งหมอชิต 2 
รวมทาง



นอกจากเส้นทางหลักในกรุงเทพฯ และปริมณฑลแล้ว ยังมีทางด่วนรอบตัวเมืองเพื่อการเชื่อมต่อไปยังจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งรวมทางด่วน รอบเมือง ได้แก่
มอเตอร์เวย์ 

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 กรุงเทพฯ - ชลบุรี - พัทยา สายใหม่ ระยะทางทั้งหมด 125.9 กิโลเมตร 

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 วงแหวนรอบนอกตะวันออก (บางปะอิน - บางพลี) ระยะทางทั้งหมด 131 กิโลเมตร

โทลล์เวย์ หรือทางยกระดับอุตราภิมุข แบ่งเป็นด่านขาออก ช่วงดินแดง – ดอนเมือง ช่วงอนุสรณ์สถาน - รังสิต และด่านขาเข้า ช่วงอนุสรณ์สถาน - ดินแดง
ช่วงดอนเมือง - ดินแดง ระยะทางทั้งหมด 28 กิโลเมตร



แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่