🤢
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ไม่ใช่โรคของผู้สูงอายุเท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย แม้แต่ในกลุ่มคนอายุน้อย หากมีพฤติกรรมเสี่ยงหรือมีโรคประจำตัวบางอย่าง ก็อาจนำไปสู่ภาวะสมองขาดเลือด หรือเลือดออกในสมองได้เช่นกัน ซึ่งอาจส่งผลรุนแรงถึงขั้น อัมพฤกษ์-อัมพาต หรือเสียชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
🤢
โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร?
โรคหลอดเลือดสมอง เกิดจากภาวะหลอดเลือดสมอง อุดตัน ตีบ หรือแตก ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ หรือเกิดการบาดเจ็บของเนื้อสมอง ซึ่งส่งผลให้เซลล์สมองเสียหาย
อาการที่ต้องสังเกต
ผู้ป่วยมักมีอาการเฉียบพลัน เช่น
⚠️ ปากเบี้ยว หน้าเบี้ยว
⚠️ พูดไม่ชัด หรือพูดไม่ได้
⚠️ ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน
⚠️ แขนขาอ่อนแรง หรือชาครึ่งซีก
⚠️ เดินเซ ไม่สามารถทรงตัวได้
🤢 แม้ในอดีตโรคนี้จะพบมากในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว แต่ปัจจุบันพบมากขึ้นในกลุ่ม วัยทำงานและวัยรุ่น ที่มีความเครียดสูง สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ออกกำลังกาย และมีพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม หรือพบได้ในผู้ที่ไม่ได้ตรวจร่างกายสม่ำเสมอ ทำให้ไม่ทราบโรคประจำตัวมาก่อน
ประเภทของโรคหลอดเลือดสมอง
🚫
หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน เกิดจากไขมันสะสมในผนังหลอดเลือด หรือเกิดจากการมีลิ่มเลือดจากหัวใจไปอุดตันหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดแบบเฉียบพลัน
🚫
หลอดเลือดสมองแตกหรือฉีกขาด มักเกิดจากความดันโลหิตสูง หรือหลอดเลือดเสื่อม จนทำให้เกิดการฉีกขาดและเลือดออกในสมอง
ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
⚠️โรคความดันโลหิตสูง
⚠️โรคเบาหวาน
⚠️โรคหัวใจ
⚠️ไขมันในเลือดสูง
⚠️โรคอ้วน
⚠️การสูบบุหรี่
⚠️การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
แม้คุณจะยังอายุน้อย แต่หากมีพฤติกรรมเหล่านี้ ก็มีความเสี่ยงเทียบเท่าผู้สูงอายุ
ทำไมคนอายุน้อยถึงเส้นเลือดสมองแตก โรงพยาบาลเวชธานีมีคำตอบ
💙
การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองสามารถทำได้ด้วย
📍CT Scan (เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง)
📍MRI (คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) ซึ่งแสดงภาพหลอดเลือดและเนื้อสมองได้อย่างชัดเจน
📍Transcranial Doppler (TCD) ตรวจการไหลเวียนของเลือดในสมอง
📍Carotid Doppler ตรวจหลอดเลือดคอ
ซึ่งช่วยให้แพทย์วางแผนการรักษาและป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
💙
แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน
การรักษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันจำเป็นต้องดำเนินการ ภายใน “เวลาทอง” (Golden Period) โดยเฉพาะภายใน 4.5 ชั่วโมงแรก หลังเริ่มมีอาการ เพื่อเพิ่มโอกาสให้สมองฟื้นตัว และลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนระยะยาว โดยแนวทางการรักษาที่สำคัญ ได้แก่:
✅
การให้ยาละลายลิ่มเลือด (Intravenous Thrombolysis) ช่วยสลายลิ่มเลือดที่อุดตันหลอดเลือดสมอง ทำให้เลือดกลับมาไหลเวียนได้ตามปกติ
✅
การดึงลิ่มเลือดด้วยสายสวน (Mechanical Thrombectomy) สำหรับกรณีที่มีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดสมองขนาดใหญ่ แพทย์จะใช้สายสวนเข้าไปดึงลิ่มเลือดออกโดยตรง
✅
การรักษาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงในห้องผ่าตัดไฮบริด (Hybrid Operating Room) ห้องผ่าตัดที่รวมอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัยสำหรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาไว้ในที่เดียว
✅
Biplane DSA (Biplane Digital Subtraction Angiography) หนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญซึ่งสามารถถ่ายภาพหลอดเลือดได้พร้อมกัน 2 มุมมอง ได้แก่ ด้านหน้าและด้านข้าง ภาพที่ได้มีความคมชัดสูง ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นหลอดเลือดขนาดเล็กได้อย่างแม่นยำราวกับภาพ 3 มิติ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้TMS กระตุ้นสมอง ฟื้นฟูผู้ป่วย Stroke
เปลี่ยนชีวิตผู้ป่วย Stroke ให้กลับมาใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติ โปรแกรมฟื้นฟู 1 เดือนเห็นผล
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลเวชธานี โทร. 02-734-0000
✨
การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในคนอายุน้อย
เพื่อไม่ให้โรคนี้เกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน ควรปฏิบัติตัวดังนี้
✅หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคลอเรสเตอรอลสูง
✅เลิกบุหรี่
✅ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
✅ควบคุมน้ำหนัก
✅ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
✅ตรวจสุขภาพประจำปี
ที่สำคัญ หากสังเกตอาการตัวเองและพบมีอาการที่เข้าข่ายโรคหลอดเลือดสมอง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะยิ่งรักษาเร็ว โอกาสฟื้นตัวของสมองก็ยิ่งสูง และสามารถลดความเสี่ยงการเกิด
อัมพฤกษ์ อัมพาตได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000
รู้ทัน Stroke โรคร้ายที่ไม่เลือกอายุ
🤢โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ไม่ใช่โรคของผู้สูงอายุเท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย แม้แต่ในกลุ่มคนอายุน้อย หากมีพฤติกรรมเสี่ยงหรือมีโรคประจำตัวบางอย่าง ก็อาจนำไปสู่ภาวะสมองขาดเลือด หรือเลือดออกในสมองได้เช่นกัน ซึ่งอาจส่งผลรุนแรงถึงขั้น อัมพฤกษ์-อัมพาต หรือเสียชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
🤢โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร?
โรคหลอดเลือดสมอง เกิดจากภาวะหลอดเลือดสมอง อุดตัน ตีบ หรือแตก ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ หรือเกิดการบาดเจ็บของเนื้อสมอง ซึ่งส่งผลให้เซลล์สมองเสียหาย
อาการที่ต้องสังเกต
ผู้ป่วยมักมีอาการเฉียบพลัน เช่น
⚠️ ปากเบี้ยว หน้าเบี้ยว
⚠️ พูดไม่ชัด หรือพูดไม่ได้
⚠️ ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน
⚠️ แขนขาอ่อนแรง หรือชาครึ่งซีก
⚠️ เดินเซ ไม่สามารถทรงตัวได้
ประเภทของโรคหลอดเลือดสมอง
🚫หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน เกิดจากไขมันสะสมในผนังหลอดเลือด หรือเกิดจากการมีลิ่มเลือดจากหัวใจไปอุดตันหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดแบบเฉียบพลัน
🚫หลอดเลือดสมองแตกหรือฉีกขาด มักเกิดจากความดันโลหิตสูง หรือหลอดเลือดเสื่อม จนทำให้เกิดการฉีกขาดและเลือดออกในสมอง
ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
⚠️โรคความดันโลหิตสูง
⚠️โรคเบาหวาน
⚠️โรคหัวใจ
⚠️ไขมันในเลือดสูง
⚠️โรคอ้วน
⚠️การสูบบุหรี่
⚠️การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
แม้คุณจะยังอายุน้อย แต่หากมีพฤติกรรมเหล่านี้ ก็มีความเสี่ยงเทียบเท่าผู้สูงอายุ
📍CT Scan (เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง)
📍MRI (คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) ซึ่งแสดงภาพหลอดเลือดและเนื้อสมองได้อย่างชัดเจน
📍Transcranial Doppler (TCD) ตรวจการไหลเวียนของเลือดในสมอง
📍Carotid Doppler ตรวจหลอดเลือดคอ
ซึ่งช่วยให้แพทย์วางแผนการรักษาและป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
💙แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน
การรักษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันจำเป็นต้องดำเนินการ ภายใน “เวลาทอง” (Golden Period) โดยเฉพาะภายใน 4.5 ชั่วโมงแรก หลังเริ่มมีอาการ เพื่อเพิ่มโอกาสให้สมองฟื้นตัว และลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนระยะยาว โดยแนวทางการรักษาที่สำคัญ ได้แก่:
✅การให้ยาละลายลิ่มเลือด (Intravenous Thrombolysis) ช่วยสลายลิ่มเลือดที่อุดตันหลอดเลือดสมอง ทำให้เลือดกลับมาไหลเวียนได้ตามปกติ
✅การดึงลิ่มเลือดด้วยสายสวน (Mechanical Thrombectomy) สำหรับกรณีที่มีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดสมองขนาดใหญ่ แพทย์จะใช้สายสวนเข้าไปดึงลิ่มเลือดออกโดยตรง
✅การรักษาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงในห้องผ่าตัดไฮบริด (Hybrid Operating Room) ห้องผ่าตัดที่รวมอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัยสำหรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาไว้ในที่เดียว
✅Biplane DSA (Biplane Digital Subtraction Angiography) หนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญซึ่งสามารถถ่ายภาพหลอดเลือดได้พร้อมกัน 2 มุมมอง ได้แก่ ด้านหน้าและด้านข้าง ภาพที่ได้มีความคมชัดสูง ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นหลอดเลือดขนาดเล็กได้อย่างแม่นยำราวกับภาพ 3 มิติ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
✨การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในคนอายุน้อย
เพื่อไม่ให้โรคนี้เกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน ควรปฏิบัติตัวดังนี้
✅หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคลอเรสเตอรอลสูง
✅เลิกบุหรี่
✅ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
✅ควบคุมน้ำหนัก
✅ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
✅ตรวจสุขภาพประจำปี
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้