กระดุมผ้าของจีน

.

.
.


ศิลปะปั่นโข่ว 盘扣
เป็นมากกว่าแค่กระดุมผ้า

ปั่นโข่ว 盘扣  คือ
องค์ประกอบสุดอลังการของจีน

สังเกตปมประณีตบนเสื้อผ้า
แบบเสื้อผ้าจีนยุคดั้งเดิม

ปั่นโข่ว 盘扣 คือ กระดุมผ้า
ที่สร้างจากการพันเส้นด้าย
เย็บและมัดเป็นชิ้นงานศิลป์จิ๋ว

ย้อนไปถึงช่วงใบไม้ผลิ - ฤดูใบไม้ร่วง
แม้แต่ ทหารดินเผาจิ๋นซีฮ่องเต๊
ก็ใช้ในยุคแรกเริ่ม

กระดุมผ้าเหล่านี้ ได้รับความนิยม
ในยุคราชวงศ์ หยวน-หมิง
แต่ละชิ้นประกอบด้วยสามส่วน
ห่วง (loop) ประดับ/ปม (knot) และ ฐาน (base)  

เสน่ห์ที่แท้จริง อยู่ที่การออกแบบ

พืชพรรณ-รูป
น้ำเต้า, ดอกเบญจมาศ, ดอกเหมย

สัตว์-ลวดลาย
ผีเสื้อ, ปลาทอง, นกนางแอ่น

อักษร-สัญลักษณ์
หนึ่ง, อายุยืนยาว, มงคลคู่

ปม-ปมรูป
หรูอี้, มังกร, ปี่ผา


Credit. SINOSPHERE 漢字文化圈
.

.
.

.
.


.
.


.
.

.
.

.
.

.
.

.
.
.

หมายเหตุ

กระดุมสองรู/สี่รู และ กระดุมผ้าจีน
ตามหลักฐานทางโบราณคดี


1. กระดุมเจาะรู (สองรู/สี่รู) ยุคแรก
มีแหล่งกำเนิดยุโรป/เอเชียตะวันตก
พบกระดุมหินเจาะ 2 รู ที่หลุมขุดค้น Çatalhöyük ยุคหินใหม่ ที่ตุรกี
อายุ 6,000 ปีก่อนคริสตกาล

ลุ่มแม่น้ำสินธุ  พบกระดุมเปลือกหอย
เจาะ 2 รู ในอารยธรรมฮารัปปา
(2,600–1,900 ปีก่อนคริสตกาล)

วัตถุประสงค์  ใช้ประดับมากกว่า
ยังไม่ใช้เปิดปิดเสื้อแบบทุกวันนี้

2. กระดุมผ้าจีน
พบ กระดุมผ้าห่วง-ปม  (布扣)
ในสุสานยุครัฐสงคราม
(475–221 ปีก่อนคริสตกาล)
ที่มณฑลหูเป่ย์

เอกสาร โจวหลี่ (周禮)
ยุคราชวงศ์โจวตะวันออก
(770–256 ปีก่อนคริสตกาล)
กล่าวถึง 繫帶 (ผูกสาย)
ซึ่งนักวิชาการตีความว่า
เป็นรูปแบบต้นแบบของกระดุมผ้า

เทคนิค
ใช้ระบบ ปม+ห่วง (扣襻)
จากเส้นไหม พัฒนาเป็นลาย
ตั่วโจว (套结) ในสมัยหลัง  

3. การเปรียบเทียบช่วงเวลา
กระดุม 2/4 รู ที่ อนาโตเลีย    
6,000 ปีก่อน ค.ศ.  
วัศดุ หิน/กระดูก  

กระดุมผ้าจีน ที่ หูเป่ย์
475–221 ปีก่อน ค.ศ.
วัศดุ ผ้าไหม

กระดุมเจาะรูในยุโรป/เอเชียตะวันตก
จะมีอายุเก่าแก่กว่ากระดุมผ้าจีน
แต่เป็นการใช้เพื่อการตกแต่ง

ส่วนกระดุมผ้าจีนแม้เกิดทีหลัง
แต่ถูกออกแบบเพื่อการปิดเปิด
เสื้อผ้าโดยเฉพาะ (คล้ายทุกวันนี้)
ซึ่งเป็นแนวคิดที่ก้าวหน้ากว่า

4. การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม
เส้นทางแพร่กระจายกระดุมผ้า
จีน ผ่านเส้นทางสายไหม
ชนเผ่าเร่ร่อนในเอเชียกลาง
สู่เปอร์เซีย สู่ ยุโรป
(ถึงราวคริสต์ศตวรรษที่ 13)

กระดุม 4 รูในยุโรป
เริ่มใช้อย่างแพร่หลายในศตวรรษที่ 14
พร้อมระบบ สายรัด (buttonhole)
โดยพบหลักฐานในภาพวาด
และเสื้อเกราะของอัศวิน

ในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม
ยุโรปเริ่มผลิตกระดุมได้จำนวนมาก
นิยมใช้กันเพราะสะดวกเวลาใส่เสื้อ

5. บทบาทของจีนต่อกระดุมผ้า
ราชวงศ์หยวน (1271–1368)
ปรากฏ กระดุมโลหะ
ติดเสื้อทหารมองโกล
พร้อมระบบห่วงโลหะคู่  

ราชวงศ์หมิง (1368–1644)
มีการผลิต กระดุมผ้าลายซับซ้อน
สำหรับชุดขุนนาง และส่งออกไปยัง
ยุโรปผ่านพ่อค้าชาวดัตช์/โปรตุเกส

จีนไม่ได้ผลิตกระดุมเจาะรู ก่อนยุโรป
แต่เป็นผู้บุกเบิกกระดุมผ้าแบบใช้งาน
ได้จริงเชิงฟังก์ชัน (องค์ประกอบ)
ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนากระดุมยุคใหม่

ในยุคก่อนมีกระดุมสองรู สี่รู
เสื้อผ้ามักใช้การห่มคลุม/ห่อหุ้มทั้งตัว
แบบชุดจีวรนักบวช ชุดขุนนางจีน
เสื้อกล้ามคอกลม เสื้อยืด ฯลฯ
ไม่มีการผ่าให้เสื้อเปิดปิดได้
แบบทุกวันนี้ ที่สวมใส่ได้ง่ายกว่า
เว้นแต่กระดุมหลุดหาย หรือ
ใส่กระดุมผิดเม็ด ก็ต้องรื้อใส่ใหม่
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่