ทำไมเครื่องบินที่บินผ่านน่านฟ้ากัมพูชา แต่รายได้ส่วนใหญ่กลับเป็นของไทย?

ทำไมเครื่องบินที่บินผ่านน่านฟ้ากัมพูชา แต่รายได้ส่วนใหญ่กลับเป็นของไทย?


รู้จักระบบควบคุมจราจรทางอากาศของไทยและกัมพูชา พร้อมเผยรายได้มหาศาลจาก "ค่าผ่านน่านฟ้า"
บนท้องฟ้าที่กว้างใหญ่ ไม่ได้เป็นเพียงแค่พื้นที่ว่างเปล่า แต่มี “เส้นทางการบิน” ซึ่งเปรียบได้กับถนนในอากาศ เพื่อควบคุมเส้นทางการบินของเครื่องบินนับพันลำที่บินอยู่พร้อมกันทั่วโลก
ทำให้การบริหารจัดการจราจรทางอากาศ หรือ Air Traffic Control (ATC) จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพสูงสุด
ใครดูแลจราจรทางอากาศในไทย?
ประเทศไทยมี บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (AEROTHAI) ทำหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศทั่วประเทศ โดยเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม มีรายได้หลักจากค่าบริการเครื่องบินที่บินผ่านน่านฟ้า และที่บินขึ้น-ลงสนามบินในไทย
 

แล้วกัมพูชาล่ะ? บริหารจัดการอย่างไร

กัมพูชามีชัยภูมิที่ตั้งสำคัญ โดยอยู่ทางทิศตะวันออกของไทย จึงเป็นเส้นทางผ่านของเที่ยวบินจากกรุงเทพฯ ไปประเทศทางตะวันออก และเที่ยวบินจากซีกโลกใต้สู่ซีกโลกเหนือ ทำให้กัมพูชาเป็นอีกประเทศที่มีรายได้สูงจาก “ค่าผ่านน่านฟ้า”
หน่วยงานที่รับผิดชอบการควบคุมจราจรทางอากาศของกัมพูชา คือ บริษัท แคมโบเดีย แอร์ ทราฟฟิก เซอร์วิส จำกัด (CATS) ก่อตั้งเมื่อปี 2544 และได้รับสัมปทานจากรัฐบาลกัมพูชาให้ควบคุมจราจรทางอากาศจนถึงปี 2584
รวมรายได้หลักทั้งหมดประมาณ 1,755 ล้านบาท


แล้วทำไมรายได้ตกเป็นของไทย?
เนื่องจาก CATS ปัจจุบันถือหุ้นโดยบริษัทไทย 100% คือ บริษัท สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SAV โดยมีโครงสร้างผู้ถือหุ้นดังนี้:
บริษัท สามารถ ยู-ทรานส์ จำกัด – 60%
บริษัท สามารถ อินเตอร์ โฮลดิ้ง จำกัด – 14.06%
โดยทั้งสองบริษัทข้างต้น ถือหุ้นในสัดส่วน 100% โดย บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

กัมพูชาได้รับส่วนแบ่งแค่ไหน?
หน่วยงานที่กำกับดูแลกิจการการบินพลเรือนของกัมพูชานั่นคือ สำนักเลขาธิการการบินพลเรือนกัมพูชา (The State Secretariat of Civil Aviation of Cambodia) หรือ SSCA เปรียบได้กับ สำนักงานการบินพลเรือนของไทย โดยตามสัมปทานที่รัฐบาลกัมพูชามีกับ CATS นั้น CATS จะต้องแบ่งรายได้ให้กับ SSCA ตามสัดส่วนดังนี้:
รายได้ค่าบริการสำหรับเที่ยวบินที่บินขึ้น-ลง ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ แบ่งให้ SSCA 50% ของรายได้
รายได้ค่าบริการสำหรับเที่ยวบินที่บินผ่านเขตน่านฟ้ากัมพูชาแบ่งให้ SSCA 40% ของรายได้ (30% ในปีที่ 1-15 แต่ได้ครบกำหนดไปแล้ว)

อ่านเนื้อหาเต็มๆได้ที่นี่ https://www.sanook.com/news/9805902/?tbref=hp

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่