.
.
นักวิจัยวิเคราะห์กาแฟผสม 30 สูตร
ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะเพื่อค้นหาส่วนผสม
ที่เหมาะสมที่สุดของรสชาติและคาเฟอีน
© Deposit Photos
.
.
.
© STEFANIA PELFINI, LA WAZIYA
PHOTOGRAPHY / GETTY IMAGES
.
.
.
อยากกินกาแฟ นคร มงคลายน
.
.
ยามเช้า
บางคนชอบดื่มกาแฟหนึ่งถ้วย (หรือสี่ถ้วย)
หลายคนชอบรสชาติของกาแฟ
ชอบขั้นตอนการบดเมล็ดกาแฟ
ชอบความรู้สึกกระปรี้กระเปร่า
ที่ได้รับจากคาเฟอีน
มันเป็นวิธีที่ดีในการเริ่มต้นวันใหม่
แต่เช่นเดียวกับสิ่งดี ๆ ทั้งหมด
กาแฟก็มักจะถูกเข้าใจผิดอยู่เสมอ
เรื่องนี้หลายคนไม่พอใจ
ทั้งในฐานะผู้ดื่มกาแฟ
และในฐานะแฟนพันธุ์แท้ทางวิทยาศาสตร์
ดังนั้น การศึกษาเรื่องความเข้าใจผิด
เกี่ยวกับกาแฟ/ค้นหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
1. การคั่วเข้มไม่ได้เข้มข้นกว่า
หลายคนคิดว่าการคั่วเข้ม
จะมีรสชาติความเข้มข้นมากกว่า
และมีคาเฟอีนมากกว่าการคั่วอ่อน
ซึ่งก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้เอง
การคั่วเข้มมีรสชาติที่เข้มข้นกว่า
ดังนั้น ทำไมการคั่วเข้ม
ถึงมีคาเฟอีนมากกว่ากัน
ซึ่ง
ไม่เป็นความจริงเลย
ความแตกต่างระหว่างการคั่ว
การคั้วเข้มและคั่วอ่อน
ก็คือ ปริมาณการคั่วเมล็ดกาแฟ
ตามชื่อที่บ่งบอกไว้ข้างต้น
บทความในปี 2017 ที่ตีพิมพ์ใน
Nature โดย Megan Fuller และ Niny Z. Rao
จาก Thomas Jefferson University
ได้เปรียบเทียบความเข้มข้นของคาเฟอีน
ใน
วิธีชงกาแฟ โดยใช้กาแฟคั่วระดับกลาง
และระดับเข้มในปริมาณเท่ากัน
โดยกาแฟทั้งหมดเป็น
เมล็ดอาราบิก้า
ที่ปลูกในภูมิภาคโคน่าของฮาวาย
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า
กาแฟคั่วระดับกลาง
มีความเข้มข้นสูงกว่า
กาแฟคั่วระดับเข้ม
เมื่อเทียบกับกาแฟคั่วระดับเข้ม
หากรสชาติที่เข้มข้นของกาแฟคั่ว
ระดับเข้มทำให้คนเรารู้สึกมีชีวิตชีวา
ก็ไม่เป็นไร ไม่ใช่ความเข้าใจผิด
เพราะเป็นแค่อุปทานของคนเรา
แค่รู้ว่า คนเราไม่ได้รู้สึกลึกซึ้งถึง
ความกระปรี้กระเปร่า
จากคาเฟอีนเพิ่มเติมใด ๆ
.
.
2. กาแฟไม่ขัดขวางการเจริญเติบโต
หลายคนเชื่อว่าเด็กไม่ควรดื่มกาแฟ
หรือ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนใด ๆ
เพราะมันขัดขวางการเจริญเติบโต
ไม่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ
ที่สนับสนุนข้ออ้างอิงดังกล่าวนี้
ยังไม่สามารถพบการศึกษาวิจัย
ที่เชื่อมโยงการบริโภคกาแฟ
กับการเจริญเติบโตในทางใดทางหนึ่งได้
นายแพทย์ Roy Kimค กล่าวในบล็อกโพสต์
Cleveland Clinic ว่า
" คาเฟอีนไม่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต
แม้แต่ความคิดนี้ ก็ยังไม่ชัดเจน
ชี้ให้เห็นว่าคาเฟอีนสามารถช่วยลด
ความอยากอาหารได้
แต่ไม่ได้ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญ
ต่อการเจริญเติบโตของเด็ก ”
.
.
.
.
อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ได้หมายความว่า
กาแฟไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก
แต่การประเมินคาเฟอีน
ในแง่ของปัญหาอื่น เช่น
ปัญหาการนอนหลับ และความสนใจ
เด็กที่ดื่มกาแฟอาจประสบปัญหาต่าง ๆ
เช่น หัวใจเต้นผิดปกติ ความวิตกกังวล
ท้องไส้ปั่นป่วน และอารมณ์แปรปรวน
(ประสบการณ์ส่วนตัวของนักวิจัย
แนะนำว่า สิ่งนี้ยังเป็นจริงสำหรับ
นักข่าวเทคโนโลยีวัยกลางคนด้วย)
.
.
3. กาแฟไม่ทำให้คนเราขาดน้ำ
หลายคนเชื่อว่าการดื่มกาแฟ
ทำให้ร่างกายคนเราขาดน้ำ
เช่นเดียวกับตำนานอื่น ๆ
มีเหตุผลบางอย่างที่สอดคล้องกันคือ
คาเฟอีนเป็น
ยาขับปัสสาวะ
ซึ่งมีผลคือ คนดื่มกาแฟมาก
จะปัสสาวะมากขึ้นหลังจากดื่ม
.
.
.
.
.
การศึกษาวิจัยในปี 2014
ที่ตีพิมพ์ใน
PLoS ONE โดย
Sophie C. Killer, Andrew K. Blannin
และ Asker E. Jeukendrup
จาก University of Birmingham
นำผู้ชายเข้าร่วมทดลอง 50 คน
โดยควบคุมกิจกรรมทางกาย อาหาร
และการบริโภคของเหลว
ในการทดลอง 2 ครั้ง
ในการทดลองครั้งหนึ่ง
ผู้เข้าร่วมแต่ละคนดื่มกาแฟ
4 แก้ว (200 มิลลิลิตร)
และในการทดลองครั้งที่สอง
ผู้เข้าร่วมแต่ละคนดื่มน้ำเปล่าแทน
ผลลัพธ์ที่ได้คือ
" ข้อมูลของเราแสดงให้เห็นว่า
ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
ในคุณสมบัติในการให้
ความชุ่มชื้น
ของกาแฟหรือน้ำ กับ ดัชนีการประเมิน
การให้ความชุ่มชื้นที่หลากหลาย "
ตามผลการศึกษาวิจัย
เรื่องนี้สมเหตุสมผล
เมื่อคนเรารู้ว่า กาแฟมีคาเฟอีน
แต่ส่วนใหญ่ตัองใช้น้ำผสม
ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่า
ทำให้เกิดผลที่ไม่รุนแรงของคาเฟอีน
.
.
4. กาแฟไม่ทำให้เกิดโรคหัวใจ
ความเข้าใจผิดทั่วไปเกี่ยวกับกาแฟ
อีกประการหนึ่งคือ การดื่มกาแฟ
สามารถทำให้เกิดโรคหัวใจได้
ผู้ดื่มกาแฟทุกคนรู้ว่าการดื่มกาแฟ 1 แก้ว
สามารถทำให้หัวใจเต้นแรงได้
แต่การวิจัยไม่ได้เชื่อมโยง
การดื่มกาแฟกับโรคหัวใจ
.
.
.
.
.
การวิจัยบางส่วนก็ชี้ให้เห็นตรงกันข้าม
การศึกษาวิจัยในปี 2022 ที่ตีพิมพ์
โดย
European Society of Cardiology
พบว่า การดื่มกาแฟ 2-3 ถ้วยต่อวัน
ช่วยให้สุขภาพหัวใจดีขึ้นได้
การศึกษาวิจัยดังกล่าว
ซึ่งใช้ข้อมูลจากประชาชน
ในสหราชอาณาจักรกว่า 500,000 คน
“ การบริโภคกาแฟสำเร็จรูป กาแฟบด
และกาแฟดีแคฟ (ไร้คาเฟอีน)
โดยเฉพาะ 2-3 ถ้วย/วัน
ช่วยลดการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
และอัตราการเสียชีวิตได้อย่างมีนัยสำคัญ ”
เช่นเดียวกับการกินทุกสิ่งทุกอย่าง
กาแฟควรดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ
(
มัชฌิมาปฏิปทา) และควรปรึกษาแพทย์
หากมีพฤติกรรมการดื่มคาเฟอีนมากเกินไป
.
เรียบเรียง/ที่มา
Popscience
.
.
คำว่า กาแฟเป็นภาษาสมัยใหม่
แรกเริ่มเดิมทีเรียกกันว่า
ข้าวแฝ่
เพราะการออกเสียงภาษาฝรั่ง
ยังไม่ถนัดปากและมีเสียงใกล้กับ ข้าว
เลยโมเมว่าเป็นข้าวเสียเลย
เช่น ทูตอังกฤษที่เข้ามาเมืองไทย
เมื่อสมัยรัชกาลที่ 2
มิสเตอร์ครอเฟิต
เรียกว่า
นายการะฟัด ซึ่งสนิทหูคนไทย
.
.
.
.
สมัยรัชกาลที่ 4 ก็เรียกกันว่า ข้าวแฟ
ปรากฏอยู่ในหนังสือ
สัพพะวัจนะภาษาไทย
ของ
ปาเลอกัว ฉบับพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2397
กาแฟ (Coffee) นัยว่าเลือนมาจาก
คำว่า กาวา (kahwah) ซึ่งชาวอาหรับเรียก
และในชั้นเดิมว่า หมายถึง เหล้าองุ่น
.
.

.
.
กาแฟเป็นอาหารมาก่อน เพราะ
นายแพทย์ชาวอาหรับ
Abu Bakr al Rhazes
ได้กล่าวไว้ในเอกสารตั้งแต่ ค.ศ.900 ว่า
กาแฟนี้เริ่มแรกใช้เป็นอาหาร
นำเอาผลกาแฟที่ตากแห้งแล้ว
แกะเอาเมล็ดออกผสมกับ
น้ำมันปั้นเป็นก้อนกลม ๆ
ส่วนที่ทำเหล้าใช้เมล็ดดิบ/เปลือกแห้ง
(มีเหล้ารสกาแฟ อร่อยดี)
คนไทย รู้จัก กาแฟ
ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแล้ว
ไม่ใช่เพิ่งมารู้จักกันในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
แต่เอาเข้ามาในรัชกาลไหนยังไม่ทราบแน่ชัด
เพราะคนไทยเราเห็นจะไม่ค่อยชอบ
จึงไม่ได้บันทึกไว้ในพงศาวดาร
หรือจะไม่เห็นเป็นของแปลกก็ได้
แต่มีในจดหมายเหตุของฝรั่ง
ยุคสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ระบุว่า
พวกแขกมัวร์ ชอบดื่มกาแฟมาก
นอกจากนี้ยังปรากฏอีกว่า
ได้มีการปลูกกาแฟขึ้นในสยามแล้ว
กาแฟ
ปลูกกันแถวสงขลา
มีรสดีพอใช้และปลูกกันมากที่เดียว
แต่คนไทยไม่ค่อยนิยมดื่มกาแฟ
เพราะรสติดจะขม อาจจะคิดว่าเป็นยา
ในสมัยรัชกาลที่ 3
มีพระราชประสงค์จะทำสวนกาแฟ
สวนกาแฟอยู่ที่ บริเวณวัดราชประดิษฐ์
เรื่องนี้เป็นเครื่องชี้วัดได้ว่า
เป็นรัชสมัยที่กาแฟแพร่หลายมาก
จนมีการทำสวนกาแฟขึ้นมา
(น่าจะขาย/ส่งออกมากกว่าดื่มกันในสยาม)
ในรัชกาลที่ 4
ยังมีสวนกาแฟของขุนนางสยาม
สมเด็จเจ้าพระยามหาประยูรวงศ์
มีในจดหมายเหตุของ
เซอร์ยอห์นโบว์ริง ราชทูตอังกฤษ
ซึ่งเข้ามาทำสัญญากับสยาม
เมื่อ พ.ศ.2398 ในรัชกาลที่ 4 ได้เขียนว่า
ได้เคยไปเที่ยวสวนกาแฟของ
สมเด็จเจ้าพระยามหาประยูรวงศ์
ซึ่งปรากฏมีต้นกาแฟมากมาย
และยังได้ให้เซอร์ยอห์นโบว์ริง
ลองเก็บไปกินเป็นตัวอย่าง 3 กระสอบ
จากหลักฐานเหล่านี้ก็แสดงว่า
การปลูกกาแฟของสยาม
เคยพยายามทำเป็นล่ำเป็นสันกันมาแล้ว
แต่คนไทยในสมัยนั้นไม่นิยมดื่มกาแฟ
หรืออาจจะเป็นด้วยกาแฟพันธุ์ไม่ดี
คนจึงไม่นิยมก็ไม่ทราบแน่ชัด
การทำสวนกาแฟเห็นจะหยุดชะงักมานาน
จนกระทั่งเลิกกิจการไป ไม่มีใครคิดจะปลูก
.
.

.
.
การดื่มกาแฟเห็นจะมีแพร่หลายมากขึ้น
ร้านกาแฟในกรุงเทพฯ จะเริ่มมีมากขึ้น
ในสมัยไหนก็ไม่พบหลักฐาน
แต่ปรากฏว่าใน พ.ศ.2460
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
แหม่มโคล์ ชาวอเมริกัน
ได้ตั้งร้านขายกาแฟ แถวสี่กั๊กพระยาศรี
โดยเปิดขายทุกวันพฤหัสบดี
ตั้งแต่เวลา 15.00 น – 18.00 น.
ชื่อว่าร้าน
Red Cross Tea Room
หน้าร้านปักธงกาชาด ปรากฏว่ามี
เจ้านาย และ ข้าราชการ ชาวต่างประเทศ
พากันมาอุดหนุนกันมาก
ผลกำไรที่ได้จากการขายกาแฟ
ได้ส่งไปบำรุงกาชาดของ สัมพันธมิตร
และเข้าใจว่าร้านกาแฟ คงจะเริ่มมีมากขึ้น
ในสมัยรัชกาลที่ 6 และที่ 7 นี้เอง
.
.
พระยาสารศาสตร์พลขันธ์ ได้บันทึกว่า
กาแฟนำเข้ามาปลูกในสยาม ในปี พ.ศ.2447
โดยนายดีหมุน (ไทยมุสลิม) น่าจะ หะยี หมุน
ชื่อยกย่องในท้องถิ่นคนผ่านพิธีฮัจย์
ได้นำเมล็ดกาแฟ
พันธุ์โรบัสต้า
จากเมืองเมกกะ ซาอุดิอาระเบีย
นำมาปลูกครั้งแรกที่
อำเภอสะบ้าย้อย จ.สงขลา
จากนั้นก็มีการปลูกแพร่หลาย
ในปี พ.ศ.2561
กาแฟพันธุ์อราบิกา นำมาปลูกทดลอง
ที่บ้านมูเซอห้วยตาด อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
หลังจากมีหน่วยงานได้นำพันธุ์กาแฟต่างๆ
นำเข้ามาจากต่างประเทศ
เพี่อให้ชาวเขาปลูกทดแทนการปลูกฝิ่น
จนกาแฟกลายเป็นพืชเศรษฐกิจ
นพื้นที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทย
©
กำเนิดก่อเกิดกาแฟในประเทศไทย
.
.
กาแฟเป็นพืชพื้นเมืองของ
Abyssinia และ Arabia
ในศตวรรษที่ 6 ราวปี ค.ศ. 575
ใน Arabia เป็นพืชพื้นเมือง
ที่พบในเมือง Kaffa ของ Ethiopia
ต่อมาไปสู่ อิตาลี เนเธอร์แลนด์
เยอรมัน ฝรั่งเศส ฯลฯ
ชาวอาระเบีย เรียก
คะวาฮ์ Kawah คะเวฮ์ Kaweh คือ
พลัง Strength ความกระปรี้กระเปร่า Vigor
ชาวตุรกี เรียก คะเวฮ์ Kaveh
ต่อมาเรียกว่า Koffee Coffee
©
ประวัติของกาแฟ
.
.
Kopi Luwak
(กาแฟขี้ชะมด) ผลิตจากเมล็ดกาแฟ
ที่ผ่านการย่อยในระบบทางเดินอาหาร
ของชะมด (อีเห็นข้างลาย)
มีต้นกำเนิดจากอินโดนีเซีย
มีรสชาติและกลิ่นหอมเฉพาะตัว
เป็นที่นิยม/มีราคาสูงมากในตลาดโลก
ที่ชุมพร เวียตนาม มีการผลิต/ขาย
เดิมเป็นกาแฟคนยากไร้ในไร่กาแฟ
ต้องเก็บเมล็ดกาแฟในขี้ชะมด
นำขี้มา ล้าง ตาก คั่ว ต้ม ดื่มกันเอง
โดยชาวดัชต์เจ้าของสวนกาแฟไม่ห้าม
แต่พอได้ลิ้มลองรสชาติว่าดีมาก
ก็ยึดมาขายเสียเองตามประสานายทุน
ข้อเท็จจริงกาแฟ 4 ประเด็น
.
นักวิจัยวิเคราะห์กาแฟผสม 30 สูตร
ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะเพื่อค้นหาส่วนผสม
ที่เหมาะสมที่สุดของรสชาติและคาเฟอีน
© Deposit Photos
.
.
.
© STEFANIA PELFINI, LA WAZIYA
PHOTOGRAPHY / GETTY IMAGES
.
.
.
อยากกินกาแฟ นคร มงคลายน
.
ยามเช้า
บางคนชอบดื่มกาแฟหนึ่งถ้วย (หรือสี่ถ้วย)
หลายคนชอบรสชาติของกาแฟ
ชอบขั้นตอนการบดเมล็ดกาแฟ
ชอบความรู้สึกกระปรี้กระเปร่า
ที่ได้รับจากคาเฟอีน
มันเป็นวิธีที่ดีในการเริ่มต้นวันใหม่
แต่เช่นเดียวกับสิ่งดี ๆ ทั้งหมด
กาแฟก็มักจะถูกเข้าใจผิดอยู่เสมอ
เรื่องนี้หลายคนไม่พอใจ
ทั้งในฐานะผู้ดื่มกาแฟ
และในฐานะแฟนพันธุ์แท้ทางวิทยาศาสตร์
ดังนั้น การศึกษาเรื่องความเข้าใจผิด
เกี่ยวกับกาแฟ/ค้นหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
1. การคั่วเข้มไม่ได้เข้มข้นกว่า
หลายคนคิดว่าการคั่วเข้ม
จะมีรสชาติความเข้มข้นมากกว่า
และมีคาเฟอีนมากกว่าการคั่วอ่อน
ซึ่งก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้เอง
การคั่วเข้มมีรสชาติที่เข้มข้นกว่า
ดังนั้น ทำไมการคั่วเข้ม
ถึงมีคาเฟอีนมากกว่ากัน
ซึ่ง ไม่เป็นความจริงเลย
ความแตกต่างระหว่างการคั่ว
การคั้วเข้มและคั่วอ่อน
ก็คือ ปริมาณการคั่วเมล็ดกาแฟ
ตามชื่อที่บ่งบอกไว้ข้างต้น
บทความในปี 2017 ที่ตีพิมพ์ใน
Nature โดย Megan Fuller และ Niny Z. Rao
จาก Thomas Jefferson University
ได้เปรียบเทียบความเข้มข้นของคาเฟอีน
ใน วิธีชงกาแฟ โดยใช้กาแฟคั่วระดับกลาง
และระดับเข้มในปริมาณเท่ากัน
โดยกาแฟทั้งหมดเป็น เมล็ดอาราบิก้า
ที่ปลูกในภูมิภาคโคน่าของฮาวาย
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า
กาแฟคั่วระดับกลาง
มีความเข้มข้นสูงกว่า
กาแฟคั่วระดับเข้ม
เมื่อเทียบกับกาแฟคั่วระดับเข้ม
หากรสชาติที่เข้มข้นของกาแฟคั่ว
ระดับเข้มทำให้คนเรารู้สึกมีชีวิตชีวา
ก็ไม่เป็นไร ไม่ใช่ความเข้าใจผิด
เพราะเป็นแค่อุปทานของคนเรา
แค่รู้ว่า คนเราไม่ได้รู้สึกลึกซึ้งถึง
ความกระปรี้กระเปร่า
จากคาเฟอีนเพิ่มเติมใด ๆ
.
.
2. กาแฟไม่ขัดขวางการเจริญเติบโต
หลายคนเชื่อว่าเด็กไม่ควรดื่มกาแฟ
หรือ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนใด ๆ
เพราะมันขัดขวางการเจริญเติบโต
ไม่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ
ที่สนับสนุนข้ออ้างอิงดังกล่าวนี้
ยังไม่สามารถพบการศึกษาวิจัย
ที่เชื่อมโยงการบริโภคกาแฟ
กับการเจริญเติบโตในทางใดทางหนึ่งได้
นายแพทย์ Roy Kimค กล่าวในบล็อกโพสต์
Cleveland Clinic ว่า
" คาเฟอีนไม่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต
แม้แต่ความคิดนี้ ก็ยังไม่ชัดเจน
ชี้ให้เห็นว่าคาเฟอีนสามารถช่วยลด
ความอยากอาหารได้
แต่ไม่ได้ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญ
ต่อการเจริญเติบโตของเด็ก ”
.
.
อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ได้หมายความว่า
กาแฟไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก
แต่การประเมินคาเฟอีน
ในแง่ของปัญหาอื่น เช่น
ปัญหาการนอนหลับ และความสนใจ
เด็กที่ดื่มกาแฟอาจประสบปัญหาต่าง ๆ
เช่น หัวใจเต้นผิดปกติ ความวิตกกังวล
ท้องไส้ปั่นป่วน และอารมณ์แปรปรวน
(ประสบการณ์ส่วนตัวของนักวิจัย
แนะนำว่า สิ่งนี้ยังเป็นจริงสำหรับ
นักข่าวเทคโนโลยีวัยกลางคนด้วย)
.
.
3. กาแฟไม่ทำให้คนเราขาดน้ำ
หลายคนเชื่อว่าการดื่มกาแฟ
ทำให้ร่างกายคนเราขาดน้ำ
เช่นเดียวกับตำนานอื่น ๆ
มีเหตุผลบางอย่างที่สอดคล้องกันคือ
คาเฟอีนเป็น ยาขับปัสสาวะ
ซึ่งมีผลคือ คนดื่มกาแฟมาก
จะปัสสาวะมากขึ้นหลังจากดื่ม
.
.
.
การศึกษาวิจัยในปี 2014
ที่ตีพิมพ์ใน PLoS ONE โดย
Sophie C. Killer, Andrew K. Blannin
และ Asker E. Jeukendrup
จาก University of Birmingham
นำผู้ชายเข้าร่วมทดลอง 50 คน
โดยควบคุมกิจกรรมทางกาย อาหาร
และการบริโภคของเหลว
ในการทดลอง 2 ครั้ง
ในการทดลองครั้งหนึ่ง
ผู้เข้าร่วมแต่ละคนดื่มกาแฟ
4 แก้ว (200 มิลลิลิตร)
และในการทดลองครั้งที่สอง
ผู้เข้าร่วมแต่ละคนดื่มน้ำเปล่าแทน
ผลลัพธ์ที่ได้คือ
" ข้อมูลของเราแสดงให้เห็นว่า
ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
ในคุณสมบัติในการให้ ความชุ่มชื้น
ของกาแฟหรือน้ำ กับ ดัชนีการประเมิน
การให้ความชุ่มชื้นที่หลากหลาย "
ตามผลการศึกษาวิจัย
เรื่องนี้สมเหตุสมผล
เมื่อคนเรารู้ว่า กาแฟมีคาเฟอีน
แต่ส่วนใหญ่ตัองใช้น้ำผสม
ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่า
ทำให้เกิดผลที่ไม่รุนแรงของคาเฟอีน
.
.
4. กาแฟไม่ทำให้เกิดโรคหัวใจ
ความเข้าใจผิดทั่วไปเกี่ยวกับกาแฟ
อีกประการหนึ่งคือ การดื่มกาแฟ
สามารถทำให้เกิดโรคหัวใจได้
ผู้ดื่มกาแฟทุกคนรู้ว่าการดื่มกาแฟ 1 แก้ว
สามารถทำให้หัวใจเต้นแรงได้
แต่การวิจัยไม่ได้เชื่อมโยง
การดื่มกาแฟกับโรคหัวใจ
.
.
.
การวิจัยบางส่วนก็ชี้ให้เห็นตรงกันข้าม
การศึกษาวิจัยในปี 2022 ที่ตีพิมพ์
โดย European Society of Cardiology
พบว่า การดื่มกาแฟ 2-3 ถ้วยต่อวัน
ช่วยให้สุขภาพหัวใจดีขึ้นได้
การศึกษาวิจัยดังกล่าว
ซึ่งใช้ข้อมูลจากประชาชน
ในสหราชอาณาจักรกว่า 500,000 คน
“ การบริโภคกาแฟสำเร็จรูป กาแฟบด
และกาแฟดีแคฟ (ไร้คาเฟอีน)
โดยเฉพาะ 2-3 ถ้วย/วัน
ช่วยลดการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
และอัตราการเสียชีวิตได้อย่างมีนัยสำคัญ ”
เช่นเดียวกับการกินทุกสิ่งทุกอย่าง
กาแฟควรดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ
(มัชฌิมาปฏิปทา) และควรปรึกษาแพทย์
หากมีพฤติกรรมการดื่มคาเฟอีนมากเกินไป
.
เรียบเรียง/ที่มา
Popscience
.
.
คำว่า กาแฟเป็นภาษาสมัยใหม่
แรกเริ่มเดิมทีเรียกกันว่า ข้าวแฝ่
เพราะการออกเสียงภาษาฝรั่ง
ยังไม่ถนัดปากและมีเสียงใกล้กับ ข้าว
เลยโมเมว่าเป็นข้าวเสียเลย
เช่น ทูตอังกฤษที่เข้ามาเมืองไทย
เมื่อสมัยรัชกาลที่ 2 มิสเตอร์ครอเฟิต
เรียกว่า นายการะฟัด ซึ่งสนิทหูคนไทย
.
.
สมัยรัชกาลที่ 4 ก็เรียกกันว่า ข้าวแฟ
ปรากฏอยู่ในหนังสือ สัพพะวัจนะภาษาไทย
ของ ปาเลอกัว ฉบับพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2397
กาแฟ (Coffee) นัยว่าเลือนมาจาก
คำว่า กาวา (kahwah) ซึ่งชาวอาหรับเรียก
และในชั้นเดิมว่า หมายถึง เหล้าองุ่น
.
.
กาแฟเป็นอาหารมาก่อน เพราะ
นายแพทย์ชาวอาหรับ
Abu Bakr al Rhazes
ได้กล่าวไว้ในเอกสารตั้งแต่ ค.ศ.900 ว่า
กาแฟนี้เริ่มแรกใช้เป็นอาหาร
นำเอาผลกาแฟที่ตากแห้งแล้ว
แกะเอาเมล็ดออกผสมกับ
น้ำมันปั้นเป็นก้อนกลม ๆ
ส่วนที่ทำเหล้าใช้เมล็ดดิบ/เปลือกแห้ง
(มีเหล้ารสกาแฟ อร่อยดี)
คนไทย รู้จัก กาแฟ
ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแล้ว
ไม่ใช่เพิ่งมารู้จักกันในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
แต่เอาเข้ามาในรัชกาลไหนยังไม่ทราบแน่ชัด
เพราะคนไทยเราเห็นจะไม่ค่อยชอบ
จึงไม่ได้บันทึกไว้ในพงศาวดาร
หรือจะไม่เห็นเป็นของแปลกก็ได้
แต่มีในจดหมายเหตุของฝรั่ง
ยุคสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ระบุว่า
พวกแขกมัวร์ ชอบดื่มกาแฟมาก
นอกจากนี้ยังปรากฏอีกว่า
ได้มีการปลูกกาแฟขึ้นในสยามแล้ว
กาแฟ ปลูกกันแถวสงขลา
มีรสดีพอใช้และปลูกกันมากที่เดียว
แต่คนไทยไม่ค่อยนิยมดื่มกาแฟ
เพราะรสติดจะขม อาจจะคิดว่าเป็นยา
ในสมัยรัชกาลที่ 3
มีพระราชประสงค์จะทำสวนกาแฟ
สวนกาแฟอยู่ที่ บริเวณวัดราชประดิษฐ์
เรื่องนี้เป็นเครื่องชี้วัดได้ว่า
เป็นรัชสมัยที่กาแฟแพร่หลายมาก
จนมีการทำสวนกาแฟขึ้นมา
(น่าจะขาย/ส่งออกมากกว่าดื่มกันในสยาม)
ในรัชกาลที่ 4
ยังมีสวนกาแฟของขุนนางสยาม
สมเด็จเจ้าพระยามหาประยูรวงศ์
มีในจดหมายเหตุของ
เซอร์ยอห์นโบว์ริง ราชทูตอังกฤษ
ซึ่งเข้ามาทำสัญญากับสยาม
เมื่อ พ.ศ.2398 ในรัชกาลที่ 4 ได้เขียนว่า
ได้เคยไปเที่ยวสวนกาแฟของ
สมเด็จเจ้าพระยามหาประยูรวงศ์
ซึ่งปรากฏมีต้นกาแฟมากมาย
และยังได้ให้เซอร์ยอห์นโบว์ริง
ลองเก็บไปกินเป็นตัวอย่าง 3 กระสอบ
จากหลักฐานเหล่านี้ก็แสดงว่า
การปลูกกาแฟของสยาม
เคยพยายามทำเป็นล่ำเป็นสันกันมาแล้ว
แต่คนไทยในสมัยนั้นไม่นิยมดื่มกาแฟ
หรืออาจจะเป็นด้วยกาแฟพันธุ์ไม่ดี
คนจึงไม่นิยมก็ไม่ทราบแน่ชัด
การทำสวนกาแฟเห็นจะหยุดชะงักมานาน
จนกระทั่งเลิกกิจการไป ไม่มีใครคิดจะปลูก
.
.
การดื่มกาแฟเห็นจะมีแพร่หลายมากขึ้น
ร้านกาแฟในกรุงเทพฯ จะเริ่มมีมากขึ้น
ในสมัยไหนก็ไม่พบหลักฐาน
แต่ปรากฏว่าใน พ.ศ.2460
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
แหม่มโคล์ ชาวอเมริกัน
ได้ตั้งร้านขายกาแฟ แถวสี่กั๊กพระยาศรี
โดยเปิดขายทุกวันพฤหัสบดี
ตั้งแต่เวลา 15.00 น – 18.00 น.
ชื่อว่าร้าน Red Cross Tea Room
หน้าร้านปักธงกาชาด ปรากฏว่ามี
เจ้านาย และ ข้าราชการ ชาวต่างประเทศ
พากันมาอุดหนุนกันมาก
ผลกำไรที่ได้จากการขายกาแฟ
ได้ส่งไปบำรุงกาชาดของ สัมพันธมิตร
และเข้าใจว่าร้านกาแฟ คงจะเริ่มมีมากขึ้น
ในสมัยรัชกาลที่ 6 และที่ 7 นี้เอง
.
.
พระยาสารศาสตร์พลขันธ์ ได้บันทึกว่า
กาแฟนำเข้ามาปลูกในสยาม ในปี พ.ศ.2447
โดยนายดีหมุน (ไทยมุสลิม) น่าจะ หะยี หมุน
ชื่อยกย่องในท้องถิ่นคนผ่านพิธีฮัจย์
ได้นำเมล็ดกาแฟ พันธุ์โรบัสต้า
จากเมืองเมกกะ ซาอุดิอาระเบีย
นำมาปลูกครั้งแรกที่
อำเภอสะบ้าย้อย จ.สงขลา
จากนั้นก็มีการปลูกแพร่หลาย
ในปี พ.ศ.2561
กาแฟพันธุ์อราบิกา นำมาปลูกทดลอง
ที่บ้านมูเซอห้วยตาด อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
หลังจากมีหน่วยงานได้นำพันธุ์กาแฟต่างๆ
นำเข้ามาจากต่างประเทศ
เพี่อให้ชาวเขาปลูกทดแทนการปลูกฝิ่น
จนกาแฟกลายเป็นพืชเศรษฐกิจ
นพื้นที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทย
© กำเนิดก่อเกิดกาแฟในประเทศไทย
.
.
กาแฟเป็นพืชพื้นเมืองของ
Abyssinia และ Arabia
ในศตวรรษที่ 6 ราวปี ค.ศ. 575
ใน Arabia เป็นพืชพื้นเมือง
ที่พบในเมือง Kaffa ของ Ethiopia
ต่อมาไปสู่ อิตาลี เนเธอร์แลนด์
เยอรมัน ฝรั่งเศส ฯลฯ
ชาวอาระเบีย เรียก
คะวาฮ์ Kawah คะเวฮ์ Kaweh คือ
พลัง Strength ความกระปรี้กระเปร่า Vigor
ชาวตุรกี เรียก คะเวฮ์ Kaveh
ต่อมาเรียกว่า Koffee Coffee
© ประวัติของกาแฟ
.
.
Kopi Luwak
(กาแฟขี้ชะมด) ผลิตจากเมล็ดกาแฟ
ที่ผ่านการย่อยในระบบทางเดินอาหาร
ของชะมด (อีเห็นข้างลาย)
มีต้นกำเนิดจากอินโดนีเซีย
มีรสชาติและกลิ่นหอมเฉพาะตัว
เป็นที่นิยม/มีราคาสูงมากในตลาดโลก
ที่ชุมพร เวียตนาม มีการผลิต/ขาย
เดิมเป็นกาแฟคนยากไร้ในไร่กาแฟ
ต้องเก็บเมล็ดกาแฟในขี้ชะมด
นำขี้มา ล้าง ตาก คั่ว ต้ม ดื่มกันเอง
โดยชาวดัชต์เจ้าของสวนกาแฟไม่ห้าม
แต่พอได้ลิ้มลองรสชาติว่าดีมาก
ก็ยึดมาขายเสียเองตามประสานายทุน