แม่น้ำสายแห้ง ทิ้งคราบดินโคลนมาก ชาวบ้านเผยระบบการเตือนภัยไม่มี วอนรัฐช่วยเหลือ
https://www.matichon.co.th/region/news_5198877
.
.
แม่น้ำสายแห้ง ทิ้งคราบดินโคลนมาก ชาวบ้านเผยระบบการเตือนภัยไม่มี วอนรัฐช่วยเหลือ
.
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านและกลุ่มผู้ประกอบการร้านค้า ในชุมชนและตลาดสายลอมจอย อ.แม่สาย จ.เชียงราย เช้านี้ต่างออกมาทำความสะอาดบ้านเรือนและร้านค้าของตัวเอง ภายหลังจากน้ำสายล้นตลิ่งทะลักท่วมในช่วงเช้าของวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่าน ได้แห้งกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่อย่างไรก็ตามพบว่า ภายในร้านค้าและบ้านของประชาชน มีตะกอนดินและทรายที่ไหลมากับน้ำตกค้างจำนวนมาก และมีทรัพย์สินได้รับความเสียหายค่อนข้างมาก
.
โดยนางนงนุช นาสิงก์แก้ว หนึ่งในชาวบ้านในชุมชนสายลอมจอย กล่าวว่า ชุมชนสายลมจอยเป็นชุมชนที่ได้รับผลกระทบหนักมาก จากเหตุการณ์ท่วมครั้งนี้ ทั้งถูกน้ำท่วมสูงและมีดินโคลนทรายเหนียวทับถมจำนวนมาก จึงอยากให้ทางหน่วยนงานภาครัฐ ทางอำเภอ เทศบาล ปภ. หรือจังหวัดเข้ามาช่วยเหลือ ในการฟื้นฟูด้วยเพราะหนักมากจริงๆ ปีนี้ถูกน้ำท่วมแล้ว 2 ครั้ง โดยเฉพาะครั้งที่ 2 นี้ไม่คาดคิดว่าน้ำสายจะไหลมาไวขนาดนี้ และมีดินโคลนมาก ทำให้เกิดความเสียหาย ระบบการเตือนภัยไม่มี ไม่การแจ้งเตือนภัยให้ชาวบ้านร้านค้าได้ทราบ มาทราบอีกทีก็น้ำจำนวนมหาศาลไหลมาถึงบ้านแล้วทำให้ไม่มาสามารถเก็บสิ่งของหรือทรัพย์ได้ทัน เพราะเกิดช่วงกลางคืนจึงทำให้เกิดมีควาเสียหายเกิดขึ้น
.
ด้านนายวรายุทธ ค่อมบุญ นายอำเภอแม่สาย ได้รายงานสถานการณ์น้ำสายเช้านี้ได้ลดลงต่อเนื่องมีการไหลที่คล่องตัวดี ทำให้ไม่ล้นตลิ่งหรือแนวกั้นที่ทางทหารกรมการช่างทำไว้ ทำให้วันนี้พื้นที่จึงไม่ถูกน้ำท่วมแม้ช่วงคืนที่ผ่านมาจะมีฝนตกหนัก ทำให้ด่านพรมแดนไทย-เมียนมา ซึ่งมีการปิดไม่ให้ยานพาหนะผ่านในช่งวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา วันนี้ด่านพรมแดนสามารถเปิดให้ประชาขชนทั้งสองฝั่งข้ามไปมาได้เป็นปกติแล้ว
.
ขณะที่นายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการให้มีการจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์เฉพาะกิจ ที่อ.แม่สาย ดูแลทุกด้านโดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการแจ้งเตือนภัย และขอให้มีการเตือนภัยผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งรถประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ และให้เปิดหอกระจายข่าว ไม่ว่าจะเกิดเหตุกี่โมง ก็ต้องเปิดแจ้งเตือนประชาชนทันที และต้องเตรียมการ ไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ
.
สำหรับแผนงานที่จะดำเนินการต่อไป โดยได้มีการโดยแบ่งโซนทำความสะอาดดินโคลน โซน A ชุมชนสายลมจอย – ปกครอง อส.โซน B. ชุมชนเกาะทราย – มทบ.37โซน C ชุมชนไม้ลุงขน – ฉก.ทัพเจ้าตากและโซน D ชุมชนเหมืองแดง – อปท. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
.
.
ผู้แทนยูฮอสเน็ต ชี้ ปัญหางบบัตรทอง ไม่สอดคล้องความเป็นจริง ทำรพ.ขาดทุนยับ
https://www.dailynews.co.th/news/4744383/
.
ผู้แทนยูฮอสเน็ต ชี้ ปัญหางบบัตรทอง ไม่สอดคล้องความเป็นจริง ทำรพ.ขาดสภาพคล่อง จี้สปสช.ยอมรับความจริง ร่วมถกแก้ปัญหา จ่ายให้เพียงพอ ปัดให้คนไข้ร่วมจ่าย
.
เมื่อวันที่ 25 พ.ค. นพ.
เพชร อลิสานันท์ ผู้แทนคณะกรรมการอำนวยการเครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (Uhosnet) ให้สัมภาษณ์ถึงปัญหางบบัตรทองกับหน่วยบริการว่า ปัญหางบฯ บัตรทอง กับหน่วยบริการมีมานาน และปัจจุบันก็มีปัญหามากขึ้น จนอาจไม่สามารถทำให้บริการผู้ป่วยได้อย่างมีมาตรฐานและมีคุณภาพ เนื่องจากผู้รับบริการสูงขึ้นทุกปี รัฐมีนโยบายสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงหน่วยบริการมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องดี แต่ถ้ามองภาพรวมในเรื่องงบฯ ที่ลงไปยังหน่วยบริการกลับไม่เพียงพอ ไม่สอดคล้องต้นทุน โดยเฉพาะงบรักษาพยาบาลผู้ป่วยใน (IP) ที่ไม่มีการปรับขึ้นมาเกือบ 10 ปี เราจึงต้องมาหารือกัน
.
“
สปสช.ต้องยอมรับว่าตอนนี้มีปัญหา และหันมาพูดคุยกันจริงๆ ซึ่งระบบผ่านมากว่า 20 ปี คนเข้าถึงบริการดีขึ้น มีข้อดีอยู่มาก เพียงแต่ระบบกำลังเกิดปัญหา และพวกเราในฐานะดูแลผู้ป่วย ซึ่งเราอยู่หน้างานกำลังชี้ให้เห็นว่า ต้องรีบแก้ปัญหาร่วมกัน ตอนนี้สถานบริการขนาดเล็กมีข้อจำกัดเรื่องจำนวนผู้ป่วยน้อย มีความเสี่ยงสูงมาก เพราะต้นทุนและงบได้รับไม่เพียงพอ ขณะที่รพ.รับส่งต่อก็เริ่มมีปัญหาเรื่อยๆ หลายแห่งขาดสภาพคล่อง เงินติดลบ ส่วนค่าใช้จ่ายรายหัวที่เพิ่มขึ้น แต่เงินที่ลงไปจริงๆ รวมถึงภาระงานกลับไม่สอดคล้องกัน โดยเฉพาะงบผู้ป่วยในไม่มีการปรับเลย” นพ.เพชรกล่าว
.
ส่วนโมเดลขนมชั้นซึ่งแบ่งสิทธิประโยชน์เป็น 3 ชั้น 1. สิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานที่ทุกกองทุนควรมี 2 และ 3 อยู่ที่งบประมาณของแต่ละกองทุนที่จะจ่ายเพิ่ม ก็เป็นส่วนหนึ่งช่วยลดความเสี่ยงทางการเงินให้หน่วยบริการ แต่ต้องมาร่วมกันว่า จะบริหารจัดการอย่างไร ยังไม่ปฏิเสธช่องทางไหนทั้งนั้น และการร่วมจ่ายก็เป็นอีกออฟฟชั่นหนึ่ง แต่ต้องระมัดระวัง เพราะเราไม่อยากให้กระทบต่อผู้ป่วยที่ไม่สามารถร่วมจ่ายได้
.
ด้าน ผศ.นพ.
สนั่น วิสุทธิศักดิ์ชัย ผู้แทนกรรมการ UHosNet กล่าวว่า ประเด็นการร่วมจ่าย เคยมีการเสนอมาก่อน โดยสิทธิประโยชน์ใดก็ตามที่ สปสช. หรือ บอร์ด สปสช. กำหนดว่าเป็นสิทธิประโยชน์ในระบบบัตรทอง ให้มีการกำหนดวิธีการจ่ายเงิน และผู้รับผิดชอบการจ่ายเงิน ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ป่วย แต่ต้องมีผู้รับผิดชอบทางการเงินของสิทธิประโยชน์นั้นๆ เพราะให้บริการในระบบมีต้นทุนค่าใช้จ่าย ดังนั้น การให้บริการโดยที่ไม่มีหน่วยงานไหนจ่ายเงินนั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อหน่วยบริการ ซึ่งเราไม่ได้จำกัดว่า กองทุน หรือสปสช. หรือหน่วยงานไหนต้องรับผิดชอบ แต่หาก สปสช. ที่บริหารจัดการสิทธิประโยชน์ในระบบบัตรทอง จะเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายเงินเราก็ยินดี หรือจะมีการตั้งกองทุนเป็นการเฉพาะกิจ มารับผิดชอบก็ได้ หรือรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมเป็นการเฉพาะก็รับได้
..
“
สมัยก่อนมักพูดว่า ให้คนไข้ร่วมจ่าย ซึ่งง่ายเกินไป และเราไม่ได้ต้องการแบบนั้น แต่ต้องการให้มีคนจ่ายเงินในสิ่งที่โรงพยาบาลให้บริการไป เพราะถ้าไม่จ่ายเราก็คงไม่ยั่งยืนสำหรับหน่วยบริการ” ผศ.นพ.
สนั่นกล่าว และว่า การออกสิทธิประโยชน์ใดๆ ออกมาก็ต้องมีงบประมาณที่เพียงพอด้วย หากให้สิทธิ แต่เงินขาด คนจ่ายเงินบอก ขอจ่ายน้อย จะเกิดอะไรขึ้น หน่วยบริการจะให้บริการได้เยอะหรือให้น้อยลงตามจำนวนเงินที่มี นี่เป็นปกติวิสัยที่สามารถบอกได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
.
.
ตลาดการเงินจับตาตัวเลขการส่งออกไทย หลังทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 7 เดือน
https://www.dailynews.co.th/news/4744113/
.
เงินบาทรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 7 เดือนครึ่ง จับตาสัปดาห์หน้า เผยตัวเลขการส่งออกไทย
.
“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” รายงานเงินบาทสัปดาห์ที่ผ่านมา แตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 7 เดือนครึ่งที่ 32.54 บาทต่อดอลลาร์ฯ ตามการฟื้นตัวของราคาทองคำตลาดโลก
.
เงินบาทแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับการฟื้นตัวกลับมาของราคาทองคำในตลาดโลกในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความไม่แน่นอนของสถานการณ์ระหว่างรัสเซียและยูเครน ประกอบกับยังไม่มีความคืบหน้าในเรื่องดีลการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับคู่ค้าอื่นๆ เพิ่มเติม
.
นอกจากนี้ การแข็งค่าของเงินบาทยังสอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค และเงินหยวน ขณะที่ ประเด็นเรื่องการปรับลดอันดับเครดิตของสหรัฐฯ โดย Moody’s มาอยู่ที่ Aa1 ยังคงเป็นปัจจัยลบที่กดดันเงินดอลลาร์ฯ อย่างต่อเนื่อง สวนทางเงินบาทที่มีปัจจัยบวกหนุนตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์จากตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/2568 ของไทยที่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด
.
เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าเกือบตลอดสัปดาห์ โดยแข็งค่าผ่านแนว 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ไปแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 7 เดือนครึ่งที่ 32.54 บาทต่อดอลลาร์ฯ สอดคล้องกับสถานะซื้อสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ
.
ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลงท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มของฐานะการคลังและปัญหาหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ หลังมีความพยายามเดินหน้าร่างกฎหมายปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลของสหรัฐฯ ซึ่ง ปธน. โดนัลด์ ทรัมป์พยายามผลักดันให้ผ่านสภาคองเกรส
.
ในวันศุกร์ที่ 23 พ.ค. 2568 เงินบาทปิดตลาดในประเทศที่ 32.60 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับระดับ 33.24 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (16 พ.ค.)
สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 19-23 พ.ค. 2568 นั้น นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 4,239 ล้านบาท และมีสถานะอยู่ในฝั่ง Net Inflows เข้าตลาดพันธบัตรไทย 16,491 ล้านบาท (ซื้อสุทธิพันธบัตร 16,994 ล้านบาท หักตราสารหนี้หมดอายุ 503 ล้านบาท)
.
สัปดาห์ระหว่างวันที่ 26-30 พ.ค. 2568 ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 32.10-33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขการส่งออกเดือนเม.ย. ของไทย ฟันด์โฟลว์ของต่างชาติและทิศทางราคาทองคำในตลาดโลก
ด้านตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ยอดขายบ้านใหม่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย และตัวเลขเงินเฟ้อที่วัดจากดัชนีราคา PCE/Core PCE เดือนเม.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ค. ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/2568 (Prelim.) บันทึกการประชุมเฟดเมื่อวันที่ 6-7 พ.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
.
นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด ประเด็นเกี่ยวกับสงครามการค้า รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจต่างประเทศอื่นๆ อาทิ อัตราเงินเฟ้อเดือนเม.ย. ของญี่ปุ่น และข้อมูลกำไรภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย. ของจีน
JJNY : แม่สายแห้ง ทิ้งคราบโคลน เตือนภัยไม่มี│ชี้ปัญหางบบัตรทอง ไม่สอดคล้อง│จับตาตัวเลขการส่งออก│รัสเซียโจมตีทั่วยูเครน
https://www.matichon.co.th/region/news_5198877
.
.
ผู้แทนยูฮอสเน็ต ชี้ ปัญหางบบัตรทอง ไม่สอดคล้องความเป็นจริง ทำรพ.ขาดทุนยับ
https://www.dailynews.co.th/news/4744383/
.
ผู้แทนยูฮอสเน็ต ชี้ ปัญหางบบัตรทอง ไม่สอดคล้องความเป็นจริง ทำรพ.ขาดสภาพคล่อง จี้สปสช.ยอมรับความจริง ร่วมถกแก้ปัญหา จ่ายให้เพียงพอ ปัดให้คนไข้ร่วมจ่าย
.
เมื่อวันที่ 25 พ.ค. นพ.เพชร อลิสานันท์ ผู้แทนคณะกรรมการอำนวยการเครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (Uhosnet) ให้สัมภาษณ์ถึงปัญหางบบัตรทองกับหน่วยบริการว่า ปัญหางบฯ บัตรทอง กับหน่วยบริการมีมานาน และปัจจุบันก็มีปัญหามากขึ้น จนอาจไม่สามารถทำให้บริการผู้ป่วยได้อย่างมีมาตรฐานและมีคุณภาพ เนื่องจากผู้รับบริการสูงขึ้นทุกปี รัฐมีนโยบายสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงหน่วยบริการมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องดี แต่ถ้ามองภาพรวมในเรื่องงบฯ ที่ลงไปยังหน่วยบริการกลับไม่เพียงพอ ไม่สอดคล้องต้นทุน โดยเฉพาะงบรักษาพยาบาลผู้ป่วยใน (IP) ที่ไม่มีการปรับขึ้นมาเกือบ 10 ปี เราจึงต้องมาหารือกัน
.
“สปสช.ต้องยอมรับว่าตอนนี้มีปัญหา และหันมาพูดคุยกันจริงๆ ซึ่งระบบผ่านมากว่า 20 ปี คนเข้าถึงบริการดีขึ้น มีข้อดีอยู่มาก เพียงแต่ระบบกำลังเกิดปัญหา และพวกเราในฐานะดูแลผู้ป่วย ซึ่งเราอยู่หน้างานกำลังชี้ให้เห็นว่า ต้องรีบแก้ปัญหาร่วมกัน ตอนนี้สถานบริการขนาดเล็กมีข้อจำกัดเรื่องจำนวนผู้ป่วยน้อย มีความเสี่ยงสูงมาก เพราะต้นทุนและงบได้รับไม่เพียงพอ ขณะที่รพ.รับส่งต่อก็เริ่มมีปัญหาเรื่อยๆ หลายแห่งขาดสภาพคล่อง เงินติดลบ ส่วนค่าใช้จ่ายรายหัวที่เพิ่มขึ้น แต่เงินที่ลงไปจริงๆ รวมถึงภาระงานกลับไม่สอดคล้องกัน โดยเฉพาะงบผู้ป่วยในไม่มีการปรับเลย” นพ.เพชรกล่าว
.
ส่วนโมเดลขนมชั้นซึ่งแบ่งสิทธิประโยชน์เป็น 3 ชั้น 1. สิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานที่ทุกกองทุนควรมี 2 และ 3 อยู่ที่งบประมาณของแต่ละกองทุนที่จะจ่ายเพิ่ม ก็เป็นส่วนหนึ่งช่วยลดความเสี่ยงทางการเงินให้หน่วยบริการ แต่ต้องมาร่วมกันว่า จะบริหารจัดการอย่างไร ยังไม่ปฏิเสธช่องทางไหนทั้งนั้น และการร่วมจ่ายก็เป็นอีกออฟฟชั่นหนึ่ง แต่ต้องระมัดระวัง เพราะเราไม่อยากให้กระทบต่อผู้ป่วยที่ไม่สามารถร่วมจ่ายได้
.
ด้าน ผศ.นพ.สนั่น วิสุทธิศักดิ์ชัย ผู้แทนกรรมการ UHosNet กล่าวว่า ประเด็นการร่วมจ่าย เคยมีการเสนอมาก่อน โดยสิทธิประโยชน์ใดก็ตามที่ สปสช. หรือ บอร์ด สปสช. กำหนดว่าเป็นสิทธิประโยชน์ในระบบบัตรทอง ให้มีการกำหนดวิธีการจ่ายเงิน และผู้รับผิดชอบการจ่ายเงิน ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ป่วย แต่ต้องมีผู้รับผิดชอบทางการเงินของสิทธิประโยชน์นั้นๆ เพราะให้บริการในระบบมีต้นทุนค่าใช้จ่าย ดังนั้น การให้บริการโดยที่ไม่มีหน่วยงานไหนจ่ายเงินนั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อหน่วยบริการ ซึ่งเราไม่ได้จำกัดว่า กองทุน หรือสปสช. หรือหน่วยงานไหนต้องรับผิดชอบ แต่หาก สปสช. ที่บริหารจัดการสิทธิประโยชน์ในระบบบัตรทอง จะเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายเงินเราก็ยินดี หรือจะมีการตั้งกองทุนเป็นการเฉพาะกิจ มารับผิดชอบก็ได้ หรือรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมเป็นการเฉพาะก็รับได้
..
“สมัยก่อนมักพูดว่า ให้คนไข้ร่วมจ่าย ซึ่งง่ายเกินไป และเราไม่ได้ต้องการแบบนั้น แต่ต้องการให้มีคนจ่ายเงินในสิ่งที่โรงพยาบาลให้บริการไป เพราะถ้าไม่จ่ายเราก็คงไม่ยั่งยืนสำหรับหน่วยบริการ” ผศ.นพ.สนั่นกล่าว และว่า การออกสิทธิประโยชน์ใดๆ ออกมาก็ต้องมีงบประมาณที่เพียงพอด้วย หากให้สิทธิ แต่เงินขาด คนจ่ายเงินบอก ขอจ่ายน้อย จะเกิดอะไรขึ้น หน่วยบริการจะให้บริการได้เยอะหรือให้น้อยลงตามจำนวนเงินที่มี นี่เป็นปกติวิสัยที่สามารถบอกได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
.
.
ตลาดการเงินจับตาตัวเลขการส่งออกไทย หลังทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 7 เดือน
https://www.dailynews.co.th/news/4744113/
.
เงินบาทรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 7 เดือนครึ่ง จับตาสัปดาห์หน้า เผยตัวเลขการส่งออกไทย
.
“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” รายงานเงินบาทสัปดาห์ที่ผ่านมา แตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 7 เดือนครึ่งที่ 32.54 บาทต่อดอลลาร์ฯ ตามการฟื้นตัวของราคาทองคำตลาดโลก
.