ฝนสะเมิงหนักเกิน 100 มม. ไหลเร็ว-แรง 2 อุทยานฯ เตือนปชช.เตรียมรับมือน้ำท่วมฉับพลัน
https://www.matichon.co.th/region/news_5198762
.
.
ฝนสะเมิงหนักเกิน 100 มม. ไหลเร็ว-แรงสู่ที่ต่ำ 2 อุทยานฯ เตือนปชช.เตรียมรับมือน้ำท่วมฉับพลัน
.
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2568 นายทวีวรรธน์ แดงมณี หัวหน้าอุทยานแห่งชาติขุนขาน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ออกประกาศแจ้งเตือนประชาชนลุ่มน้ำแม่โต๋ ลุ่มน้ำบ่อแก้ว และลุ่มน้ำแม่ขาน ว่าสถานการณ์น้ำฝนและระดับน้ำในพื้นที่เพิ่มขึ้น จากอิทธิพลของฝนตกต่อเนื่องเป็นระยะเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 24–25 พฤษภาคม 2568 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนสะสมในพื้นที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และระดับน้ำในลำน้ำแม่โต๋ น้ำบ่อแก้ว และน้ำแม่ขานมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปริมาณน้ำฝน บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติขุนขาน 90 มิลลิเมตร ถ้ำหลวงแม่สาบ 120 มิลลิเมตร หน่วยพิทักษ์ฯที่ขข.1 (ซูซาน) 110 มิลลิเมตร หน่วยพิทักษ์ฯที่ขข.2 (อมลอง) 134 มิลลิเมตร และจุดสกัดบ่อแก้ว – วัดจันทร์ 55 มิลลิเมตร จึงขอให้ประชาชนเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
.
ในขณะที่ นายรวมพล พานิกร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติออบขาน ต.น้ำแพร่ อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ออกประกาศแจ้งเตือนราษฎรท้ายน้ำ ลำน้ำขาน ตั้งแต่บ้านห้วยโท้ง ต.น้ำบ่อหลวง อ.สันป่าตอง ลงไป เฝ้าระวัง เพราะระดับน้ำที่ผ่านหน้าอุทยานยังสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีมวลน้ำจากทาง อ.สะเมิง ไหลลงมาเติม
ในขณะที่จังหวัดเชียงใหม่ยังคงมีฝนตกหนักตลอดทั้งคืนจนกระทั่งสายวันนี้ ที่ปริมาณน้ำฝนซาลงแต่ยังคงลงเม็ดโปรยปราย ท้องฟ้ามืดครึ้ม เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำและจุดที่น้ำไม่สามารถระบายลงท่อได้ทัน
.
.
ฝนกระหน่ำเชียงใหม่ น้ำป่าหลาก เฝ้าระวังน้ำท่วม อช.ออบขาน สั่งปิดพื้นท่องเที่ยว
.
ชลประทานเชียงใหม่ เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด จากฝนตกติดต่อกันหลายวัน โดยเฉพาะลำน้ำขานที่น้ำป่าไหลหลาก ด้านอุทยานแห่งชาติออบขาน ประกาศปิดพื้นที่ท่องเที่ยว-พักแรม
.
8 ซึ่งรับผิดชอบในการบริหารจัดการประตูระบายน้ำ ฝาย อ่างเก็บน้ำ ในแต่ละพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ เน้นย้ำให้เตรียมควมพร้อมเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม การประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง การบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ขุดลอกคูคลอง ท่อระบายน้ำ
.
จัดทำแนวป้องกันและแผนติดตั้งเครื่องสูบน้ำไว้เป็นการล่วงหน้า หากเกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ให้จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อำเภอ ระดมทรัพยากร เผชิญเหตุ ปิดกั้นพื้นที่ โดยบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ทุกหน่วยงาน เพื่อจะได้เข้าไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนได้ทันท่วงที รวมทั้งการฟื้นฟูให้กลับคืนสู่สภาพเดิม ในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ก็ให้พิจารณาความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเป็นหลักสำคัญด้วย โดยให้รายงานสถานการณ์ให้ทราบอย่างต่อเนื่อง เพื่อวางแผนในการเตรียมความพร้อมป้องกันและการช่วยเหลืออย่างมีประสิทธิภาพ
.
ด้านอุทยานแห่งชาติออบขาน ที่ได้ออกมาแจ้งเตือนให้ราษฎรที่อยู่ท้ายลำน้ำขาน ตั้งแต่บ้านห้วยโท้ง ต.น้ำบ่อหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ เฝ้าระวัง เนื่องมีระดับน้ำที่ผ่านหน้าอุทยานแห่งชาติสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมวลน้ำจากทาง อ.สะเมิง ไหลลงมาสมทบ
.
ซึ่งในเรื่องนี้ได้สั่งการให้ นางสาวชลมาศ ทองคำ หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 6 โครงการชลประทานเชียงใหม่ เข้าไปตรวจสอบในพื้นที่อย่างเร่งด่วนแล้ว เบื้องต้นพบว่า มีน้ำป่าไหลหลาก แต่ลำน้ำขานยังไม่ถึงวิกฤติ โดยที่สถานีวัดน้ำ ST.02 (P.71A) บ้านกลาง ต.บ้านกลาง อ.สันป่าตอง เชียงใหม่ วัดค่าได้ 3.20 ค่าระดับวิกฤติ 4.80 ในขณะที่น้ำแม่วาง สถานีวัดน้ำ P.84 บ้านพันตน ต.ทุ่งปี้ อ.แม่วาง วัดระดับได้ 1.28 เมตร ระดับวิกฤติอยู่ที่ 4.00 เมตร จากคืนวันที่24 พค 2568 ที่ผ่านมา มีฝนตกหนัก ทำให้น้ำแม่วาง ยกระดับสูงขึ้น ยังอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย หตุการณ์ปรกติ ซึ่งได้มีการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดแล้ว
.
ทั้งนี้ ได้เตรียมความพร้อมรับมือด้วยการเตรียมเครื่องสูบน้ำไว้ 59 เครื่องและประสานเครื่องจักรจากหน่วยงานต่างๆ รวมถึงติดตั้งเครื่องตรวจวัดปริมาณน้ำฝน และระดับน้ำในแม่น้ำสายต่างๆ เพิ่ม ซึ่งจะสามารถส่งข้อมูลมาประมวลใช้ในการแจ้งเตือนและป้องกันช่วยเหลือประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย
ด้าน นายรวมพล พานิกร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติออบขาน ต.น้ำแพร่ อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ได้ออกประกาศปิดการท่องเที่ยวและพักแรมชั่วคราว เนื่องจากสถานการณ์แม่น้ำขาน ณ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติออบขาน ระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทางอุทยานฯ ขณะเดียวกันได้แจ้งเตือนประชาชนลุ่มน้ำขานเฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะ อ.สันป่าตอง และ อ.แม่วาง ระดับน้ำที่ผ่านหน้าอุทยานยังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากมีมวลน้ำจากทาง อ.สะเมิง ไหลลงมาเติม
.
.
สภาพัฒน์ ชี้ไทยติดกับดัก 'ส่งออกเพิ่ม-ผลิตลด' อุตสาหกรรมไม่ฟื้น
.
แม้การส่งออกของไทยจะกลับมาขยายตัวได้แต่การผลิตไทยไม่โต สะท้อนขาดการเพิ่มมูลค่าและการผลิตในประเทศ ทำให้ภาคอุตสาหกรรมหดตัว สภาพัฒน์แนะเร่งเพิ่ม Local Content
.
• แม้ว่าการส่งออกขยายตัวแต่การผลิตไทยชะลอตัว ปี 2567 การส่งออกไทยโต 5.8% แต่ภาคอุตสาหกรรมยังหดตัวต่อเนื่อง เป็นสัญญาณว่าอุตสาหกรรมไทยผลิตเพื่อส่งออกน้อยลงหรือพึ่งพาต่างประเทศมากขึ้น
• ผลกระทบจากจีนและสหรัฐฯ: การแข่งขันด้านราคาจากสินค้านำเข้าจีน และมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SME
• มูลค่าเพิ่มจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น: สัดส่วนมูลค่าเพิ่มจากในประเทศ (Domestic Value-Added) ลดลง ขณะที่สัดส่วนจากต่างประเทศโดยเฉพาะจีนกลับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
• สภาพัฒน์ชี้ว่ารัฐควรส่งเสริมการใช้วัตถุดิบในประเทศ (Local content) อย่างน้อย 40% ในกลุ่มที่ได้รับสิทธิประโยชน์จาก BOI และเร่งพัฒนาเทคโนโลยี-นวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าให้ผู้ประกอบการไทย
.
การส่งออกถือเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยโดยมีสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) กว่า 70%
โดยปกติแล้วหากการส่งออกมีการขยายตัวมากการผลิตในประเทศก็จะเพิ่มขึ้น ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมจะขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามสิ่งที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทยในขณะนี้กับสวนทาง เพราะแม้การส่งออกของไทยจะเพิ่มขึ้นแต่ภาคการผลิตของไทยยังคงอ่อนแอสะท้อนปัญหาเชิงโครงการสร้างการผลิตที่ขาดการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าสินค้าในประเทศเพื่อส่งออก
.
จากข้อมูลเรื่อง "มูลค่าเพิ่มจากการส่งออกสินค้าไทย: กับดักและความท้าทายทางเศรษฐกิจ" ที่จัดทำโดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างต่อเนื่องภายใต้โครงสร้างที่ขับเคลื่อนด้วยภาคการส่งออก โดยเฉพาะในภาคการผลิตอุตสาหกรรมซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยมาโดยตลอด
ส่งออกโตได้แต่การผลิตในประเทศกลับหดตัว
.
อย่างไรก็ตาม สัญญาณล่าสุดที่ปรากฏกลับสะท้อนความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างเศรษฐกิจไทยอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในปี 2567 แม้มูลค่าการส่งออกจะสามารถขยายตัวได้ถึง 5.8% แต่ภาคการผลิตอุตสาหกรรมยังคงหดตัวต่อเนื่องเป็นปีที่สองติดต่อกัน ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการส่งออกสินค้าไม่ได้ขับเคลื่อนผ่านภาคการผลิตในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดิม
.
สศช.ชี้ว่าสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากการชะลอตัวของการผลิตในหมวดยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ในระดับต่ำ สถานการณ์ดังกล่าวยังคงดำเนินต่อเนื่องในไตรมาสแรกของปี 2568 แม้มูลค่าการส่งออกขยายตัวได้สูงถึง15% แต่การผลิตอุตสาหกรรมกลับเติบโตเพียง 0.6% ซึ่งสะท้อนถึงภาวะการฟื้นตัวอย่างไม่สมดุลระหว่างภาคการค้าและการผลิต
.
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สศช. กล่าวว่าในส่วนของการใช้กำลังการผลิตของประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงนักโดยในไตรมาสที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 60.93% แม้จะสูงกว่า 57.72% ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังต่ำกว่า 61.05% ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เป็นไปได้ว่าการเพิ่มขึ้นของกำลังการผลิตของไทยในไตรมาสที่ผ่านมามาจากการเร่งการนำเข้าของประเทศสหรัฐฯก่อนที่จะมีการครบกำหนดการผ่อนคลายเก็บภาษีนำเข้า ทำให้มีการเร่งผลิตเพื่อส่งออก ทำให้การใช้กำลังการผลิตของไทยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ก็มีความเป็นไปได้สูงว่าจะเป็นแค่การเพิ่มขึ้นแค่ชั่วคราว
.
โดยในไตรมาสที่ผ่านมาอุตสาหกรรมการผลิตสำคัญ 30 รายการ มีอุตสาหกรรมการผลิตที่มีการใช้กำลังการผลิตสูงกว่า 80% จำนวน 3 รายการ ได้แก่ การผลิตน้ำตาล 101.86% การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม 89.39% และการผลิตพลาสติกและยาง สังเคราะห์ขั้นต้น 81.54% ขณะที่อุตสาหกรรมการผลิตที่มีการใช้กำลังการผลิตต่ำกว่า 50.00% จำนวน 9 รายการ เช่น การผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก 49.35% การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง 49.34% และการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน 48.25%
.
ทั้งนี้ในรายงานของ สศช.ยังระบุว่าภาคการผลิตอุตสาหกรรมของไทยยังเผชิญแรงกดดันเพิ่มเติมจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะมาตรการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐอเมริกา รวมถึงการไหลเข้ามาของสินค้าจากจีนในหลายหมวดสินค้า โดยเฉพาะสินค้าวัตถุดิบและสินค้าชั้นกลาง ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยที่มีต้นทุนการผลิตสูงกว่า โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ต้องเผชิญการแข่งขันด้านราคากับสินค้านำเข้าที่มีราคาถูกกว่าอย่างรุนแรง
.
โดยในรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลมูลค่าเพิ่มทางการค้า (Trade Value-Added) โดยธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ผ่านตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตหลายภูมิภาค (MRIO) ชี้ให้เห็นว่าในช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมา สัดส่วนมูลค่าเพิ่มในประเทศ (Domestic Value-Added) จากการส่งออกสินค้าของไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน ในขณะที่สัดส่วนมูลค่าเพิ่มจากต่างประเทศ (Foreign Value-Added) โดยเฉพาะจากประเทศจีน กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในบางกลุ่มอุตสาหกรรมไทยกลับพึ่งพามูลค่าเพิ่มจากต่างประเทศมากกว่าครึ่งหนึ่งของกระบวนการผลิต ซึ่งรวมถึงกลุ่มผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์เคมี โลหะพื้นฐาน และเครื่องจักรกล
.
สถานการณ์ดังกล่าวสะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างของอุตสาหกรรมไทยที่ยังไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างเพียงพอภายในประเทศ ทั้งยังมีแนวโน้มต้องพึ่งพาการนำเข้าปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งอาจทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจขาดความยั่งยืนในระยะยาว
JJNY : ฝนสะเมิงหนักเกิน 100 มม.│ฝนกระหน่ำเชียงใหม่ น้ำป่าหลา│สภาพัฒน์ชี้ไทยติดกับดัก│พายุในปากีสถานทำคนเจ็บ-ตายกว่า 50
https://www.matichon.co.th/region/news_5198762
.