เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย
https://www.thairath.co.th/money/personal_finance/financial_planning/2859393
“รายได้ไม่พอรายจ่าย” ไม่ใช่แค่คำบ่นธรรมดา แต่คือ “คำพิพากษา” ที่คนไทยจำนวนมากต้องยอมรับ โดยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ย้อนไปที่ผ่านมา แม้หลายหน่วยงานจะพยายามเข้ามาแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ทั้งจัดมหกรรมไกล่เกลี่ย ปรับโครงสร้างหนี้ หรือรัฐบาลกี่ยุคกี่สมัยจะออกมาตรการพักหนี้ แต่ “หนี้ครัวเรือนไทย” กลับไม่เคยลดลงจริงจังสักที เพราะต้นตอไม่ใช่แค่หนี้ แต่คือ “รายได้” ที่ไม่เคยวิ่งทัน “รายจ่าย” ต่างหาก
หนี้ล้นพ้นตัว เพราะหาไม่ทันใช้
ข้อมูลจากบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ เครดิตบูโร ชี้ชัดว่า หนี้ครัวเรือนไทยแตะระดับ 16.2 ล้านล้านบาท ในไตรมาสแรกของปี 2568 ภายใต้ชุดข้อมูลประกอบอื่นๆ ของ ttbbank ที่รายงานว่า รายได้เฉลี่ยของแรงงานไทย (ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน) ล้วนต่ำกว่ารายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือน ที่อยู่ที่ 22,282 บาท (ข้อมูลปี 2567) เช่น
ลูกจ้างภาคเอกชน มีรายได้เฉลี่ยเพียง 14,591 บาท/เดือน
แรงงานอิสระ มีแค่ 9,388 บาท/เดือน
ซึ่งอาจจะไม่ใช่แค่ไม่พอกิน-พอใช้ ในโลกแห่งความเป็นจริง แต่หากเกิดเหตุฉุกเฉิน “ตกงาน” อาจเป็นวิกฤติของชีวิตได้ และเมื่อ
รายได้โตช้ากว่ารายจ่าย การ “ก่อหนี้” จึงกลายเป็น “ทางออกเสริม” ที่จำเป็นของใครหลายๆ คน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
8 ความจริงของ “คนไทย” ที่เป็นหนี้
1. เป็นหนี้เร็ว ตั้งแต่เรียนจบ ยังไม่ทันตั้งตัว
2. เป็นหนี้เกินตัว เพราะต้องวิ่งตามค่าครองชีพ
3. เป็นหนี้เพราะจำเป็น ไม่ใช่เพราะฟุ่มเฟือย
4. เป็นหนี้โดยไม่มีข้อมูล จึงมักพลาดเจอดอกโหด
5. เป็นหนี้นาน เพราะจ่ายขั้นต่ำวนไป
6. เป็นหนี้ไม่จบ เพราะหนี้ใหม่มาทับหนี้เก่า
7. เป็นหนี้เสีย โดยไม่รู้ตัว
8. เป็นหนี้นอกระบบ เพราะระบบปฏิเสธ เข้าไม่ถึงสินเชื่อ
ข้อมูลในชุดเดียวกัน ยังพบประเด็นน่าห่วงใย แต่สะท้อนความจริงที่คนต่างวัยในไทยกำลังเผชิญในสถานะที่ไม่ต่างกัน
เกือบ 40% ของคนไทยที่เป็นหนี้ มีหนี้ในระบบมากกว่า 100,000 บาท/คน
First Jobber เริ่มต้นชีวิตด้วยหนี้บัตรเครดิต-มอเตอร์ไซค์
วัยกลางคนสร้างครอบครัว กลายเป็นกลุ่มแบกหนี้สูงสุด
และที่น่าห่วงที่สุดคือ 1 ใน 3 ของคนวัยเกษียณ ยังต้องใช้ชีวิตกับหนี้ บางคนเกษียณพร้อมสถานะหนี้เสีย
คนไทยจำนวนมากจึงไม่ได้วางแผน “ปลดหนี้ก่อนเกษียณ” แต่กลับต้อง “ผ่อนหนี้จนหมดลมหายใจ”
อ่านต่อรายละเอียดเพิ่มเติมข่าวต้นฉบับเต็มได้ที่ลิ้งค์ข้างต้น
คนไทยชนกำแพง “รายจ่าย” ก่อหนี้ วนลูปตลอดชีวิต
https://www.thairath.co.th/money/personal_finance/financial_planning/2859393
รายได้โตช้ากว่ารายจ่าย การ “ก่อหนี้” จึงกลายเป็น “ทางออกเสริม” ที่จำเป็นของใครหลายๆ คน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้