#การยึดถืออาจารย์จะเป็นกรงขังวิญญาณของผู้ยึด
การถอนความยึดถือติดแน่นในลัทธิและนิกายนั้น หมายถึงการไม่ยึดถือในบุคคล หรือวัตถุภายนอกอื่น ๆ ด้วย.
การยึดถือบุคคลภายนอก เช่นความยึดว่าบุคคลผู้นี้ หรืออาจารย์คนนั้นเป็นพระอรหันต์, หรืออาจารย์ของเราบรรลุมรรคผลขั้นนั้นขั้นนี้
เพื่อจะมีความเชื่อความเลื่อมใส และยึดเอาเป็นที่พึ่งแต่ผู้เดียว เช่นนี้เป็นสิ่งที่อันตรายอย่างหนัก.
.
การยึดถือเช่นนั้นแทนที่จะส่งเสริม กลับกลายเป็นกรงที่กักขังดวงวิญญาณของผู้ยึดไว้ ให้กลายเป็นลูกนกที่อ่อนแอ.
.
ถ้าเป็นผู้ตื่นอาจารย์เกินไป ก็เป็นโอกาสที่จะถูกหลอกลวงจากอาจารย์ที่เป็นอลัชชี หรือลวงโลก.
ถึงแม้ว่าบุคคลที่ตนยึดถือนั้นจะเป็นพระอรหันต์จริง ๆ ก็ตาม การยึดถือนั้น ก็ยังไม่มีประโยชน์อันใด เพราะว่าตนจะรู้จักพระอรหันต์ไม่ได้ เว้นแต่ตนเป็นพระอรหันต์เองมาแล้ว ;
.
การยึดถือของตน จึงยึดไม่ถูกองค์พระอรหันต์ แต่ไป
ยึดถูกทิฏฐิที่โง่เขลาหรืออ่อนแอ อย่างใดอย่างหนึ่งเข้าเท่านั้น.
หรืออย่างดีที่สุด ก็ไปยึดเข้าที่เปลือกกายของพระอรหันต์ จะมีประโยชน์บ้างบางอย่างก็แต่ในขั้นศีลธรรม แต่เป็นของมืดมัวสำหรับความหลุดพ้นของจิต
.
เพราะฉะนั้น จึงต้องพยายามที่จะเห็นธรรม หรือองค์
อรหันต์ที่แท้จริง ที่แท้จริงแทนการพยายามยึดถือผู้นั้นผู้นี้ ว่าเป็นพระอรหันต์.
การกราบไหว้พระภิกษุสงฆ์ มิใช่ด้วยความยึดถือใน
ในบุคคลนั้น ๆ แต่เป็นการกราบไหว้ ธง หรือเครื่องหมายของพระอรหันต์
ทำนองเดียวกับที่เรากราบไหว้พระพุทธรูป อันเป็นเครื่องหมายแทนองค์พระพุทธเจ้า
หรือกล่าวอย่างธรรมดาที่สุด ก็เช่นเดียวกับราษฎรทุกคนเคารพผ้าธงไตรรงค์ อันเป็นเครื่องหมายแทนชาติ
หรือถ้าเรามองเห็นคุณความดีอย่างอื่นประจักษ์ชัด เรา
กราบไหว้คุณความดีนั้น ๆ เท่าที่รู้กันอยู่,
แต่เราไม่ควรทึกทักเอาว่านั้นเป็นพระอรหันต์ อย่างพวกที่ตื่นพระอรหันต์.
.
เราใช้ตัวเราเองพิจารณาเองว่า ตามที่ท่านผู้นั้นกระทำอยู่นั้นจะเป็นการถอนตนออกจากโลก หรือทุกข์ หรือหาไม่
และเราจะทำตามอย่างท่านได้ ก็เฉพาะแต่ข้อที่ทำไปก็เห็นไปพร้อมกัน ว่าสามารถละกิเลสได้เพียงไร,
.
และละได้แล้วจริง ๆ เพราะฉะนั้น เราอาจกราบไหว้สิ่งที่ควรกราบไหว้ทั่วไปก็ได้ โดยปราศจากความยึดถือชนิดที่เป็นกรงกักขังหัวใจ เป็นแต่กราบไหว้ด้วยปัญญาที่รู้สิ่งควรกระทำ.
.
#พุทธทาสภิกขุ
#ชุมนุมปาฐกถาชุดพุทธธรรม
#วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม #หน้า_๘๒-๘๓
พระพุทธทาสสอนไม่ให้ยึดถืออาจารย์ลัทธิ นิกาย
การถอนความยึดถือติดแน่นในลัทธิและนิกายนั้น หมายถึงการไม่ยึดถือในบุคคล หรือวัตถุภายนอกอื่น ๆ ด้วย.
การยึดถือบุคคลภายนอก เช่นความยึดว่าบุคคลผู้นี้ หรืออาจารย์คนนั้นเป็นพระอรหันต์, หรืออาจารย์ของเราบรรลุมรรคผลขั้นนั้นขั้นนี้
เพื่อจะมีความเชื่อความเลื่อมใส และยึดเอาเป็นที่พึ่งแต่ผู้เดียว เช่นนี้เป็นสิ่งที่อันตรายอย่างหนัก.
.
การยึดถือเช่นนั้นแทนที่จะส่งเสริม กลับกลายเป็นกรงที่กักขังดวงวิญญาณของผู้ยึดไว้ ให้กลายเป็นลูกนกที่อ่อนแอ.
.
ถ้าเป็นผู้ตื่นอาจารย์เกินไป ก็เป็นโอกาสที่จะถูกหลอกลวงจากอาจารย์ที่เป็นอลัชชี หรือลวงโลก.
ถึงแม้ว่าบุคคลที่ตนยึดถือนั้นจะเป็นพระอรหันต์จริง ๆ ก็ตาม การยึดถือนั้น ก็ยังไม่มีประโยชน์อันใด เพราะว่าตนจะรู้จักพระอรหันต์ไม่ได้ เว้นแต่ตนเป็นพระอรหันต์เองมาแล้ว ;
.
การยึดถือของตน จึงยึดไม่ถูกองค์พระอรหันต์ แต่ไป
ยึดถูกทิฏฐิที่โง่เขลาหรืออ่อนแอ อย่างใดอย่างหนึ่งเข้าเท่านั้น.
หรืออย่างดีที่สุด ก็ไปยึดเข้าที่เปลือกกายของพระอรหันต์ จะมีประโยชน์บ้างบางอย่างก็แต่ในขั้นศีลธรรม แต่เป็นของมืดมัวสำหรับความหลุดพ้นของจิต
.
เพราะฉะนั้น จึงต้องพยายามที่จะเห็นธรรม หรือองค์
อรหันต์ที่แท้จริง ที่แท้จริงแทนการพยายามยึดถือผู้นั้นผู้นี้ ว่าเป็นพระอรหันต์.
การกราบไหว้พระภิกษุสงฆ์ มิใช่ด้วยความยึดถือใน
ในบุคคลนั้น ๆ แต่เป็นการกราบไหว้ ธง หรือเครื่องหมายของพระอรหันต์
ทำนองเดียวกับที่เรากราบไหว้พระพุทธรูป อันเป็นเครื่องหมายแทนองค์พระพุทธเจ้า
หรือกล่าวอย่างธรรมดาที่สุด ก็เช่นเดียวกับราษฎรทุกคนเคารพผ้าธงไตรรงค์ อันเป็นเครื่องหมายแทนชาติ
หรือถ้าเรามองเห็นคุณความดีอย่างอื่นประจักษ์ชัด เรา
กราบไหว้คุณความดีนั้น ๆ เท่าที่รู้กันอยู่,
แต่เราไม่ควรทึกทักเอาว่านั้นเป็นพระอรหันต์ อย่างพวกที่ตื่นพระอรหันต์.
.
เราใช้ตัวเราเองพิจารณาเองว่า ตามที่ท่านผู้นั้นกระทำอยู่นั้นจะเป็นการถอนตนออกจากโลก หรือทุกข์ หรือหาไม่
และเราจะทำตามอย่างท่านได้ ก็เฉพาะแต่ข้อที่ทำไปก็เห็นไปพร้อมกัน ว่าสามารถละกิเลสได้เพียงไร,
.
และละได้แล้วจริง ๆ เพราะฉะนั้น เราอาจกราบไหว้สิ่งที่ควรกราบไหว้ทั่วไปก็ได้ โดยปราศจากความยึดถือชนิดที่เป็นกรงกักขังหัวใจ เป็นแต่กราบไหว้ด้วยปัญญาที่รู้สิ่งควรกระทำ.
.
#พุทธทาสภิกขุ
#ชุมนุมปาฐกถาชุดพุทธธรรม
#วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม #หน้า_๘๒-๘๓