“ไม่มีเงิน ไม่น่ากลัวเท่า ไม่มีทอง” ทำไมคนไทยถึงเชื่อแบบนั้น แล้วจริงไหม? "ซื้อทอง" ดีกว่า เก็บเงินไว้เฉยๆ
เคยสงสัยไหม ? ทำไมคนไทย ถึงมีความผูกพันกับ “ทองคำ” มากกว่าคนชาติอื่นๆ คำตอบ เพราะ นี่คือ 1 ในรากทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าทางจิตใจลึกซึ้งของคนไทย มาอย่างยาวนาน มากกว่า “เงินตรา” เสียอีก
เราอาจเคยได้ยินเรื่องเล่าชวนซาบซึ้ง อย่างแม่เคยเก็บทองไว้ 10 บาท ไว้ส่งลูกเรียนจนจบมหาวิทยาลัย ,ทองเส้นสุดท้ายของคุณยาย เรื่องจริงของคนที่ขายสร้อยเก่าเก็บ เพื่อรักษาชีวิตหลาน
หรือ จะเป็น สตอรี่ บางครอบครัว ไม่มีเงินฝากเลย แต่กลับมีสร้อย แหวน ทองคำแท่งเก็บ ไว้ซ่อนไว้ในบ้าน ไหนจะเรื่องที่คนไทยนิยมให้ “ทอง” เป็นของขวัญในงานแต่ง งานบวช วันเกิด ฯลฯ
จนดูเหมือน คนรุ่นพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย “มองเห็น” ทอง แล้วรู้สึกอุ่นใจมากกว่าเห็นตัวเลขในบัญชี หลักแสน หลักล้าน ขณะในภาวะวิกฤติ “ทองคำ” ยังเป็นสิ่งแรกๆ ที่คนคิดถึง ยกตัวอย่าง ช่วงโควิด คนแห่ขายทองเพื่อเอาเงินไปใช้จ่ายจำเป็น
ปัจจุบันเอง เราก็ยังเห็นคนแห่ซื้อทองเพิ่ม แม้ราคาจะสูงทะลุ 50,000 บาท ไปแล้ว เพราะ กลัวเงินเฟ้อ และรู้สึกว่า “ทอง” คือที่พึ่งสุดท้าย ไม่มีเงิน ไม่น่ากลัวเท่า ไม่มีทอง จนกลายเป็นสิ่งที่สะท้อนได้ว่า ทอง เป็นทั้ง “ภูมิคุ้มกัน” และ “คลังสำรองทางจิตใจ” ของคนไทยไม่เสื่อมคลาย ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน
ส่วนในแง่การลงทุน ภายใต้ขอถกเถียงสำคัญ จากราคาทองคำ ที่ผันผวนอย่างหนักในช่วงนี้ ว่า “ทองคำ” จะยังอยู่ในสถานะสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำได้อยู่หรือไม่
แต่สถานะที่ปฎิเสธไม่ได้ คือ “ทองคำ” ยังคงมีคุณสมบัติ เป็นสินทรัพย์ ที่มีความมั่นคง และเติบโตสูงในระยะยาว เป็นหนึ่งในเคล็ดลับ การวางแผนการเงินอย่างรอบคอบของคนที่ต้องการรักษาและเพิ่มพูนมูลค่าทรัพย์สินของตนเอง
ไม่มีเงิน ไม่น่ากลัวเท่า ไม่มีทอง” ทำไมคนไทยถึงเชื่อแบบนั้น แล้วจริงไหม? "ซื้อทอง" ดีกว่า เก็บเงินไว้เฉยๆ
เคยสงสัยไหม ? ทำไมคนไทย ถึงมีความผูกพันกับ “ทองคำ” มากกว่าคนชาติอื่นๆ คำตอบ เพราะ นี่คือ 1 ในรากทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าทางจิตใจลึกซึ้งของคนไทย มาอย่างยาวนาน มากกว่า “เงินตรา” เสียอีก
เราอาจเคยได้ยินเรื่องเล่าชวนซาบซึ้ง อย่างแม่เคยเก็บทองไว้ 10 บาท ไว้ส่งลูกเรียนจนจบมหาวิทยาลัย ,ทองเส้นสุดท้ายของคุณยาย เรื่องจริงของคนที่ขายสร้อยเก่าเก็บ เพื่อรักษาชีวิตหลาน
หรือ จะเป็น สตอรี่ บางครอบครัว ไม่มีเงินฝากเลย แต่กลับมีสร้อย แหวน ทองคำแท่งเก็บ ไว้ซ่อนไว้ในบ้าน ไหนจะเรื่องที่คนไทยนิยมให้ “ทอง” เป็นของขวัญในงานแต่ง งานบวช วันเกิด ฯลฯ
จนดูเหมือน คนรุ่นพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย “มองเห็น” ทอง แล้วรู้สึกอุ่นใจมากกว่าเห็นตัวเลขในบัญชี หลักแสน หลักล้าน ขณะในภาวะวิกฤติ “ทองคำ” ยังเป็นสิ่งแรกๆ ที่คนคิดถึง ยกตัวอย่าง ช่วงโควิด คนแห่ขายทองเพื่อเอาเงินไปใช้จ่ายจำเป็น
ปัจจุบันเอง เราก็ยังเห็นคนแห่ซื้อทองเพิ่ม แม้ราคาจะสูงทะลุ 50,000 บาท ไปแล้ว เพราะ กลัวเงินเฟ้อ และรู้สึกว่า “ทอง” คือที่พึ่งสุดท้าย ไม่มีเงิน ไม่น่ากลัวเท่า ไม่มีทอง จนกลายเป็นสิ่งที่สะท้อนได้ว่า ทอง เป็นทั้ง “ภูมิคุ้มกัน” และ “คลังสำรองทางจิตใจ” ของคนไทยไม่เสื่อมคลาย ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน
ส่วนในแง่การลงทุน ภายใต้ขอถกเถียงสำคัญ จากราคาทองคำ ที่ผันผวนอย่างหนักในช่วงนี้ ว่า “ทองคำ” จะยังอยู่ในสถานะสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำได้อยู่หรือไม่
แต่สถานะที่ปฎิเสธไม่ได้ คือ “ทองคำ” ยังคงมีคุณสมบัติ เป็นสินทรัพย์ ที่มีความมั่นคง และเติบโตสูงในระยะยาว เป็นหนึ่งในเคล็ดลับ การวางแผนการเงินอย่างรอบคอบของคนที่ต้องการรักษาและเพิ่มพูนมูลค่าทรัพย์สินของตนเอง