เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย OLIVES
https://www.khaosod.co.th/sentangsedtee/featured/article_305745
ใครยังจำภาพร้านเครื่องเขียนที่เต็มไปด้วยดินสอ ปากกา สมุด และอุปกรณ์นานาชนิดได้บ้าง วันนี้หรือในอนาคตไม่นาน ภาพเหล่านั้นอาจกำลังเลือนหายไป เสียงจากผู้ประกอบการแห่งหนึ่ง ได้จุดประเด็นถึงสถานการณ์ที่น่ากังวล เมื่อ “ร้านเครื่องเขียน” กำลังเผชิญกับภาวะ “เจ๊ง” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ธุรกิจที่เคยเฟื่องฟูกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วอาจกลายเป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญ
เมื่อวันหยุดยาวที่ผ่านมา ผู้เขียนได้เดินทางเข้าไปในตัวเมืองราชบุรี เพื่อไปซื้ออุปกรณ์เครื่องเขียนชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านประจำในทุกๆ ครั้งที่ต้องการซื้อเกี่ยวกับอะไรพวกนี้ แต่วันนี้รู้สึกแปลกตาไปหน่อย เพราะสินค้าต่างๆ เริ่มลดลง จากเมื่อก่อนมีอยู่หนาตา จะเดินไปหยิบอะไรสักอย่างทีแทบจะเอียงตัวเดิน แต่มาวันนี้กลับไม่ใช่ ทุกอย่างดูบางตาไปเกือบหมด
ทันทีที่ยืนมองดูบรรยากาศร้านรอบๆ คุณตาเจ้าของร้านวัย 86 ปี เดินออกมาพร้อมพูดว่า “เดี๋ยวไม่นานก็จะปิดแล้ว” ผู้เขียนก็นึกว่าวันนี้มาช่วงเย็นๆ ร้านคงใกล้ปิด คุณตาพูดเสริมต่ออีกว่า ของเดี๋ยวนี้ต้นทุนสูง ขายไม่ออก ลองมองไปรอบๆ สิ ร้านอื่นๆ ก็ทยอยปิดกิจการลงกันไปเยอะแล้ว เศรษฐกิจไม่ไหว แต่ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจนะ คนเดี๋ยวนี้ก็ไม่ค่อยมาซื้อเครื่องเขียนกันเท่าไหร่แล้ว พอมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเขาก็ใช้ตรงนั้นกัน เราก็ขายไม่ออก เคยจะเอาไปบริจาคเขายังไม่เอาเลย เครื่องเขียนน่ะ
พอได้ฟังเลยถามกลับไปว่า แล้วเราปรับตัวอะไรบ้างได้หรือไม่ เพื่อให้กิจการเราไปต่อได้ คุณตา ตอบกลับมาทันทีว่า ปรับอะไรไม่ได้หรอก ลูกก็บอกให้เลิกได้แล้ว สู้ต่อก็คงไม่ไหว เราไม่ทันเทคโนโลยีหรอก
จากบทสนทนากับคุณตาเจ้าของร้าน สะท้อนให้เห็นถึงความยากลำบากและทางตันที่ผู้ประกอบการร้านเครื่องเขียนแบบดั้งเดิมกำลังเผชิญอย่างชัดเจน ความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยและพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันไปพึ่งพาเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบ ได้สร้างผลกระทบที่รุนแรงเกินกว่าที่หลายคนจะคาดคิด
เสียงสะท้อนจากร้านเครื่องเขียน ไม่ได้เป็นเพียงความคับข้องใจของผู้ประกอบการรายหนึ่งเท่านั้น แต่ยังเป็น สัญญาณเตือนถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีต่อธุรกิจดั้งเดิม ที่อาจไม่ได้มีเครื่องมือหรือความรู้เพียงพอในการปรับตัว การที่แม้แต่การบริจาคเครื่องเขียนยังเป็นเรื่องยาก แสดงให้เห็นถึง ความต้องการที่ลดลงอย่างแท้จริงในสังคม
แม้ร้านเครื่องเขียนเล็กๆ จะทยอยปิดตัวลง แต่ไม่ใช่ว่าปลาใหญ่จะไม่ต้องปรับกลยุทธ์ ร้านเครื่องเขียนที่เป็นแบรนด์ขนาดใหญ่หลายๆ แบรนด์ ต่างต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ดึงเอาความเป็นเอกลักษณ์ออกมาสู้สู่สายตาของผู้บริโภค หรือแม้แต่หาสินค้าอื่นๆ เข้ามาเสริมเพื่อสร้างความสนใจ ดึงดูดผู้บริโภคให้เข้ามาใช้บริการ
ยกตัวอย่างแบรนด์เครื่องเขียนขนาดใหญ่ อย่าง B2S ที่ต้องปรับครั้งใหญ่ โดยการขยายอาณาจักรสินค้า ดึงดูดลูกค้าทุกกลุ่ม... อ่านต่อข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.khaosod.co.th/sentangsedtee/featured/article_305745
เสียงสะท้อนจากผู้ประกอบการ พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ร้านเครื่องเขียน (เตรียม) ปลดระวาง
https://www.khaosod.co.th/sentangsedtee/featured/article_305745
ใครยังจำภาพร้านเครื่องเขียนที่เต็มไปด้วยดินสอ ปากกา สมุด และอุปกรณ์นานาชนิดได้บ้าง วันนี้หรือในอนาคตไม่นาน ภาพเหล่านั้นอาจกำลังเลือนหายไป เสียงจากผู้ประกอบการแห่งหนึ่ง ได้จุดประเด็นถึงสถานการณ์ที่น่ากังวล เมื่อ “ร้านเครื่องเขียน” กำลังเผชิญกับภาวะ “เจ๊ง” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ธุรกิจที่เคยเฟื่องฟูกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วอาจกลายเป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญ
เมื่อวันหยุดยาวที่ผ่านมา ผู้เขียนได้เดินทางเข้าไปในตัวเมืองราชบุรี เพื่อไปซื้ออุปกรณ์เครื่องเขียนชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านประจำในทุกๆ ครั้งที่ต้องการซื้อเกี่ยวกับอะไรพวกนี้ แต่วันนี้รู้สึกแปลกตาไปหน่อย เพราะสินค้าต่างๆ เริ่มลดลง จากเมื่อก่อนมีอยู่หนาตา จะเดินไปหยิบอะไรสักอย่างทีแทบจะเอียงตัวเดิน แต่มาวันนี้กลับไม่ใช่ ทุกอย่างดูบางตาไปเกือบหมด
ทันทีที่ยืนมองดูบรรยากาศร้านรอบๆ คุณตาเจ้าของร้านวัย 86 ปี เดินออกมาพร้อมพูดว่า “เดี๋ยวไม่นานก็จะปิดแล้ว” ผู้เขียนก็นึกว่าวันนี้มาช่วงเย็นๆ ร้านคงใกล้ปิด คุณตาพูดเสริมต่ออีกว่า ของเดี๋ยวนี้ต้นทุนสูง ขายไม่ออก ลองมองไปรอบๆ สิ ร้านอื่นๆ ก็ทยอยปิดกิจการลงกันไปเยอะแล้ว เศรษฐกิจไม่ไหว แต่ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจนะ คนเดี๋ยวนี้ก็ไม่ค่อยมาซื้อเครื่องเขียนกันเท่าไหร่แล้ว พอมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเขาก็ใช้ตรงนั้นกัน เราก็ขายไม่ออก เคยจะเอาไปบริจาคเขายังไม่เอาเลย เครื่องเขียนน่ะ
พอได้ฟังเลยถามกลับไปว่า แล้วเราปรับตัวอะไรบ้างได้หรือไม่ เพื่อให้กิจการเราไปต่อได้ คุณตา ตอบกลับมาทันทีว่า ปรับอะไรไม่ได้หรอก ลูกก็บอกให้เลิกได้แล้ว สู้ต่อก็คงไม่ไหว เราไม่ทันเทคโนโลยีหรอก
จากบทสนทนากับคุณตาเจ้าของร้าน สะท้อนให้เห็นถึงความยากลำบากและทางตันที่ผู้ประกอบการร้านเครื่องเขียนแบบดั้งเดิมกำลังเผชิญอย่างชัดเจน ความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยและพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันไปพึ่งพาเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบ ได้สร้างผลกระทบที่รุนแรงเกินกว่าที่หลายคนจะคาดคิด
เสียงสะท้อนจากร้านเครื่องเขียน ไม่ได้เป็นเพียงความคับข้องใจของผู้ประกอบการรายหนึ่งเท่านั้น แต่ยังเป็น สัญญาณเตือนถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีต่อธุรกิจดั้งเดิม ที่อาจไม่ได้มีเครื่องมือหรือความรู้เพียงพอในการปรับตัว การที่แม้แต่การบริจาคเครื่องเขียนยังเป็นเรื่องยาก แสดงให้เห็นถึง ความต้องการที่ลดลงอย่างแท้จริงในสังคม
แม้ร้านเครื่องเขียนเล็กๆ จะทยอยปิดตัวลง แต่ไม่ใช่ว่าปลาใหญ่จะไม่ต้องปรับกลยุทธ์ ร้านเครื่องเขียนที่เป็นแบรนด์ขนาดใหญ่หลายๆ แบรนด์ ต่างต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ดึงเอาความเป็นเอกลักษณ์ออกมาสู้สู่สายตาของผู้บริโภค หรือแม้แต่หาสินค้าอื่นๆ เข้ามาเสริมเพื่อสร้างความสนใจ ดึงดูดผู้บริโภคให้เข้ามาใช้บริการ
ยกตัวอย่างแบรนด์เครื่องเขียนขนาดใหญ่ อย่าง B2S ที่ต้องปรับครั้งใหญ่ โดยการขยายอาณาจักรสินค้า ดึงดูดลูกค้าทุกกลุ่ม... อ่านต่อข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.khaosod.co.th/sentangsedtee/featured/article_305745