เช็กลิสต์ก่อนคิดเป็น “หนี้” แบกภาระต่อเดือนแค่ไหน? ถึงเรียกว่า ปลอดภัย

เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย
https://www.thairath.co.th/money/personal_finance/financial_planning/2853095


รายงานล่าสุดจากบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือ เครดิตบูโร เผยข้อมูลที่น่าตกใจว่า ปัจจุบันมีคนไทยมากถึง 5.4 ล้านคน ที่กลายเป็น "หนี้เสีย" จากจำนวนกำลังแรงงานไทยทั้งหมด 40 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 13.5% ของกำลังแรงงานทั้งประเทศ 
ตัวเลขนี้สะท้อนชัดว่า คนจำนวนไม่น้อยกำลังแบกรับภาระหนี้ที่ไม่สอดคล้องกับรายได้ และขาดความสามารถในการจัดการหนี้

แล้วหนี้ระดับไหน ถึงเรียกว่าวิกฤติ?

ข้อมูลจากธนาคารไทยพาณิชย์ ระบุไว้ ว่าเราเองก็ประเมินตัวเองได้ว่าเรากำลัง “เป็นหนี้เกินตัว” หรือไม่ โดยใช้สูตรง่าย ๆ ดังนี้ 
หนี้รายเดือน ÷ รายได้ต่อเดือน × 100 = ภาระหนี้ (%)

ตัวอย่าง: หากมีรายได้ 30,000 บาทต่อเดือน และมีภาระหนี้ 15,000 บาท
อัตราภาระหนี้  : 15,000 ÷ 30,000 × 100 = 50%
นั่นหมายถึงรายได้ครึ่งหนึ่งต้องใช้ไปกับการชำระหนี้แล้ว ซึ่งถือว่า “สูงเกินไป” และกำลังเข้าสู่โซนอันตราย

ซึ่งหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยจำนวนมากเป็นหนี้เกินตัว คือ “รายจ่ายมากกว่ารายรับ” หลายครัวเรือนพึ่งพาการกู้ยืมเพื่อดำรงชีวิต ทั้งบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล และหนี้นอกระบบ เมื่อไม่มีการวางแผนการเงินอย่างรอบคอบ หรือกู้โดยไม่ประเมินความสามารถในการชำระคืน ย่อมทำให้เข้าสู่ภาวะหนี้เสียในที่สุด

ขณะในแง่ทางออกนั้น การกู้ยืมไม่ใช่เรื่องผิด แต่จำเป็นต้องประเมินความสามารถของตัวเองให้รอบด้าน โดยเฉพาะอัตราส่วนภาระหนี้ (DTI) ที่ควรอยู่ในระดับ ไม่เกิน 40% เพื่อให้ยังสามารถใช้จ่ายเพื่อชีวิตประจำวัน และมีเงินออมได้ในระยะยาว

ในภาวะเศรษฐกิจที่เปราะบาง การรู้ทันความเสี่ยงของหนี้ และรู้จัก "เบรก" ก่อนจะสาย อาจเป็นหนทางเดียวที่พาเรารอดพ้นจากวิกฤติหนี้ที่กำลังลุกลามเงียบ ๆ ในสังคมไทยตอนนี้ได้ 
ที่มา : ธนาคารไทยพาณิชย์ 


แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่