ไขรหัสราคาหุ้น มือใหม่ต้องรู้ก่อนลงทุน เปิดวิธีประเมิน รู้ทันมูลค่า “ถูกเกินไป” หรือ “แพงเกินจริง”

เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย
https://www.thairath.co.th/money/personal_finance/financial_planning/2857639#aWQ9NjQxYThiYTA4OWRkZDYwMDEyMmI2NzZhJnBvcz0xJnJ1bGU9MCZjb250ZW50X3NpdGU9dGhhaXJhdGgtbW9uZXk=


“Summary“
ทำไมหุ้นบริษัทใหญ่เหมือนกัน แต่ราคาต่างกันลิบลับ Thairath Money พาเจาะลึกเบื้องหลังราคาหุ้น ไขรหัส P/E และ P/BV สองเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสแกนว่าหุ้นตัวไหน "ถูกเกินไป" หรือ "แพงเกินจริง"

นักลงทุนมือใหม่อาจเคยสงสัยว่า ทำไมหุ้นบริษัทหนึ่งมีขนาดใหญ่ ราคาต่อหุ้นแค่หลักสิบบาท แต่พอไปดูหุ้นอีกบริษัทหนึ่งที่ก็ใหญ่ไม่แพ้กัน ราคากลับพุ่งไปหลักร้อยบาท
แบบนี้จะเลือกลงทุนบริษัทไหนดี Thairath Money จะพาไปไขปริศนาเหล่านี้ พร้อมสอนวิธีส่องหุ้นแบบเบื้องต้นว่า "แพง" หรือ "ถูก" ด้วย 2 เครื่องมือง่ายๆ ที่นักลงทุนมือใหม่ต้องรู้

ราคาหุ้นมาจากไหน ?
หลายคนอาจคิดว่า ราคาหุ้นแพงๆ หมายถึงบริษัทต้องใหญ่กว่า มีกำไรเยอะกว่าเสมอไป แต่ในความเป็นจริงแล้ว ราคาต่อหุ้น (Price per Share) ที่เราเห็นบนกระดานนั้น ไม่ได้สะท้อนขนาดของบริษัทที่แท้จริง

สิ่งที่กำหนดราคาต่อหุ้นนั้น คือ "อุปสงค์และอุปทานในตลาด" หรือ แรงซื้อแรงขายนั่นเอง แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาต่อหุ้นของแต่ละบริษัทแตกต่างกันอย่างมาก แม้จะมีขนาดธุรกิจใกล้เคียงกัน คือ "จำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัท"

ลองนึกภาพตามว่า สมมติมีเค้กก้อนเท่ากันสองก้อน ก้อนแรกถูกหั่นเป็น 10 ชิ้นใหญ่ๆ ราคาต่อชิ้นก็จะสูงหน่อย ส่วนก้อนที่สองถูกหั่นเป็น 100 ชิ้นเล็กๆ ราคาต่อชิ้นก็จะถูกลงมา ทั้งที่มูลค่ารวมของเค้กทั้งสองก้อนเท่ากัน

หุ้นก็เช่นกัน บริษัทที่มี "มูลค่าตลาด" (Market Capitalization หรือ Market Cap.) สูงมากๆ อาจจะมีราคาต่อหุ้นที่ไม่สูงนัก หากบริษัทนั้นมีจำนวนหุ้นหมุนเวียนในตลาดเยอะ ในทางกลับกัน บริษัทที่มี Market Cap. รองลงมา แต่มีจำนวนหุ้นน้อยกว่า ราคาต่อหุ้นก็อาจจะสูงกว่าได้

ดังนั้น การจะดูว่าบริษัทไหน "ใหญ่" กว่ากันจริงๆ ต้องดูที่ Market Cap. ซึ่งคำนวณจาก “ราคาต่อหุ้น x จำนวนหุ้นทั้งหมด” ไม่ใช่ดูแค่ราคาต่อหุ้นอย่างเดียว
รู้จัก P/E และ P/BV เครื่องมือวัด “ความถูกแพง”

อ่านต่อรายละเอียดเพิ่มเติมข่าวต้นฉบับเต็มได้ที่ลิ้งค์ข้างต้น

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่