แอมเนสตี้เรียกร้องรัฐบาลไทยหยุดปฏิบัติการ IO-การโจมตีทางไซเบอร์ต่อภาคประชาสังคม
https://www.matichon.co.th/politics/news_5131500
.
.
แอมเนสตี้เรียกร้องรัฐบาลไทยยุติการปฏิบัติการ IO และการโจมตีทางไซเบอร์ต่อภาคประชาสังคม หลังพบเอกสารลับระบุเป้าหมายทำลายองค์กรสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบ
.
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลไทยดำเนินการสอบสวนโดยทันที และยุติการปฏิบัติการข่าวสาร (Information Operations-IO) รวมถึงการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีเป้าหมายโจมตีและลดทอนความน่าเชื่อถือของกลุ่มภาคประชาสังคมอย่างเป็นระบบ หลังมีการเปิดเผยเอกสารลับจากการอภิปรายในรัฐสภา ซึ่งชี้ชัดว่าหน่วยงานด้านความมั่นคงของไทย ทั้งตำรวจและทหาร มีส่วนร่วมในการจัดตั้ง “ไซเบอร์ทีม” เพื่อทำลายชื่อเสียงขององค์กรสิทธิมนุษยชน รวมถึงแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย
.
ชนาธิป ตติยการุณวงศ์ นักวิจัยประจำประเทศไทย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ระบุว่า การโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่เป็นภัยคุกคามต่อองค์กร แต่ยังสะท้อนถึงความพยายามของรัฐในการรุกล้ำสิทธิเสรีภาพของภาคประชาสังคมอย่างร้ายแรง รัฐบาลต้องยุติการป้ายสี คุกคาม หรือทำลายความชอบธรรมของผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมโดยทันที เพื่อคงไว้ซึ่งประเทศไทยในฐานะพื้นที่ปลอดภัยของเสียงที่แตกต่าง
.
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียกร้องให้ทางการไทยมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่รัฐในปฏิบัติการดังกล่าว พร้อมตรวจสอบและดำเนินการทำให้ผู้เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานความมั่นคง หรือบุคคลภายนอกก็ตาม
.
“การโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้น ถือเป็นการกระทำอันอุกอาจเพื่อบ่อนเซาะทำลายพื้นที่พลเมืองในประเทศไทย ทางการไทยต้องดำเนินการทันทีเพื่อยุติปฏิบัติการสาดโคลนป้ายสี ที่มุ่งทำร้ายนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรม” ชนาธิป ตติยการุณวงศ์ นักวิจัยประจำประเทศไทย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าว
.
“รัฐบาลไทยต้องใช้มาตรการที่จำเป็นทั้งปวง เพื่อให้มีการเปิดเผยรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่รัฐในปฏิบัติการนี้ และรับรองให้ผู้กระทำต้องรับผิดชอบ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานความมั่นคง หรือบุคคลทั่วไป”
.
เอกสารลับชี้ “แอมเนสตี้” เป็นหนึ่งในเป้าหมายที่มีคุณค่าสูง
.
การเรียกร้องครั้งนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2568 ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจในรัฐสภา ชยพล สท้อนดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคฝ่ายค้าน ได้นำเอกสารภายในมานำเสนอ ที่มีการเปิดเผยให้เห็นโครงสร้างของ “ไซเบอร์ทีม” ภายใต้การควบคุมของศูนย์บัญชาการร่วมที่ประกอบด้วยตำรวจ ทหาร และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ในเอกสารดังกล่าวพบว่า แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นหนึ่งเป้าหมายที่ถูกระบุในเอกสารลับว่าเป็นองค์กรที่อยู่ในกลุ่ม “เป้าหมายที่มีคุณค่าสูง” (high-value target) ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนอื่นๆ เช่น ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw), และอันนา อันนานนท์ เยาวชนนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
.
รายงานว่าไซเบอร์ทีมมีหน้าที่จัดทำเนื้อหาโจมตีบนโลกออนไลน์ หรือที่รู้จักกันว่าการเปิดปฏิบัติการ IO เช่น โต้ตอบโพสต์ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลที่เรียกร้องให้ยุติความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือนเพื่อลดทอนความน่าเชื่อถือขององค์กร โดยเฉพาะในช่วงเลือกตั้งปี 2566 ทีมดังกล่าวได้พุ่งเป้าไปที่บัญชีโซเชียลมีเดียของนักเคลื่อนไหวภาคประชาสังคม นักกิจกรรมที่ออกมาใช้สิทธิในเสรีภาพการแสดงออก หนึ่งในนั้นมีปิยนุช โคตรสาร อดีตผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ในตอนนั้นพบว่ามีการพยายามเจาะรหัสผ่านผ่านวิธีการ brute-force attack และ phishing เพื่อเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวและสื่อสารออนไลน์หากใครหรือองค์กรใดเป็นกลุ่มเป้าหมายของไซเบอร์ทีม
.
“หน่วยงานภาคประชาสังคมได้เก็บบันทึกข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เพื่อยืนยันถึงการมีอยู่การโจมตีทางดิจิทัลหลายระลอกที่เกิดขึ้นกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และยังจำต้องออกมาเรียกร้องซ้ำแล้วซ้ำเล่าให้ทางการไทยสอบสวนและยุติการละเมิดเหล่านี้ หลักฐานที่มีการนำมาเผยแพร่ครั้งล่าสุดนี้ เป็นเพียงเสมือนเครื่องยืนยันว่า นักกิจกรรมและภาคประชาสังคมยังคงต้องเผชิญภัยคุกคามในโลกดิจิทัลเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง”
.
พบการใช้อำนาจในโลกดิจิทัล ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
.
ที่ผ่านมาแม้รัฐบาลไทยจะปฏิเสธข้อกล่าวหาระหว่างการอภิปรายดังกล่าว แต่หลักฐานที่เปิดเผยล่าสุดสะท้อนถึงแนวโน้มการใช้อำนาจแบบอำนาจนิยมในโลกดิจิทัลซึ่งกำลังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย โดยในเดือนพฤษภาคม 2567 งานวิจัยของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้เปิดเผยว่าทางการไทยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวัง การคุกคามออนไลน์ และการใช้ปฏิบัติการสาดโคลนอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะต่อผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศที่เป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
.
คณะกรรมการต่อต้านการทรมานแห่งสหประชาชาติยังได้แสดงความกังวลในเดือนพฤศจิกายน 2567 เกี่ยวกับการใช้สปายแวร์และการคุกคามทางไซเบอร์ของทางการไทยต่อกลุ่มภาคประชาสังคมและนักเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นการละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างร้ายแรงจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ยืนยันว่าทางการไทยต้องแสดงความโปร่งใส มีการสอบสวนอย่างเป็นอิสระ และยุติการกระทำที่เป็นภัยต่อเสรีภาพของภาคประชาสังคมในทันที
.
“นานเกินไปแล้วที่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ต้องจำทนอยู่กับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ดิจิทัลอันเป็นพิษ ในปัจจุบัน ประเทศไทยได้ดำรงตำแหน่งอยู่ในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ทางการไทยจึงต้องปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่เคยให้ไว้ โดยเริ่มจากการยุติการโจมตีทางไซเบอร์ ปฏิบัติการสาดโคลนป้ายสี และรับประกันให้เกิด”
.
.
วุฒิสภาเห็นชอบตั้ง 35 กมธ.วิสามัญฯ ศึกษา “กาสิโน” กรอบ 180 วัน
https://www.dailynews.co.th/news/4587252/
.
“วุฒิสภา” เห็นชอบตั้ง "35 กมธ.วิสามัญฯ” ศึกษา “กาสิโน” กรอบ 180 วัน พบ “แก้วสรร-คำนูณ-จรัญ-เจิมศักดิ์” มีชื่อร่วมวง หลังถกญัตติ กาสิโน ยาวกว่า 3 ชั่วโมง
.
เมื่อวันที่ 8 เม.ย. ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มีนายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม ได้พิจารณาญัตติที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร (เอนเทอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์) จำนวน 3 ญัตติ คือ 1.ญัตติ ขอให้ตั้งกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญเพื่อศึกษาการเปิดสถาบันเทินครบวงจร เสนอโดย นาย
สรชาติ วิชย สุวรรณพรหม สว. 2.ญัตติให้วุฒิสภาพิจารณาผลกระทบจากการดำเนินการเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ…. เสนอโดย นาย
วีระพันธุ์ สุวรรณามัย สว. และ 3.ญัตติด่วนด้วยวาจา เพื่อมีข้อเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ทำการออกเสียงประชามติก่อนการเสนอร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร ต่อสภาฯ เสนอโดย น.ส.
นันทนา นันทวโรภาส สว.
.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการอภิปรายของสว. ส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ เรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนการทำนโยบายดังกล่าว หากคิดจะทำต้องจัดเวทีรับฟังความเห็นของประชาชน หรือ สมัชชา 77 จังหวัดเพื่อรับฟังความเห็น รวมไปถึงการเสนอให้ทำประชามติ พร้อมกับเสนอให้ถอนร่างกฎหมายเอนเทอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ออกจากวาระการพิจารณาของสภาฯ แทนการเลื่อนระเบียบวาระ
.
อย่างไรก็ตามในเนื้อหาของร่างพ.ร.บ.ประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจรที่ครม. เสนอต่อสภาฯ นั้น สว.มีความกังวลต่อประเด็นที่อาจเกิดผลกระทบทางสังคม ก่อให้เกิดอาชญากรรมร้ายแรง เกิดทุนเทาทำให้ประเทศขาดความเชื่อมั่นจากนักลงทุน เนื่องจากปัญหาของการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เข้มแข็ง ขณะที่ในประเด็นที่รัฐบาลตั้งโจทย์ในแง่กระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ไม่มีข้อบ่งชี้ใดว่าจะทำให้รายได้เข้าประเทศตามเป้าหมาย เพราะมีข้อจำกัดของผู้เข้าเล่น
.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมวุฒิสภา ได้ใช้เวลาอภิปรายเรื่องดังกล่าวนานถึง 3 ชั่วโมง และมีผู้อภิปรายกว่า 20 คน และหลังจากที่อภิปรายแล้วเสร็จ พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง ในฐานะประธานที่ประชุมได้ถามกับที่ประชุมว่ามีผู้ใดขัดข้องต่อการตั้ง กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาการเปิดสถานบันเทิงแบบครบวงจรหรือไม่ ซึ่งไม่มีใครคัดค้าน จึงอาศัยตามข้อบังคับ ตั้งกมธ. จำนวน 35 คนโดยมีสัดส่วนบุคคลภายนอก 12 คน ได้แก่ นาย
แก้วสรร อติโพธิ นายคำนูณ สิทธิสมาน นายจรัญ
ภักดีธนากุล นาย
เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นาย
ไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ พล.ท.
บุญชัย เกษตรตระการ นาย
ภูมิรักษ์ ธีรัชกิจไพศาล นาย
วุฒิสาร ตันไชย นาย
สมคิด เลิศไพทูรย์ พล.ต.ท.
สมประสงค์ เย็นท้วม นาย
แสนศักดิ์ ศิริพานิช ทั้งนี้วางกรอบศึกษา 180 วัน
.
ทั้งนี้นาย
มงคล ประธานวุฒิสภา ได้ขึ้นมาทำหน้าที่ประธานที่ประชุมอีกครั้ง พร้อมแจ้งว่าในส่วนของข้อสังเกตของสว. นั้นจะส่งไปยังหน่วยงานและรัฐบาลเพื่อดำเนินการ รวมถึงส่งรายละเอียดไปยังกมธ.ที่ตั้งขึ้น ทั้งนี้ตนขอบคุณที่อยู่ครบการประชุม และปิดประชุมเมื่อเวลา 23.05 น.
.
.
มัสก์สับที่ปรึกษาการค้าทรัมป์ ตัวการขึ้นภาษี “ปัญญาอ่อน”
https://www.matichon.co.th/foreign/news_5131839
.
มัสก์สับที่ปรึกษาการค้าทรัมป์ ตัวการขึ้นภาษี “ปัญญาอ่อน”
.
สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานว่า จากกรณีที่นายปีเตอร์ นาวาร์โร ปรึกษาอาวุโสทางการค้าของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซีเอ็นบีซีว่า เทสลา ซึ่งเป็นบริษัทรถยนต์ของนายอีลอน มัสก์ ผู้นำกระทรวงประสิทธิภาพรัฐบาล เป็นผู้ประกอบรถยนต์ ไม่ใช่ผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งเป็นลักษณะของการทำธุรกิจที่ไม่สอดคล้องกับนโยบายเก็บภาษีของทรัมป์ เมื่อวันที่ 7 เมษายน
.
โดยนาวาร์โรกล่าวว่า “ถ้าคุณไปที่โรงงานในเท็กซัสของเขา เครื่องยนต์ส่วนใหญ่ที่ใช้ในรถยนต์อีวีอย่างแบตเตอรี่มาจากญี่ปุ่นและจีน สำหรับส่วนประกอบอิเล็กทรอนิสก์ต่างๆ ก็มาจากไต้หวัน” พร้อมระบุอีกว่า “สิ่งที่ต่างกันสำหรับเราและอีลอนคือ เราต้องการให้ยางรถยนต์ผลิตที่เมืองแอครอน ต้องการให้เกียร์รถยนต์ผลิตในอินเดียแนโพลิส และต้องการให้เครื่องยนต์ผลิตที่ฟลินท์และแซกเกอนอว์ เราต้องการในรถยนต์ผลิตในสหรัฐ”
.
ในวันที่ 8 เมษายน มัสก์โต้กลับในเรื่องนี้ผ่านทางโชเซียลมีเดียว่า นาวาร์โรเป็น “พวกปัญญาอ่อน” และ “สิ่งที่เขาพูดมานั้นผิดมหันต์” ทั้งยังเรียกนาวาร์โรว่า “Peter Ratarrdo” ซึ่งการเป็นการผสมชื่อของเขากับคำว่า retarded ที่แปลว่าปัญญาอ่อน
JJNY : ร้องรบ.ไทยหยุดปฏิบัติการ IO│วุฒิสภาเห็นชอบตั้งกมธ.│มัสก์สับที่ปรึกษาการค้าทรัมป์│เตือนไทยร้อนจัด แต่ 38 จว.ฝนถล่ม
https://www.matichon.co.th/politics/news_5131500
.
.
วุฒิสภาเห็นชอบตั้ง 35 กมธ.วิสามัญฯ ศึกษา “กาสิโน” กรอบ 180 วัน
https://www.dailynews.co.th/news/4587252/
.
“วุฒิสภา” เห็นชอบตั้ง "35 กมธ.วิสามัญฯ” ศึกษา “กาสิโน” กรอบ 180 วัน พบ “แก้วสรร-คำนูณ-จรัญ-เจิมศักดิ์” มีชื่อร่วมวง หลังถกญัตติ กาสิโน ยาวกว่า 3 ชั่วโมง
.
เมื่อวันที่ 8 เม.ย. ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มีนายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม ได้พิจารณาญัตติที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร (เอนเทอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์) จำนวน 3 ญัตติ คือ 1.ญัตติ ขอให้ตั้งกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญเพื่อศึกษาการเปิดสถาบันเทินครบวงจร เสนอโดย นายสรชาติ วิชย สุวรรณพรหม สว. 2.ญัตติให้วุฒิสภาพิจารณาผลกระทบจากการดำเนินการเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ…. เสนอโดย นายวีระพันธุ์ สุวรรณามัย สว. และ 3.ญัตติด่วนด้วยวาจา เพื่อมีข้อเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ทำการออกเสียงประชามติก่อนการเสนอร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร ต่อสภาฯ เสนอโดย น.ส.นันทนา นันทวโรภาส สว.
.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการอภิปรายของสว. ส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ เรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนการทำนโยบายดังกล่าว หากคิดจะทำต้องจัดเวทีรับฟังความเห็นของประชาชน หรือ สมัชชา 77 จังหวัดเพื่อรับฟังความเห็น รวมไปถึงการเสนอให้ทำประชามติ พร้อมกับเสนอให้ถอนร่างกฎหมายเอนเทอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ออกจากวาระการพิจารณาของสภาฯ แทนการเลื่อนระเบียบวาระ
.
อย่างไรก็ตามในเนื้อหาของร่างพ.ร.บ.ประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจรที่ครม. เสนอต่อสภาฯ นั้น สว.มีความกังวลต่อประเด็นที่อาจเกิดผลกระทบทางสังคม ก่อให้เกิดอาชญากรรมร้ายแรง เกิดทุนเทาทำให้ประเทศขาดความเชื่อมั่นจากนักลงทุน เนื่องจากปัญหาของการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เข้มแข็ง ขณะที่ในประเด็นที่รัฐบาลตั้งโจทย์ในแง่กระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ไม่มีข้อบ่งชี้ใดว่าจะทำให้รายได้เข้าประเทศตามเป้าหมาย เพราะมีข้อจำกัดของผู้เข้าเล่น
.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมวุฒิสภา ได้ใช้เวลาอภิปรายเรื่องดังกล่าวนานถึง 3 ชั่วโมง และมีผู้อภิปรายกว่า 20 คน และหลังจากที่อภิปรายแล้วเสร็จ พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง ในฐานะประธานที่ประชุมได้ถามกับที่ประชุมว่ามีผู้ใดขัดข้องต่อการตั้ง กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาการเปิดสถานบันเทิงแบบครบวงจรหรือไม่ ซึ่งไม่มีใครคัดค้าน จึงอาศัยตามข้อบังคับ ตั้งกมธ. จำนวน 35 คนโดยมีสัดส่วนบุคคลภายนอก 12 คน ได้แก่ นายแก้วสรร อติโพธิ นายคำนูณ สิทธิสมาน นายจรัญ ภักดีธนากุล นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ พล.ท.บุญชัย เกษตรตระการ นายภูมิรักษ์ ธีรัชกิจไพศาล นายวุฒิสาร ตันไชย นายสมคิด เลิศไพทูรย์ พล.ต.ท.สมประสงค์ เย็นท้วม นายแสนศักดิ์ ศิริพานิช ทั้งนี้วางกรอบศึกษา 180 วัน
.
ทั้งนี้นายมงคล ประธานวุฒิสภา ได้ขึ้นมาทำหน้าที่ประธานที่ประชุมอีกครั้ง พร้อมแจ้งว่าในส่วนของข้อสังเกตของสว. นั้นจะส่งไปยังหน่วยงานและรัฐบาลเพื่อดำเนินการ รวมถึงส่งรายละเอียดไปยังกมธ.ที่ตั้งขึ้น ทั้งนี้ตนขอบคุณที่อยู่ครบการประชุม และปิดประชุมเมื่อเวลา 23.05 น.
.
.
มัสก์สับที่ปรึกษาการค้าทรัมป์ ตัวการขึ้นภาษี “ปัญญาอ่อน”
https://www.matichon.co.th/foreign/news_5131839