ถ้าจิตมีดวงเดียว ขณะขับรถเราต้องมอง จับพวงมาลัย เหยียบคันเร่ง และทำอย่างอื่นพร้อมกันได้อย่างไร?

เรื่องธรรมดาในชีวิตที่ไม่เคยตั้งคำถาม…จนวันนี้ ที่ได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับ จิต

ถ้าในทางพระพุทธศานาก็มักจะกล่าวว่า จิตมีอยู่ดวงเดียวเกิดดับอยู่ตลอดเวลา อายตนะรับรู้อยู่ตลอดเวลา แล้วแต่จิตว่าจิตจะไปรับรู้ที่จุดไหน
แต่จุดสงสัยคือ “มันมีอยู่ดวงเดียว ( ณ ขณะหนึ่ง แล้วเปลี่ยนใหม่)” อย่างไรก็ตาม ณ เวลาหนึ่ง มันก็ยังคงมีดวงเดียว  เหมือนไฟฉายที่มันส่องได้ทีละจุดน่ะครับ ตามความเข้าใจส่วนตัว และได้ยินคำอธิบายนี้มาจากพระ และคนอื่น ๆ ครับ

แต่เวลาที่เราขับรถ ตาเราต้องมอง มือเราต้องจับพวงมาลัย หรือ หากเราขับรถมอเตอร์ไซต์ ก็จะจับคันเร่ง ถ้าเป็นรถยนต์ขาก็ต้องเหยียบคันเร่งไปด้วย หูก็ต้องฟังเสียง ถูกมั้ยครับ หรือขณะเรากำลังทำสิ่งอื่น ซึ่งพุทธสอนว่าให้เป็นผู้ฟังมาก เราก็ต้องฟังไปด้วยถูกมั้ยครับ ถ้าเป็นวิทยาศาสตร์คิดว่ามันอธิบายได้ง่ายเข้าใจเลย แต่เรื่องจิตดวงเดียวนี่สิมันจะแยกยังไง? อยากทราบกลไกมันครับ

ทีนี่เราก็คงรับรู้ทุกอย่างได้อย่างรวดเร็ว หรือ รู้สึกว่ารับรู้ทุกอย่างอยู่พร้อม ๆ กัน

ถ้าหากเป็นคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ ก็จะกล่าวว่า
สมองแบ่งเป็นส่วนต่าง ๆ ยกตัวอย่าง
สมองกลีบท้ายทอย - ประมวลภาพที่เห็น
สมองซีรีเบลลัม - ควบคุมการเคลื่อนไหว
สมองกลีบหน้า - ควบคุมการตัดสินใจ
มีเส้นประสาทคู่ต่าง ๆ ที่ควบคุมเฉพาะหน้าที่ของมันแต่ละอย่างไป
และแต่ละอย่างประมวลผลอย่างรวดเร็วผ่าน nervous tissue

ในทางพระพุทธศาสนาที่กล่าวว่าจิตมีดวงเดียว แต่เกิดดับอยู่ตลอดเวลานั้น
สามารถอธิบายเรื่องนี้ได้ว่าอย่างไรครับ?
ส่วนตัวสมมติฐานว่า จิตมันคงมีอยู่ทั่วร่างกายครับ

ผิดยังไงขออภัยด้วยนะครับ และขอบพระคุณครับ
เม่าเหม่อ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่