คงเป็นประเด็นที่จะถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุย และตระหนักถึง
หลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวแบบรุนแรงในครั้งนี้
ความเสี่ยงกว่าหมื่นตึก กทม. ที่สร้างก่อนปี 2550 เสี่ยงรับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว
โดย ดร.อมรเทพ จิรศักดิ์จำรูญศรี สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (บทความเผยแพร่เมื่อ 29 มิ.ย. 2566)
จากเหตุการณ์ #แผ่นดินไหว จุดศูนย์กลางที่เมียนมา ขนาด 8.2 ความลึก 10 กิโลเมตร วันนี้ (28 มี.ค. 68) เมื่อเวลา 13:20 น. ซึ่งหลายพื้นที่ในไทย รวมถึงกรุงเทพมหานคร รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน และตึกสูงสั่นไหว มีการอพยพคนออกจากตึกสูงทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
รวมถึงเหตุสลดเนื่องจากมีเหตุอาคารถล่ม บริเวณถนนกำแพงเพชร 2 เขตจตุจักร และมีผู้ติดค้างจำนวนมากนั้น
ประเด็นเรื่องความปลอดภัยของอาคารในเขตกรุงเทพมหานคร จึงย้อนกลับมาถูกพูดถึงอีกครั้ง “กรุงเทพธุรกิจ” ชวนย้อนอ่านบทความ “แผ่นดินไหว และตึกระฟ้าในกรุงเทพมหานคร” โดย ดร.อมรเทพ จิรศักดิ์จำรูญศรี สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (บทความเผยแพร่เมื่อ 29 มิ.ย. 2566) เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว
เนื้อหาส่วนหนึ่งดังนี้..
“ประเทศไทยตั้งอยู่บนพื้นที่ที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันตก ในขณะที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ถึงแม้จะอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวหลายร้อยกิโลเมตร แต่อาจได้รับผลกระทบได้เช่นกัน
เนื่องจากโครงสร้างชั้นดินใต้พื้นที่นี้มีลักษณะเป็นชั้นดินเหนียวอ่อนหนา ซึ่งมีความสามารถในการขยายความรุนแรงของแผ่นดินไหวขึ้นได้ ถึงแม้ว่าจะอยู่ไกลจากแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวก็ตาม
ประเทศไทยมีประกาศกฎกระทรวง กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว เมื่อปี พ.ศ. 2550 และมีการปรับปรุงเมื่อปี พ.ศ.2564
กฎกระทรวงดังกล่าวบังคับให้ผู้ออกแบบ ออกแบบอาคารให้สามารถต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวให้ได้ตามข้อกำหนดและมาตรฐานที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ประมาณ 1,569 ตารางกิโลเมตร ซึ่งถือว่าไม่ใหญ่มากเมื่อเปรียบเทียบกับเมืองอื่น แต่มีประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 5 ล้านคน และยังเป็นพื้นที่ที่มีการรวมธุรกิจประเภทต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ
ส่งผลให้มูลค่าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างมีราคาสูงขึ้นตามลำดับ ดังนั้น เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีราคาสูงนี้ให้มีคุณค่าและมีมูลค่าสูงสุด
นักลงทุนจึงนิยมก่อสร้างอาคารประเภทต่าง ๆ ให้มีลักษะเป็นอาคารที่มีความสูงเป็นพิเศษและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าต่อการลงทุนและดึงดูดลูกค้าที่จะเข้ามาใช้บริการ เช่น คอนโดมิเนียม โรงแรม อาคารสำนักงาน เป็นต้น
เมื่อพิจารณาจำนวนอาคารสูงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่า มีจำนวนอาคารสูงมากกว่า 14,000 หลัง และเป็นอาคารสูงที่ขออนุญาตและก่อสร้างหลังจากกฎกระทรวงปี พ.ศ.2550 ประมาณ 3,000 หลัง
อย่างไรก็ตาม อาคารสูงอีกประมาณ 11,000 หลัง ออกแบบและก่อสร้างก่อนกฎกระทรวงปี พ.ศ.2550 จะประกาศใช้งาน แต่กลุ่มอาคารสูงเหล่านี้ได้มีการพิจารณาผลกระทบจากแผ่นดินไหวในขั้นตอนการออกแบบแล้วในเบื้องต้น แต่อาจไม่เทียบเท่ากับกฎกระทรวงและมาตรฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน
แผ่นดินไหวถึงแม้จะมีแหล่งกำเนิดไกลหลายร้อยกิโลเมตรจากพื้นที่กรุงเทพมหานคร แต่บ่อยครั้งที่ผู้ใช้งานอาคารสูงหลายแห่งในพื้นกรุงเทพมหานครสามารถรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นได้ ดังจะเห็นจากสื่อ
เนื่องจากระบบเตือนภัยด้านแผ่นดินไหวล่วงหน้าของประเทศยังไม่ดีเท่าที่ควร อีกทั้งไม่ทราบถึงระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่ได้มีการติดตั้งระบบตรวจวัดการสั่นสะเทือนของอาคารไว้
อ่านต่อ
https://www.bangkokbiznews.com/news/news-update/1075902?anm=
ความเสี่ยงกว่าหมื่นตึก กทม. ที่สร้างก่อนปี 2550 เสี่ยงรับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว
หลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวแบบรุนแรงในครั้งนี้
ความเสี่ยงกว่าหมื่นตึก กทม. ที่สร้างก่อนปี 2550 เสี่ยงรับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว
โดย ดร.อมรเทพ จิรศักดิ์จำรูญศรี สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (บทความเผยแพร่เมื่อ 29 มิ.ย. 2566)
จากเหตุการณ์ #แผ่นดินไหว จุดศูนย์กลางที่เมียนมา ขนาด 8.2 ความลึก 10 กิโลเมตร วันนี้ (28 มี.ค. 68) เมื่อเวลา 13:20 น. ซึ่งหลายพื้นที่ในไทย รวมถึงกรุงเทพมหานคร รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน และตึกสูงสั่นไหว มีการอพยพคนออกจากตึกสูงทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
รวมถึงเหตุสลดเนื่องจากมีเหตุอาคารถล่ม บริเวณถนนกำแพงเพชร 2 เขตจตุจักร และมีผู้ติดค้างจำนวนมากนั้น
ประเด็นเรื่องความปลอดภัยของอาคารในเขตกรุงเทพมหานคร จึงย้อนกลับมาถูกพูดถึงอีกครั้ง “กรุงเทพธุรกิจ” ชวนย้อนอ่านบทความ “แผ่นดินไหว และตึกระฟ้าในกรุงเทพมหานคร” โดย ดร.อมรเทพ จิรศักดิ์จำรูญศรี สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (บทความเผยแพร่เมื่อ 29 มิ.ย. 2566) เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว
เนื้อหาส่วนหนึ่งดังนี้..
“ประเทศไทยตั้งอยู่บนพื้นที่ที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันตก ในขณะที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ถึงแม้จะอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวหลายร้อยกิโลเมตร แต่อาจได้รับผลกระทบได้เช่นกัน
เนื่องจากโครงสร้างชั้นดินใต้พื้นที่นี้มีลักษณะเป็นชั้นดินเหนียวอ่อนหนา ซึ่งมีความสามารถในการขยายความรุนแรงของแผ่นดินไหวขึ้นได้ ถึงแม้ว่าจะอยู่ไกลจากแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวก็ตาม
ประเทศไทยมีประกาศกฎกระทรวง กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว เมื่อปี พ.ศ. 2550 และมีการปรับปรุงเมื่อปี พ.ศ.2564
กฎกระทรวงดังกล่าวบังคับให้ผู้ออกแบบ ออกแบบอาคารให้สามารถต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวให้ได้ตามข้อกำหนดและมาตรฐานที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ประมาณ 1,569 ตารางกิโลเมตร ซึ่งถือว่าไม่ใหญ่มากเมื่อเปรียบเทียบกับเมืองอื่น แต่มีประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 5 ล้านคน และยังเป็นพื้นที่ที่มีการรวมธุรกิจประเภทต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ
ส่งผลให้มูลค่าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างมีราคาสูงขึ้นตามลำดับ ดังนั้น เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีราคาสูงนี้ให้มีคุณค่าและมีมูลค่าสูงสุด
นักลงทุนจึงนิยมก่อสร้างอาคารประเภทต่าง ๆ ให้มีลักษะเป็นอาคารที่มีความสูงเป็นพิเศษและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าต่อการลงทุนและดึงดูดลูกค้าที่จะเข้ามาใช้บริการ เช่น คอนโดมิเนียม โรงแรม อาคารสำนักงาน เป็นต้น
เมื่อพิจารณาจำนวนอาคารสูงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่า มีจำนวนอาคารสูงมากกว่า 14,000 หลัง และเป็นอาคารสูงที่ขออนุญาตและก่อสร้างหลังจากกฎกระทรวงปี พ.ศ.2550 ประมาณ 3,000 หลัง
อย่างไรก็ตาม อาคารสูงอีกประมาณ 11,000 หลัง ออกแบบและก่อสร้างก่อนกฎกระทรวงปี พ.ศ.2550 จะประกาศใช้งาน แต่กลุ่มอาคารสูงเหล่านี้ได้มีการพิจารณาผลกระทบจากแผ่นดินไหวในขั้นตอนการออกแบบแล้วในเบื้องต้น แต่อาจไม่เทียบเท่ากับกฎกระทรวงและมาตรฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน
แผ่นดินไหวถึงแม้จะมีแหล่งกำเนิดไกลหลายร้อยกิโลเมตรจากพื้นที่กรุงเทพมหานคร แต่บ่อยครั้งที่ผู้ใช้งานอาคารสูงหลายแห่งในพื้นกรุงเทพมหานครสามารถรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นได้ ดังจะเห็นจากสื่อ
เนื่องจากระบบเตือนภัยด้านแผ่นดินไหวล่วงหน้าของประเทศยังไม่ดีเท่าที่ควร อีกทั้งไม่ทราบถึงระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่ได้มีการติดตั้งระบบตรวจวัดการสั่นสะเทือนของอาคารไว้
อ่านต่อ https://www.bangkokbiznews.com/news/news-update/1075902?anm=