เรามีลูกสาวสามคน รายละเอียดวิธีการเลี้ยงไม่เหมือนกันสักคน เพราะแต่ละคนก็มีบุคลิก ลักษณะนิสัย ความชอบไม่ชอบหรือกระทั่งข้อจำกัดแตกต่างกันไป แม้เราจะเลี้ยงบนหลักการเดียวกัน คือ
1.มีความเปิดกว้างในการแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา (แต่ต้องสุภาพนะ)
2.สนับสนุนการสื่อสารบอกเล่าความรู้สึก ความคิด แผนการที่จะทำ เพราะแผนของลูกมันกระทบกับแผนชีวิตของครอบครัวด้วยจ้ะ เช่น ลูกอยากเรียน อยากทำอะไร มาแชร์กันก่อนด้วย แม่ต้องดีดลูกคิดเรื่องเงิน เรื่องเวลาในการสนับสนุน (รับส่ง) ด้วยเช่นกัน
3.กล้าตัดสินใจและรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ
เราเคยคิดว่า เราควรต้องเป็นฝ่ายสอนลูกเรื่องความรัก การดำเนินความสัมพันธ์ แต่ต่อมาเรากลับพบว่า บางครั้ง ลูกมีมุมมองที่เป็นผู้ใหญ่กว่าเราจนเราคิดไม่ถึง และเป็นเราเองที่ต้องเป็นฝ่ายเรียนรู้จากลูกเช่นกัน
เราบอกลูกเสมอว่า จะคบ จะคุย จะเป็นแฟนใคร ก่อนตกลงเป็นแฟนกัน แม่ขอเงื่อนไขข้อแรกที่ต้องตกลงให้เรียบร้อยก่อนทั้งสองฝ่ายคือถ้าตกลงคบกันเป็นแฟนกันแล้ว ต่อไป ไม่ว่าคนใดคนหนึ่งจะเปลี่ยนใจด้วยคำอธิบาย ด้วยเหตุผล หรือด้วยเงื่อนไขใด ๆ และต้องการจะเลิก อีกฝ่ายต้องยอมให้เลิกแต่โดยดีนะ ขอแค่นี้แหละ
ในการดำเนินความสัมพันธ์ เราบอกลูกเสมอว่า อย่าเอาเปรียบใคร และอย่าให้ใครเอาเปรียบ แต่ถ้าเลือกไม่ได้จริง ๆ ยอมเสียเปรียบนิดนึงดีกว่าไปเอาเปรียบคนอื่น คบใครอย่าให้คนนั้นขาดทุน เพื่อที่ว่าเมื่อวันหนึ่ง เราต้องจากกันด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม เราจะรู้สึกหมดจดและไม่มีอะไรติดค้าง
เราบอกลูกว่า รักในวัยนี้ เป็นเรื่องของฮอร์โมน มีพลวัต และพลังขับเคลื่อนสูง เราแนะนำว่าอย่ารีบมีเพศสัมพันธ์ ไม่ใช่เพราะด้อยค่าหรือให้คุณค่ากับการมีหรือไม่มีเพศสัมพันธ์ แต่สิ่งที่เราห่วงกังวลคือเรื่องโรค ถึงถุงยางจะป้องกันเอดส์ได้ แต่เริม ไวรัสตับอักเสบ กับโรคจุกจิกอะไรหลายอย่างที่บั่นทอนสุขภาพก็อาจเกิดขึ้นได้ผ่านทางเพศสัมพันธ์ วัยรุ่นคบกัน ไม่มีใครมีสติพอที่จะขอดูใบเซอร์ฯตรวจสุขภาพก่อนเลยูกันหรอก มันต้องพรรษาแก่กล้าหน่อยแล้ว ถึงจะกล้าคุย กล้าขอเรื่องนี้
อีกอย่าง ผู้ชายวัยรุ่น หรือกระทั่งในวัยทำงานตอนต้นอายุน้อย ๆ หลายคน มองเรื่องเพศสัมพันธ์เป็นเกมส์ มองตัวเองเป็นผู้ล่า ถ้าเจอคน attitude แบบนี้ หลบได้หลบ หลีกได้หลีก แย่กว่านั้น คือ หลายคนคึกคะนองเก็บแต้มและเอาฝ่ายหญิงไปนินทา นี่ไม่ได้เหมารวมว่ากราดทุกคนนะคะ แต่วัยคะนองหลายคนเป็นแบบนี้จริง ๆ คิดว่าเจ๋ง เท่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ รุ่นน้องเราที่เรียนด้วยกันที่เมกาเคยเล่าให้ฟังว่า ตอนไปใหม่ ๆ เจอคนใส่เสื้อยืดเขียนว่า EAT MExican Food โดย คำว่า EAT ME เขียนตัวใหญ่มาก จนดูไกล ๆ เหมือนเสื้อยืดจะสกรีนว่า EAT ME เฉย ๆ แล้วเพื่อนบางคนปิดปากขำบอกว่า culture shock รุ่นน้องเรางง ๆ เลยไปถามเพื่อนเมกันว่า EAT ME ขำตรงไหน ?

เพื่อนสาวเมกันคนนั้นเลยอธิบายว่า มันแปลว่า ขอให้ทำโอษฐกามให้น่ะ แล้วก็เลยสั่งสอนหนูน้อยคนไทยว่า “ถ้าเธอมีแฟน อย่าไปยอมให้เค้าทำนะ เนี่ย เพื่อนชั้นน่ะยอมให้แฟนทำ แล้วผู้ชายเอามานินทาว่า กลิ่นคาวเหมือนทูน่า”
เชื่อไหมว่า ผู้ชายที่ปากพล่อยแบบนั้น ถ้ายังมีชีวิตอยู่มาจนถึงตอนนี้ คงอยากเอาปี๊บคุลมหัวตัวเอง แล้วอับอายที่พูดอะไรทุเรศอย่างนั้นออกไป แต่เฮ้ออออ ... วัยรุ่นที่ยังไม่รู้จักควบคุมตัวเองน่ะ มักจะหงายการ์ด “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” หรือ “ไม่ได้ตั้งใจ” เสมอ
แล้วคนที่โดนนินทานี่ล่ะ จะเสียหายไปถึงไหนแล้ว
ในอายุวัยรุ่นที่ฮอร์โมนขับเคลื่อนรุนแรง การดึงดูดกันในเชิงนี้เป็นเรื่องปกติ แต่พยายามอย่าเอาตัวเอง ไปอยู่ในสถานการณ์ที่สุ่มเสี่ยง เพราะอารมณ์ควบคุมได้ยากเสมอ
ถ้าไม่ไหวจริง ๆ หรือไม่เจอคนที่คิดว่าไว้ใจได้ แล้วมันพลุ่งพล่านจริง ๆ ช่วยตัวเองไปดีกว่าจ้ะ หรือถ้าคิดว่าอยากลองมีเพศสัมพันธ์จริง ๆ อย่าไปห้องผู้ชายเด็ดขาด อย่ารีบไว้ใจว่าเค้าจะไม่ถ่าย จะแอบหรือไม่แอบก็ไม่รู้ละ ตอนมันหน้ามืดนี่มันได้คิดซะที่ไหน ?
เราบอกลูกว่า แม่ไม่เคยด้อยค่า และไม่เคยดูถูกคนที่มีอะไรกันตั้งแต่วัยรุ่นหรือมีอะไรกันก่อนแต่งงานหรอก
หลายคน เค้าก็มีเพศสัมพันธ์อย่างมีความรับผิดชอบ และรักกัน เข้าใจกัน เติบโตด้วยกันมาจนมีลูกมีหลาน (คันปากอยากยกตัวอย่างคนดัง ๆ หรือคนที่สังคมนี้ถือว่าเป็นปูชนียบุคคลที่อยู่ด้วยกันก่อนแต่งงาน ตอนนี้ ท่านน่าจะสักเจ็ดสิบกว่าได้แล้วมั้ง อ้อ ... ที่รู้นี่ก็ไม่ได้เผือกขนาดนั้นนะ ท่านเล่าเอง เพราะท่าน mention ถึงผู้ใหญ่ของท่านที่ขัดใจกับเรื่องนี้ และอยากอาสาทำพิธีแต่งงานให้ตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว)
เพียงแต่ก่อนจะทำอะไร ขออย่างเดียว นึกถึงผลได้ ผลเสีย ความเสี่ยง และเตรียมพร้อมรับมันให้ดี
เราไม่เคยถามรายละเอียดลึก ๆ ของลูก หรือล้วงถามในสิ่งที่ลูกไม่อยากเล่าหรือไม่อยากตอบ ถ้าเราไม่พร้อมรับคำตอบ เราจะไม่ถาม เพราะถ้าลูกไม่อยากตอบ คือ ไม่ต้องตอบ เราแค่ขออย่างเดียวว่า อย่าโกหก ทุกครั้งของการโดนโกหกเรารู้สึกเหมือนโดนตบหน้า และการโดนตบซ้ำ ๆ จากคนที่เรารักและหวังดีด้วย มันเจ็บยิ่งกว่าอะไรทั้งหมด
เราไม่เคยตั้งสเป็คด้วยว่า แฟนลูกจะต้องเป็นคนแบบไหน นิสัยยังไง แต่สิ่งที่เราทำคือ เราจะแชร์กับลูกว่า เรารักพ่อเค้าตรงไหน และจุดไหนที่เราคิดว่า ทำให้เรากับสามีอยู่กันได้จนถึงวันนี้
ลูกฟังเงียบ ๆ และไม่ออกความเห็นอะไร
เราเคยคิดว่า เราเป็นฝ่ายอบรมและให้แนวคิดกับลูกเรื่องความรัก แต่ปรากฎว่า เวลาเราเห็นลูกดำเนินความสัมพันธ์ เราพบว่า เป็นเราเสียอีกที่ต้องเรียนรู้จากลูก และลูกกล้ากว่าที่เราคิดเอาไว้
ตอนที่ลูกเราคนที่สองมาบอกเราว่าสนิทกับเพื่อนคนหนึ่ง และตกลงว่าจะคบกันคุยกัน เราก็ได้แต่ดูอยู่ห่าง ๆ ไม่ก้าวก่ายอะไรใด ๆ ทั้งสิ้น
ช่วงต้น ๆ เรามีชวนมากินข้าวบ้าง แต่ตอนนั้น ลูกไม่พร้อม ลูกบอกเลยว่า ขออีกสักพัก เราก็ให้เวลาลูกค่อย ๆ คัดกรองเอง จนในที่สุด เราก็ได้เจอกัน ส่วนลูกเราก็เคยไปกินข้าวกับพ่อแม่ของอีกฝ่ายบ้าง จนตอนนี้ เด็ก ๆ น่าจะคบกันได้สักประมาณปีสองปีแล้ว
มีบางอย่างในนิสัยลูกที่โตขึ้นมาก และเราทึ่งในความกล้าพูด และกล้าที่จะขีดเส้นแบ่งให้ชัดเจนในความสัมพันธ์ของลูกกับแฟนที่เราคิดว่า เราเองยังไม่กล้าทำแต่ลูกทำ และทำแล้วช่วยลดความกดดันลงไปได้ เช่น แฟนลูกเป็นคนขยันมาก ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย (ทั้งที่ไม่มีความจำเป็นต้องทำ) ส่วนลูกเราก็ชอบทำกิจกรรมมาก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ลูกเราเป็นรองหัวหน้านิสิตของที่คณะ และทำกิจกรรมหลายอย่างทั้งออกค่าย ทำโครงการร่วมกับต่างมหาลัย ทำ project หาเงินสนับสนุนช่วยเหลือโรงเรียนขนาดเล็กที่ต่างจังหวัด จนที่บ้านเราจะชอบแซวว่า พ่อแม่จะกินข้าวด้วยนี่ต้องทำนัดเป็นเรื่องเป็นราว

เด็ก ๆ จะได้คุยกันตอนเย็นหรืออ่านหนังสือด้วยกันช่วงสอบ แต่พอแฟนลูกเริ่มงอแงอยากใช้เวลากับลูกมากขึ้น บ่นน้อยใจเวลาลูกออกไปทานข้าวกับแก๊งเพื่อนผู้หญิง ลูกก็กล้าพูดกับแฟนอย่างตรงไปตรงมาว่า “ทีเธอ เรายังไม่เคยว่าอะไรเลย ตอนเธอทำงาน ทำ project แล้วทำไมเราถึงจะไปกินข้าว หรือใช้เวลากับเพื่อนบ้างไม่ได้”
เราดีใจที่ลูกกล้าพูดแบบนี้ เพราะถึงลูกจะชอบแฟนแค่ไหน แต่ลูกมีเส้นแบ่งเช่นกัน ไม่ได้ตะพึดตะพือตามใจทุกอย่างจนตัวเองพลาดบางอย่างที่สำคัญในชีวิตของตัวเองไป
ข้อนี้ เราเองตอนสาว ๆ ยังไม่กล้าทำเลย กับคนที่เคยคบด้วย บางครั้ง เราไม่ได้อยากทำสิ่งที่เค้าทำ ไม่ได้ชอบในสิ่งที่เค้าพูด อยากจะพูดในสิ่งที่เรารู้สึกและต้องการบ้าง แต่เรากลัว กลัวเค้าไม่พอใจ กลัวจะเสียเค้าไป กลัวจนไม่กล้าแสดงความเป็นตัวเองออกไปบ้าง กลัวจนเปล่งเสียงพูดไม่ออก จนในที่สุด ความสัมพันธ์มันก็พัง (จริง ๆ มันมีเรื่องอื่นด้วย แต่เราคิดว่า ถ้าตอนนั้น เราสื่อสาร เราเช็คบิลเสียตั้งแต่เนิ่น ๆ เราคงไม่ต้องทั้งเสียเวลาและเสียใจ)
เราถึงปลูกฝังลูกมาตลอดว่า มีอะไรให้สื่อสารให้ชัดเจน ตรงไปตรงมา พูดอย่างที่ใจคิดอย่างสุภาพ อย่ารอจนระเบิดออกมา เพราะตอนนั้น สิ่งที่พูดมันจะทะลัก ท่วมท้นออกมาแบบเขื่อนแตก และความสัมพันธ์มันจะป่นปี้ไปด้วย
บางครั้ง แฟนลูกก็น้อยใจ และบ่นอะไรบางอย่างออกมาที่ดูสัญญาณจะไม่ค่อยดี เช่น เวลาพูดอะไรให้ลูกเราเสียใจ ก็จะชอบพูดว่า “ใช่สิ เรามันแย่ที่ทำให้เธอเสียใจซ้ำแล้วซ้ำอีก เรานี่น่าจะตาย ๆ ไปซะนะ” พูดแบบนี้บ่อย ๆ เข้า จนลูกเราก็พลอยรู้สึกไม่ดีไปด้วย เพราะความหม่นเศร้าของอารมณ์มันถ่ายทอดติดต่อกันได้ การพูดอะไรบางอย่างซ้ำ ๆ ใส่กัน มันเหมือนคุณกำลังหย่อนเมล็ดพันธุ์บางอย่างเข้าไปในความคิดของอีกฝ่าย วันหนึ่ง ลูกเหลือทน เธอเช็คบิลไปตรง ๆ เลยค่ะว่า “เราเป็นจิตแพทย์ส่วนตัวให้เธอไม่ไหวแล้วนะ จริง ๆ ถ้าเธอยังชอบคิด ชอบพูดแบบนี้อยู่ เธอต้องไปหาหมอแล้วละ นี่พูดจริง ๆ นะ”
เราสนับสนุนเต็มที่เลย เราบอกลูกว่า ถ้าแฟนลูกเค้าไม่รู้จะไปที่ไหน หรือติดปัญหาเรื่องอะไร แม่พาไปได้นะ
บ้านอื่นเป็นไงไม่รู้ แต่บ้านเรา ถ้ามีอะไรที่อัดอั้น จะต้องหาจังหวะพูด คุย เคลียร์ พิมพ์ข้อความ ส่งข้อความหากัน
ถ้าไม่ลงตัว ไม่ไหวจริง ๆ ไปค่ะ ไปหาจิตแพทย์กัน ไม่ใช่จิตแพทย์ทุกคนจะตอบโจทย์และแก้ปัญหาให้เราได้ แต่วิธีการพูดคุย การวางกรอบคำถามให้เราได้ค่อย ๆ กลับมาคิดย้อนทวน และทบทวนตัวเอง ทำให้เราสะท้อนปัญหาต่าง ๆ จัดลำดับความคิดตัวเอง หันมาเผชิญหน้ากับตัวเองได้มากขึ้น และทุกอย่างมันก็ดีขึ้นจริง ๆ มันค่อย ๆ คลี่คลาย
ความคลี่คลายไม่ได้แปลว่า จะไม่เจ็บปวด แต่มันเป็นความเจ็บปวดที่จำเป็น ที่จะทำให้เราข้ามผ่านปัญหาไปได้
เอาจริง ๆ นะคะ เราชอบด้วยซ้ำที่ลูกเริ่มจะคบ จะคุยกับใครตั้งแต่สมัยอยู่มหาลัย เพราะจะได้ฝึกฝน และซ้อมวิธีดำเนินความสัมพันธ์ จัดการกับความรู้สึก แบ่งเวลา บริหารควบคุมอารมณ์ และเรียนรู้ตลอดจนรู้เท่าทันความรักตั้งแต่ยังอายุน้อย ๆ เพื่อที่ว่าต่อไป เวลาจะเลือกดำเนินชีวิต คบ หรือตัดสินใจสร้างครอบครัวกับใคร จะได้มีพื้นฐานการจัดการเรื่องนี้แต่เนิ่น ๆ จะมีอะไรผิด ๆ ถูก ๆ ไปบ้าง มันเกิดตอนอายุน้อย มันก็ดูไม่ค่อยน่าเกลียด ไม่เหมือนตอนที่มีหัวโขนของหน้าที่การงานมากดทับ ถึงตอนนั้น จะพลาด จะผิด จะเห่อ จะมาก จะน้อยไป บางที มันจะดูไม่ค่อยดีแล้วอาจส่งผลกระทบต่อเรื่องงานด้วย
คุยกับลูกเรื่องความรัก
1.มีความเปิดกว้างในการแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา (แต่ต้องสุภาพนะ)
2.สนับสนุนการสื่อสารบอกเล่าความรู้สึก ความคิด แผนการที่จะทำ เพราะแผนของลูกมันกระทบกับแผนชีวิตของครอบครัวด้วยจ้ะ เช่น ลูกอยากเรียน อยากทำอะไร มาแชร์กันก่อนด้วย แม่ต้องดีดลูกคิดเรื่องเงิน เรื่องเวลาในการสนับสนุน (รับส่ง) ด้วยเช่นกัน
3.กล้าตัดสินใจและรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ
เราเคยคิดว่า เราควรต้องเป็นฝ่ายสอนลูกเรื่องความรัก การดำเนินความสัมพันธ์ แต่ต่อมาเรากลับพบว่า บางครั้ง ลูกมีมุมมองที่เป็นผู้ใหญ่กว่าเราจนเราคิดไม่ถึง และเป็นเราเองที่ต้องเป็นฝ่ายเรียนรู้จากลูกเช่นกัน
เราบอกลูกเสมอว่า จะคบ จะคุย จะเป็นแฟนใคร ก่อนตกลงเป็นแฟนกัน แม่ขอเงื่อนไขข้อแรกที่ต้องตกลงให้เรียบร้อยก่อนทั้งสองฝ่ายคือถ้าตกลงคบกันเป็นแฟนกันแล้ว ต่อไป ไม่ว่าคนใดคนหนึ่งจะเปลี่ยนใจด้วยคำอธิบาย ด้วยเหตุผล หรือด้วยเงื่อนไขใด ๆ และต้องการจะเลิก อีกฝ่ายต้องยอมให้เลิกแต่โดยดีนะ ขอแค่นี้แหละ
ในการดำเนินความสัมพันธ์ เราบอกลูกเสมอว่า อย่าเอาเปรียบใคร และอย่าให้ใครเอาเปรียบ แต่ถ้าเลือกไม่ได้จริง ๆ ยอมเสียเปรียบนิดนึงดีกว่าไปเอาเปรียบคนอื่น คบใครอย่าให้คนนั้นขาดทุน เพื่อที่ว่าเมื่อวันหนึ่ง เราต้องจากกันด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม เราจะรู้สึกหมดจดและไม่มีอะไรติดค้าง
เราบอกลูกว่า รักในวัยนี้ เป็นเรื่องของฮอร์โมน มีพลวัต และพลังขับเคลื่อนสูง เราแนะนำว่าอย่ารีบมีเพศสัมพันธ์ ไม่ใช่เพราะด้อยค่าหรือให้คุณค่ากับการมีหรือไม่มีเพศสัมพันธ์ แต่สิ่งที่เราห่วงกังวลคือเรื่องโรค ถึงถุงยางจะป้องกันเอดส์ได้ แต่เริม ไวรัสตับอักเสบ กับโรคจุกจิกอะไรหลายอย่างที่บั่นทอนสุขภาพก็อาจเกิดขึ้นได้ผ่านทางเพศสัมพันธ์ วัยรุ่นคบกัน ไม่มีใครมีสติพอที่จะขอดูใบเซอร์ฯตรวจสุขภาพก่อนเลยูกันหรอก มันต้องพรรษาแก่กล้าหน่อยแล้ว ถึงจะกล้าคุย กล้าขอเรื่องนี้
อีกอย่าง ผู้ชายวัยรุ่น หรือกระทั่งในวัยทำงานตอนต้นอายุน้อย ๆ หลายคน มองเรื่องเพศสัมพันธ์เป็นเกมส์ มองตัวเองเป็นผู้ล่า ถ้าเจอคน attitude แบบนี้ หลบได้หลบ หลีกได้หลีก แย่กว่านั้น คือ หลายคนคึกคะนองเก็บแต้มและเอาฝ่ายหญิงไปนินทา นี่ไม่ได้เหมารวมว่ากราดทุกคนนะคะ แต่วัยคะนองหลายคนเป็นแบบนี้จริง ๆ คิดว่าเจ๋ง เท่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในอายุวัยรุ่นที่ฮอร์โมนขับเคลื่อนรุนแรง การดึงดูดกันในเชิงนี้เป็นเรื่องปกติ แต่พยายามอย่าเอาตัวเอง ไปอยู่ในสถานการณ์ที่สุ่มเสี่ยง เพราะอารมณ์ควบคุมได้ยากเสมอ
ถ้าไม่ไหวจริง ๆ หรือไม่เจอคนที่คิดว่าไว้ใจได้ แล้วมันพลุ่งพล่านจริง ๆ ช่วยตัวเองไปดีกว่าจ้ะ หรือถ้าคิดว่าอยากลองมีเพศสัมพันธ์จริง ๆ อย่าไปห้องผู้ชายเด็ดขาด อย่ารีบไว้ใจว่าเค้าจะไม่ถ่าย จะแอบหรือไม่แอบก็ไม่รู้ละ ตอนมันหน้ามืดนี่มันได้คิดซะที่ไหน ?
เราบอกลูกว่า แม่ไม่เคยด้อยค่า และไม่เคยดูถูกคนที่มีอะไรกันตั้งแต่วัยรุ่นหรือมีอะไรกันก่อนแต่งงานหรอก
หลายคน เค้าก็มีเพศสัมพันธ์อย่างมีความรับผิดชอบ และรักกัน เข้าใจกัน เติบโตด้วยกันมาจนมีลูกมีหลาน (คันปากอยากยกตัวอย่างคนดัง ๆ หรือคนที่สังคมนี้ถือว่าเป็นปูชนียบุคคลที่อยู่ด้วยกันก่อนแต่งงาน ตอนนี้ ท่านน่าจะสักเจ็ดสิบกว่าได้แล้วมั้ง อ้อ ... ที่รู้นี่ก็ไม่ได้เผือกขนาดนั้นนะ ท่านเล่าเอง เพราะท่าน mention ถึงผู้ใหญ่ของท่านที่ขัดใจกับเรื่องนี้ และอยากอาสาทำพิธีแต่งงานให้ตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว)
เพียงแต่ก่อนจะทำอะไร ขออย่างเดียว นึกถึงผลได้ ผลเสีย ความเสี่ยง และเตรียมพร้อมรับมันให้ดี
เราไม่เคยถามรายละเอียดลึก ๆ ของลูก หรือล้วงถามในสิ่งที่ลูกไม่อยากเล่าหรือไม่อยากตอบ ถ้าเราไม่พร้อมรับคำตอบ เราจะไม่ถาม เพราะถ้าลูกไม่อยากตอบ คือ ไม่ต้องตอบ เราแค่ขออย่างเดียวว่า อย่าโกหก ทุกครั้งของการโดนโกหกเรารู้สึกเหมือนโดนตบหน้า และการโดนตบซ้ำ ๆ จากคนที่เรารักและหวังดีด้วย มันเจ็บยิ่งกว่าอะไรทั้งหมด
เราไม่เคยตั้งสเป็คด้วยว่า แฟนลูกจะต้องเป็นคนแบบไหน นิสัยยังไง แต่สิ่งที่เราทำคือ เราจะแชร์กับลูกว่า เรารักพ่อเค้าตรงไหน และจุดไหนที่เราคิดว่า ทำให้เรากับสามีอยู่กันได้จนถึงวันนี้
ลูกฟังเงียบ ๆ และไม่ออกความเห็นอะไร
เราเคยคิดว่า เราเป็นฝ่ายอบรมและให้แนวคิดกับลูกเรื่องความรัก แต่ปรากฎว่า เวลาเราเห็นลูกดำเนินความสัมพันธ์ เราพบว่า เป็นเราเสียอีกที่ต้องเรียนรู้จากลูก และลูกกล้ากว่าที่เราคิดเอาไว้
ตอนที่ลูกเราคนที่สองมาบอกเราว่าสนิทกับเพื่อนคนหนึ่ง และตกลงว่าจะคบกันคุยกัน เราก็ได้แต่ดูอยู่ห่าง ๆ ไม่ก้าวก่ายอะไรใด ๆ ทั้งสิ้น
ช่วงต้น ๆ เรามีชวนมากินข้าวบ้าง แต่ตอนนั้น ลูกไม่พร้อม ลูกบอกเลยว่า ขออีกสักพัก เราก็ให้เวลาลูกค่อย ๆ คัดกรองเอง จนในที่สุด เราก็ได้เจอกัน ส่วนลูกเราก็เคยไปกินข้าวกับพ่อแม่ของอีกฝ่ายบ้าง จนตอนนี้ เด็ก ๆ น่าจะคบกันได้สักประมาณปีสองปีแล้ว
มีบางอย่างในนิสัยลูกที่โตขึ้นมาก และเราทึ่งในความกล้าพูด และกล้าที่จะขีดเส้นแบ่งให้ชัดเจนในความสัมพันธ์ของลูกกับแฟนที่เราคิดว่า เราเองยังไม่กล้าทำแต่ลูกทำ และทำแล้วช่วยลดความกดดันลงไปได้ เช่น แฟนลูกเป็นคนขยันมาก ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย (ทั้งที่ไม่มีความจำเป็นต้องทำ) ส่วนลูกเราก็ชอบทำกิจกรรมมาก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เด็ก ๆ จะได้คุยกันตอนเย็นหรืออ่านหนังสือด้วยกันช่วงสอบ แต่พอแฟนลูกเริ่มงอแงอยากใช้เวลากับลูกมากขึ้น บ่นน้อยใจเวลาลูกออกไปทานข้าวกับแก๊งเพื่อนผู้หญิง ลูกก็กล้าพูดกับแฟนอย่างตรงไปตรงมาว่า “ทีเธอ เรายังไม่เคยว่าอะไรเลย ตอนเธอทำงาน ทำ project แล้วทำไมเราถึงจะไปกินข้าว หรือใช้เวลากับเพื่อนบ้างไม่ได้”
เราดีใจที่ลูกกล้าพูดแบบนี้ เพราะถึงลูกจะชอบแฟนแค่ไหน แต่ลูกมีเส้นแบ่งเช่นกัน ไม่ได้ตะพึดตะพือตามใจทุกอย่างจนตัวเองพลาดบางอย่างที่สำคัญในชีวิตของตัวเองไป
ข้อนี้ เราเองตอนสาว ๆ ยังไม่กล้าทำเลย กับคนที่เคยคบด้วย บางครั้ง เราไม่ได้อยากทำสิ่งที่เค้าทำ ไม่ได้ชอบในสิ่งที่เค้าพูด อยากจะพูดในสิ่งที่เรารู้สึกและต้องการบ้าง แต่เรากลัว กลัวเค้าไม่พอใจ กลัวจะเสียเค้าไป กลัวจนไม่กล้าแสดงความเป็นตัวเองออกไปบ้าง กลัวจนเปล่งเสียงพูดไม่ออก จนในที่สุด ความสัมพันธ์มันก็พัง (จริง ๆ มันมีเรื่องอื่นด้วย แต่เราคิดว่า ถ้าตอนนั้น เราสื่อสาร เราเช็คบิลเสียตั้งแต่เนิ่น ๆ เราคงไม่ต้องทั้งเสียเวลาและเสียใจ)
เราถึงปลูกฝังลูกมาตลอดว่า มีอะไรให้สื่อสารให้ชัดเจน ตรงไปตรงมา พูดอย่างที่ใจคิดอย่างสุภาพ อย่ารอจนระเบิดออกมา เพราะตอนนั้น สิ่งที่พูดมันจะทะลัก ท่วมท้นออกมาแบบเขื่อนแตก และความสัมพันธ์มันจะป่นปี้ไปด้วย
บางครั้ง แฟนลูกก็น้อยใจ และบ่นอะไรบางอย่างออกมาที่ดูสัญญาณจะไม่ค่อยดี เช่น เวลาพูดอะไรให้ลูกเราเสียใจ ก็จะชอบพูดว่า “ใช่สิ เรามันแย่ที่ทำให้เธอเสียใจซ้ำแล้วซ้ำอีก เรานี่น่าจะตาย ๆ ไปซะนะ” พูดแบบนี้บ่อย ๆ เข้า จนลูกเราก็พลอยรู้สึกไม่ดีไปด้วย เพราะความหม่นเศร้าของอารมณ์มันถ่ายทอดติดต่อกันได้ การพูดอะไรบางอย่างซ้ำ ๆ ใส่กัน มันเหมือนคุณกำลังหย่อนเมล็ดพันธุ์บางอย่างเข้าไปในความคิดของอีกฝ่าย วันหนึ่ง ลูกเหลือทน เธอเช็คบิลไปตรง ๆ เลยค่ะว่า “เราเป็นจิตแพทย์ส่วนตัวให้เธอไม่ไหวแล้วนะ จริง ๆ ถ้าเธอยังชอบคิด ชอบพูดแบบนี้อยู่ เธอต้องไปหาหมอแล้วละ นี่พูดจริง ๆ นะ”
เราสนับสนุนเต็มที่เลย เราบอกลูกว่า ถ้าแฟนลูกเค้าไม่รู้จะไปที่ไหน หรือติดปัญหาเรื่องอะไร แม่พาไปได้นะ
บ้านอื่นเป็นไงไม่รู้ แต่บ้านเรา ถ้ามีอะไรที่อัดอั้น จะต้องหาจังหวะพูด คุย เคลียร์ พิมพ์ข้อความ ส่งข้อความหากัน
ถ้าไม่ลงตัว ไม่ไหวจริง ๆ ไปค่ะ ไปหาจิตแพทย์กัน ไม่ใช่จิตแพทย์ทุกคนจะตอบโจทย์และแก้ปัญหาให้เราได้ แต่วิธีการพูดคุย การวางกรอบคำถามให้เราได้ค่อย ๆ กลับมาคิดย้อนทวน และทบทวนตัวเอง ทำให้เราสะท้อนปัญหาต่าง ๆ จัดลำดับความคิดตัวเอง หันมาเผชิญหน้ากับตัวเองได้มากขึ้น และทุกอย่างมันก็ดีขึ้นจริง ๆ มันค่อย ๆ คลี่คลาย
ความคลี่คลายไม่ได้แปลว่า จะไม่เจ็บปวด แต่มันเป็นความเจ็บปวดที่จำเป็น ที่จะทำให้เราข้ามผ่านปัญหาไปได้
เอาจริง ๆ นะคะ เราชอบด้วยซ้ำที่ลูกเริ่มจะคบ จะคุยกับใครตั้งแต่สมัยอยู่มหาลัย เพราะจะได้ฝึกฝน และซ้อมวิธีดำเนินความสัมพันธ์ จัดการกับความรู้สึก แบ่งเวลา บริหารควบคุมอารมณ์ และเรียนรู้ตลอดจนรู้เท่าทันความรักตั้งแต่ยังอายุน้อย ๆ เพื่อที่ว่าต่อไป เวลาจะเลือกดำเนินชีวิต คบ หรือตัดสินใจสร้างครอบครัวกับใคร จะได้มีพื้นฐานการจัดการเรื่องนี้แต่เนิ่น ๆ จะมีอะไรผิด ๆ ถูก ๆ ไปบ้าง มันเกิดตอนอายุน้อย มันก็ดูไม่ค่อยน่าเกลียด ไม่เหมือนตอนที่มีหัวโขนของหน้าที่การงานมากดทับ ถึงตอนนั้น จะพลาด จะผิด จะเห่อ จะมาก จะน้อยไป บางที มันจะดูไม่ค่อยดีแล้วอาจส่งผลกระทบต่อเรื่องงานด้วย