วันนี้อยากเล่าประสบการณ์ วิธีการจัดงาน สำหรับผู้ที่บริจาคร่างเป็นอาจารย์ใหญ่
เกริ่นนำก่อนนะคะ เหตุผลที่มาเขียนอธิบายนี้ เพราะอยากให้เป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ ค่ะ เพราะตอนนั้น เรางงมาก ปรึกษา 5 คน ก็แนะนำ 5 แบบ พิธีการเปลี่ยนไปมาทุก 2 ชม.
แต่สุดท้าย ในเรื่องของการจัดพิธีการ ขึ้นอยู่กับความสะดวก หรือตามที่คนในครอบครัวตกลงกันนะคะ ไม่มีถูกผิด
*ย้ำ ไม่มีถูกผิด* และที่สำคัญ ให้คนในครอบครัวที่เกี่ยวข้องทางสายเลือดโดยตรงจริงๆ เป็นคนตัดสินใจนะคะ ยิ่งปรึกษาเยอะ ยิ่งมีหลาย Option
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เนื่องจากคุณพ่อ ได้บริจาคร่างเป็นอาจารย์ใหญ่เอาไว้กับ รพ. ศิริราช
เวลาต่อมา คุณพ่อป่วย(ตามโรคของผู้สูงอายุ) หลังจากนั้นคุณพ่อก็เสีย ซึ่งก่อนเสีย เราไม่ได้มีการเจาะคอเพื่อใส่ท่อช่วยหายใจ หรือ เจาะช่องท้อง หรืออวัยยะใดๆในร่างกาย และไม่มีการผ่าตัดอวัยยะใดๆทั้งสิ้น ทาง รพ.จึงถือว่า สภาพศพสมบูรณ์ สามารถบริจาคได้
ขอเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนใน รพ. การติดต่อแจ้งเรื่องก่อนนะคะ
ในที่นี้ เพื่อให้เข้าใจง่ายและกระชับ ขออนุญาตใช้คำว่า "ผู้ตาย" นะคะ
- อย่างแรก ในช่วงที่ผู้ตายยังมีชีวิต และมีสติสัมปชัญญะครบ ต้องแจ้งความประสงค์เรื่องการบริจาคร่างให้คนในครอบครัวทราบก่อน เพราะเมื่อถึงเวลาเสียชีวิตจริงๆ ต่อให้ผู้ตายต้องการบริจาคร่าง แต่คนในครอบครัวไม่ยอม ก็ไม่สามารถบริจาคได้ เพราะญาติหรือคนในครอบครัวต้องเป็นคนเดินเอกสารและเซ็นต์ยินยอมค่ะ
รวมถึงบอกหรือตกลงเรื่องจัดงานศพกันไว้เลยก็ได้ ต้องการให้จัดงานศพมั้ย ถ้าจัด จัดกี่วัน อะไรยังไงบ้าง ตกลงกันไว้เลย เพราะถ้าถึงเวลานั้นจริงๆ เราในฐานะคนในครอบครัว , ลูกหลาน ก็อยากจะจัดงานหรือทำอะไรให้ดีที่สุด ซึ่งบางทีมันอาจเกินความจำเป็นหรือไม่ตรงวัตถุประสงค์ผู้ตายได้
-เอกสาร เบอร์โทร หรือบัตรที่ทำเรื่องบริจาค เตรียมเอาใส่กระเป๋าสตางค์ หรือเก็บไว้ในที่ที่หาง่าย นึกถึงง่ายไว้เลยนะคะ เช่น เก็บไว้ใกล้บัตรประชาชนผู้ตาย เพราะว่า พอถึงเวลาสถานการณ์ที่มีการเสียชีวิตจริงๆ เราจะเศร้า ตกใจ รับสายโทรศัพท์ หรือมีเรื่องมีธุระที่ต้องดำเนินการเยอะ
-ทันทีที่ รพ.แจ้งว่า ผู้ป่วยเสียชีวิตแล้ว ให้รับแจ้งเจ้าหน้าที่รพ.ทันทีว่า ผู้ตายได้ทำเรื่องบริจาคร่างกายเอาไว้ (บอกไปก่อน ใครก็ได้ บอกทุกคนที่เราติดต่อด้วย) เพราะถ้าเราไม่บอก หรือบอกช้า อาจจะเลยกำหนดเวลาในการรักษาร่าง
-ติดต่อ รพ. ตามเบอร์ที่อยู่ในบัตรบริจาคอวัยยะ หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่จะถามรายละเอียดต่างๆ เราก็ตอบ และก็ดำเนินการอื่ๆน ตามที่เจ้าหน้าที่แนะนำได้เลย
โดยระหว่างนี้จะมีการตรวจสอบด้วย ว่าสภาพศพของผู้ตาย สามารถบริจาคร่างได้มั้ย ซึ่งเราขอข้ามรายละเอียดตรงนี้ไปนะคะ เพราะเจ้าหน้าที่จะบอกเราอยู่แล้วว่าต้องติดต่อหรือดำเนินการอะไรบ้าง
เล่าประสบการณ์จัดงานศพ (สำหรับผู้ที่บริจาคร่างเป็นอาจารย์ใหญ่) ยาวหน่อย แต่มีประโยชน์ค่ะ
เกริ่นนำก่อนนะคะ เหตุผลที่มาเขียนอธิบายนี้ เพราะอยากให้เป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ ค่ะ เพราะตอนนั้น เรางงมาก ปรึกษา 5 คน ก็แนะนำ 5 แบบ พิธีการเปลี่ยนไปมาทุก 2 ชม.
แต่สุดท้าย ในเรื่องของการจัดพิธีการ ขึ้นอยู่กับความสะดวก หรือตามที่คนในครอบครัวตกลงกันนะคะ ไม่มีถูกผิด
*ย้ำ ไม่มีถูกผิด* และที่สำคัญ ให้คนในครอบครัวที่เกี่ยวข้องทางสายเลือดโดยตรงจริงๆ เป็นคนตัดสินใจนะคะ ยิ่งปรึกษาเยอะ ยิ่งมีหลาย Option
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เนื่องจากคุณพ่อ ได้บริจาคร่างเป็นอาจารย์ใหญ่เอาไว้กับ รพ. ศิริราช
เวลาต่อมา คุณพ่อป่วย(ตามโรคของผู้สูงอายุ) หลังจากนั้นคุณพ่อก็เสีย ซึ่งก่อนเสีย เราไม่ได้มีการเจาะคอเพื่อใส่ท่อช่วยหายใจ หรือ เจาะช่องท้อง หรืออวัยยะใดๆในร่างกาย และไม่มีการผ่าตัดอวัยยะใดๆทั้งสิ้น ทาง รพ.จึงถือว่า สภาพศพสมบูรณ์ สามารถบริจาคได้
ขอเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนใน รพ. การติดต่อแจ้งเรื่องก่อนนะคะ
ในที่นี้ เพื่อให้เข้าใจง่ายและกระชับ ขออนุญาตใช้คำว่า "ผู้ตาย" นะคะ
- อย่างแรก ในช่วงที่ผู้ตายยังมีชีวิต และมีสติสัมปชัญญะครบ ต้องแจ้งความประสงค์เรื่องการบริจาคร่างให้คนในครอบครัวทราบก่อน เพราะเมื่อถึงเวลาเสียชีวิตจริงๆ ต่อให้ผู้ตายต้องการบริจาคร่าง แต่คนในครอบครัวไม่ยอม ก็ไม่สามารถบริจาคได้ เพราะญาติหรือคนในครอบครัวต้องเป็นคนเดินเอกสารและเซ็นต์ยินยอมค่ะ
รวมถึงบอกหรือตกลงเรื่องจัดงานศพกันไว้เลยก็ได้ ต้องการให้จัดงานศพมั้ย ถ้าจัด จัดกี่วัน อะไรยังไงบ้าง ตกลงกันไว้เลย เพราะถ้าถึงเวลานั้นจริงๆ เราในฐานะคนในครอบครัว , ลูกหลาน ก็อยากจะจัดงานหรือทำอะไรให้ดีที่สุด ซึ่งบางทีมันอาจเกินความจำเป็นหรือไม่ตรงวัตถุประสงค์ผู้ตายได้
-เอกสาร เบอร์โทร หรือบัตรที่ทำเรื่องบริจาค เตรียมเอาใส่กระเป๋าสตางค์ หรือเก็บไว้ในที่ที่หาง่าย นึกถึงง่ายไว้เลยนะคะ เช่น เก็บไว้ใกล้บัตรประชาชนผู้ตาย เพราะว่า พอถึงเวลาสถานการณ์ที่มีการเสียชีวิตจริงๆ เราจะเศร้า ตกใจ รับสายโทรศัพท์ หรือมีเรื่องมีธุระที่ต้องดำเนินการเยอะ
-ทันทีที่ รพ.แจ้งว่า ผู้ป่วยเสียชีวิตแล้ว ให้รับแจ้งเจ้าหน้าที่รพ.ทันทีว่า ผู้ตายได้ทำเรื่องบริจาคร่างกายเอาไว้ (บอกไปก่อน ใครก็ได้ บอกทุกคนที่เราติดต่อด้วย) เพราะถ้าเราไม่บอก หรือบอกช้า อาจจะเลยกำหนดเวลาในการรักษาร่าง
-ติดต่อ รพ. ตามเบอร์ที่อยู่ในบัตรบริจาคอวัยยะ หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่จะถามรายละเอียดต่างๆ เราก็ตอบ และก็ดำเนินการอื่ๆน ตามที่เจ้าหน้าที่แนะนำได้เลย
โดยระหว่างนี้จะมีการตรวจสอบด้วย ว่าสภาพศพของผู้ตาย สามารถบริจาคร่างได้มั้ย ซึ่งเราขอข้ามรายละเอียดตรงนี้ไปนะคะ เพราะเจ้าหน้าที่จะบอกเราอยู่แล้วว่าต้องติดต่อหรือดำเนินการอะไรบ้าง