รอบนี้มาช้าหน่อยนะครับ ด้วยเหตุที่อากาศไม่ค่อยเป็นใจ มีฝนสลับกันแดดซึ่งไม่เหมาะกับการออกมาเที่ยวในที่โล่งแจ้งครับ “ กลัวจะเป็นหวัด” จริงๆก็เป็นแล้วครับ
วันนี้พามาชมวัดสวยและมีพระพุทธรูปที่มีความงดงามเป็นอย่างยิ่งครับ ”วัดมหรรณพาราม“ วัดจะอยู่เยื้องกับศาลเจ้าพ่อเสือครับ
วัดมหรรณพาราม
สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยเมื่อกรมหมื่นอุดมรัตนราษี (พระองค์เจ้าอรรณพ) พระราชโอรสในรัชกาลที่ 3 สถาปัตยกรรมภายในวัดมีลักษณะเป็นศิลปะแบบไทยผสมกับจีน ซึ่งมีความโดดเด่นคือ หลังคาของพระอุโบสถ พระวิหาร ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา
สมัยรัชกาลที่ 5 วัดมหรณพาราม ได้รับเลือกให้เป็นสถานที่ทดลอง จัดตั้งโรงเรียนหลวง สําหรับสามัญชนขึ้นเป็นแห่งแรก ต่อมาเมื่อการศึกษาในโรงเรียนวัดมหรรณพาราม เป็นผลดีจึงขยายออกไปทั่วราชอาณาจักร
พระวิหาร
เป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อพระร่วงทองคำ” พระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย เดิมประดิษฐานอยู่ ณ วัดโคกสิงคาราม อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย สร้างในรัชสมัยใดไม่ปรากฏแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
หลวงพ่อพระร่วงทองคำ
สร้างด้วยโลหะผสมทองคำ 60% มีขนาดหน้าตักกว้าง 1 วา 1 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว ความสูง 1 วา 3 ศอก 1 คืบ 7 นิ้ว มีรอยต่อ 9 แห่ง โดยมีหมุดเป็นเครื่องเชื่อมที่รอยต่อ
เมื่อกรมหมื่นอุดมรัตนราษี (พระองค์เจ้าอรรณพ) ทรงสร้างวัดอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้พระราชทานเงินสมทบ 1,000 ชั่ง เมื่อสร้างพระอุโบสถขึ้นแล้ว ทรงรับสั่งให้เจ้าหน้าที่ทางเมืองเหนือเสาะหาพระพุทธรูปใหญ่ เพื่อจะทรงนำมาเป็นพระประธาน
ครั้นได้พบแล้วก็ทรงรับสั่งให้อัญเชิญลงมากรุงเทพฯ เพื่อให้ได้ทันกับวันฉลองพระอุโบสถและผูกพัทธสีมา แต่การเดินทางในสมัยนั้นลำบากมาก ต้องอาศัยเรือหรือแพเท่านั้นเป็นพาหนะ หลวงพ่อพระร่วงทองคำ นี้ก็เช่นเดียวกันต้องอาศัยบรรทุกมาทางแพด้วย แต่การเดินทางล่าช้ามาก มาไม่ทันกำหนดเวลาที่พระอุโบสถสร้างเสร็จ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงรับสั่งให้สร้างพระประธานด้วยหินปูน ก่ออิฐลงรักปิดทอง ให้ทันกับเวลาฉลองพระอุโบสถและใช้เป็นพระประธานในพระอุโบสถมาจนกระทั่งบัดนี้
ครั้นสร้างพระประธานเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อพระร่วงทองคำ ได้อัญเชิญมาถึงกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงรับสั่งให้สร้างพระวิหารขึ้นทางด้านทิศใต้ของพระอุโบสถให้เป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อพระร่วงทองคำ ตั้งแต่นั้นมาตราบเท่าทุกวันนี้
การอัญเชิญหลวงพ่อพระร่วงทองคำมาประดิษฐานไว้ที่พระวิหารจัดมหรรณพ์นี้ มีแจ้งอยู่ในจดหมายเหตุรัชกาลที่ 3
สิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ ประกอบไปด้วย เจดีย์ทรงระฆังคว่ำสีขาว พร้อมด้วยต้นศรีมหาโพธิ์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงปลูก
พิกัด: วัดมหรรณพาราม
https://maps.app.goo.gl/gLvRcvXB8pJVZ9vx5?g_st=com.google.maps.preview.copy
บันทึกความทรงจำ
วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2567
16 June 2024
ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีมะโรง
อาทิจวาร(อ) เชษฐมาส ฉศก จ.ศ. 1386 , ค.ศ. 2024 , ม.ศ. 1946 , ร.ศ. 243
สุริยคติ เป็น อธิกสุรทิน , จันทรคติ เป็น ปกติมาส ปกติวาร
#วัดมหรรณพาราม
#จังหวัดกรุงเทพมหานคร
#TeawWatThai / เที่ยววัดไทย
https://www.facebook.com/teawwatthai.travel
https://www.instagram.com/teawwatthai.travel
https://pantip.com/profile/878726#topics
https://www.youtube.com/@teawwatthai
https://www.tiktok.com/@teawwatthai
วัดมหรรณพาราม จังหวัดกรุงเทพมหานคร
วันนี้พามาชมวัดสวยและมีพระพุทธรูปที่มีความงดงามเป็นอย่างยิ่งครับ ”วัดมหรรณพาราม“ วัดจะอยู่เยื้องกับศาลเจ้าพ่อเสือครับ
วัดมหรรณพาราม
สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยเมื่อกรมหมื่นอุดมรัตนราษี (พระองค์เจ้าอรรณพ) พระราชโอรสในรัชกาลที่ 3 สถาปัตยกรรมภายในวัดมีลักษณะเป็นศิลปะแบบไทยผสมกับจีน ซึ่งมีความโดดเด่นคือ หลังคาของพระอุโบสถ พระวิหาร ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา
สมัยรัชกาลที่ 5 วัดมหรณพาราม ได้รับเลือกให้เป็นสถานที่ทดลอง จัดตั้งโรงเรียนหลวง สําหรับสามัญชนขึ้นเป็นแห่งแรก ต่อมาเมื่อการศึกษาในโรงเรียนวัดมหรรณพาราม เป็นผลดีจึงขยายออกไปทั่วราชอาณาจักร
พระวิหาร
เป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อพระร่วงทองคำ” พระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย เดิมประดิษฐานอยู่ ณ วัดโคกสิงคาราม อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย สร้างในรัชสมัยใดไม่ปรากฏแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
หลวงพ่อพระร่วงทองคำ
สร้างด้วยโลหะผสมทองคำ 60% มีขนาดหน้าตักกว้าง 1 วา 1 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว ความสูง 1 วา 3 ศอก 1 คืบ 7 นิ้ว มีรอยต่อ 9 แห่ง โดยมีหมุดเป็นเครื่องเชื่อมที่รอยต่อ
เมื่อกรมหมื่นอุดมรัตนราษี (พระองค์เจ้าอรรณพ) ทรงสร้างวัดอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้พระราชทานเงินสมทบ 1,000 ชั่ง เมื่อสร้างพระอุโบสถขึ้นแล้ว ทรงรับสั่งให้เจ้าหน้าที่ทางเมืองเหนือเสาะหาพระพุทธรูปใหญ่ เพื่อจะทรงนำมาเป็นพระประธาน
ครั้นได้พบแล้วก็ทรงรับสั่งให้อัญเชิญลงมากรุงเทพฯ เพื่อให้ได้ทันกับวันฉลองพระอุโบสถและผูกพัทธสีมา แต่การเดินทางในสมัยนั้นลำบากมาก ต้องอาศัยเรือหรือแพเท่านั้นเป็นพาหนะ หลวงพ่อพระร่วงทองคำ นี้ก็เช่นเดียวกันต้องอาศัยบรรทุกมาทางแพด้วย แต่การเดินทางล่าช้ามาก มาไม่ทันกำหนดเวลาที่พระอุโบสถสร้างเสร็จ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงรับสั่งให้สร้างพระประธานด้วยหินปูน ก่ออิฐลงรักปิดทอง ให้ทันกับเวลาฉลองพระอุโบสถและใช้เป็นพระประธานในพระอุโบสถมาจนกระทั่งบัดนี้
ครั้นสร้างพระประธานเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อพระร่วงทองคำ ได้อัญเชิญมาถึงกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงรับสั่งให้สร้างพระวิหารขึ้นทางด้านทิศใต้ของพระอุโบสถให้เป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อพระร่วงทองคำ ตั้งแต่นั้นมาตราบเท่าทุกวันนี้
การอัญเชิญหลวงพ่อพระร่วงทองคำมาประดิษฐานไว้ที่พระวิหารจัดมหรรณพ์นี้ มีแจ้งอยู่ในจดหมายเหตุรัชกาลที่ 3
สิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ ประกอบไปด้วย เจดีย์ทรงระฆังคว่ำสีขาว พร้อมด้วยต้นศรีมหาโพธิ์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงปลูก
พิกัด: วัดมหรรณพาราม
https://maps.app.goo.gl/gLvRcvXB8pJVZ9vx5?g_st=com.google.maps.preview.copy
บันทึกความทรงจำ
วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2567
16 June 2024
ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีมะโรง
อาทิจวาร(อ) เชษฐมาส ฉศก จ.ศ. 1386 , ค.ศ. 2024 , ม.ศ. 1946 , ร.ศ. 243
สุริยคติ เป็น อธิกสุรทิน , จันทรคติ เป็น ปกติมาส ปกติวาร
#วัดมหรรณพาราม
#จังหวัดกรุงเทพมหานคร
#TeawWatThai / เที่ยววัดไทย
https://www.facebook.com/teawwatthai.travel
https://www.instagram.com/teawwatthai.travel
https://pantip.com/profile/878726#topics
https://www.youtube.com/@teawwatthai
https://www.tiktok.com/@teawwatthai