JJNY : ส่งออกเดือน มี.ค.67 ติดลบ│อ.ธรณ์เผยภาพ'ปะการัง'│หมอธีระวิเคราะห์การระบาดติดเชื้อโควิด│ร้อนจัดกระทบนร.ในฟิลิปปินส์

ส่งออกเดือน มี.ค. 2567 หดตัว 10.9% ติดลบครั้งแรกในรอบ 8 เดือน
https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/222704

พาณิชย์ เผย ส่งออกเดือน มี.ค. 67 หดตัว 10.9% มูลค่า 24,960.6 ล้านเหรียญสหรัฐ
 
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาตร์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนมีนาคม 2567 ว่า การส่งออกของไทยในเดือนมีนาคม 2567 มีมูลค่า 24,960.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 892,290 ล้านบาท หดตัว 10.9% หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัว 5.6% เป็นการติดลบครั้งแรกในรอบ 8 เดือน ส่วนการนำเข้ามูลค่า 26,123.8 ล้านดอลลาร์ ขาดดุล 1,163.3 ล้านดอลลาร์

การส่งออกติดลบ จากฐานการส่งออกที่สูงในเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่ยังคงรักษาระดับการส่งออกได้ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของมูลค่าการส่งออกย้อนหลัง 5 ปี ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่เผชิญความไม่แน่นอนและขยายตัวต่ำ จากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในหลายพื้นที่ อีกทั้งการดำเนินนโยบายทางการเงินอย่างเข้มงวดยาวนาน ส่งผลต่อกำลังซื้อ ปัญหาหนี้สิน และการตัดสินใจลงทุนของภาคธุรกิจ นอกจากนี้สภาพอากาศแปรปรวนทำให้อุปทานของสินค้าเกษตรออกสู่ตลาดล่าช้า

ส่วนการส่งออกในไตรมาสแรกของปี 2567 มีมูลค่า 70,995.3 ล้านดอลลาร์ หดตัว 0.2% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 การนำเข้า มีมูลค่า 75,470.5 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 3.8% ดุลการค้า ไตรมาสแรกของปี 2567 ขาดดุล 4,475.2 ล้านดอลลาร์
 


อ.ธรณ์ เผยภาพ 'ปะการัง' หน้าตาประหลาด นี่คือ ภัยพิบัติครั้งใหญ่สุดของท้องทะเล
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8207535

อ.ธรณ์ เผยภาพ ‘ปะการัง’ หน้าตาประหลาด ทำงานมา 40 ปี ไม่เคยเห็นแบบนี้ นี่คือ ภัยพิบัติครั้งใหญ่สุดของท้องทะเล ลั่น ถ้าอุณหภูมิน้ำยังไม่ลดลง อาจไม่เหลือ
 
ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat ระบุว่า “นี่คือปะการังไทยในยุคทะเลเดือด เป็นปะการังหน้าตาประหลาด ทำงานในทะเลมาเกือบ 40 ปี ผมไม่เคยเห็นแบบนี้มาก่อน จนมาถึงยุคนี้แหละ
 
“เดิมทีเป็นปะการังก้อนสีสันงดงาม เป็นที่อยู่ของกุ้งน้อยปูเล็ก หอยมือเสือและดอกไม้ทะเล ยังมีปลาพ่อปลาแม่และปลาน้อย อาศัยปะการังเป็นบ้าน เป็นที่คุ้มภัย”

อ.ธรณ์ เผยภาพ ‘ปะการัง’ หน้าตาประหลาด ทำงานมา 40 ปี ไม่เคยเห็นแบบนี้ นี่คือ ภัยพิบัติครั้งใหญ่สุดของท้องทะเล ลั่น ถ้าอุณหภูมิน้ำยังไม่ลดลง อาจไม่เหลือ
 
ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat ระบุว่า “นี่คือปะการังไทยในยุคทะเลเดือด เป็นปะการังหน้าตาประหลาด ทำงานในทะเลมาเกือบ 40 ปี ผมไม่เคยเห็นแบบนี้มาก่อน จนมาถึงยุคนี้แหละ”
 
“เดิมทีเป็นปะการังก้อนสีสันงดงาม เป็นที่อยู่ของกุ้งน้อยปูเล็ก หอยมือเสือและดอกไม้ทะเล ยังมีปลาพ่อปลาแม่และปลาน้อย อาศัยปะการังเป็นบ้าน เป็นที่คุ้มภัย”
 
“เมื่อ 5-6 ปีก่อน ผลของโลกร้อนเริ่มรุนแรง น้ำทะเลอุณหภูมิสูงขึ้น น้ำลดต่ำผิดปรกติ แดดแรง ปะการังเริ่มฟอกขาว แต่พวกเธอพยายามสู้ ฟื้นขึ้นมาได้ แต่บนหัวเริ่มตายเพราะโดนแดดเต็ม ๆ
 
ที่พอมีชีวิตคือด้านข้าง หากเป็นทะเลภาวะปรกติ ฟอกขาวหนหนึ่งแล้วหายไป 7-8 ปี ปะการังด้านข้างจะลามขึ้นมาบนหัว ทำให้ทั้งก้อนกลับมามีชีวิต”
 
“แล้วทะเล 5-6 ปีที่ผ่านมาปรกติไหม ?”
 
“คำตอบคือไม่ น้ำร้อนแทบทุกปี ปะการังฟอกขาวเป็นประจำ มากบ้างน้อยบ้าง แต่พวกเธออ่อนแอลง
แทนที่ปะการังด้านข้างจะลามขึ้นมาด้านบน กลับกลายเป็นหดหายเสียพื้นที่ลงไปเรื่อย ๆ จนค่อนก้อนกลายเป็นปะการังตาย”
 
“ปะการังจิ๋วที่เพิ่งลงเกาะใหม่ เธอยังพยายามสู้ เติบโตเป็นปะการังก้อนน้อยบนซากของรุ่นก่อน แล้วก็มาถึงช่วงนี้ น้ำร้อนจี๋ 32-34 องศาติดต่อกันมา 3-4 สัปดาห์ ปะการังที่เหลือเพียงน้อยนิดฟอกจนขาวจั๊วะ โอกาสรอดแทบไม่มี เพราะน้ำยังไม่มีท่าทีว่าจะเย็นลง ฝนยังไม่มา”
 
“ปะหารังก้อนน้อยที่อยู่บนหัว สู้มาหลายปี มาบัดนี้เธอก็ฟอกขาวเช่นกัน จุดจบปะการังก้อนนี้คือตายทั้งก้อน ก้อนเก่าและก้อนใหม่ ไม่มีกุ้งน้อย ไม่มีปูเล็ก ไม่มีปลาพ่อแม่ลูก ไม่มีชีวิตสุขสันต์ใต้ทะเลไทย ไม่มีความสวยให้คนมาดู ไม่มีบ้านสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้ท้องทะเลอีกต่อไป”

“ตาย ๆ ๆ ไม่ใช่ก้อนเดียว แต่เป็นพันก้อน หมื่นก้อน แสนก้อน ล้านก้อน ตำนานหลายล้านปีของระบบนิเวศยิ่งใหญ่ที่สุดในท้องทะเล สวยและหลากหลายที่สุดในโลก มาถึงบทอวสาน”
 
“ภาพนี้เพื่อนธรณ์ส่งมาจากชุมพร วันนี้ แต่ยังมีอีกหลายที่ ชลบุรี ระยอง เรื่อยไปจนถึงตราด หรือเลยลงไปทางใต้ สมุย พะงัน เราพบปะการังประหลาดได้ทั่วไป ปะการังที่ร่อแร่ใกล้ตาย มาถึงจุดสุดท้ายในปีที่ทะเลเดือดสุด ตายทั้งก้อน ไม่มีโอกาสฟื้นคืนกลับมา”

“ที่แค้นสุด คือ เราได้แค่มองดูเธอตาย ไม่มีทางช่วย ไม่มีหนทางอื่นใด มันคือโลกร้อนทะเลเดือด มันคือภัยพิบัติครั้งใหญ่สุดของท้องทะเล และมันจะแรงยิ่งขึ้น ๆ ในอนาคต นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าปะการังในโลกจะพินาศเกือบหมดสิ้นในอีก 30 ปีข้างหน้า แต่ทะเลไทยอาจไม่นานขนาดนั้น โดยเฉพาะในอ่าวไทย แค่นี้ก็ตายไปเยอะแล้ว และจะยิ่งตายเยอะ ตราบใดที่อุณหภูมิน้ำยังไม่ลดลง
ตาย ๆ ๆ จนหมดท้องทะเล”
 
“อ่านถึงประโยคนี้ ผมรู้ดีว่าเพื่อนธรณ์เศร้า แถมเป็นความเศร้าที่แทบไร้หวัง แต่พรุ่งนี้ยังมี แล้วเราจะเบือนหน้าหนีเธอไหม ? ไม่ต้องโทษคนอื่น ไม่ต้องเหลียวมองคนข้าง ๆ ว่าจะทำหรือไม่ ? ก็แค่ถามใจตัวเอง เราจะทำเช่นไร ? ก็แค่ถามใจตัวเอง…”
 
พร้อมทิ้งท้ายว่า “หมายเหตุ – ทำอย่างไรเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก ทุกท่านทราบดี ลดขยะ ลดน้ำทิ้ง ไม่กินฉลาม ปลานกแก้ว สัตว์หายาก ไม่ให้อาหารปลา เก็บขยะ ฯลฯ เป็นเรื่องที่พวกเรารู้ดีอยู่แล้ว สนับสนุนผู้ประกอบการที่ดี ไม่สนับสนุนคนที่เอาเปรียบธรรมชาติ ช่วยคนที่พยายามสู้เพื่อรักษาป่าไม้ ทะเล และโลก ก็แค่ทำต่อไปและทำให้มากขึ้น มาก ๆ ๆ ”
 
ความคิดเห็นส่วนหนึ่งจากชาวเน็ต :
• เขาพยายามเต็มที่แล้ว
• เห็นภาพแบบนี้แล้วหดหู่มากครับ หลายคนพยายามช่วยทุกทาง แต่คนส่วนมากเพิกเฉยเพราะไม่เชื่อเรื่อง climate change บางคนเชื่อแต่คิดว่าไกลตัว บางคนเชื่อแต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไรที่จะช่วยทะเล … แค่คิดก็ท้อ แต่ท้อไม่ได้ หลายคนทำในส่วนของตัวเองเพื่อช่วยทะเล ขอปรบมือให้ แม้จะยากแค่ไหน แต่ใจไม่ถอยครับ
• หดหู่อ่ะ ไม่เคยคิดว่าจะเห็นโลกตายไปต่อหน้าในช่วงชีวิตตัวเอง
• เราต้องมีความหวังค่ะ อาจารย์ แม้จะอ่านแล้วสุดหดหู่ แต่ทุกคนต้องตระหนัก และแพร่ข่าวนี้ ให้ทั่วกัน ไม่อย่างนั้น พากันตายแน่ เราทุกคนล้วนวนในห่วงโซ่อาหาร เขาตายหมด เราตายแน่
• Climate change is real. ตอนนี้เลิกทานเนื้อไปเลยค่ะ เพราะฟาร์มสร้างก๊าซมีเทนเยอะมาก ถุงผ้าก็ใช้จนเก่า ขยะก็แยกมาหลายปีแล้ว อยากให้เมืองไทยมีถังแยกชนิดขยะเยอะๆกว่านี้จังค่ะ
• โอกาสที่สัตว์ทะเลหลายชนิดจะสูญพันธุ์ก็คงคราวนี้และครับ สิ่งที่กลัวสุด ๆ คือ พะยูนจะรอดไหมครับหญ้าทะเลตายหมดแบบนี้
• ต่อไปในหน้าร้อน ฤดูร้อน พวกเราคงต้องไปหลบอยู่ในใต้ดิน หรือในฐานทัพไหนสักแห่ง แล้วพอหน้าฝน หรือหน้าหนาว (ร้อนน้อย) เราถึงจะขึ้นมาอยู่บนพื้นดินได้
 
https://www.facebook.com/thon.thamrongnawasawat/posts/pfbid0NJjU2AqZjkKABFAJdbXXWVnuFLXnt8bTqs7NAwF2Z55kWjLbBy9WuizdWeC62BWjlR
 

 
รอบนี้ไม่กระจอก! หมอธีระ วิเคราะห์การระบาด คาดไทย ติดเชื้อโควิด พุ่งวันละ 1 หมื่นคน 
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_4550395

รอบนี้ไม่กระจอก! หมอธีระ วิเคราะห์การระบาด คาดไทย ติดเชื้อโควิด พุ่งวันละ 1 หมื่นคน 
 
เมื่อวันที่ 29 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก “Thira Woratanarat”  ระบุว่า
 
วิเคราะห์การระบาดของไทย…
 
สัปดาห์ล่าสุด 21-27 เมษายน 2024
จำนวนผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล 1,672 ราย เสียชีวิต 9 ราย ปอดอักเสบ 390 ราย และใส่ท่อช่วยหายใจ 148 ราย
ผู้ป่วยนอนรักษาตัวในรพ.มากกว่าสัปดาห์ก่อนถึง 66.5% และขึ้นต่อเนื่อง 7 สัปดาห์ติดต่อกัน
เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 3 เท่า
 
จำนวนปอดอักเสบ เพิ่มขึ้น 33.6% และใส่ท่อช่วยหายใจก็เพิ่มขึ้น 46.5%
คาดประมาณจำนวนคนติดเชื้อใหม่ต่อวันอย่างน้อย 11,943-16,588 ราย

อย่างไรก็ตาม ประเมินว่าจำนวนติดเชื้อจริงจะมากกว่านี้
 
ชัดเจนว่าการเพิ่มขึ้นข้างต้น ไม่ได้เป็นการเพิ่มเล็กน้อย แต่เพิ่มอย่างมีนัยสำคัญ
แม้จะมีลักษณะพุ่งขึ้นคล้ายปีก่อน แต่จำนวนผู้ป่วยเริ่มต้นก่อนสงกรานต์ปีนี้นั้นมากกว่าปีก่อนอย่างมาก ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงที่สถานการณ์จะหนักกว่าเดิม หากไม่ป้องกันควบคุมโรคให้ดี
 
หากดูจำนวนผู้ป่วยที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ 148 ราย เป็นคนที่ไม่ใช่สูงอายุคือ 0-59 ปี ถึง 55 ราย คิดเป็น 37.1% มากกว่าหนึ่งในสามของทั้งหมด ดังนั้นแม้ไม่ใช่ผู้สูงอายุ ก็ควรป้องกันตัวให้ดีเช่นกัน
 
โควิด-19 ไม่ใช่หวัดธรรมดา ไม่กระจอก ไม่ได้เป็นไปตามฤดูกาล แต่แปรผันกันปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้น ทั้งเรื่องเทศกาล กิจกรรม รวมถึงพฤติกรรมป้องกันตัวของประชาชน
 
ติดแต่ละครั้ง นอกจากเสี่ยงป่วย ป่วยรุนแรง หรือเสียชีวิตแล้ว ยังเสี่ยงต่อ Long COVID ที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตระยะยาว
ช่วยกันป้องกันตัวนะครับ เพื่อให้ตัวเรา และคนที่เรารักปลอดภัย
 
อย่าปล่อยแบบ let it rip เพราะสุดท้ายแล้วผลลัพธ์สุขภาพที่เกิดขึ้น ไม่มีใครแบกรับ นอกจากตัวเราและครอบครัว
 
https://www.facebook.com/thiraw/posts/pfbid02MwYaHdX8Cf3XNnuUT3RkxNT422QazGR656wXHaaYY1giYW8F7iRHvRNhUTpuhQfvl
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่