บทนำ
ปัจจุบันนี้ มีพุทธบริษัทบางกลุ่มที่มุ่งเน้นการปฏิบัติ (เขาอ้างว่าอย่างนั้น) การมุ่งเน้นปฏิบัติของพุทธบริษัทนี้ ถ้าให้ถูกต้องตามหลักคำสอนของพระตถาคตก็ควรจะต้องปฏิบัติตามวิธีที่พระตถาคตได้แสดงไว้ และได้ผลเช่นเดียวกันกับพระตถาคต อริยสาวก ที่มีในพระไตรปิฎก
การเรียนรู้ถูก การปฏิบัติถูก นำไปสู่ผลที่ถูกต้อง
พระตถาคตท่านแนะนำวิธีการเรียนธรรมที่ถูก ในสมัยพุทธกาลผู้สนใจก็ไปฟังธรรมจากพระตถาคตบ้าง ฟังธรรมจากพระอริยะสาวกของพระตถาคตบ้าง ฟังธรรมจากภิกษุผู้เป็นธรรมกถึกบ้าง ฟังจากอุบาสกอุบาสิกาผู้มีความรู้ในพระธรรมบ้าง
ฟังธรรมเพื่อนำไปสู่การปรับทิฏฐิให้ถูกต้อง นำไปสู่การปฏิบัติที่ถูก และจึงจะได้ผลที่ถูก
ตัวอย่างการขอความรู้ การขอเรียนธรรมจากพระตถาคต และสาวกของพระตถาคต
อุตติยสูตร
[๙๕] ครั้งนั้นแล อุตติยปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ท่านโคดมผู้เจริญ โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า หรือหนอ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอุตติยะ ข้อนี้เราไม่พยากรณ์ ฯ
อ่านพระสูตรเต็มที่นี่
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=24&A=4423
อรรถกถาจารย์ท่านอธิบายว่า บางคำถามที่พระตถาคตไม่พยากรณ์ ไม่ตอบ เพราะผู้ถามมีมิจฉาทิฏฐิ เช่นพวกที่เห็นว่ามีอัตตา เป็นต้น
อุตติยสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ตุณฺ

อโหสิ ความว่า
อุตติยปริพาชกตั้งอยู่ในสัตตูปลัทธิ ลัทธิว่ามีสัตว์ จึงถามในข้อที่ไม่ควรถาม เหุตนั้นจึงนิ่งเสีย.
อ่านอรรถกถาแปลที่นี่
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=95
อรรถกถาภาษาไทย แบับ มจร.2553
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ต่อไปนี้ พระตถาคตแสดงธรรม วิธีการปฏิบัติผิด วิธีการปฏิบัติถูก มาใน มิจฉัตตวรรคที่ ๓
มิจฉัตตวรรคที่ ๓ มิจฉัตตสูตร ความเห็นผิด-ความเห็นถูก
[๕๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงมิจฉัตตะ (ความผิด) และสัมมัตตะ (ความถูก) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
[๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉัตตะเป็นไฉน? ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจมั่นผิดนี้เรียกว่า มิจฉัตตะ.
[๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมัตตะเป็นไฉน? ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า สัมมัตตะ.
จบ สูตรที่ ๑
อกุศลธรรมสูตร อกุศลธรรม-กุศลธรรม
[๖๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอกุศลธรรมและกุศลธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
[๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อกุศลธรรมเป็นไฉน? ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจมั่นผิด นี้เรียกว่า อกุศลธรรม.
[๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กุศลธรรมเป็นไฉน? ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า กุศลธรรม.
จบ สูตรที่ ๒
ปฏิปทาสูตรที่ ๑ มิจฉาปฏิปทา-สัมมาปฏิปทา
[๖๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมิจฉาปฏิปทาและสัมมาปฏิปทาแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
[๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาปฏิปทาเป็นไฉน? ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจมั่นผิด นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา.
[๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาปฏิปทาเป็นไฉน? ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๓
ปฏิปทาสูตรที่ ๒ ว่าด้วยญายธรรม
[๖๘] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญมิจฉาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต
คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติผิดแล้ว ย่อมไม่ยังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติผิดเป็นตัวเหตุ
ก็มิจฉาปฏิปทาเป็นไฉน?
ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจมั่นผิด นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญมิจฉาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิตคฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติผิดแล้ว
ย่อมไม่ยังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติผิดเป็นตัวเหตุ.
[๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราสรรเสริญสัมมาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติชอบแล้ว
ย่อมยังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติชอบเป็นตัวเหตุ
ก็สัมมาปฏิปทาเป็นไฉน?
ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราสรรเสริญสัมมาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติชอบแล้ว
ย่อมยังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติชอบเป็นตัวเหตุ.
อุตติยสูตร เจริญอริยมรรคเพื่อละกามคุณ ๕
[๘๖] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์หลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ
ได้เกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า กามคุณ ๕ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว
กามคุณ ๕ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วเป็นไฉนหนอ?
[๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ อุตติยะ กามคุณ ๕ เหล่านี้ เรากล่าวไว้แล้วกามคุณ ๕ เป็นไฉน?
คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด
เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู ... กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก ... รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ...
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่น่ารัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด
ดูกรอุตติยะ กามคุณ ๕ เหล่านี้แล เรากล่าวไว้แล้ว.
[๘๘] ดูกรอุตติยะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญ เพื่อละกามคุณ ๕ เหล่านี้แล
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน? คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญ เพื่อละกามคุณ ๕ เหล่านี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๐
อ่านพระสูตรที่มาในวรรคนี้ที่นี่
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=375&Z=496
อรรถกถา มิจฉัตตวรรคที่ ๓ อธิบายไว้ว่า
พึงทราบวินิจฉัยในมิจฉัตตสูตรที่ ๑ แห่งมิจฉัตตวรรคที่ ๓.
บทว่า มิจฺฉตฺตํ แปลว่า มีความผิดสภาวะ.
บทว่า สมฺมตฺตํ แปลว่า มีความถูกเป็นสภาวะ.
บทว่า มิจฺฉาปฏิปตฺตาธิกรณเหตุ แปลว่า เพราะเหตุแห่งการปฏิบัติผิด อธิบายว่า เพราะเหตุทำการปฏิบัติผิด.
บทว่า นาราธโก ได้แก่ ไม่ถึงพร้อม.
บทว่า ญายํ ธมฺมํ ได้แก่ อริยมรรคธรรม.
บทว่า มิจฺฉาญาณี ความว่า รู้ผิด คือพิจารณาผิด.
บทว่า มิจฺฉาวิมุตฺติ ความว่า ไม่พ้นตามความจริง คือไม่ให้พ้นไปจากทุกข์.
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=86
อุตติยสูตร อาศัยศีลเจริญสติปัฏฐาน ๔
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[๗๕๐] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับฯลฯ
ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว
จะพึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวเถิด
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรอุตติยะ เพราะฉะนั้น เธอจงชำระเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์เสียก่อน
ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรม คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นอันตรง.
[๗๕๑] ดูกรอุตติยะ
เมื่อใดแล ศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดี และความเห็นของเธอจักตรง
เมื่อนั้น เธอพึงอาศัยศีล ตั้งมั่นในศีลแล้ว เจริญสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
ดูกรอุตติยะ เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
เมื่อใดเธออาศัยศีล ตั้งมั่นในศีลแล้ว จักเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอจักไปพ้นฝั่งแห่งบ่วงมาร.
[๗๕๒] ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะ ชื่นชม อนุโมทนา ภาษิตของพระผู้มีพระภาค
แล้วลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป
ท่านพระอุตติยะหลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก
ก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
และท่านพระอุตติยะเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.
อ่านเพิ่มเติมที่นี่
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=19&A=4388
ผู้รวบรวม ยกชื่อสูตร อุตติยสูตร มาตั้งให้เห็นชัด
ทั้งนี้ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าชื่อนี้ที่ปรากฎเป็นสูตรทั้งหลายที่ยกมาเป็นชื่อเดียวกันนี้เป็นบุคคลเดียวกันหรือไม่
แต่มีลำดับเรื่องราวของบุคคลที่มีความเห็นผิด เป็นพวกสัสสตทิฏฐิ มาสอบถาม มาบวชในพระพุทธศาสนาแล้วปฏิบัติผิด ต่อมาจึงปรับแก้ไขทิฏฐิแล้วจึงปฏิบัติถูกเป็นต้น
เรื่องราวที่ยกตัวอย่างมานี้ คือ แสดงวิธีปฏิบัติ ผลปฏิบัติของพระตถาคต วิธีปฏิบัติที่พระตถาคตแนะนำแก้ไขความเห็นผิดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกและต่อมาได้ผลถูกต้อง ก็ควรจะเพียงพอต่อการนำผลปฏิบัตินี้ นำมาเป็นหลักตัดสินได้ว่า เรา หรือท่านนั้น ๆ ปฏิบัติถูกหรือผิด
ปริยัติ (ในพระไตรปิฎก) คือ บันทึกผลปฏิบัติของพระตถาคต ควรนำมาใช้เป็นหลักตัดสินผลการปฏิบัติของพุทธบริษัททุกรุ่น
การทักท้วงว่าใครปฏิบัติถูกหรือผิด ได้ผลถูกหรือผิด ก็คือ นำผลปฏิบัติของพระตถาคตซึ่งต่อมาคือปริยัติในพระไตรปิฎก มาเป็นหลักตัดสินว่าภิกษุปัจจุบัน พุทธบริษัทปัจจุบัน ว่า ท่านเหล่านั้นได้ผลปฏิบัติถูกหรือผิด
ไม่ใช่เอาผลของภิษุ A มารับรองภิกษุ B
ไม่ใช่เอาผลของนาย A มารับรองนาย B
เหตุผลที่แสดงมานี้ ก็ควรเป็นที่ยอมรับและพอที่จะเชื่อถือได้
เชิญสมาชิกแสดงความคิดเห็นอิงอรรถ อิงธรรม อิงวินัย อิงหลักฐาน อิงพระไตรปิฎก
ต่อเนื่องจากกระทู้นี้
ผลที่ได้รับจากการทำสมาธิ ของผู้ที่มี "มิจฉาทิฏฐิ" เปรียบเทียบกับ ผู้ที่มี "สัมมาทิฏฐิ"
https://pantip.com/topic/42631254
พุทธบริษัทที่ยังมีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ว่า จิตเที่ยง มีอัตตา ไม่ใช่ฐานะที่จะเป็นอริยะบุคคล
https://pantip.com/topic/42624990
ปริยัติ (ในพระไตรปิฎก) คือ บันทึกผลปฏิบัติของพระตถาคต ควรนำมาใช้เป็นหลักตัดสินผลการปฏิบัติของพุทธบริษัททุกรุ่น
ปัจจุบันนี้ มีพุทธบริษัทบางกลุ่มที่มุ่งเน้นการปฏิบัติ (เขาอ้างว่าอย่างนั้น) การมุ่งเน้นปฏิบัติของพุทธบริษัทนี้ ถ้าให้ถูกต้องตามหลักคำสอนของพระตถาคตก็ควรจะต้องปฏิบัติตามวิธีที่พระตถาคตได้แสดงไว้ และได้ผลเช่นเดียวกันกับพระตถาคต อริยสาวก ที่มีในพระไตรปิฎก
การเรียนรู้ถูก การปฏิบัติถูก นำไปสู่ผลที่ถูกต้อง
พระตถาคตท่านแนะนำวิธีการเรียนธรรมที่ถูก ในสมัยพุทธกาลผู้สนใจก็ไปฟังธรรมจากพระตถาคตบ้าง ฟังธรรมจากพระอริยะสาวกของพระตถาคตบ้าง ฟังธรรมจากภิกษุผู้เป็นธรรมกถึกบ้าง ฟังจากอุบาสกอุบาสิกาผู้มีความรู้ในพระธรรมบ้าง
ฟังธรรมเพื่อนำไปสู่การปรับทิฏฐิให้ถูกต้อง นำไปสู่การปฏิบัติที่ถูก และจึงจะได้ผลที่ถูก
ตัวอย่างการขอความรู้ การขอเรียนธรรมจากพระตถาคต และสาวกของพระตถาคต
อุตติยสูตร
[๙๕] ครั้งนั้นแล อุตติยปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ท่านโคดมผู้เจริญ โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า หรือหนอ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอุตติยะ ข้อนี้เราไม่พยากรณ์ ฯ
อ่านพระสูตรเต็มที่นี่
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=24&A=4423
อรรถกถาจารย์ท่านอธิบายว่า บางคำถามที่พระตถาคตไม่พยากรณ์ ไม่ตอบ เพราะผู้ถามมีมิจฉาทิฏฐิ เช่นพวกที่เห็นว่ามีอัตตา เป็นต้น
อุตติยสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ตุณฺ
อ่านอรรถกถาแปลที่นี่
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=95
อรรถกถาภาษาไทย แบับ มจร.2553
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ต่อไปนี้ พระตถาคตแสดงธรรม วิธีการปฏิบัติผิด วิธีการปฏิบัติถูก มาใน มิจฉัตตวรรคที่ ๓
มิจฉัตตวรรคที่ ๓ มิจฉัตตสูตร ความเห็นผิด-ความเห็นถูก
[๕๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงมิจฉัตตะ (ความผิด) และสัมมัตตะ (ความถูก) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
[๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉัตตะเป็นไฉน? ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจมั่นผิดนี้เรียกว่า มิจฉัตตะ.
[๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมัตตะเป็นไฉน? ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า สัมมัตตะ.
จบ สูตรที่ ๑
อกุศลธรรมสูตร อกุศลธรรม-กุศลธรรม
[๖๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอกุศลธรรมและกุศลธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
[๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อกุศลธรรมเป็นไฉน? ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจมั่นผิด นี้เรียกว่า อกุศลธรรม.
[๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กุศลธรรมเป็นไฉน? ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า กุศลธรรม.
จบ สูตรที่ ๒
ปฏิปทาสูตรที่ ๑ มิจฉาปฏิปทา-สัมมาปฏิปทา
[๖๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมิจฉาปฏิปทาและสัมมาปฏิปทาแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
[๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาปฏิปทาเป็นไฉน? ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจมั่นผิด นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา.
[๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาปฏิปทาเป็นไฉน? ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๓
ปฏิปทาสูตรที่ ๒ ว่าด้วยญายธรรม
[๖๘] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญมิจฉาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต
คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติผิดแล้ว ย่อมไม่ยังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติผิดเป็นตัวเหตุ
ก็มิจฉาปฏิปทาเป็นไฉน?
ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจมั่นผิด นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญมิจฉาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิตคฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติผิดแล้ว
ย่อมไม่ยังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติผิดเป็นตัวเหตุ.
[๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราสรรเสริญสัมมาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติชอบแล้ว
ย่อมยังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติชอบเป็นตัวเหตุ
ก็สัมมาปฏิปทาเป็นไฉน?
ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราสรรเสริญสัมมาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติชอบแล้ว
ย่อมยังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติชอบเป็นตัวเหตุ.
อุตติยสูตร เจริญอริยมรรคเพื่อละกามคุณ ๕
[๘๖] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์หลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ
ได้เกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า กามคุณ ๕ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว
กามคุณ ๕ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วเป็นไฉนหนอ?
[๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ อุตติยะ กามคุณ ๕ เหล่านี้ เรากล่าวไว้แล้วกามคุณ ๕ เป็นไฉน?
คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด
เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู ... กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก ... รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ...
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่น่ารัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด
ดูกรอุตติยะ กามคุณ ๕ เหล่านี้แล เรากล่าวไว้แล้ว.
[๘๘] ดูกรอุตติยะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญ เพื่อละกามคุณ ๕ เหล่านี้แล
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน? คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญ เพื่อละกามคุณ ๕ เหล่านี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๐
อ่านพระสูตรที่มาในวรรคนี้ที่นี่
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=375&Z=496
อรรถกถา มิจฉัตตวรรคที่ ๓ อธิบายไว้ว่า
พึงทราบวินิจฉัยในมิจฉัตตสูตรที่ ๑ แห่งมิจฉัตตวรรคที่ ๓.
บทว่า มิจฺฉตฺตํ แปลว่า มีความผิดสภาวะ.
บทว่า สมฺมตฺตํ แปลว่า มีความถูกเป็นสภาวะ.
บทว่า มิจฺฉาปฏิปตฺตาธิกรณเหตุ แปลว่า เพราะเหตุแห่งการปฏิบัติผิด อธิบายว่า เพราะเหตุทำการปฏิบัติผิด.
บทว่า นาราธโก ได้แก่ ไม่ถึงพร้อม.
บทว่า ญายํ ธมฺมํ ได้แก่ อริยมรรคธรรม.
บทว่า มิจฺฉาญาณี ความว่า รู้ผิด คือพิจารณาผิด.
บทว่า มิจฺฉาวิมุตฺติ ความว่า ไม่พ้นตามความจริง คือไม่ให้พ้นไปจากทุกข์.
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=86
อุตติยสูตร อาศัยศีลเจริญสติปัฏฐาน ๔
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[๗๕๐] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับฯลฯ
ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว
จะพึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวเถิด
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรอุตติยะ เพราะฉะนั้น เธอจงชำระเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์เสียก่อน
ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรม คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นอันตรง.
[๗๕๑] ดูกรอุตติยะ เมื่อใดแล ศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดี และความเห็นของเธอจักตรง
เมื่อนั้น เธอพึงอาศัยศีล ตั้งมั่นในศีลแล้ว เจริญสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
ดูกรอุตติยะ เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
เมื่อใดเธออาศัยศีล ตั้งมั่นในศีลแล้ว จักเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอจักไปพ้นฝั่งแห่งบ่วงมาร.
[๗๕๒] ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะ ชื่นชม อนุโมทนา ภาษิตของพระผู้มีพระภาค
แล้วลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป
ท่านพระอุตติยะหลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก
ก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
และท่านพระอุตติยะเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.
อ่านเพิ่มเติมที่นี่
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=19&A=4388
ผู้รวบรวม ยกชื่อสูตร อุตติยสูตร มาตั้งให้เห็นชัด
ทั้งนี้ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าชื่อนี้ที่ปรากฎเป็นสูตรทั้งหลายที่ยกมาเป็นชื่อเดียวกันนี้เป็นบุคคลเดียวกันหรือไม่
แต่มีลำดับเรื่องราวของบุคคลที่มีความเห็นผิด เป็นพวกสัสสตทิฏฐิ มาสอบถาม มาบวชในพระพุทธศาสนาแล้วปฏิบัติผิด ต่อมาจึงปรับแก้ไขทิฏฐิแล้วจึงปฏิบัติถูกเป็นต้น
เรื่องราวที่ยกตัวอย่างมานี้ คือ แสดงวิธีปฏิบัติ ผลปฏิบัติของพระตถาคต วิธีปฏิบัติที่พระตถาคตแนะนำแก้ไขความเห็นผิดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกและต่อมาได้ผลถูกต้อง ก็ควรจะเพียงพอต่อการนำผลปฏิบัตินี้ นำมาเป็นหลักตัดสินได้ว่า เรา หรือท่านนั้น ๆ ปฏิบัติถูกหรือผิด
ปริยัติ (ในพระไตรปิฎก) คือ บันทึกผลปฏิบัติของพระตถาคต ควรนำมาใช้เป็นหลักตัดสินผลการปฏิบัติของพุทธบริษัททุกรุ่น
การทักท้วงว่าใครปฏิบัติถูกหรือผิด ได้ผลถูกหรือผิด ก็คือ นำผลปฏิบัติของพระตถาคตซึ่งต่อมาคือปริยัติในพระไตรปิฎก มาเป็นหลักตัดสินว่าภิกษุปัจจุบัน พุทธบริษัทปัจจุบัน ว่า ท่านเหล่านั้นได้ผลปฏิบัติถูกหรือผิด
ไม่ใช่เอาผลของภิษุ A มารับรองภิกษุ B
ไม่ใช่เอาผลของนาย A มารับรองนาย B
เหตุผลที่แสดงมานี้ ก็ควรเป็นที่ยอมรับและพอที่จะเชื่อถือได้
เชิญสมาชิกแสดงความคิดเห็นอิงอรรถ อิงธรรม อิงวินัย อิงหลักฐาน อิงพระไตรปิฎก
ต่อเนื่องจากกระทู้นี้
ผลที่ได้รับจากการทำสมาธิ ของผู้ที่มี "มิจฉาทิฏฐิ" เปรียบเทียบกับ ผู้ที่มี "สัมมาทิฏฐิ"
https://pantip.com/topic/42631254
พุทธบริษัทที่ยังมีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ว่า จิตเที่ยง มีอัตตา ไม่ใช่ฐานะที่จะเป็นอริยะบุคคล
https://pantip.com/topic/42624990