ส.ส.แบงค์ ร้อง ลิฟต์-บันไดเลื่อน 5 สถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงเสีย ถาม ปล่อยไว้นานขนาดนี้ได้ไง?
https://www.matichon.co.th/politics/news_4508821
ส.ส.แบงค์ ร้อง ลิฟต์-บันไดเลื่อน รถไฟฟ้าสายสีแดงเสีย ถาม ปล่อยไว้นานขนาดนี้ได้ไง?
เมื่อวันที่ 3 เมษายน นาย
ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ หรือ แบงค์ ส.ส.กทม.พรรคก้าวไกล เขต 9 (บางเขน, จตุจักร, หลักสี่) ได้โพสต์ปัญหาลิฟต์และบันไดเลื่อน 5 สถานี ในรถไฟฟาสายสีแดง โดยระบุว่า
ส่องลิฟต์-บันไดเลื่อน 5 สถานี รถไฟฟ้าสายสีแดง พังแล้ว-พังอยู่-พังต่อ กี่ตัว?
– จตุจักร: ลิฟต์ 0/3 บันไดเลื่อน 3/6
– วัดเสมียนนารี: ลิฟต์ 1/4 บันไดเลื่อน 0/6
– บางเขน: ลิฟต์ 2/4 บันไดเลื่อน 1/6
– ทุ่งสองห้อง: ลิฟต์ 2/4 บันไดเลื่อน 0/6
– หลักสี่: ลิฟต์ 1/4 บันไดเลื่อน 0/6
หลายจุดเสียมานานหลายเดือน และยังคงเสียต่อไป บางจุดปล่อยเสียร่วมปี เพิ่งเปิดให้ใช้ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
คำถามประเด็นสำคัญคือ การรถไฟแห่งประเทศไทย รฟท. ปล่อยให้เสียมานาน ที่ผ่านมาทำอะไรอยู่?
และสัญญาบริหารซ่อมบำรุง ไปตกลงกันแบบไหน ถึงปล่อยให้เสียได้นานขนาดนี้?
ส่วนตัวผมไม่เคยเห็นลิฟต์-บันไดเลื่อน ไม่ว่าจะในห้าง หรือสนามบิน ในไทย หรือสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในต่างประเทศ ที่หน่วยงานจะปล่อยให้เสียนานเป็นเดือนๆ และเสียหลายๆจุดพร้อมกันครับ
ข้อมูลจากการลงพื้นที่สำรวจ ณ วันที่ 31/3/67
https://www.facebook.com/suphanat.minchaiynunt/posts/pfbid02KWKexpYD7YMn47wJn5aQLBEtCq8oKmg37s24UoqvVjDUFBw9rv1kkSAdzXgxwYAUl
พนิดา ชี้รบ. ‘เศรษฐา’ ไม่ต่างจากสมัยบิ๊กตู่ ถามคืนความยุติธรรมให้ปชช. ทำได้เลยทำไมไม่ทำ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4508531
‘พนิดา’ ถาม ‘เศรษฐา’ กระบวนการยุติธรรมหน้าตาเป็นอย่างไร จวก รัฐบาลชุดนี้ไม่ต่างจากชุดที่แล้ว แนะ หากจะฟื้นฟูหลักนิติรัฐนิติธรรมก็สามารถทำได้เลย เหน็บที่บอกตั้ง รบ.สลายขั้วความขัดแย้ง คือสลายขั้วผู้มีอำนาจเดิมให้มารวมตัวตั้ง รบ.เฉพาะกิจ อำนวยความยุติธรรมเฉพาะเรื่อง ทิ้ง ปชช.ไว้ข้างหลังเหมือนเดิม
เมื่อวันที่ 3 เมษายน ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยไม่มีการลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 152 ของพรรคร่วมฝ่ายค้าน
ต่อมาเวลา 21.50 น. น.ส.
พนิดา มงคลสวัสดิ์ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) อภิปรายเกี่ยวกับหลักนิติรัฐ นิติธรรม ว่า ตนมั่นใจว่าไม่ได้มีแค่พรรค ก.ก. ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ แต่นาย
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เองเมื่อครั้งปราศรัยหาเสียงที่ จ.เชียงใหม่ ก็เคยให้คำมั่นสัญญาว่าจากนี้ไป 4 ปี ถ้านายกรัฐมนตรีมาจากพรรคเพื่อไทย (พท.) ความยากจนต้องหมดไป สิทธิเสรีภาพของพี่น้องประชาชนต้องถูกคืน รวมถึงนโยบายของพรรค พท. ก็มีเรื่องการให้ความสำคัญกับหลักสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพของประชาชน และปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม
นอกจากนี้ ตอนที่พรรค พท. เป็นฝ่ายค้านก็เคยออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลในขณะนั้น หยุดคุกคามผู้เห็นต่างทางความคิด และนักโทษทางความคิดต้องได้สิทธิประกันตัว แน่นอนว่า คดีการเมืองจึงเป็นหนึ่งสิ่งที่สังคมคาดหวังว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไป ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากรัฐบาล คสช. สู่รัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน มีผู้นำเป็นพลเรือนมาจากพรรคผู้ซึ่งถูกกระทำมาโดยตลอดร่วมสู้เคียงข้างประชาชน เรียกร้องประชาธิปไตยตลอดมา ซึ่งหลายคนก็เคยถูกนิติสงครามเล่นงาน เคยต้องคดีถูกจับกุม จนทุกวันนี้ออกมาแล้ว
พวกท่านต้องเข้าใจหัวอกคนที่ถูกคุมขังจากคดีการเมือง และรู้ซึ้งถึงความเจ็บปวดของพวกเขาไม่มากก็น้อย อีกทั้ง คำประกาศอย่างเป็นทางการครั้งแรกหลังปฏิญานตนเข้ารับตำแหน่งของนายเศรษฐา ท่านก็ให้คำมั่นสัญญาว่า รัฐบาลนี้จะสร้างความชอบธรรมในการบริหารราชการแผ่นดิน ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข ด้วยการฟื้นฟูหลักนิติธรรมที่เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ภายใต้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงตอนแถลงนโยบายต่อรัฐสภา แม้จะไม่ได้มีความชัดเจนมาก แต่ก็ได้ย้ำถึงเรื่องการฟื้นฟูนิติธรรม และล่าสุดยังเดินเกมรุกประกาศคัมแบคสู่เวทีโลก ลงสมัครเข้ารับเลือกเป็นสมาชิก UNHRC คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติที่จะเกิดขึ้นในเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีที่รัฐบาลแสดงจุดยืนว่าจะนำเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นวาระเร่งด่วนแห่งชาติ
ฉะนั้น เราคาดหวังได้แน่นอนว่าจะได้เห็นการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ความเห็นต่างทางการเมืองจะคลี่คลาย สถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงจะต้องเบาบางลง
น.ส.
พนิดา กล่าวด้วยว่า พรรค ก.ก. แม้จะเป็นฝ่ายค้านก็รู้สึกมีความหวังว่าพอจะเป็นไปได้ ดูเป็นทิศทางที่ดีที่ แต่ในความเป็นจริงแล้วหลังตั้งรัฐบาลผ่านมา 7 เดือน สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือเรายังไม่เห็นรูปธรรมของความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหานี้สักนิด ซ้ำร้ายท่านกลับปล่อยให้สถานการณ์ดำเนินไปอย่างไร้รอยต่อ ไม่มีการวางแนวนโยบาย ไม่มีการออกคำสั่งใดๆ ให้ ลด ละ เลิก การจับกุมคุมขังคดีทางการเมือง ไร้ซึ่งแผนการดำเนินงาน
ซึ่งตนก็เฝ้ารอว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ แต่เมื่อเห็นคำให้สัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรีก็พบว่าคำตอบของนาย
เศรษฐาไม่แยแสอะไรเลย เมื่อสื่อตั้งคำถามถึงนักโทษคดีการเมือง ท่านก็ตอบอย่างมั่นใจว่า ท่านมองนักโทษทางการเมืองว่าต้องเป็นไปตามกระบวนการศาลยุติธรรมว่าเป็นอย่างไร การที่นายกรัฐมนตรีให้ความเห็นเช่นนี้ หลายท่านอาจมองว่าก็เป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่ตนมองว่าเป็นเรื่องอันตราย
“
ท่านนายกรัฐมนตรีพูดเช่นนี้ได้อย่างไร เพราะแทบไม่ต่างจากสมัยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่พยายามจะปฏิเสธตลอดว่า คดีการเมืองไม่ใช่เรื่องการเมืองแต่เป็นเรื่องของกฏหมาย เป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม รัฐบาลไม่เกี่ยว ทั้งที่โดยข้อเท็จจริงท่านปฏิเสธไม่ได้ เราเห็นกันชัดๆ ว่าคดีทางการเมืองที่เกิดขึ้นนั้น เกิดขึ้นจากความขัดแย้งทางการเมือง ความคิดเห็นที่แตกต่างกันทางการเมือง และมีการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการจัดการกับคนที่มีความคิดเห็นแตกต่างจากรัฐ กระบวนการยุติธรรมก็ผิดปกติ จนมีการเรียกร้องเรื่องนิติรัฐนิติธรรมกันเป็นวงกว้าง
จะเห็นได้ว่าคดีการเมืองคือคดีนโยบายที่ความหนักเบาหรือการบังคับใช้กฎหมายจะแปรผันไปตามวิสัยทัศน์ของผู้นำ ซึ่งคดีเหล่านี้รัฐบาลสามารถเข้าไปใช้อำนาจเพื่อดำเนินคดีหรือยุติคดีทางการเมืองได้ ด้วยการกำหนดเป็นแนวทางในการปฎิบัติ ออกเป็นมติคณะรัฐมนตรี ออกประกาศขอความร่วมมือจากทุกหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม เพราะนโยบายจากฝ่ายบริหารจะกำหนดทิศทางการดำเนินการของทุกภาคส่วนได้ แล้วท่านเอาความมั่นใจที่ไหนไปเสนอตัวลงเลือกตั้งบอร์ดสิทธิมนุษยชนของยูเอ็น ท่านบริหารประเทศมา 7 เดือนแล้ว แนวทางปฏิบัติในการปกป้องสิทธิมนุษยชน หรือฟื้นคืนความยุติธรรมให้ประชาชนยังไม่มีด้วยซ้ำ เขินหรือไม่ เวลาป่าวประกาศออกมาว่านี่คือการคัมแบคสู่เวทีโลก คัมแบคอย่างไร แค่สลัดคราบเผด็จการยังไม่พ้น” น.ส.
พนิดา กล่าว
น.ส.
พนิดา กล่าวอีกว่า เมื่อมาพิจารณาสถานการณ์ในปัจจุบันดีๆ สิ่งที่ชี้ให้เห็นชัดว่าปรากฎการณ์ใดที่เกิดขึ้นในรัฐบาลชุดก่อนแล้วก็ยังคงเกิดขึ้นในรัฐบาลชุดนี้อยู่ และมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นต่อ หากท่านไม่ดำเนินการใดๆ ซึ่งสิ่งที่ตนตั้งคำถามมาตลอดคือ ระเบียบปฏิบัติเจ้าหน้าที่รัฐกับมาตรการดูแลความปลอดภัยเป็นอย่างไร เป็นไปตามหลักการสากลหรือไม่ เหตุใดจึงมีการกระทำเกินกว่าเหตุซ้ำแล้วซ้ำเล่า และตนไม่เคยเห็นว่ามีใครต้องรับผิดชอบต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับประชาชน
จากวันนั้นจนถึงวันนี้ยังเหมือนเดิม ท่านยังปล่อยให้ตำรวจทำเหมือนเดิม จนแทบแยกไม่ออกเลยว่า นี่คือรัฐบาลของนายเศรษฐาหรือรัฐบาลของพล.อ.
ประยุทธ์ ทั้งนี้ จริงๆ แล้ว เรื่องนี้นายกรัฐมนตรี ในฐานะที่พ่วงด้วยตำแหน่งประธาน กตร. ท่านมีหน้าที่กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่วนงานราชการที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของท่านโดยตรงอยู่แล้ว บรรทัดฐานขั้นต่ำที่สุดคือต้องออกคำสั่งไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจคุกคามประชาชนที่แสดงออกทางการเมืองโดยสันติ ซึ่งสิ่งนี้ถือว่าผิดกฎหมาย และการเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายต้องอย่าทำผิดกฎหมายเอง
ทั้งนี้ ภายใต้รัฐบาลชุดนี้ก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ยังปล่อยให้ใครก็ได้กล่าวหากันด้วยข้อหาความมั่นคงร้ายแรง ซึ่งแปลว่าท่านไม่มีกระบวนการกลั่นกรองในการที่จะพิจารณาดำเนินคดีที่เป็นข้อหาความมั่นคงเลย ท่านปล่อยให้มีการใช้นิติสงครามป็นวงกว้างเช่นนี้ได้อย่างไร
น.ส.
พนิดา กล่าวด้วยว่า ตนจึงมีคำถามฝากไปยังนายกรัฐมนตรีว่า ท่านยังยืนยันหรือไม่ว่ากระบวนยุติธรรมของบ้านเราเป็นปกติอยู่ดีแล้ว ไม่มีปัญหาเรื่องคดีทางการเมือง ไม่มีความผิดปกติในกระบวนการยุติธรรม ไม่มีการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ยุติธรรมต่อผู้มีความเห็นต่างทางการเมือง และตกลงแล้วหลักนิติธรรมที่อยู่ในนโยบายเร่งด่วนที่ท่านจะฟื้นฟู หน้าตาเป็นเช่นนี้ใช่หรือไม่
แล้วท่านไม่ต้องมาตอบว่า รัฐบาลใหม่ก็ให้ความสำคัญ เพราะกำลังศึกษาการออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรมฯ อยู่ ข้อนี้เราทราบดีอยู่แล้ว ถ้าจะตอบแค่นี้ก็ไม่ต้องลุกขึ้นมาพูด แน่นอนเรื่องนี้ต้องใช้เวลา ปัจจุบันยังอยู่เพียงในชั้นกรรมาธิการด้วยซ้ำ และเราพร้อมสนับสนุนเต็มที่
แต่สิ่งที่ตนอภิปรายวันนี้คือ ท่านไม่ต้องรอช่องทางนั้น ท่านมีกระดุมเม็ดแรกที่สามารถเริ่มต้นได้เลยตั้งแต่วันนี้หรือตั้งแต่ 7 เดือนที่แล้ว เพราะตนไม่ได้บอกให้นายกรัฐมนตรีทำอะไรที่พลิกฟ้าพลิกแผ่นดิน ไม่ได้ขอให้ท่านไม่บังคับใช้กฎหมาย แต่ตนแค่บอกว่าให้ท่านทำในสิ่งที่เป็นปกติ เป็นสากล เหมือนที่ท่านเคยให้คำมั่นสัญญากับประชาชนไว้ นั่นคือการขอให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้นำรัฐบาลใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร เพื่อปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมในขอบเขตที่ท่านทำได้ คือ ท่านต้องมีนโยบายไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่เป็นด่านแรกกระบวนการยุติธรรม รวมถึงเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงว่า การคุกคามประชาชนต้องไม่มี การกลั่นกรองคดีต้องเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ต้องไม่ปล่อยให้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีกันมั่ว หรือยัดข้อหาที่รุนแรงเกินจริง ไม่ได้สัดส่วน เจ้าหน้าที่ตำรวจเคารพสิทธิในกระบวนการยุติธรรม คืนสิทธิในการประกันตัวตั้งแต่ชั้นตำรวจ
ทั้งนี้ ในฐานะฝ่ายบริหารท่านสามารถมีนโยบายซึ่งไม่ใช่เฉพาะในชั้นตำรวจเท่านั้น แต่ในชั้นอัยการก็สามารถทำได้ ซึ่งตนไม่ได้บอกให้ท่านไปแทรกแซงอำนาจอัยการ แต่ในชั้นอัยการมีระเบียบข้อนี้อยู่ โดยอาศัยระเบียบสํานักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการสั่งคดีอาญาที่จะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน หรือจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคงของชาติ หรือต่อผลประโยชน์อันสําคัญของประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 ในข้อที่ 7 ซึ่งวางหลักว่า ในกรณีที่พนักงานอัยการเห็นว่าการฟ้องคดีจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัย หรือความมั่นคงของชาติ หรือต่อผลประโยชน์อันสําคัญของประเทศ ให้พนักงานอัยการ พิจารณาโดยแสดงเหตุผลอันสมควรประกอบ โดยให้คํานึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีระบุไว้ใน อนุสี่ คือ เหตุผลตามความเห็นของรัฐบาลโดยมติคณะรัฐมนตรี ถึงผลกระทบต่อความปลอดภัย หรือความมั่นคงของชาติ หรือต่อผลประโยชน์อันสําคัญของประเทศ ซึ่งในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาก็เคยมีการใช้ระเบียบข้อนี้ถอนฟ้องหรือไม่สั่งฟ้องในคดีความมั่นคงต่างๆ มาแล้ว ในระเบียบก็บอกว่าถ้าเป็นคดีความมั่นคง รัฐบาลสามารถออกแนวนโยบายได้ อัยการสามารถใช้ช่องทางนี้ได้ หรือแม้กระทั่งในชั้นศาล ตนเชื่อว่าหากรัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนเรื่องนี้ เพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อยุติความขัดแย้ง ก็เชื่อว่ามันจะมีส่วนที่จะทำให้ฝ่ายตุลาการ สามารถพิจารณาคดีที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถูกดำเนินคดีทางการเมืองได้
JJNY : ส.ส.แบงค์ร้อง ลิฟต์-บันไดสายสีแดงเสีย│พนิดาถามคืนความยุติธรรม│น้ำมันแตะระดับสูงสุด│แผ่นดินไหวไต้หวันเสียเพิ่ม
https://www.matichon.co.th/politics/news_4508821
ส.ส.แบงค์ ร้อง ลิฟต์-บันไดเลื่อน รถไฟฟ้าสายสีแดงเสีย ถาม ปล่อยไว้นานขนาดนี้ได้ไง?
เมื่อวันที่ 3 เมษายน นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ หรือ แบงค์ ส.ส.กทม.พรรคก้าวไกล เขต 9 (บางเขน, จตุจักร, หลักสี่) ได้โพสต์ปัญหาลิฟต์และบันไดเลื่อน 5 สถานี ในรถไฟฟาสายสีแดง โดยระบุว่า
ส่องลิฟต์-บันไดเลื่อน 5 สถานี รถไฟฟ้าสายสีแดง พังแล้ว-พังอยู่-พังต่อ กี่ตัว?
– จตุจักร: ลิฟต์ 0/3 บันไดเลื่อน 3/6
– วัดเสมียนนารี: ลิฟต์ 1/4 บันไดเลื่อน 0/6
– บางเขน: ลิฟต์ 2/4 บันไดเลื่อน 1/6
– ทุ่งสองห้อง: ลิฟต์ 2/4 บันไดเลื่อน 0/6
– หลักสี่: ลิฟต์ 1/4 บันไดเลื่อน 0/6
หลายจุดเสียมานานหลายเดือน และยังคงเสียต่อไป บางจุดปล่อยเสียร่วมปี เพิ่งเปิดให้ใช้ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
คำถามประเด็นสำคัญคือ การรถไฟแห่งประเทศไทย รฟท. ปล่อยให้เสียมานาน ที่ผ่านมาทำอะไรอยู่?
และสัญญาบริหารซ่อมบำรุง ไปตกลงกันแบบไหน ถึงปล่อยให้เสียได้นานขนาดนี้?
ส่วนตัวผมไม่เคยเห็นลิฟต์-บันไดเลื่อน ไม่ว่าจะในห้าง หรือสนามบิน ในไทย หรือสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในต่างประเทศ ที่หน่วยงานจะปล่อยให้เสียนานเป็นเดือนๆ และเสียหลายๆจุดพร้อมกันครับ
ข้อมูลจากการลงพื้นที่สำรวจ ณ วันที่ 31/3/67
https://www.facebook.com/suphanat.minchaiynunt/posts/pfbid02KWKexpYD7YMn47wJn5aQLBEtCq8oKmg37s24UoqvVjDUFBw9rv1kkSAdzXgxwYAUl
พนิดา ชี้รบ. ‘เศรษฐา’ ไม่ต่างจากสมัยบิ๊กตู่ ถามคืนความยุติธรรมให้ปชช. ทำได้เลยทำไมไม่ทำ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4508531
‘พนิดา’ ถาม ‘เศรษฐา’ กระบวนการยุติธรรมหน้าตาเป็นอย่างไร จวก รัฐบาลชุดนี้ไม่ต่างจากชุดที่แล้ว แนะ หากจะฟื้นฟูหลักนิติรัฐนิติธรรมก็สามารถทำได้เลย เหน็บที่บอกตั้ง รบ.สลายขั้วความขัดแย้ง คือสลายขั้วผู้มีอำนาจเดิมให้มารวมตัวตั้ง รบ.เฉพาะกิจ อำนวยความยุติธรรมเฉพาะเรื่อง ทิ้ง ปชช.ไว้ข้างหลังเหมือนเดิม
เมื่อวันที่ 3 เมษายน ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยไม่มีการลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 152 ของพรรคร่วมฝ่ายค้าน
ต่อมาเวลา 21.50 น. น.ส.พนิดา มงคลสวัสดิ์ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) อภิปรายเกี่ยวกับหลักนิติรัฐ นิติธรรม ว่า ตนมั่นใจว่าไม่ได้มีแค่พรรค ก.ก. ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ แต่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เองเมื่อครั้งปราศรัยหาเสียงที่ จ.เชียงใหม่ ก็เคยให้คำมั่นสัญญาว่าจากนี้ไป 4 ปี ถ้านายกรัฐมนตรีมาจากพรรคเพื่อไทย (พท.) ความยากจนต้องหมดไป สิทธิเสรีภาพของพี่น้องประชาชนต้องถูกคืน รวมถึงนโยบายของพรรค พท. ก็มีเรื่องการให้ความสำคัญกับหลักสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพของประชาชน และปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม
นอกจากนี้ ตอนที่พรรค พท. เป็นฝ่ายค้านก็เคยออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลในขณะนั้น หยุดคุกคามผู้เห็นต่างทางความคิด และนักโทษทางความคิดต้องได้สิทธิประกันตัว แน่นอนว่า คดีการเมืองจึงเป็นหนึ่งสิ่งที่สังคมคาดหวังว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไป ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากรัฐบาล คสช. สู่รัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน มีผู้นำเป็นพลเรือนมาจากพรรคผู้ซึ่งถูกกระทำมาโดยตลอดร่วมสู้เคียงข้างประชาชน เรียกร้องประชาธิปไตยตลอดมา ซึ่งหลายคนก็เคยถูกนิติสงครามเล่นงาน เคยต้องคดีถูกจับกุม จนทุกวันนี้ออกมาแล้ว
พวกท่านต้องเข้าใจหัวอกคนที่ถูกคุมขังจากคดีการเมือง และรู้ซึ้งถึงความเจ็บปวดของพวกเขาไม่มากก็น้อย อีกทั้ง คำประกาศอย่างเป็นทางการครั้งแรกหลังปฏิญานตนเข้ารับตำแหน่งของนายเศรษฐา ท่านก็ให้คำมั่นสัญญาว่า รัฐบาลนี้จะสร้างความชอบธรรมในการบริหารราชการแผ่นดิน ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข ด้วยการฟื้นฟูหลักนิติธรรมที่เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ภายใต้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงตอนแถลงนโยบายต่อรัฐสภา แม้จะไม่ได้มีความชัดเจนมาก แต่ก็ได้ย้ำถึงเรื่องการฟื้นฟูนิติธรรม และล่าสุดยังเดินเกมรุกประกาศคัมแบคสู่เวทีโลก ลงสมัครเข้ารับเลือกเป็นสมาชิก UNHRC คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติที่จะเกิดขึ้นในเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีที่รัฐบาลแสดงจุดยืนว่าจะนำเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นวาระเร่งด่วนแห่งชาติ
ฉะนั้น เราคาดหวังได้แน่นอนว่าจะได้เห็นการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ความเห็นต่างทางการเมืองจะคลี่คลาย สถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงจะต้องเบาบางลง
น.ส.พนิดา กล่าวด้วยว่า พรรค ก.ก. แม้จะเป็นฝ่ายค้านก็รู้สึกมีความหวังว่าพอจะเป็นไปได้ ดูเป็นทิศทางที่ดีที่ แต่ในความเป็นจริงแล้วหลังตั้งรัฐบาลผ่านมา 7 เดือน สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือเรายังไม่เห็นรูปธรรมของความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหานี้สักนิด ซ้ำร้ายท่านกลับปล่อยให้สถานการณ์ดำเนินไปอย่างไร้รอยต่อ ไม่มีการวางแนวนโยบาย ไม่มีการออกคำสั่งใดๆ ให้ ลด ละ เลิก การจับกุมคุมขังคดีทางการเมือง ไร้ซึ่งแผนการดำเนินงาน
ซึ่งตนก็เฝ้ารอว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ แต่เมื่อเห็นคำให้สัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรีก็พบว่าคำตอบของนายเศรษฐาไม่แยแสอะไรเลย เมื่อสื่อตั้งคำถามถึงนักโทษคดีการเมือง ท่านก็ตอบอย่างมั่นใจว่า ท่านมองนักโทษทางการเมืองว่าต้องเป็นไปตามกระบวนการศาลยุติธรรมว่าเป็นอย่างไร การที่นายกรัฐมนตรีให้ความเห็นเช่นนี้ หลายท่านอาจมองว่าก็เป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่ตนมองว่าเป็นเรื่องอันตราย
“ท่านนายกรัฐมนตรีพูดเช่นนี้ได้อย่างไร เพราะแทบไม่ต่างจากสมัยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่พยายามจะปฏิเสธตลอดว่า คดีการเมืองไม่ใช่เรื่องการเมืองแต่เป็นเรื่องของกฏหมาย เป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม รัฐบาลไม่เกี่ยว ทั้งที่โดยข้อเท็จจริงท่านปฏิเสธไม่ได้ เราเห็นกันชัดๆ ว่าคดีทางการเมืองที่เกิดขึ้นนั้น เกิดขึ้นจากความขัดแย้งทางการเมือง ความคิดเห็นที่แตกต่างกันทางการเมือง และมีการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการจัดการกับคนที่มีความคิดเห็นแตกต่างจากรัฐ กระบวนการยุติธรรมก็ผิดปกติ จนมีการเรียกร้องเรื่องนิติรัฐนิติธรรมกันเป็นวงกว้าง
จะเห็นได้ว่าคดีการเมืองคือคดีนโยบายที่ความหนักเบาหรือการบังคับใช้กฎหมายจะแปรผันไปตามวิสัยทัศน์ของผู้นำ ซึ่งคดีเหล่านี้รัฐบาลสามารถเข้าไปใช้อำนาจเพื่อดำเนินคดีหรือยุติคดีทางการเมืองได้ ด้วยการกำหนดเป็นแนวทางในการปฎิบัติ ออกเป็นมติคณะรัฐมนตรี ออกประกาศขอความร่วมมือจากทุกหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม เพราะนโยบายจากฝ่ายบริหารจะกำหนดทิศทางการดำเนินการของทุกภาคส่วนได้ แล้วท่านเอาความมั่นใจที่ไหนไปเสนอตัวลงเลือกตั้งบอร์ดสิทธิมนุษยชนของยูเอ็น ท่านบริหารประเทศมา 7 เดือนแล้ว แนวทางปฏิบัติในการปกป้องสิทธิมนุษยชน หรือฟื้นคืนความยุติธรรมให้ประชาชนยังไม่มีด้วยซ้ำ เขินหรือไม่ เวลาป่าวประกาศออกมาว่านี่คือการคัมแบคสู่เวทีโลก คัมแบคอย่างไร แค่สลัดคราบเผด็จการยังไม่พ้น” น.ส.พนิดา กล่าว
น.ส.พนิดา กล่าวอีกว่า เมื่อมาพิจารณาสถานการณ์ในปัจจุบันดีๆ สิ่งที่ชี้ให้เห็นชัดว่าปรากฎการณ์ใดที่เกิดขึ้นในรัฐบาลชุดก่อนแล้วก็ยังคงเกิดขึ้นในรัฐบาลชุดนี้อยู่ และมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นต่อ หากท่านไม่ดำเนินการใดๆ ซึ่งสิ่งที่ตนตั้งคำถามมาตลอดคือ ระเบียบปฏิบัติเจ้าหน้าที่รัฐกับมาตรการดูแลความปลอดภัยเป็นอย่างไร เป็นไปตามหลักการสากลหรือไม่ เหตุใดจึงมีการกระทำเกินกว่าเหตุซ้ำแล้วซ้ำเล่า และตนไม่เคยเห็นว่ามีใครต้องรับผิดชอบต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับประชาชน
จากวันนั้นจนถึงวันนี้ยังเหมือนเดิม ท่านยังปล่อยให้ตำรวจทำเหมือนเดิม จนแทบแยกไม่ออกเลยว่า นี่คือรัฐบาลของนายเศรษฐาหรือรัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ ทั้งนี้ จริงๆ แล้ว เรื่องนี้นายกรัฐมนตรี ในฐานะที่พ่วงด้วยตำแหน่งประธาน กตร. ท่านมีหน้าที่กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่วนงานราชการที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของท่านโดยตรงอยู่แล้ว บรรทัดฐานขั้นต่ำที่สุดคือต้องออกคำสั่งไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจคุกคามประชาชนที่แสดงออกทางการเมืองโดยสันติ ซึ่งสิ่งนี้ถือว่าผิดกฎหมาย และการเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายต้องอย่าทำผิดกฎหมายเอง
ทั้งนี้ ภายใต้รัฐบาลชุดนี้ก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ยังปล่อยให้ใครก็ได้กล่าวหากันด้วยข้อหาความมั่นคงร้ายแรง ซึ่งแปลว่าท่านไม่มีกระบวนการกลั่นกรองในการที่จะพิจารณาดำเนินคดีที่เป็นข้อหาความมั่นคงเลย ท่านปล่อยให้มีการใช้นิติสงครามป็นวงกว้างเช่นนี้ได้อย่างไร
น.ส.พนิดา กล่าวด้วยว่า ตนจึงมีคำถามฝากไปยังนายกรัฐมนตรีว่า ท่านยังยืนยันหรือไม่ว่ากระบวนยุติธรรมของบ้านเราเป็นปกติอยู่ดีแล้ว ไม่มีปัญหาเรื่องคดีทางการเมือง ไม่มีความผิดปกติในกระบวนการยุติธรรม ไม่มีการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ยุติธรรมต่อผู้มีความเห็นต่างทางการเมือง และตกลงแล้วหลักนิติธรรมที่อยู่ในนโยบายเร่งด่วนที่ท่านจะฟื้นฟู หน้าตาเป็นเช่นนี้ใช่หรือไม่
แล้วท่านไม่ต้องมาตอบว่า รัฐบาลใหม่ก็ให้ความสำคัญ เพราะกำลังศึกษาการออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรมฯ อยู่ ข้อนี้เราทราบดีอยู่แล้ว ถ้าจะตอบแค่นี้ก็ไม่ต้องลุกขึ้นมาพูด แน่นอนเรื่องนี้ต้องใช้เวลา ปัจจุบันยังอยู่เพียงในชั้นกรรมาธิการด้วยซ้ำ และเราพร้อมสนับสนุนเต็มที่
แต่สิ่งที่ตนอภิปรายวันนี้คือ ท่านไม่ต้องรอช่องทางนั้น ท่านมีกระดุมเม็ดแรกที่สามารถเริ่มต้นได้เลยตั้งแต่วันนี้หรือตั้งแต่ 7 เดือนที่แล้ว เพราะตนไม่ได้บอกให้นายกรัฐมนตรีทำอะไรที่พลิกฟ้าพลิกแผ่นดิน ไม่ได้ขอให้ท่านไม่บังคับใช้กฎหมาย แต่ตนแค่บอกว่าให้ท่านทำในสิ่งที่เป็นปกติ เป็นสากล เหมือนที่ท่านเคยให้คำมั่นสัญญากับประชาชนไว้ นั่นคือการขอให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้นำรัฐบาลใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร เพื่อปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมในขอบเขตที่ท่านทำได้ คือ ท่านต้องมีนโยบายไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่เป็นด่านแรกกระบวนการยุติธรรม รวมถึงเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงว่า การคุกคามประชาชนต้องไม่มี การกลั่นกรองคดีต้องเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ต้องไม่ปล่อยให้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีกันมั่ว หรือยัดข้อหาที่รุนแรงเกินจริง ไม่ได้สัดส่วน เจ้าหน้าที่ตำรวจเคารพสิทธิในกระบวนการยุติธรรม คืนสิทธิในการประกันตัวตั้งแต่ชั้นตำรวจ
ทั้งนี้ ในฐานะฝ่ายบริหารท่านสามารถมีนโยบายซึ่งไม่ใช่เฉพาะในชั้นตำรวจเท่านั้น แต่ในชั้นอัยการก็สามารถทำได้ ซึ่งตนไม่ได้บอกให้ท่านไปแทรกแซงอำนาจอัยการ แต่ในชั้นอัยการมีระเบียบข้อนี้อยู่ โดยอาศัยระเบียบสํานักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการสั่งคดีอาญาที่จะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน หรือจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคงของชาติ หรือต่อผลประโยชน์อันสําคัญของประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 ในข้อที่ 7 ซึ่งวางหลักว่า ในกรณีที่พนักงานอัยการเห็นว่าการฟ้องคดีจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัย หรือความมั่นคงของชาติ หรือต่อผลประโยชน์อันสําคัญของประเทศ ให้พนักงานอัยการ พิจารณาโดยแสดงเหตุผลอันสมควรประกอบ โดยให้คํานึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีระบุไว้ใน อนุสี่ คือ เหตุผลตามความเห็นของรัฐบาลโดยมติคณะรัฐมนตรี ถึงผลกระทบต่อความปลอดภัย หรือความมั่นคงของชาติ หรือต่อผลประโยชน์อันสําคัญของประเทศ ซึ่งในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาก็เคยมีการใช้ระเบียบข้อนี้ถอนฟ้องหรือไม่สั่งฟ้องในคดีความมั่นคงต่างๆ มาแล้ว ในระเบียบก็บอกว่าถ้าเป็นคดีความมั่นคง รัฐบาลสามารถออกแนวนโยบายได้ อัยการสามารถใช้ช่องทางนี้ได้ หรือแม้กระทั่งในชั้นศาล ตนเชื่อว่าหากรัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนเรื่องนี้ เพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อยุติความขัดแย้ง ก็เชื่อว่ามันจะมีส่วนที่จะทำให้ฝ่ายตุลาการ สามารถพิจารณาคดีที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถูกดำเนินคดีทางการเมืองได้