เรื่องจริงของพระราชโอรสที่ค้นพบเมืองโบราณที่สาบสูญในจังหวัดเพชรบูรณ์ | ศรีเทพ

ลองนึกภาพคุณอยู่ในห้องสมุดและพบหนังสือเก่ามากเล่มหนึ่ง ด้วยความอยากรู้อยากเห็น คุณจึงเปิดมันขึ้นมาและพบรายชื่อเมืองเก่า แต่มีชื่อนึงที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน 
เม่าอ่านหลังจากค้นคว้าข้อมูลแล้ว คุณก็ออกเดินทางเพื่อค้นหามัน 

คุณล่องเรือไปตามแม่น้ำ ในที่สุดคุณก็มาถึงจุดหมายปลายทาง...แต่มีเพียงป่าทึบเท่านั้นเพี้ยนส่อง
เมื่อคุณมองไปรอบๆ อีกครั้ง คุณสังเกตว่าใต้พุ่มไม้มีซากปักหักพังโบราณกระจัดกระจายอยู่ทั่วพื้นป่าเลย

เนี่ยคือเมืองศรีเทพที่สาบสูญไปนานหลายร้อยปี 

เราจะย้อนเวลากลับไป 120 ปีเพื่อติดตาม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในการค้นพบ เมืองโบราณศรีเทพ ซึ่งเพิ่งจะกลายเป็นมรดกโลกโดย ยูเนสโก (UNESCO) ล่าสุดเลยของประเทศไทยเมื่อปี 2566 นี่เอง
ว่ากันว่าเป็นหนึ่งในการเดินทางที่กล้าหาญที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยเลย


ใครคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ?

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จัสมินขอเรียกสั้นๆว่า กรมพระยาดำรงนะคะ ท่านประสูติในพระบรมมหาราชวังเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1862 บิดาของท่านคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.4 และมารดาคือ เจ้าจอมมารดาชุ่ม ซึ่ง กรมพระยาดำรง เป็นลูกคนเดียวของเจ้าจอมมารดาชุ่ม 

เมื่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.5 ขึ้นคลองราชย์นั้น กรมพระยาดำรง อายุราวๆ 6 ปีเอง ท่านเล่าว่าบางทีได้ขึ้นไปนั่งเก้าอี้(บัลลังก์) สนุกดี  แล้วถ้าวันไหนคนนั่งโต๊ะขาดจำนวน ก็โปรดเกล้าให้เรียกน้องๆเนี่ยไปนั่งเก้าอี้ที่ว่าง ได้กินไอติมที่ชอบด้วยนะ (ไอติมเป็นของวิเศษมากในสมัยนั้น)
เพี้ยนลาเวนเดอร์
กรมพระยาดำรง เริ่มเรียนหนังสือและภาษาอังกฤษที่ โรงเรียนหลวงในพระราชวัง

ท่านเริ่มศึกษาโบราณคดีและเรื่องเครื่องรางของขลังตั้งแต่ตอนเป็นสามเณรขณะอายุ 13 ปีเอง
เมื่ออายุ 15 ได้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกและรับราชการทหาร
ตอนอายุ 25 โปรดเกล้าให้เป็นผู้บัญชาการทหารบก
ต่อมาเมื่ออายุ 28 โปรดเกล้าให้เลื่อนขึ้นเป็นอธิบดีกรมการศึกษา 
เพี้ยนเพลีย
ร.5 กับกรมพระยาดำรงนั้นสนิทแน่นกันมาก กรมพระยาดำรงเป็นเหมือนกับมือขวาของ ร.5 เลยแหละ ส่วนใหญ่ของสายสัมพันธ์นั้นก็จะเกี่ยวโยงไปถึงความเจริญของชาติบ้านเมือง กรมพระยาดำรงได้ประกอบพระกรณียกิจด้านต่างๆแล้วเป็นที่ไว้วางใจของ ร.5 มากเลย
ครั้งนึง ร.5 ชมแบบอ้อมๆ ว่ากรมพระยาดำรงเป็นเหมือนกับเพชรประดับ ‘พระมหาพิชัยมงกุฎ’ เลย เพี้ยนเขิน

กรมพระยาดำรงก็สมกับคำชมจริงๆนะ ทรงก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดข้าราชการพลเรือน ซึ่งต่อมาเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยแรกของประเทศไทย

นอกจากนั้นท่านยังแต่งตำราเรียนเร็ว แบบเรียนเก่าต้องใช้เวลาเรียนตั้ง 3 ปี เม่าเป็นลมจนมีเด็กลาออกไปก่อนที่จะอ่านออกเขียนได้ 
แบบใหม่ทำให้บทเรียนนั้นง่ายต่อการจดจำ เช่นการใช้คำเรียกพยัญชนะว่า ก.ไก่ ข.ไข่...ร่นเวลาเป็นแค่ 3 เดือน กลายมาเป็นมรดกทางการศึกษาภาษาไทยที่เราใช้กันปัจจุบัน 

ตอนอยู่กระทรวงมหาดไทย

ตอนท่านอายุ 30 ปี ร.5 โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย

ท่านก็วางรากฐานการปกครองแบบใหม่ จัดระบบการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นระบบ ‘เทศาภิบาล’ แล้วท่านก็เดินทางไปตรวจหัวเมืองต่างๆ เพื่อติดตามการปฏิบัติงานของข้าหลวงเทศาภิบาล 
การเดินทางในสมัยนั้นไม่ได้เป็นเรื่องง่ายๆ อย่างปัจจุบันนะ
ปัจจุบันจะขึ้นเครื่องบินหรือขับรถไปก็ได้
เพี้ยนออกทริป แต่สมัยก่อน ถนนซะส่วนใหญ่จะเป็นถนนลูกรังหรือดินนี่แหละ บางแห่งไม่มีถนนเลยด้วยซ้ำ

ทำให้การเดินทางก็เหมือนการผจญภัย บางทีก็ต้องบุกป่าฝ่าดงด้วย ช้าง ม้า วัว เกวียน

ดูไปดูมา ท่านก็เหมือนกับ อินเดียนา โจนส์ ของไทยเนอะเพี้ยนหืม

ท่านถือคติโบราณอย่างหนึ่งว่าการเป็นผู้นำนั้นต้องให้รองเท้าขาดก่อนกางเกง คือต้องลุยออกพื้นที่จนรองเท้าขาด ไม่ใช่เอาแต่นั่งสำนักงานจนกางเกงขาด
เพี้ยนไฟลุก
จำได้มั้ยว่าท่านสนใจในเรื่องโบราณคดีตั้งแต่ยังเล็ก? ทีนี้พอออกตรวจราชการตามหัวเมืองต่างๆ ท่านก็ได้พบเห็นเมืองโบราณที่ถูกทิ้งล้างทั่วไทยเป็นจำนวนมาก

ท่านเล่าว่า “บางครั้งกำลังวิ่งม้าไปในป่า ถ้าเจอแผ่นหินเป็นรอยเกลี้ยงเกลา ต้องหยุดม้าลงและงัดขึ้นดูว่ามีตัวอักษรหรือไม่…ได้พบศิลาจารึกหลายแผ่น”  
ท่านได้บันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้พบเห็นไว้ แล้วนำมาศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม จนกระทั่งเป็นที่รู้จักในนาม 'พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย'

ครั้งแรกที่พบชื่อ 'ศรีเทพ'

พอเวลาต่อมา เมื่อท่านอายุ 42 ปี ตอนนั้นยังดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย อยู่ ท่านได้ค้นพบทำเนียบเก่าที่บอกรายชื่อหัวเมือง มีชื่อเมือง 'ศรีเทพ' เมืองหนึ่ง แต่ตัวเมืองหาในแผนไหนที่ก็ไม่เจอ ถามข้าราชการกระทรวงมหาดไทย ก็ไม่มีใครรู้จัก
เพี้ยนส่อง
ต่อมาท่านค้นพบสมุดดำเล่มหนึ่ง กล่าวถึงการให้คนไปบอกข่าวการสิ้นพระชนม์ของ ร.2 ไปทั่วหัวเมืองต่างๆ และมีอยู่เส้นทางหนึ่งไปทาง เมืองสระบุรี...เมืองชัยบาดาล...เมืองศรีเทพ...เมืองเพชรบูรณ์ ท่านจึงตั้งสมติฐานว่า เมืองศรีเทพ น่าจะอยู่ทางลำน้ำป่าสัก

ท่านก็มีหน้าที่การงานมากมายเลยไม่สามารถที่จะทิ้งงานเพื่อไปค้นหาเมืองโบราณ
แต่โชคดีตอนหลังมีโอกาสที่จะได้เดินทางไปตรวจงานแถวแม่น้ำป่าสัก ซึ่งเป็นสถานที่ๆท่านสงสัยว่าน่าจะพบ เมืองศรีเทพ

การเดินทาง

สมัยนั้นจากหัวเมืองทุกที่ๆมีโรคมาลาเรีย เพชรบูรณ์ น่าจะดังที่สุด การเดินทางไป เพชรบูรณ์ เหมือนกับไปหาความตาย
แต่เมื่อมีตำแหน่งผู้ว่าว่างขึ้นมาที่ เพชรบูรณ์ กรมพระยาดำรงเลยจำเป็นต้องเดินทางไป 

การหาคนไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าที่เพชรบูรณ์ เป็นเรื่องที่ยากมากเพระว่าทุกคนก็กลัวโรคไข้ที่นั่น ถึง เพชรบูรณ์ จะมีชาวบ้านมากมาย แต่เขาไม่ได้มีความรู้หรือประสบการณ์พอที่จะดำรงตำแหน่งได้ ส่วนคนนอกที่ กรุงเทพฯ มีความรู้และประสบการณ์พอ แต่กลัวที่จะไป เพชรบูรณ์ เพราะโรคไข้เม่าแพนิค

กรมพระยาดำรงก็มีไอเดียที่จะไป เพชรบูรณ์ ซะเอง เพื่อที่จะเป็นตัวอย่างให้คนอื่นหยุดกลัวโรคไข้ที่นั่น

พอเพื่อนร่วมงานได้ยินว่าท่านจะไป ก็ต่างกันไปให้พร ราวกับว่าท่านจะไปต่อสู้ในสงคราม เม่าโศก

แต่ท่านรู้สึกว่ามันไม่น่าจะแย่เท่ากับที่ทุกคนเชื่อกันหรอก เม่าเซย์โนท่านเคยเดินทางไปตามหัวเมืองต่างๆ ทั้งผ่านป่าผ่านเขา เคยผ่านที่ที่มีโรคไข้มาแล้วก็ไม่เคยกลัว 

ดังนั้นท่านออกเดินทางจาก กรุงเทพฯ ทางเรือในวันที่ 21 มกราคม 1904 ใช้เวลาประมาณ 8 วันกว่าจะถึง บางมูลนาก ในจังหวัดพิจิตร จากนั้นก็เดินทางเท้าผ่านป่าดงตลอดทาง รวมระยะทางราวๆ 120 กม จนถึงเมือง เพชรบูรณ์ ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์


ท่านสังเกตว่าต้นเหตุของมาลาเลียน่าจะมาจากสภาพแวดล้อม เนื่องจาก เพชรบูรณ์ มีแม่น้ำป่าสักผ่ากลางและมีภูเขาอยู่สองฝั่ง ท่านสรุปว่าโรคที่นั้นเป็นสิ่งที่ป้องกันได้

ก่อนจะเดินทางกลับ ท่านถามชาวบ้านว่ามีเมืองโบราณแถวนั้นบ้างมั้ย ชาวบ้านก็เล่าว่ามีเมืองโบราณที่ใหญ่มากชื่อว่า 'เมืองอภัยสาลี' ซึ่งอยู่ไม่ห่างจาก วิเชียรบุรี เท่าไหร่ เดินทางไปก็ไม่ยากนักหรอก แถมว่ากันว่ายังมีปรางค์ปราสาทอยู่ในเมืองนั้นด้วย 

ทีนี้จึงเริ่มภารกิจไปค้นหาเมืองโบราณ ท่านนั่งเรือออกจาก เพชรบูรณ์ วันที่ 11 กุมภาพันธ์

แต่ลำน้ำนอกจากจะแคบ ระดับน้ำก็ต่ำด้วย แถมยังมีวัชพืชทั้ง 2 ริมทาง ทำให้การล่องเรือบนแม่น้ำป่าสักเนี่ยยากเย็น ทั้ง 2 ด้านของแม่น้ำมีต้นไม้ใหญ่โตที่บังแสงแดด เมื่อพ้นเขตเมืองแล้ว บ้านเรือนริมน้ำมีน้อยลงเรื่อยๆ จนเหลือแต่ป่าทั้งสองข้าง ในระยะที่เปลี่ยวนั้นล่องเรือลำบาก เพราะว่าเมื่อฤดูฝนที่ผ่านมา น้ำหลาก สายน้ำแรงนั้นกัดตลิ่งพัง แล้วทำให้ต้นไม้ใหญ่โค่นล้มลงในลำน้ำ กีดขวางทางเรือ ทำให้ลำน้ำป่าสักเหมือนทางวิบาก

แม่น้ำป่าสักข้างเหนือสมัยนั้นเปลี่ยวมาก บางทีถามคนนำทางว่าตอนนี้เรือถึงไหนแล้ว ก็ได้คำตอบว่าตรงนี้ยังไม่เคยมีชื่อเพี้ยนเหรอ
ตามชายตลิ่งจะเห็นรอยสัตว์ป่า เช่นรอยช้างและรอยเสือ

เนื่องจากทางก็เปลี่ยว เขาจึงต้องเอาแสงตะวันเป็นหลัก ล่องเรือกันจนถึงบ่าย 4 โมงแล้วมองหาชายตลิ่งที่เป็นหาดพอจะจอดเรือพักแรมได้ พอพลบค่ำก็ก่อกองไฟรายล้อมให้บรรดาคนที่ไปด้วยกันอยู่แต่ในวงกองไฟ เพราะไม่รู้ว่ามีสัตว์ป่าอันตรายตรงไหนบ้าง
เม่าผิงไฟ

ล่องเรือมาจากเพชรบูรณ์ 6 วันถึง เมืองวิเชียร ที่นี่แหละเป็นที่เริ่มต้นของการค้นพบเมืองศรีเทพ

เมื่อท่านลงมาถึง เมืองวิเชียร ก็ทราบว่า พระยาประเสริฐสงคราม อดีตผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งแก่ชรา ยังมีชีวิตอยู่ กรมพระยาดำรงจึงไปเยี่ยมถึงบ้าน แล้วถามถึงเรื่อง เมืองศรีเทพ

พระยาประเสริฐสงคราม บอกว่า เมืองวิเชียร นี่ ตั้งแต่โบราณมี 2 ชื่อ: ท่าโรง และ ศรีเทพ จนถึงรัชกาลที่ 3 กรุงรัตนโกสินทร์จึงเปลี่ยนนามเป็น เมืองวิเชียรบุรี

และพอถามถึง เมืองอภัยสาลี ท่านก็บอกว่ามีเมืองโบราณใหญ่โตจริง แต่ชื่อที่เรียกกันว่า เมืองอภัยสาลี นั้น เป็นแต่คำพระธุดงค์บอก จะเอาเป็นแน่ไม่ได้ 

พอได้ข้อมูลแล้ว กรมพระยาดำรงล่องเรือจาก เมืองวิเชียร ไป บ้านนาตะกรุด เป็นท่าที่จะขึ้นเดินบกไปยังเมืองโบราณ

ท่านก็เรียกชาวบ้านแถวนั้นมาถามเรื่องเบาะแส แต่คนเหล่านั้นต่างคนต่างพากันปฏิเสธว่าไม่รู้ไม่เห็น ท่านประหลาดใจ ลักษณะเหมือนชาวบ้านกลัวที่จะบอกเรื่องเมืองโบราณ จะเป็นเพราะว่าชาวบ้านนั้นไม่เคยพบเจ้านาย? หรือไม่เคยมีใครมาซักไซ้ไถ่ถามเรื่องเมืองโบราณมาก่อน? พวกเขาคงจะกลัวว่า กรมพระยาดำรง อาจเป็นโจรมาตามหาล่าสมบัติก็ได้ จึงปัดปฏิเสธไปง่ายๆ ว่าไม่รู้ไม่เห็นเพี้ยนมองบน

ท่านต้องชี้แจงนานเลยเพี้ยนเพลีย จนในที่สุดชาวบ้านก็ไว้ใจท่านแล้วพาไปดูเมืองโบราณ

เมืองโบราณนี้อยู่ห่างจากแม่น้ำป่าสักประมาณ 6 กม เป็นเมืองใหญ่โตตั้งในที่ราบ มีคูรอบและมีปราการถึง 2 ชั้น


คูเมือง
มีสระน้ำหลายสระ และที่กลางเมืองก็มีปรางค์เทวสถานเพี้ยนแช๊ะ

ปรางค์ศรีเทพ
แต่ข้อสำคัญคือพบของจำหลักศิลาแปลกๆ มีอยู่เกลื่อนกล่น เพราะยังไม่เคยมีใครเข้าไปค้นของโบราณมาก่อน

ชาวบ้านก็นำท่านไปพบเห็นโบราณวัตถุต่างๆ ถ้าเป็นของขนาดย่อม ท่านก็จะส่งลงไปที่กรุงเทพฯ ทุกวันนี้ก็จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ 

ตั้งแต่วันนั้น นักวิชาการศึกษา ศรีเทพ กันมาตลอดเพื่อเรียนรู้ที่มาและความสำคัญของเมืองโบราณนี้

เดี๋ยวเราจะไปดูกันในตอนต่อไปนะคะนานาเรียน
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่