https://www.prachachat.net/opinion-column-2/news-1478506
คอลัมน์ : Market-think
ผู้เขียน : สรกล อดุลยานนท์
การวิวาทะระหว่าง “แพรี่” หรืออดีตพระมหาไพรวัลย์ กับ หมอลักษณ์ เรขานิเทศ เรื่อง “ปีชง” แล้วนึกถึงเรื่องที่ผมเคยเขียนไว้
มอง “ปีชง” ในมุมการตลาด
เพราะผมถือว่าในบรรดาธุรกิจ “ความเชื่อ” ทั้งหลาย
เรื่อง “ปีชง” คือ สุดยอดกลยุทธ์
ยิ่งได้อ่านที่ “แพรี่” เขียนในเพจ อธิบายความเป็นมาของความเชื่อเรื่อง “ปีชง”
จากอดีตสู่ปัจจุบัน
ยิ่งต้องปรบมือให้ในมุมการตลาด
แต่เรื่องอื่นขอละไว้ในฐานที่เข้าใจ
ลองอ่านดูบางข้อนะครับ
1.ปีชงของชาวจีนไม่ได้มีแต่เรื่องแย่ ๆ
เดิมแนวความเชื่อของชาวจีน “ปีชง” สามารถส่งผลได้ทั้งแง่บวกและลบ การแก้ชงคือนำสิ่งเลวร้ายออกไป เสริมสิริมงคลแก่ชีวิต
แต่ปัจจุบันปีชงกลับเหลือเพียงความหมาย “ด้านลบ” ตกหล่นด้านที่ส่งเสริมดวงชะตาไปพอสมควร
2.สถานที่แก้ไขปีชงมีความเปลี่ยนแปลงไป
เดิมการแก้ชงสามารถทำที่ใดก็ได้ ไม่จำกัดสถานที่ แต่ปัจจุบันการแก้ชง ได้ย้ายมาสู่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวจีน เช่น ศาลเจ้า วัดจีน ฯลฯ บางส่วนยังแผ่ขยายไปถึงศาสนสถาน วัดต่าง ๆ ซึ่งส่วนนี้มาจากทั้งการโยกย้ายถิ่นฐาน และการปรับตัวเข้าสู่โลกปัจจุบัน รวมถึงเรื่องของพุทธพาณิชย์
(อันนี้ที่ดิฉันเห็นว่าเป็นปัญหามาก เพราะมีคนอ้างว่า การแก้ชงเป็นความเชื่อคนจีน ไม่เกี่ยวกับพุทธ แต่ในทางกลับกัน การแก้ชงในหลายครั้งกลับทำโดยพระและใช้วัดเป็นที่ประกอบพิธีกรรม)
ปีชงยุคใหม่ เน้นเรื่อง “ความกลัว” เป็นหลัก
ไม่บอกว่าสามารถส่งเสริมโชคชะตา
ซึ่งเป็น “ด้านบวก”
เพราะ “ความกลัว” ทำเป็นธุรกิจง่ายกว่า
นอกจากนั้น ยังเพิ่ม “ความสะดวก”
จากวัดจีน ก็เพิ่มวัดไทยเข้าไปด้วย
เหมือนการขยายสาขาของธุรกิจ
ยิ่งง่าย ยิ่งสะดวก
..ยิ่งทำเงิน
“3.ปีชงที่เคยมีแค่ปีตรงข้ามกับนักษัตร แต่ปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น
เริ่มแรกปีชงจะเกิดขึ้นแค่ปีนักษัตรเดียวในรอบปีเท่านั้น ถ้าชงกับปีนักษัตรใด ก็จะได้รับผลกระทบอยู่ปีเดียว ไม่มีการแบ่งสัดส่วน หรือผลกระทบไปหาปีนักษัตรอื่น
แต่ปัจจุบันมีการแบ่งแยกย่อย แตกส่วนลดหลั่นกันไปเป็นระบบ ตั้งแต่ 100% 75% 50% 25%
นับว่า ขยายการชงไปยังนักษัตรอื่นในแต่ละปี ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น”
เรื่องนี้ผมถือว่าเป็นสุดยอดกลยุทธ์การตลาด
คิดดูนะครับ ตามหลักความเชื่อ คนเราต้องเกิดในปีนักษัตรใดนักษัตรหนึ่งใน 12 นักษัตร
ความเชื่อดั้งเดิม คือ ในปีหนึ่งจะมีปีชงเพียง 1 นักษัตร
หรือ 1 ใน 12
ถ้าทุกนักษัตรมีจำนวนคนเท่ากัน
หมายความว่าคน 100 คน ต้องมี “ปีชง” 8.3 คน
ลูกค้าก็มีอยู่เท่านั้น
ซึ่งก็ถือว่าเยอะแล้ว
แต่กลยุทธ์ใหม่ คือ ขยายกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขึ้น
เพื่อไม่ให้น่าเกลียด ก็แบ่งระดับความหนักเบา
100% 75% 50% 25%
เท่ากับว่าได้กลุ่มเป้าหมาย 4 นักษัตร
หรือ 33.33% ของประชากรทั้งหมด
สุดยอดไหมครับ
ยังไม่พอ เขายังขยาย “เวลา” อีก
** หมายเหตุ : บทความต้นฉบับ ไม่มีข้อ 4 **
“5.ช่วงเวลาแก้ชงหมดความหมายไปในปัจจุบัน
สมัยก่อนการแก้ชง มักกระทำหลังตรุษจีน เพราะถือเป็นช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านปี รวมถึงต้องคำนึงถึงวันที่เป็นฤกษ์เหมาะสมในการแก้ชงด้วย
แต่ในปัจจุบันสามารถแก้ชงได้โดยสะดวกในทุกช่วงเวลา ไม่มีการจำกัดแบบแต่ก่อน ไม่ยึดติดกับช่วงเวลามงคลตามตำราจีนอีกต่อไป”
ครับ ตอนนี้เราแก้ปีชงได้ตลอดทั้งปี
สุดยอดจริง ๆ
ผมขอจบข้อเขียนชิ้นนี้ด้วย “ความเชื่อ” ดั้งเดิมเรื่อง “ปีชง”
“ในตำราจีน โปยหยี่สี่เถียว ไม่มีชงร่วม ชีวิตคนเราในรอบ 12 ปี จะมีแค่ 1 ปีที่ต้องระวัง มีสติ ไม่ประมาท
คนจีนปีชง คือปีที่ปะทะ หรือ ชนกัน
ปี 2567 ชง 100% มีแค่ปีเดียว คือปีจอ”
ปีอื่น ๆ สบายใจได้
เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย ประชาชาติธุรกิจ
ติดตามข่าวสารต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่
https://www.prachachat.net
Market-think : การตลาด “ปีชง”
คอลัมน์ : Market-think
ผู้เขียน : สรกล อดุลยานนท์
การวิวาทะระหว่าง “แพรี่” หรืออดีตพระมหาไพรวัลย์ กับ หมอลักษณ์ เรขานิเทศ เรื่อง “ปีชง” แล้วนึกถึงเรื่องที่ผมเคยเขียนไว้
มอง “ปีชง” ในมุมการตลาด
เพราะผมถือว่าในบรรดาธุรกิจ “ความเชื่อ” ทั้งหลาย
เรื่อง “ปีชง” คือ สุดยอดกลยุทธ์
ยิ่งได้อ่านที่ “แพรี่” เขียนในเพจ อธิบายความเป็นมาของความเชื่อเรื่อง “ปีชง”
จากอดีตสู่ปัจจุบัน
ยิ่งต้องปรบมือให้ในมุมการตลาด
แต่เรื่องอื่นขอละไว้ในฐานที่เข้าใจ
ลองอ่านดูบางข้อนะครับ
1.ปีชงของชาวจีนไม่ได้มีแต่เรื่องแย่ ๆ
เดิมแนวความเชื่อของชาวจีน “ปีชง” สามารถส่งผลได้ทั้งแง่บวกและลบ การแก้ชงคือนำสิ่งเลวร้ายออกไป เสริมสิริมงคลแก่ชีวิต
แต่ปัจจุบันปีชงกลับเหลือเพียงความหมาย “ด้านลบ” ตกหล่นด้านที่ส่งเสริมดวงชะตาไปพอสมควร
2.สถานที่แก้ไขปีชงมีความเปลี่ยนแปลงไป
เดิมการแก้ชงสามารถทำที่ใดก็ได้ ไม่จำกัดสถานที่ แต่ปัจจุบันการแก้ชง ได้ย้ายมาสู่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวจีน เช่น ศาลเจ้า วัดจีน ฯลฯ บางส่วนยังแผ่ขยายไปถึงศาสนสถาน วัดต่าง ๆ ซึ่งส่วนนี้มาจากทั้งการโยกย้ายถิ่นฐาน และการปรับตัวเข้าสู่โลกปัจจุบัน รวมถึงเรื่องของพุทธพาณิชย์
(อันนี้ที่ดิฉันเห็นว่าเป็นปัญหามาก เพราะมีคนอ้างว่า การแก้ชงเป็นความเชื่อคนจีน ไม่เกี่ยวกับพุทธ แต่ในทางกลับกัน การแก้ชงในหลายครั้งกลับทำโดยพระและใช้วัดเป็นที่ประกอบพิธีกรรม)
ปีชงยุคใหม่ เน้นเรื่อง “ความกลัว” เป็นหลัก
ไม่บอกว่าสามารถส่งเสริมโชคชะตา
ซึ่งเป็น “ด้านบวก”
เพราะ “ความกลัว” ทำเป็นธุรกิจง่ายกว่า
นอกจากนั้น ยังเพิ่ม “ความสะดวก”
จากวัดจีน ก็เพิ่มวัดไทยเข้าไปด้วย
เหมือนการขยายสาขาของธุรกิจ
ยิ่งง่าย ยิ่งสะดวก
..ยิ่งทำเงิน
“3.ปีชงที่เคยมีแค่ปีตรงข้ามกับนักษัตร แต่ปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น
เริ่มแรกปีชงจะเกิดขึ้นแค่ปีนักษัตรเดียวในรอบปีเท่านั้น ถ้าชงกับปีนักษัตรใด ก็จะได้รับผลกระทบอยู่ปีเดียว ไม่มีการแบ่งสัดส่วน หรือผลกระทบไปหาปีนักษัตรอื่น
แต่ปัจจุบันมีการแบ่งแยกย่อย แตกส่วนลดหลั่นกันไปเป็นระบบ ตั้งแต่ 100% 75% 50% 25%
นับว่า ขยายการชงไปยังนักษัตรอื่นในแต่ละปี ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น”
เรื่องนี้ผมถือว่าเป็นสุดยอดกลยุทธ์การตลาด
คิดดูนะครับ ตามหลักความเชื่อ คนเราต้องเกิดในปีนักษัตรใดนักษัตรหนึ่งใน 12 นักษัตร
ความเชื่อดั้งเดิม คือ ในปีหนึ่งจะมีปีชงเพียง 1 นักษัตร
หรือ 1 ใน 12
ถ้าทุกนักษัตรมีจำนวนคนเท่ากัน
หมายความว่าคน 100 คน ต้องมี “ปีชง” 8.3 คน
ลูกค้าก็มีอยู่เท่านั้น
ซึ่งก็ถือว่าเยอะแล้ว
แต่กลยุทธ์ใหม่ คือ ขยายกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขึ้น
เพื่อไม่ให้น่าเกลียด ก็แบ่งระดับความหนักเบา
100% 75% 50% 25%
เท่ากับว่าได้กลุ่มเป้าหมาย 4 นักษัตร
หรือ 33.33% ของประชากรทั้งหมด
สุดยอดไหมครับ
ยังไม่พอ เขายังขยาย “เวลา” อีก
** หมายเหตุ : บทความต้นฉบับ ไม่มีข้อ 4 **
“5.ช่วงเวลาแก้ชงหมดความหมายไปในปัจจุบัน
สมัยก่อนการแก้ชง มักกระทำหลังตรุษจีน เพราะถือเป็นช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านปี รวมถึงต้องคำนึงถึงวันที่เป็นฤกษ์เหมาะสมในการแก้ชงด้วย
แต่ในปัจจุบันสามารถแก้ชงได้โดยสะดวกในทุกช่วงเวลา ไม่มีการจำกัดแบบแต่ก่อน ไม่ยึดติดกับช่วงเวลามงคลตามตำราจีนอีกต่อไป”
ครับ ตอนนี้เราแก้ปีชงได้ตลอดทั้งปี
สุดยอดจริง ๆ
ผมขอจบข้อเขียนชิ้นนี้ด้วย “ความเชื่อ” ดั้งเดิมเรื่อง “ปีชง”
“ในตำราจีน โปยหยี่สี่เถียว ไม่มีชงร่วม ชีวิตคนเราในรอบ 12 ปี จะมีแค่ 1 ปีที่ต้องระวัง มีสติ ไม่ประมาท
คนจีนปีชง คือปีที่ปะทะ หรือ ชนกัน
ปี 2567 ชง 100% มีแค่ปีเดียว คือปีจอ”
ปีอื่น ๆ สบายใจได้
เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย ประชาชาติธุรกิจ
ติดตามข่าวสารต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.prachachat.net