4 สาเหตุที่ทำให้สมองบวม
สมองบวม (Cerebral Edema) คือการที่มีของเหลวส่วนเกินสะสมในสมอง ทำให้สมองบวมและมีความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น อาจเกิดขึ้นทั่วทั้งสมองหรือกับสมองบางส่วน โดยภาวะสมองบวมแบ่งออกเป็น 4 สาเหตุ ดังนี้
1. การบาดเจ็บบริเวณสมอง โดยเฉพาะการกระแทกรุนแรงบริเวณศีรษะ การพลัดตกจากที่สูง ซึ่งจะทำให้สมองเสียหาย เนื้อเยื่อในสมองบวม เส้นเลือดในสมองแตก และสมองบวม
2. การติดเชื้อในสมอง ไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย ไวรัส หรือพยาธิบางชนิด จะทำให้สมองอักเสบและบวมได้
เนื้องอกในสมอง หากมีขนาดใหญ่อาจทำให้น้ำในไขสันหลังไม่สามารถไหลเวียนได้ ส่งผลให้สมองบวมและความดันในกะโหลกสูงขึ้น
3.
เนื้องอกในสมอง หากมีขนาดใหญ่อาจทำให้น้ำในไขสันหลังไม่สามารถไหลเวียนได้ ส่งผลให้สมองบวมและความดันในกะโหลกสูงขึ้น
4. โรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะโรค
หลอดเลือดสมอง ชนิดขาดเลือด ที่จะมีลิ่มเลือดอุดตันจนเลือดและออกซิเจนไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ ทำให้เซลล์สมองตายและเกิดภาวะสมองบวม
สำหรับการรักษาภาวะสมองบวม คือการทำให้เลือดและออกซิเจนไหลเวียนเข้าสู่สมองได้ตามปกติ ซึ่งจะช่วยลดภาวะสมองบวมได้ โดยแพทย์อาจใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการให้ยาลดสมองบวม ให้ยาหรือของเหลวผ่านทางหลอดเลือดดำเพื่อไม่ให้ความดันเลือดต่ำ ผ่าตัดใส่ท่อที่บริเวณกะโหลกเพื่อระบายน้ำไขสันหลังออกจากสมอง
หากไม่ดีขึ้น
แพทย์อาจพิจารณา การผ่าตัดเพื่อลดความดันในกะโหลกศีรษะ หรือผ่าตัดแก้ไขส่วนที่เป็นต้นเหตุเพื่อลดภาวะสมองบวมและช่วยให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ศูนย์สมองและระบบประสาท
4 สาเหตุที่ทำให้สมองบวม!
1. การบาดเจ็บบริเวณสมอง โดยเฉพาะการกระแทกรุนแรงบริเวณศีรษะ การพลัดตกจากที่สูง ซึ่งจะทำให้สมองเสียหาย เนื้อเยื่อในสมองบวม เส้นเลือดในสมองแตก และสมองบวม
2. การติดเชื้อในสมอง ไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย ไวรัส หรือพยาธิบางชนิด จะทำให้สมองอักเสบและบวมได้
เนื้องอกในสมอง หากมีขนาดใหญ่อาจทำให้น้ำในไขสันหลังไม่สามารถไหลเวียนได้ ส่งผลให้สมองบวมและความดันในกะโหลกสูงขึ้น
3. เนื้องอกในสมอง หากมีขนาดใหญ่อาจทำให้น้ำในไขสันหลังไม่สามารถไหลเวียนได้ ส่งผลให้สมองบวมและความดันในกะโหลกสูงขึ้น
4. โรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดสมอง ชนิดขาดเลือด ที่จะมีลิ่มเลือดอุดตันจนเลือดและออกซิเจนไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ ทำให้เซลล์สมองตายและเกิดภาวะสมองบวม
สำหรับการรักษาภาวะสมองบวม คือการทำให้เลือดและออกซิเจนไหลเวียนเข้าสู่สมองได้ตามปกติ ซึ่งจะช่วยลดภาวะสมองบวมได้ โดยแพทย์อาจใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการให้ยาลดสมองบวม ให้ยาหรือของเหลวผ่านทางหลอดเลือดดำเพื่อไม่ให้ความดันเลือดต่ำ ผ่าตัดใส่ท่อที่บริเวณกะโหลกเพื่อระบายน้ำไขสันหลังออกจากสมอง
หากไม่ดีขึ้นแพทย์อาจพิจารณา การผ่าตัดเพื่อลดความดันในกะโหลกศีรษะ หรือผ่าตัดแก้ไขส่วนที่เป็นต้นเหตุเพื่อลดภาวะสมองบวมและช่วยให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้