“ดร.อนุสรณ์” ชี้รัฐประหารทำไทยอ่อนแอ ก้าวข้ามประเทศรายได้ปานกลางไม่ได้ ชง 8 ข้อ ป้องกันเกิดซ้ำ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4187340
“ดร.อนุสรณ์” ชี้รัฐประหารทำประเทศไทยอ่อนแอ ก้าวข้ามประเทศรายได้ปานกลางยาก ชง 8 ข้อเสนอปฏิรูป-สถาปนารธน.ปชช. ครบรอบ 17 ปีรัฐประหาร
การรื้อถอนมรดกระบอบอำนาจนิยมและซากทัศนะเผด็จการด้วยรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และ ร่วมกันตรวจสอบให้รัฐบาลโปร่งใส ทำตามสัญญาประชาคม สถาบันรัฐประหารโดยใช้กำลังอาวุธจากกองทัพอ่อนกำลังลงอย่างมากภายหลังประชาชนเสียงข้างมากแสดงเจตนารมณ์ผ่านคูหาการเลือกตั้งอย่างสันติ แต่สถาบันรัฐประหารโดยใช้กลไกแบบอื่นไม่ได้หมดไปอย่างสิ้นเชิง ดูได้จากความพยายามในการบิดเบือนผลการเลือกตั้งของสมาชิกวุฒสภาบางส่วน
เมื่อวันที่ 19 กันยายน (เวลาประเทศไทย) ที่ ลอสแอนเจอลิส แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา รศ. ดร.
อนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานกรรมการบริหารสถาบันปรีดี พนมยงค์ และ กรรมการวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การครบรอบ 17 ปีของการรัฐประหาร คมช. เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ในวันนี้ของไทยสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า “
รัฐประหาร” ไม่ใช่ทางออกของการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ใดๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐประหาร 49 หรือ 57 และไม่ได้ทำให้สถานการณ์ต่างๆพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนในระยะยาว
การยึดมั่นในหลักการปกครองโดยกฎหมาย การดำเนินการตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยและใช้กลไกรัฐสภาแก้ปัญหาวิกฤติต่างหาก คือ ทางออกที่แท้จริงของประเทศ นำมาสู่ความมีเสถียรภาพของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การก่อรัฐประหาร 13 ครั้ง ก่อกบฏ 13 ครั้ง ฉีกและร่างรัฐธรรมนูญกติกาสูงสุดมาแล้ว 19 ฉบับ
เฉลี่ยไทยรัฐประหาร 3.5-4 ปีครั้ง
ตลอด 91 ปีของประชาธิปไตยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เฉลี่ยแล้วมีรัฐประหารและการก่อกบฎโดยกองทัพทุกๆ 3.5-4 ปีต่อครั้ง ทำให้ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆไม่สามารถนำพาประเทศก้าวข้ามพ้นสู่ประเทศพัฒนาแล้วได้ ติดกับดักประเทศด้อยพัฒนาทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมมาหลายทศวรรษ คุณภาพประชาชนส่วนใหญ่ยังต่ำกว่ามาตรฐานประเทศพัฒนาแล้วอย่างมาก
ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจติดอันดับต้นๆของโลก ระบบยุติธรรมถูกตั้งคำถาม ระบบนิติรัฐนิติธรรมถูกละเมิด ความเป็นธรรมทางสังคมอยู่ในระดับต่ำ การทุจริตคอร์รัปชันเกิดขึ้นโดยทั่วไป เจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูงอยู่ภายใต้อิทธิพลเถื่อน เจ้าหน้าที่ไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและไม่มีความเจริญก้าวหน้าในระบบราชการ แม้นสังคมไทยเป็นสังคมแห่งการประนีประนอม แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็รักความเป็นธรรม การได้เห็นความอยุติธรรมเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า ย่อมเป็นสิ่งเร้าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการปฏิรูปใหญ่ในระบบยุติธรรมได้ในอนาคต ต้องเร่งดำเนินการรื้อถอนมรดกระบอบอำนาจนิยม และซากทัศนะเผด็จการด้วยรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนและกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญแบบเปิดกว้างมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางจากคนทุกกลุ่มทุกชนชั้น รวมทั้ง ต้องร่วมกันตรวจสอบให้รัฐบาลโปร่งใส ทำตามสัญญาประชาคม ไม่ฉะนั้นจะเป็นเงื่อนไขหรือมีการสร้างเงื่อนไขให้รัฐบาลต้องสิ้นสุดก่อนเวลาอันควร หรือ แย่ที่สุด อาจมีรัฐประหารโดยวุฒิสภาหรือตุลาการภิวัฒน์เกิดขึ้นอีกได้ ส่วนการรัฐประหารโดยกองทัพนั้นมีความเสี่ยงต่ำมากในอนาคต
ชี้เลือกตั้ง14 พ.ค.สะท้อนเจตนารมณ์ปชช.แม้จะไม่ได้ผลลัพท์100%
รศ. ดร.
อนุสรณ์ กล่าวต่อว่า สถาบันรัฐประหารจากกองทัพอ่อนกำลังลงอย่างมากภายหลังประชาชนเสียงข้างมากแสดงเจตนารมณ์ผ่านคูหาการเลือกตั้งอย่างสันติ แต่สถาบันรัฐประหารโดยใช้กลไกแบบอื่นไม่ได้หมดไปอย่างสิ้นเชิง ดูได้จากความพยายามในการบิดเบือนผลการเลือกตั้งของสมาชิกวุฒสภาบางส่วน ผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พ.ค. ที่ผ่านมาสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนส่วนใหญ่อย่างชัดเจนว่า ต้องการเปลี่ยนแปลงสู่ประชาธิปไตยและหยุดยั้งระบอบสืบทอดอำนาจของเผด็จการ คสช รวมทั้งต้องการปฏิรูปประเทศผ่านกลไกเลือกตั้งและระบบรัฐสภา จุดเปลี่ยนผ่านทางการเมืองครั้งนี้ไม่สามารถเป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนได้อย่างเต็มที่ แต่อย่างน้อยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างสันติ
และอยู่บนเส้นทางของความปรองดองสมานฉันท์ การที่ความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ได้รับการตอบสนองในบางส่วนเท่านั้น ก็เพราะกลไกสืบทอดอำนาจที่ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับสืบทอดอำนาจ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนผ่านนี้ผ่านการเลือกตั้งน่าจะเป็นความหวังของประชาชนได้หากรัฐบาลเพื่อไทยมุ่งมั่นในการเปิดให้มีการลงประชามติอย่างเสรีเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดย สสร ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน หรือ แก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยรื้อถอนมรดกระบอบอำนาจนิยมออกจากระบบการเมืองไทยได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่เพียงพอ จึงต้องมีการสร้างเครือข่าย ผลักดันนโยบาย แผนงาน กิจกรรมรณรงค์ต่างๆเพื่อขจัดซากทัศนะเผด็จการและฟื้นฟูค่านิยมให้หยั่งรากลึกในสังคมไทย
รัฐประหารทำกองทัพอ่อนแอ
รศ. ดร.
อนุสรณ์ กล่าวขยายความต่อว่า จากการรัฐประหาร 13 ครั้งในประเทศไทย เราอาจสรุปขั้นตอนของการรัฐประหารได้ดังต่อไปนี้
1. สร้างความไม่เชื่อมั่นต่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง กล่าวหาว่า มีการทุจริตคอร์รัปชนหรือใช้อำนาจไม่เป็นธรรม หรือ ไม่จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ และ อ้างว่าระบบการเมืองปกติไม่สามารถแก้ปัญหาได้
2. กองทัพเข้ายึดอำนาจ และปราบปรามผู้ต่อต้านจนสำเร็จ รวมทั้งฉีกรัฐธรรมนูญทำลายระบบปกครองโดยกฎหมาย ให้หัวหน้ารัฐประหารใหญ่กว่ากติกาสูงสุดของประเทศ
3. กษัตริย์หรือผู้แทนพระองค์ลงนามรับรองรัฐประหาร (ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม) 4.องค์กรตุลาการตีความรับรองการรัฐประหารให้คณะรัฐประหารเป็น ‘
รัฏฐาธิปัตย์’ และ ร่างรัฐธรรมนูญสืบทอดอำนาจ ส่วนใหญ่หลังการรัฐประหาร มักจะเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองและนำไปสู่การนองเลือดเสมอ หากไม่เกิดทันทีหลังการรัฐประหาร หลังจากนั้นระยะหนึ่งก็จะเกิดขึ้น รัฐประหารไม่นองเลือดจึงแทบไม่มีอยู่จริงในการเมืองไทย สถาบันการรัฐประหารได้ถูกสถาปนากลายเป็นสถาบันการเมืองอย่างหนึ่งในประเทศไทย ความเป็นสถาบันรัฐประหารโดยกองทัพอ่อนแอลงอย่างมากในโลกยุคใหม่ และ ผลลัพธ์ของการเลือกตั้ง 14 พ.ค. ศกนี้เป็นประจักษ์พยานที่ชัดเจนที่สุด
รศ. ดร.
อนุสรณ์ กล่าวต่อว่า การสร้างฉันทามติไม่เห็นด้วยและต่อต้านการรัฐประหารและปฏิเสธทัศนะปรปักษ์ประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนเป็นเรื่องสำคัญต่อความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตยในระยะยาว ระบอบประชาธิปไตยสมบูรณ์อันประกอบไปด้วยประชาธิปไตยทางการเมือง ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ ประชาธิปไตยทางสังคมและวัฒนธรรม จะนำสู่ความเจริญก้าวหน้าพัฒนาสู่ความรุ่งเรืองของประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำ เปิดโอกาสให้ทุกคนอย่างเสมอภาค ลดผูกขาดเพิ่มการแข่งขันและแบ่งปัน ความสมบูรณ์พูนสุขและสันติธรรมย่อมบังเกิดขึ้นในสังคมไทย รวมทั้ง แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ยกระดับการเติบโตให้เต็มศักยภาพ แก้ปัญหาความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจและปัญหาวิกฤติหนี้สินให้ประสบความสำเร็จ
ชี้ถ้าไม่มีรัฐประหารไทยอาจก้าวข้ามประเทศรายได้ปานกลางไปแล้ว
หากไม่มีวิกฤตการณ์ทางการเมืองและตามมาด้วยการรัฐประหารสองครั้งในช่วง 17 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งมีรัฐบาลประชาธิปไตยที่มีคุณภาพสูง ประเทศไทยของเรา ณ. พ.ศ. นี้ ก็อาจสามารถก้าวข้ามพ้นประเทศรายได้ระดับปานกลางและเริ่มต้นเข้าสู่ประเทศรายได้สูง กลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ประชาชนก็จะมีระบบรัฐสวัสดิการอย่างถ้วนหน้าไปแล้วก็ได้ โครงสร้างระบบเศรษฐกิจที่มีการผูกขาดสูง เหลื่อมล้ำสูง ศักยภาพการแข่งขันและการยกระดับคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยยสำคัญ
รศ. ดร.
อนุสรณ์ กล่าวต่อว่า การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมต่างหากที่จะแก้ไขปัญหาวิกฤติความขัดแย้งทางการเมืองได้ดีกว่า มีหลักฐานในเชิงประจักษ์จากผลการเลือกตั้ง 14 พ.ค. อย่างชัดเจน วิกฤติความขัดแย้งทางเมืองที่หยั่งรากลึกมาร่วม 17 ปีได้คลี่คลายตัวลงอย่างชัดเจน เริ่มบทใหม่ของการเมืองภายใต้ประชาธิปไตยแบบรัฐสภาต่อไป หากไม่มีการรัฐประหารในวันที่ 19 ก.ย. พ.ศ. 2549 และ 22 พ.ค. พ.ศ. 2557 รัฐบาลจากการเลือกตั้งที่มีปัญหาความชอบธรรมต้องหมดอำนาจลงจากผลการเลือกตั้งในที่สุด ระบบและสถาบันประชาธิปไตยจะพัฒนาต่อไปได้ ระบอบประชาธิปไตยจะเข้มแข็งขึ้นเช่นเดียวกับในอินโดนีเซียที่ครั้งหนึ่งเคยถูกปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหารมาอย่างยาวนาน เป็นประเทศที่มีความรุ่งเรืองสดใสกว่านี้ การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยเป็นกระบวนการที่ใช้เวลา บางประเทศประสบความสำเร็จ บางประเทศไม่ราบรื่น บางประเทศล้มเหลว
สถานการณ์ในปัจจุบันภายใต้รัฐบาลเพื่อไทยจะเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อและจุดเปลี่ยนแปลงของอนาคตของประเทศไทย ขอเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนยึดมั่นในกลไกรัฐสภาและแนวทางสันติวิธี ยอมรับความเห็นอันแตกต่างหลากหลาย หยุดละเมิดความเห็นต่างทางการเมืองด้วยอำนาจรัฐ เปิดโอกาสให้เสรีภาพและเจตจำนงอันแท้จริงของประชาชนได้ผลักดันให้เกิดการปฏิรูป ความเป็นธรรม ประชาธิปไตยและคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า ป้องปรามการทุจริตคอร์รัปชันให้เป็นที่ประจักษ์
ชง 8 ข้อเสนอปฎิรูปประเทศ-สถาปนารธน.ฉบับปชช.
ทั้งนี้มีข้อเสนอและความเห็นต่อแนวทางการสถาปนารัฐธรรมนูญฉบับประชาชนและการปฏิรูปประเทศเนื่องในโอกาสครบรอบ 17 ปีของการรัฐประหาร 19 ก.ย. ดังนี้
1. เห็นด้วยกับแนวทางและกรอบเวลาในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนตามข้อเสนอของรัฐบาลเพื่อไทย และเสนอให้มี ‘
สภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศ’ ยกร่างรัฐธรรมนูญโดยความมีส่วนร่วมของคนไทยอย่างกว้างขวางที่สุด เพื่อสร้าง ‘
พื้นที่ทางสังคม’ ให้คนไทยทุกฝ่ายได้มีโอกาสหันหน้ามาพูดคุยกันด้วยเหตุด้วยผล บนความ รู้สึก-นึก-คิด ว่าเป็น ‘
คนพวกเดียวกัน’ ที่เหมือนอยู่บนเรือลำเดียวกัน ถ้าเรือเกิดล่มลง ทุกคนก็ต้องจมน้ำเหมือนกันหมด
2. เสนอให้มีการจัดตั้ง คณะกรรมการศึกษาการนิรโทษกรรมให้กับคดีทางการเมืองที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม และ ปล่อยตัวนักโทษทางความคิดทั้งหมดที่ต้องโทษภายใต้ระบอบเผด็จการอำนาจนิยม รวมทั้ง คืนความเป็นธรรมและเยียวยาให้กับทุกคนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมด้วย
3. เปิดโอกาสให้ “
ผู้ลี้ภัยทางการเมือง” ในต่างประเทศได้กลับคืนสู่มาตุภูมิ รื้อฟื้นคดีใหม่และเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยยึดหลักนิติธรรม ได้รับการชดเชยเยียวยาตามสมควรแก่เหตุที่ไม่เป็นธรรมทั้งหลาย
4. ใช้โอกาสในกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญแบบมีส่วนร่วมของคนไทยอย่างกว้างขวางที่สุดนี้เป็นเครื่องมือแสวงหา ‘
จุดหมายร่วม’ ในเรื่องหลัก ๆ ที่คนไทยทุกฝ่ายเห็นพ้องตรงกัน แล้วเขียนเป็นรัฐธรรมนูญเพื่อให้ประชาชนลงประชามติ รัฐธรรมนูญที่คนทุกฝ่ายมีส่วนร่วมยกร่างและให้ฉันทานุมัตินี้ จะกลายเป็น ‘
จุดรวมความคิด’ ที่ ‘
ประสานงานประสานประโยชน์’ คนไทยทั้งประเทศเข้าด้วยกันตามแนวพระราชดำรัสคุณธรรมของรัชกาลที่ 9 คือ “
การที่แต่ละคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประสานงานประสานประโยชน์กัน ให้งานที่ทำสำเร็จผล ทั้งแก่ตน แก่ผู้อื่น และแก่ประเทศชาติ”
JJNY : ชี้รัฐประหารทำไทยอ่อนแอ│ชาวบ้านแสดงพลังไล่ 'สว.กิตติศักดิ์'│ผงะ! หนี้คนไทย 5.2 แสนบ/คน│ยูเครนจ่อฟ้อง WTO เลิกแบน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4187340
“ดร.อนุสรณ์” ชี้รัฐประหารทำประเทศไทยอ่อนแอ ก้าวข้ามประเทศรายได้ปานกลางยาก ชง 8 ข้อเสนอปฏิรูป-สถาปนารธน.ปชช. ครบรอบ 17 ปีรัฐประหาร
การรื้อถอนมรดกระบอบอำนาจนิยมและซากทัศนะเผด็จการด้วยรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และ ร่วมกันตรวจสอบให้รัฐบาลโปร่งใส ทำตามสัญญาประชาคม สถาบันรัฐประหารโดยใช้กำลังอาวุธจากกองทัพอ่อนกำลังลงอย่างมากภายหลังประชาชนเสียงข้างมากแสดงเจตนารมณ์ผ่านคูหาการเลือกตั้งอย่างสันติ แต่สถาบันรัฐประหารโดยใช้กลไกแบบอื่นไม่ได้หมดไปอย่างสิ้นเชิง ดูได้จากความพยายามในการบิดเบือนผลการเลือกตั้งของสมาชิกวุฒสภาบางส่วน
เมื่อวันที่ 19 กันยายน (เวลาประเทศไทย) ที่ ลอสแอนเจอลิส แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา รศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานกรรมการบริหารสถาบันปรีดี พนมยงค์ และ กรรมการวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การครบรอบ 17 ปีของการรัฐประหาร คมช. เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ในวันนี้ของไทยสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า “รัฐประหาร” ไม่ใช่ทางออกของการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ใดๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐประหาร 49 หรือ 57 และไม่ได้ทำให้สถานการณ์ต่างๆพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนในระยะยาว
การยึดมั่นในหลักการปกครองโดยกฎหมาย การดำเนินการตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยและใช้กลไกรัฐสภาแก้ปัญหาวิกฤติต่างหาก คือ ทางออกที่แท้จริงของประเทศ นำมาสู่ความมีเสถียรภาพของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การก่อรัฐประหาร 13 ครั้ง ก่อกบฏ 13 ครั้ง ฉีกและร่างรัฐธรรมนูญกติกาสูงสุดมาแล้ว 19 ฉบับ
เฉลี่ยไทยรัฐประหาร 3.5-4 ปีครั้ง
ตลอด 91 ปีของประชาธิปไตยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เฉลี่ยแล้วมีรัฐประหารและการก่อกบฎโดยกองทัพทุกๆ 3.5-4 ปีต่อครั้ง ทำให้ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆไม่สามารถนำพาประเทศก้าวข้ามพ้นสู่ประเทศพัฒนาแล้วได้ ติดกับดักประเทศด้อยพัฒนาทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมมาหลายทศวรรษ คุณภาพประชาชนส่วนใหญ่ยังต่ำกว่ามาตรฐานประเทศพัฒนาแล้วอย่างมาก
ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจติดอันดับต้นๆของโลก ระบบยุติธรรมถูกตั้งคำถาม ระบบนิติรัฐนิติธรรมถูกละเมิด ความเป็นธรรมทางสังคมอยู่ในระดับต่ำ การทุจริตคอร์รัปชันเกิดขึ้นโดยทั่วไป เจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูงอยู่ภายใต้อิทธิพลเถื่อน เจ้าหน้าที่ไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและไม่มีความเจริญก้าวหน้าในระบบราชการ แม้นสังคมไทยเป็นสังคมแห่งการประนีประนอม แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็รักความเป็นธรรม การได้เห็นความอยุติธรรมเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า ย่อมเป็นสิ่งเร้าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการปฏิรูปใหญ่ในระบบยุติธรรมได้ในอนาคต ต้องเร่งดำเนินการรื้อถอนมรดกระบอบอำนาจนิยม และซากทัศนะเผด็จการด้วยรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนและกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญแบบเปิดกว้างมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางจากคนทุกกลุ่มทุกชนชั้น รวมทั้ง ต้องร่วมกันตรวจสอบให้รัฐบาลโปร่งใส ทำตามสัญญาประชาคม ไม่ฉะนั้นจะเป็นเงื่อนไขหรือมีการสร้างเงื่อนไขให้รัฐบาลต้องสิ้นสุดก่อนเวลาอันควร หรือ แย่ที่สุด อาจมีรัฐประหารโดยวุฒิสภาหรือตุลาการภิวัฒน์เกิดขึ้นอีกได้ ส่วนการรัฐประหารโดยกองทัพนั้นมีความเสี่ยงต่ำมากในอนาคต
ชี้เลือกตั้ง14 พ.ค.สะท้อนเจตนารมณ์ปชช.แม้จะไม่ได้ผลลัพท์100%
รศ. ดร. อนุสรณ์ กล่าวต่อว่า สถาบันรัฐประหารจากกองทัพอ่อนกำลังลงอย่างมากภายหลังประชาชนเสียงข้างมากแสดงเจตนารมณ์ผ่านคูหาการเลือกตั้งอย่างสันติ แต่สถาบันรัฐประหารโดยใช้กลไกแบบอื่นไม่ได้หมดไปอย่างสิ้นเชิง ดูได้จากความพยายามในการบิดเบือนผลการเลือกตั้งของสมาชิกวุฒสภาบางส่วน ผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พ.ค. ที่ผ่านมาสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนส่วนใหญ่อย่างชัดเจนว่า ต้องการเปลี่ยนแปลงสู่ประชาธิปไตยและหยุดยั้งระบอบสืบทอดอำนาจของเผด็จการ คสช รวมทั้งต้องการปฏิรูปประเทศผ่านกลไกเลือกตั้งและระบบรัฐสภา จุดเปลี่ยนผ่านทางการเมืองครั้งนี้ไม่สามารถเป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนได้อย่างเต็มที่ แต่อย่างน้อยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างสันติ
และอยู่บนเส้นทางของความปรองดองสมานฉันท์ การที่ความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ได้รับการตอบสนองในบางส่วนเท่านั้น ก็เพราะกลไกสืบทอดอำนาจที่ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับสืบทอดอำนาจ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนผ่านนี้ผ่านการเลือกตั้งน่าจะเป็นความหวังของประชาชนได้หากรัฐบาลเพื่อไทยมุ่งมั่นในการเปิดให้มีการลงประชามติอย่างเสรีเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดย สสร ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน หรือ แก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยรื้อถอนมรดกระบอบอำนาจนิยมออกจากระบบการเมืองไทยได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่เพียงพอ จึงต้องมีการสร้างเครือข่าย ผลักดันนโยบาย แผนงาน กิจกรรมรณรงค์ต่างๆเพื่อขจัดซากทัศนะเผด็จการและฟื้นฟูค่านิยมให้หยั่งรากลึกในสังคมไทย
รัฐประหารทำกองทัพอ่อนแอ
รศ. ดร. อนุสรณ์ กล่าวขยายความต่อว่า จากการรัฐประหาร 13 ครั้งในประเทศไทย เราอาจสรุปขั้นตอนของการรัฐประหารได้ดังต่อไปนี้
1. สร้างความไม่เชื่อมั่นต่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง กล่าวหาว่า มีการทุจริตคอร์รัปชนหรือใช้อำนาจไม่เป็นธรรม หรือ ไม่จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ และ อ้างว่าระบบการเมืองปกติไม่สามารถแก้ปัญหาได้
2. กองทัพเข้ายึดอำนาจ และปราบปรามผู้ต่อต้านจนสำเร็จ รวมทั้งฉีกรัฐธรรมนูญทำลายระบบปกครองโดยกฎหมาย ให้หัวหน้ารัฐประหารใหญ่กว่ากติกาสูงสุดของประเทศ
3. กษัตริย์หรือผู้แทนพระองค์ลงนามรับรองรัฐประหาร (ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม) 4.องค์กรตุลาการตีความรับรองการรัฐประหารให้คณะรัฐประหารเป็น ‘รัฏฐาธิปัตย์’ และ ร่างรัฐธรรมนูญสืบทอดอำนาจ ส่วนใหญ่หลังการรัฐประหาร มักจะเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองและนำไปสู่การนองเลือดเสมอ หากไม่เกิดทันทีหลังการรัฐประหาร หลังจากนั้นระยะหนึ่งก็จะเกิดขึ้น รัฐประหารไม่นองเลือดจึงแทบไม่มีอยู่จริงในการเมืองไทย สถาบันการรัฐประหารได้ถูกสถาปนากลายเป็นสถาบันการเมืองอย่างหนึ่งในประเทศไทย ความเป็นสถาบันรัฐประหารโดยกองทัพอ่อนแอลงอย่างมากในโลกยุคใหม่ และ ผลลัพธ์ของการเลือกตั้ง 14 พ.ค. ศกนี้เป็นประจักษ์พยานที่ชัดเจนที่สุด
รศ. ดร. อนุสรณ์ กล่าวต่อว่า การสร้างฉันทามติไม่เห็นด้วยและต่อต้านการรัฐประหารและปฏิเสธทัศนะปรปักษ์ประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนเป็นเรื่องสำคัญต่อความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตยในระยะยาว ระบอบประชาธิปไตยสมบูรณ์อันประกอบไปด้วยประชาธิปไตยทางการเมือง ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ ประชาธิปไตยทางสังคมและวัฒนธรรม จะนำสู่ความเจริญก้าวหน้าพัฒนาสู่ความรุ่งเรืองของประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำ เปิดโอกาสให้ทุกคนอย่างเสมอภาค ลดผูกขาดเพิ่มการแข่งขันและแบ่งปัน ความสมบูรณ์พูนสุขและสันติธรรมย่อมบังเกิดขึ้นในสังคมไทย รวมทั้ง แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ยกระดับการเติบโตให้เต็มศักยภาพ แก้ปัญหาความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจและปัญหาวิกฤติหนี้สินให้ประสบความสำเร็จ
ชี้ถ้าไม่มีรัฐประหารไทยอาจก้าวข้ามประเทศรายได้ปานกลางไปแล้ว
หากไม่มีวิกฤตการณ์ทางการเมืองและตามมาด้วยการรัฐประหารสองครั้งในช่วง 17 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งมีรัฐบาลประชาธิปไตยที่มีคุณภาพสูง ประเทศไทยของเรา ณ. พ.ศ. นี้ ก็อาจสามารถก้าวข้ามพ้นประเทศรายได้ระดับปานกลางและเริ่มต้นเข้าสู่ประเทศรายได้สูง กลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ประชาชนก็จะมีระบบรัฐสวัสดิการอย่างถ้วนหน้าไปแล้วก็ได้ โครงสร้างระบบเศรษฐกิจที่มีการผูกขาดสูง เหลื่อมล้ำสูง ศักยภาพการแข่งขันและการยกระดับคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยยสำคัญ
รศ. ดร. อนุสรณ์ กล่าวต่อว่า การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมต่างหากที่จะแก้ไขปัญหาวิกฤติความขัดแย้งทางการเมืองได้ดีกว่า มีหลักฐานในเชิงประจักษ์จากผลการเลือกตั้ง 14 พ.ค. อย่างชัดเจน วิกฤติความขัดแย้งทางเมืองที่หยั่งรากลึกมาร่วม 17 ปีได้คลี่คลายตัวลงอย่างชัดเจน เริ่มบทใหม่ของการเมืองภายใต้ประชาธิปไตยแบบรัฐสภาต่อไป หากไม่มีการรัฐประหารในวันที่ 19 ก.ย. พ.ศ. 2549 และ 22 พ.ค. พ.ศ. 2557 รัฐบาลจากการเลือกตั้งที่มีปัญหาความชอบธรรมต้องหมดอำนาจลงจากผลการเลือกตั้งในที่สุด ระบบและสถาบันประชาธิปไตยจะพัฒนาต่อไปได้ ระบอบประชาธิปไตยจะเข้มแข็งขึ้นเช่นเดียวกับในอินโดนีเซียที่ครั้งหนึ่งเคยถูกปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหารมาอย่างยาวนาน เป็นประเทศที่มีความรุ่งเรืองสดใสกว่านี้ การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยเป็นกระบวนการที่ใช้เวลา บางประเทศประสบความสำเร็จ บางประเทศไม่ราบรื่น บางประเทศล้มเหลว
สถานการณ์ในปัจจุบันภายใต้รัฐบาลเพื่อไทยจะเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อและจุดเปลี่ยนแปลงของอนาคตของประเทศไทย ขอเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนยึดมั่นในกลไกรัฐสภาและแนวทางสันติวิธี ยอมรับความเห็นอันแตกต่างหลากหลาย หยุดละเมิดความเห็นต่างทางการเมืองด้วยอำนาจรัฐ เปิดโอกาสให้เสรีภาพและเจตจำนงอันแท้จริงของประชาชนได้ผลักดันให้เกิดการปฏิรูป ความเป็นธรรม ประชาธิปไตยและคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า ป้องปรามการทุจริตคอร์รัปชันให้เป็นที่ประจักษ์
ชง 8 ข้อเสนอปฎิรูปประเทศ-สถาปนารธน.ฉบับปชช.
ทั้งนี้มีข้อเสนอและความเห็นต่อแนวทางการสถาปนารัฐธรรมนูญฉบับประชาชนและการปฏิรูปประเทศเนื่องในโอกาสครบรอบ 17 ปีของการรัฐประหาร 19 ก.ย. ดังนี้
1. เห็นด้วยกับแนวทางและกรอบเวลาในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนตามข้อเสนอของรัฐบาลเพื่อไทย และเสนอให้มี ‘สภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศ’ ยกร่างรัฐธรรมนูญโดยความมีส่วนร่วมของคนไทยอย่างกว้างขวางที่สุด เพื่อสร้าง ‘พื้นที่ทางสังคม’ ให้คนไทยทุกฝ่ายได้มีโอกาสหันหน้ามาพูดคุยกันด้วยเหตุด้วยผล บนความ รู้สึก-นึก-คิด ว่าเป็น ‘คนพวกเดียวกัน’ ที่เหมือนอยู่บนเรือลำเดียวกัน ถ้าเรือเกิดล่มลง ทุกคนก็ต้องจมน้ำเหมือนกันหมด
2. เสนอให้มีการจัดตั้ง คณะกรรมการศึกษาการนิรโทษกรรมให้กับคดีทางการเมืองที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม และ ปล่อยตัวนักโทษทางความคิดทั้งหมดที่ต้องโทษภายใต้ระบอบเผด็จการอำนาจนิยม รวมทั้ง คืนความเป็นธรรมและเยียวยาให้กับทุกคนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมด้วย
3. เปิดโอกาสให้ “ผู้ลี้ภัยทางการเมือง” ในต่างประเทศได้กลับคืนสู่มาตุภูมิ รื้อฟื้นคดีใหม่และเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยยึดหลักนิติธรรม ได้รับการชดเชยเยียวยาตามสมควรแก่เหตุที่ไม่เป็นธรรมทั้งหลาย
4. ใช้โอกาสในกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญแบบมีส่วนร่วมของคนไทยอย่างกว้างขวางที่สุดนี้เป็นเครื่องมือแสวงหา ‘จุดหมายร่วม’ ในเรื่องหลัก ๆ ที่คนไทยทุกฝ่ายเห็นพ้องตรงกัน แล้วเขียนเป็นรัฐธรรมนูญเพื่อให้ประชาชนลงประชามติ รัฐธรรมนูญที่คนทุกฝ่ายมีส่วนร่วมยกร่างและให้ฉันทานุมัตินี้ จะกลายเป็น ‘จุดรวมความคิด’ ที่ ‘ประสานงานประสานประโยชน์’ คนไทยทั้งประเทศเข้าด้วยกันตามแนวพระราชดำรัสคุณธรรมของรัชกาลที่ 9 คือ “การที่แต่ละคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประสานงานประสานประโยชน์กัน ให้งานที่ทำสำเร็จผล ทั้งแก่ตน แก่ผู้อื่น และแก่ประเทศชาติ”