สิ่งใดเกิดดับ สิ่งนั้นไม่เที่ยง

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
ทีฆนิกาย มหาวรรค
 
 
             [๑๘๖]   สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็น
                          ธรรมดา บังเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป การเข้าไประงับสังขาร
                          เหล่านั้นเสียได้เป็นความสุข ดังนี้ ฯ

----------------------

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
สมุทยสูต
ว่าด้วยการเกิดดับแห่งสติปัฏฐาน ๔
             [๘๑๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่ง
สติปัฏฐาน ๔ เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ความเกิดแห่งกายเป็นอย่างไร? ความเกิดแห่งกายย่อมมี เพราะ
ความเกิดแห่งอาหาร ความดับแห่งกายย่อมมี เพราะความดับแห่งอาหาร ความเกิดแห่งเวทนา
ย่อมมี เพราะความเกิดแห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ ความ
เกิดแห่งจิตย่อมมี เพราะความเกิดแห่งนามรูป ความดับแห่งจิตย่อมมี เพราะความดับแห่ง
นามรูป ความเกิดแห่งธรรมย่อมมี เพราะความเกิดแห่งมนสิการ ความดับแห่งธรรมย่อมมี
เพราะความดับแห่งมนสิการ.

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ ภาษาบาลี อักษรไทย
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สุตฺต. สํ. มหาวารวคฺโค
 
      [๘๑๙]   สาวตฺถีนิทานํ  ฯ  จตุนฺนํ  ภิกฺขเว  สติปฏฺฐานานํ สมุทยญฺจ
อตฺถงฺคมญฺจ   เทสิสฺสามิ   ตํ   สุณาถ   ฯ   โก  จ  ภิกฺขเว  กายสฺส
สมุทโย   ฯ   อาหารสมุทยา  กายสฺส  สมุทโย  อาหารนิโรธา  กายสฺส
อตฺถงฺคโม   ผสฺสสมุทยา   เวทนานํ   สมุทโย   ผสฺสนิโรธา   เวทนานํ
อตฺถงฺคโม     นามรูปสมุทยา     จิตฺตสฺส    สมุทโย    นามรูปนิโรธา
จิตฺตสฺส   อตฺถงฺคโม  มนสิการสมุทยา  ธมฺมานํ  สมุทโย  มนสิการนิโรธา
ธมฺมานํ อตฺถงฺคโมติ ฯ

--------------------------------

ความไม่เที่ยงที่เค้าว่ากันนั้น ก็คือความเกิดดับนั่นเองครับ ท่านผู้อ่าน
จากสูตรที่ยกมานี้ ทั้งพระบาลีที่ถือกันว่าเป็นพระดำรัสจากพระโอษฐ์นั้น
ก็ใช้คำว่า "จิต" คือ จิตนั้นมันเป็นธรรมที่เกิดดับ เป็นสังขารธรรมชนิดหนึ่ง

และในพระสูตรทียกมา และขีดเส้นใต้ให้เห็นนี้ หมายความว่า จิตเกิดขึ้น นามรูปก็เกิดขึ้น
จิตดับไป นามรูปก็ดับ

มีระบุในปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ชัดเจนว่า "เพราะมีวิญญาณ จึงมีนามรูป"
ดังนั้น จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ล้วนเป็นธรรมอย่างเดียวกันนั่นเอง
ต่างกันแค่กาละเทศะในการพูดและการนำมาใช้พูดเท่านั้นเอง

ง่ายๆ ว่า ท่านใช้ "จิต" เมื่อพูดในระดับ ร่างกาย และจิตใจ 
ท่านใช้วิญญาณเมื่อต้องการจะพูดภาคเทคนิคของจิต

เหมือนเราพูดว่า "แขนหัก"
ความจริงแล้ว กระดูกต่างหากที่หัก ส่วนอื่นๆ ที่มาประกอบกันเป็นแขนไม่ได้หัก

ฉันใดก็ฉันนั้น จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดทั้งคืนและวัน

จิตไม่เที่ยงนั่นเองครับ
ใครเผยแพร่ว่าจิตเที่ยง หาใช่ชาวพุทธไม่ โดยเฉพาะพุทธเถรวาทด้วยแล้ว
จิตเป็นสังขารธรรมที่เป็นตัวทุกข์เลยทีเดียว

อนุโมทนาบุญท่านผู้อ่าน ครับ.
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 17
เพิ่มเติมครับ
แนวคิดเรื่องจิต ในพระพุทธศาสนา
http://pantip.com/topic/31525862/comment4


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
อรรถกถา ธรรมสังคณีปกรณ์
จิตตุปปาทกัณฑ์ กุศลธรรม กามาวจรมหากุศลจิต ๘ จิตดวงที่ ๑

https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=16&p=3
     ความหมายของคำว่าจิต           
               ความหมายของคำแห่งจิต ข้าพเจ้ากล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า อารมฺมณํ จินฺเตตีติ จิตฺตํ (ธรรมที่ชื่อว่าจิต เพราะอรรถว่า คิดซึ่งอารมณ์) นั่นแหละ ก็เมื่อว่าโดยลักษณะเป็นต้น จิตมีการรู้แจ้งอารมณ์เป็นลักษณะ (วิชานนลกฺขณํ) มีการเป็นหัวหน้าเป็นรส (ปุพฺพงฺคมรสํ) มีการเกี่ยวข้องกันเป็นปัจจุปัฏฐาน (สนฺธานปจฺจุปฏฺฐานํ) มีนามรูปเป็นปทัฏฐาน (นามรูปปทฏฺฐานํ). จริงอยู่ จิตที่เป็นไปในภูมิ ๔ ชื่อว่า ไม่มีการรู้แจ้งอารมณ์เป็นลักษณะก็หาไม่ จิตทั้งหมดมีการรู้แจ้งอารมณ์ทั้งนั้น.
               ก็เพ่งถึงทวารแล้ว จิตก็เป็นหัวหน้า คือมีปกติเที่ยวไปก่อนในที่เป็นที่กระทำให้แจ่มแจ้งซึ่งอารมณ์. จริงอยู่ บุคคลย่อมรู้แจ้งรูปารมณ์อันเห็นด้วยจักษุ ด้วยจิตนั่นแหละ ฯลฯ ย่อมรู้แจ้งธรรมารมณ์ อันรู้แล้วด้วยใจ ด้วยจิตนั่นแหละ เหมือนอย่างว่า บุคคลผู้รักษาพระนครนั่งอยู่ที่ทาง ๔ แพร่ง ในท่ามกลางพระนครย่อมใคร่ครวญ ย่อมกำหนดชนผู้มาแล้วๆ ว่า คนนี้เป็นเจ้าถิ่น คนนี้เป็นผู้จรมา ฉันใด พึงทราบข้ออุปไมยฉันนั้น. ข้อนี้เหมือนกับคำที่พระมหาเถระนามว่านาคเสนกล่าวไว้ว่า ธรรมดาบุคคลผู้รักษาพระนคร นั่งอยู่ที่ทาง ๔ แพร่ง ท่ามกลางพระนครพึงเห็นบุคคลผู้มาจากทิศตะวันออก พึงเห็นบุคคลผู้มาจากทิศตะวันตก จากทิศทักษิณ จากทิศอุดร ฉันใด ข้าแต่มหาบพิตร ฉันนั้นนั่นแหละ บุคคลย่อมเห็นรูปใดด้วยจักษุ ย่อมรู้แจ้งรูปนั้นด้วยวิญญาณ ย่อมฟังเสียงใดด้วยโสต ย่อมสูดกลิ่นด้วยฆานะ ย่อมลิ้มรสด้วยชิวหา ย่อมถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ย่อมรู้แจ้งธรรมด้วยใจ ย่อมรู้แจ้งสิ่งนั้นๆ ด้วยวิญญาณ เพราะเพ่งถึงทวารแล้ว จิตเท่านั้นเป็นหัวหน้า เป็นธรรมชาติเที่ยวไปข้างหน้า ในฐานะที่กระทำอารมณ์ให้แจ่มแจ้งอย่างนี้ ฉะนั้นจึงกล่าวว่า มีการเป็นหัวหน้าเป็นรส ดังนี้.
               จิตนี้นั้น ดวงหลังๆ เมื่อเกิดขึ้น ย่อมปรากฏติดต่อกันทีเดียว เพราะทำดวงต้นๆ ให้สืบต่อกันนั่นเอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามีการเกี่ยวข้องกัน เป็นปัจจุปัฏฐาน แต่ว่า ในปัญจโวการภพ (ภพที่มีขันธ์ ๕) จิตนั้น มีนามรูปเป็นปทัฏฐาน ในจตุโวการภพ มีนามเท่านั้นเป็นปทัฏฐานโดยแน่นอน เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า จิตมีนามและรูปเป็นปทัฏฐาน ดังนี้.
(มีต่อ)
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=16&p=3
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่