เอกชนชี้ขั้วอำนาจเดิมสกัดเพื่ออุ้มกลุ่มทุน หาก ‘พิธา’ ไม่ผ่าน หวังก้าวไกลร่วมรัฐบาล
https://www.matichon.co.th/economy/news_4087271
เอกชนชี้ขั้วอำนาจเดิมสกัดเพื่ออุ้มกลุ่มทุน หาก ‘พิธา’ ไม่ผ่าน หวังก้าวไกลร่วมรัฐบาลปฏิรูปสังคม
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม นาย
อิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงกรณีการโหวตนายกรัฐมนตรี รอบที่ 2 ในวันที่ 19 กรกฎาคม ว่า ในความเห็นส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับตำแหน่งรองประธาน ส.อ.ท. มองว่า การที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (ส.ส.) บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรค และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล จะได้รับคะแนนโหวตรอบที่ 2 ให้เป็นนายกรัฐมนตรีถือเป็นเรื่องที่ยากมาก จากสถานการณ์ปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ขอแสดงความนับถือ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 13 คน ที่ได้ลงมติ เห็นชอบ ให้นายพิธา เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นไปตามเสียงข้างมากของประชาชนที่เลือกตั้ง ขณะที่การโหวตครั้งที่ 2 หวังว่า ส.ว. จะกล้าลงมติรับรองเห็นชอบการโหวตเห็นชอบนายกรัฐมนตรีจากพรรคการเมืองเสียงข้างมาก มากกว่า 13 คน
นาย
อิศเรศ กล่าวว่า สำหรับส.ว.ที่ไม่สบายใจในการปฏิบัติหน้าที่โหวตนายกฯ ก็น่าเลือกการยุติการปฏิบัติหน้าที่ หรือลาออก เหมือนกับกรณี น.ส.เรณู ตังคจิวางกูร หนึ่งในส.ว.ที่ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา หรือก่อนโหวตนายกนายกรัฐมนตรีเพียง 1 วัน แทนการไม่มาประชุม หรือ งดออกเสียง ซึ่งส.ว.สามารถลาออกได้ทั้งก่อนเปิดโหวตในวันที่ 19 กรกฎาคม หรือลงคะแนนเสร็จประกาศลาออกก็ได้เช่นกัน
นาย
อิศเรศ กล่าวอีกว่า สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ เข้าใจว่าเป็นเกมการเมือง ซึ่งไม่ใช่แค่ไม่เห็นด้วยกับเรื่องการแก้ ม.112 แล้วจะไม่สนับสนุนพรรคก้าวไกล แต่ขั้วอำนาจเดิมมองว่า หากพรรคก้าวไกลเข้ามาบริหาร อาจจะขัดเรื่องทุนนิยมผูกขาดและอำนาจนิยม ดังนั้นจึงไม่อยากให้พรรคก้าวไกลเข้ามาเป็นรัฐบาล ขณะเดียวกัน พรรคก้าวไกล ก็มีนโยบายที่สุดโต่งเกินไป และไม่คาดคิดว่าพรรคตัวเองจะชนะการเลือกตั้งมาเป็นแกนนำรัฐบาลจัดตั้งรัฐบาลได้จึงไม่ได้เตรียมตัวเอาไว้ก่อน
“
ต่างฝ่ายต่างดึงดันเข้าสู่ ภาวะเดดล็อก (Deadlock) ทางการเมือง กล่าวคือ ฝ่ายชนะการเลือกตั้งเดินหน้าสู่สิ่งที่เคยหาเสียงไว้แบบเต็มรูปแบบ ทั้งๆที่คุมความได้เปรียบมากมาย ด้วยเสียงสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ส่วนฝ่ายที่พ่ายแพ้การเลือกตั้งและกำลังจะสูญเสียอำนาจทั้งทางเศรษฐกิจและการปกครองก็ต่อสู้ทุกรูปแบบ โดยใช้เครื่องมือเดิมๆ คือ นิติสงครามซึ่งมาจากนิติบริกร” นาย
อิศเรศ กล่าว
นาย
อิศเรศ กล่าวว่า ดังนั้น ท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ และความเดือดร้อนของประชาชนรวมถึงปัญหาสังคมอื่นๆ ที่รออยู่มากมาย ควรจะมีทางออกที่ประเทศจะบอบช้ำน้อยที่สุด ทุกฝ่ายจะได้มีสติในการตัดสินใจ และยอมถอยคนละครึ่งก้าว โดย
1. กลไก ส.ส. รวบรวมเสียงพรรคร่วมรัฐบาลให้กว่า 312 เสียง และจัดทำนโยบายรัฐบาลที่เดินสายกลาง ไม่สุดโต่งจนเกินไป
2. กลไก ส.ว. ที่มีวุฒิภาวะที่ดี
และ 3. ประชาชนและกองเชียร์ของทุกฝ่ายควรส่งเสียงเชียร์อย่างมีความอดทน และ ไม่สร้างเงื่อนไขให้นำไปสู่ความรุนแรงใดๆ
ทั้งนี้ เพื่อให้มีทางออกทางการเมือง และอนาคตที่ดีของประเทศไทย
นาย
อิศเรศ กล่าวว่า อย่างไรก็ดี มีความเห็นว่าไม่อยากให้พรรคก้าวไกลกลับไปเป็นฝ่ายค้าน และไม่อยากให้ขั้วอำนาจเดิมกลับขึ้นมาเป็นรัฐบาลอีก เนื่องจาก 9 ปีที่ผ่านมาหลังการยึดอำนาจโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และการสืบทอดอำนาจ ประเทศไทยบอบช้ำทั้งทางเศรษฐกิจ ต้องยอมรับอย่างประจักษ์ว่าปัญหารากฐานอย่างความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการคอร์รัปชั่นไม่เคยถูกแก้ไขอย่างจริงจังเลย จึงอยากให้พรรคอื่นเข้ามาบริหารงานต่อบ้าง จะได้แก้ไขปัญหาเดิมที่เคยเกิด
นาย
อิศเรศ กล่าวว่า หาก นายพิธา ไม่ได้รับคะแนนโหวตให้เป็นนายกฯ ในวันที่ 19 กรกฎาคมนี้ และครั้งต่อไปเปิดทางให้พรรคอันดับสองอย่างพรรคเพื่อไทยเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี แต่อย่างน้อยขอให้พรรคก้าวไกล ยังคงเป็นฝ่ายรัฐบาลต่อไป เพื่อเข้ามาปฏิรูปสังคม ส่วนพรรคเพื่อไทยก็แก้ปัญหาเศรษฐกิจ และพรรคร่วมต่างก็เข้ามาบริหารตามความถนัดของพรรคที่แบ่งหน้าที่กัน เพื่อเดินหน้าประเทศต่อไป
นาย
อิศเรศ กล่าวว่า ส่วนกรณีหากโหวตนายกฯ ไม่จบในรอบสองนี้ มองว่ายังไม่มีผลต่อเรื่องเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นการลงทุน เนื่องจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับรองผลการเลือกตั้งและรายชื่อส.ส. 500 รายชื่อ เร็วว่า 60 วัน จึงทำให้กระบวนการจัดตั้งรัฐบาลเร็วขึ้น แม้จะมีการโหวตนายกหลายรอบ แต่ถ้าอยู่ในไทม์ไลน์จัดตั้งรัฐบาลเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2566 นี้ ก็ยังเป็นไปตามที่เอกชนคาดหวังไว้
อดีตเลขาฯสมช. ชี้วิกฤตโหวตนายกฯ ทำคนตาสว่าง เห็นชัดเรื่องนี้ ทำกันเป็นขบวนการ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4085848
อดีตเลขาฯสมช. ชี้วิกฤตโหวตนายกฯ ทำคนตาสว่าง เห็นชัดๆ เรื่องนี้ทำกันเป็นขบวนการ
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พล.ท.
ภราดร พัฒนถาบุตร อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวว่า วิกฤตการโหวตตั้งนายกรัฐมนตรียามนี้ ประชาชนตาสว่างแล้วว่ามีขบวนการอำมหิตต้องการขจัด นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ไม่ให้เป็นนายกรัฐมนตรี รวมทั้งดีดพรรคก้าวไกลไม่ให้ร่วมรัฐบาล แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเรื่องนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าตราบใดที่พรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยยังคงยึดมั่นเจตจำนงของประชาชน 26 ล้านเสียง ที่ได้สร้างความชอบธรรมผนังทองแดงกำแพงเหล็กหนุนหลังไว้ให้ ก็มิอาจมีอุปสรรคใดจะมาขวางกั้นนายพิธาได้ การที่ ส.ว.บางกลุ่มอ้างเหตุผลร้อยแปดคัดค้านไม่โหวตให้นายพิธาได้เป็นนายกฯ ประชาชนเขาต่างรู้ถึงก้นบึ้งว่าเป็นเหตุผลลับลวงพราง กลุ่มคัดค้านมีที่มาที่ไม่ชอบธรรม มีพฤติกรรมหน้าด้าน
ฉะนั้น เทคนิคการต่อสู้กับคนจำพวกนี้ต้องยึดหลักความชอบธรรมจากศรัทธาแรงกล้าของประชาชนหนุนหลังผสานเข้ากับการใช้รูปมวยตื๊อเดินหน้าเข้าต่อสู้ กงล้อกาลเวลาที่มีพลังศรัทธาประชาชนร่วมกันเข็นมันจะเดินหน้าไปควบคู่กับการขัดเกลาใบหน้าคนหน้าด้านให้บางลงจนยอมจำนนในท้ายที่สุด ถึงมันอาจต้องใช้เวลาไปบ้าง แต่ประชาชนเขาก็พร้อมยอมรับ เพื่อให้ได้การเปลี่ยนแปลงตามเจตจำนง ยืนยันได้จากผลโพลของนิด้าโพลที่ 40 กว่าเปอร์เซ็นต์ระบุว่า ให้โหวตชื่อพิธาซ้ำไปจนกว่าจะผ่านจนได้
‘ก้าวไกล’ ชงร่างกม.เปลี่ยนประเทศเข้าสภา 2 ชุดแรก 7 ฉบับ หวังส.ส.ทุกพรรคหนุน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4086134
‘ก้าวไกล’ ชงร่าง กม.เปลี่ยนประเทศเข้าสภา 2 ชุดแรก 7 ฉบับ แก้ปัญหา ปชช. หวัง ส.ส.ทุกพรรคหนุน
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ที่รัฐสภา ส.ส.พรรคก้าวไกล (ก.ก.) นำโดย นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค ก.ก. เสนอร่างกฎหมายเปลี่ยนประเทศ จำนวน 2 ชุด รวม 7 ฉบับ ได้แก่ ชุดกฎหมายปฏิรูปกองทัพ 5 ฉบับ และชุดกฎหมายปิดช่องทุนผูกขาด 2 ฉบับ โดยมีตัวแทนประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้รับเอกสาร
นาย
พริษฐ์กล่าวว่า สาเหตุของการมีอยู่ของพรรค ก.ก. คือการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้มีการเมืองที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน มีเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างเป็นธรรม มีระบบการบริหารราชการที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ และมีสังคมที่เท่าเทียมและโอบรับความหลากหลาย เริ่มต้นจากการผลักดันนโยบายที่พรรค ก.ก.ได้ให้สัญญากับประชาชนในการเลือกตั้ง ผ่านสองกลไกสำคัญคือ กลไกฝ่ายบริหารและกลไกฝ่ายนิติบัญญัติ แม้การจัดตั้งรัฐบาลตามมติมหาชนเพื่อขับเคลื่อนนโยบายผ่านกลไกฝ่ายบริหารยังไม่แล้วเสร็จ แต่พรรค ก.ก. เราพร้อมเดินหน้าในการใช้กลไกนิติบัญญัติเพื่อขับเคลื่อนนโยบายทันที ผ่านการเสนอชุดกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา เพื่อแก้ไขปัญหาของพี่น้องประชาชนและของประเทศ
นาย
พริษฐ์กล่าวว่า ปัจจุบันพรรค ก.ก.ได้เตรียม ‘
ชุดกฎหมายเปลี่ยนประเทศ’ ไว้ทั้งหมด 14 ชุด โดยวันนี้เป็นการยื่นร่างกฎหมาย 2 ชุดแรก รวมกันทั้งหมด 7 ฉบับ ได้แก่ ชุดที่หนึ่ง ชุดกฎหมายปฏิรูปกองทัพ (Demilitarize) จำนวน 5 ฉบับ เพื่อทำให้กองทัพมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และอยู่ใต้รัฐบาลพลเรือน ประกอบด้วย
1. ร่าง พ.ร.บ.รับราชการทหาร เพื่อยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหารในยามปกติ และเปลี่ยนเป็นระบบสมัครใจ 100%
2. ร่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม เพื่อตัดอำนาจสภากลาโหม ให้พลเรือนอยู่เหนือกองทัพ
3. ร่าง พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ เพื่อเพิ่มความโปร่งใสเรื่องภาระค่าใช้จ่ายและเงินนอกงบประมาณทั้งหมดของรัฐ
4. ร่าง พ.ร.บ.ยกเลิก พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 เพื่อดำเนินการยุบกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)
5. ร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกประกาศ คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. เพื่อยกเลิกประกาศและคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพ
ชุดที่สอง ชุดกฎหมายปิดช่องทุนผูกขาด (Demonopolize) จำนวน 2 ฉบับ เพื่อส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม และยกระดับขีดความสามารถของเศรษฐกิจไทย ประกอบด้วย
1. ร่าง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต หรือร่าง ‘สุราก้าวหน้า’ เพื่อปลดล็อกการผลิตสุราของผู้ผลิตรายย่อยและสุราชุมชน
2. ร่าง พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า เพื่อสร้างกติกาแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม ปฏิรูปคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า และออกกฎ ‘คนฮั้ววงแตก’ ในการป้องกันการฮั้วประมูลของบางบริษัทที่ร่วมมือกันผูกขาดหรือลดการแข่งขัน
นาย
พริษฐ์กล่าวว่า ส่วนชุดกฎหมายเปลี่ยนประเทศอีก 12 ชุด ที่พรรค ก.ก.จะยื่นต่อสภาหลังจากนี้ ประกอบด้วย ชุดกฎหมายปลดล็อกท้องถิ่น, ชุดกฎหมายปฏิรูประบบราชการ, ชุดกฎหมายป้องกันการทุจริต, ชุดกฎหมายยกระดับบริการสาธารณะ, ชุดกฎหมายปฏิรูปที่ดิน, ชุดกฎหมายคุ้มครองสิทธิแรงงาน, ชุดกฎหมายรักษาสิ่งแวดล้อม, ชุดกฎหมายปฏิรูประบบภาษี, ชุดกฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ, ชุดกฎหมายโอบรับความหลากหลาย, ชุดกฎหมายยุติความขัดแย้ง และชุดกฎหมายแก้รัฐธรรมนูญ
“
พรรค ก.ก.เชื่อว่าหากได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ชุดกฎหมายดังกล่าวจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนว่าประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม เป็นไปได้ โดยมีจุดเริ่มต้นที่สภาผู้แทนราษฎร”
เมื่อถามว่าการยื่นเรื่องปฏิรูปกองทัพในวันนี้ จะส่งผลต่อเสียงสนับสนุนในการโหวตนายกฯ วันที่ 19 กรกฎาคมหรือไม่ เพราะ ส.ว.บางส่วนก็เป็นคนในกองทัพ นาย
พริษฐ์กล่าวว่า ทั้งหมดเป็นนโยบายที่สื่อสารไปแล้วก่อนการเลือกตั้ง จึงไม่น่ามีปัญหาอะไร ส่วนเรื่องความคืบหน้าการยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ไปก่อนหน้านี้ เป็นหน้าที่รัฐสภาว่าสามารถบรรจุเข้าวาระได้เมื่อใด แต่จากการสอบถามก็ทราบมาว่ามีการตรวจรายชื่อครบถ้วนเกิน 100 คนแล้ว ไม่ติดขัดอะไรแล้ว
JJNY : เอกชนชี้ขั้วอำนาจเดิมสกัดเพื่ออุ้มกลุ่มทุน│ชี้วิกฤตโหวตนายกฯทำคนตาสว่าง│‘ก้าวไกล’ชงร่างกม.│เกาหลีจัดประชุมรับมือ
https://www.matichon.co.th/economy/news_4087271
เอกชนชี้ขั้วอำนาจเดิมสกัดเพื่ออุ้มกลุ่มทุน หาก ‘พิธา’ ไม่ผ่าน หวังก้าวไกลร่วมรัฐบาลปฏิรูปสังคม
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงกรณีการโหวตนายกรัฐมนตรี รอบที่ 2 ในวันที่ 19 กรกฎาคม ว่า ในความเห็นส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับตำแหน่งรองประธาน ส.อ.ท. มองว่า การที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (ส.ส.) บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรค และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล จะได้รับคะแนนโหวตรอบที่ 2 ให้เป็นนายกรัฐมนตรีถือเป็นเรื่องที่ยากมาก จากสถานการณ์ปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ขอแสดงความนับถือ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 13 คน ที่ได้ลงมติ เห็นชอบ ให้นายพิธา เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นไปตามเสียงข้างมากของประชาชนที่เลือกตั้ง ขณะที่การโหวตครั้งที่ 2 หวังว่า ส.ว. จะกล้าลงมติรับรองเห็นชอบการโหวตเห็นชอบนายกรัฐมนตรีจากพรรคการเมืองเสียงข้างมาก มากกว่า 13 คน
นายอิศเรศ กล่าวว่า สำหรับส.ว.ที่ไม่สบายใจในการปฏิบัติหน้าที่โหวตนายกฯ ก็น่าเลือกการยุติการปฏิบัติหน้าที่ หรือลาออก เหมือนกับกรณี น.ส.เรณู ตังคจิวางกูร หนึ่งในส.ว.ที่ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา หรือก่อนโหวตนายกนายกรัฐมนตรีเพียง 1 วัน แทนการไม่มาประชุม หรือ งดออกเสียง ซึ่งส.ว.สามารถลาออกได้ทั้งก่อนเปิดโหวตในวันที่ 19 กรกฎาคม หรือลงคะแนนเสร็จประกาศลาออกก็ได้เช่นกัน
นายอิศเรศ กล่าวอีกว่า สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ เข้าใจว่าเป็นเกมการเมือง ซึ่งไม่ใช่แค่ไม่เห็นด้วยกับเรื่องการแก้ ม.112 แล้วจะไม่สนับสนุนพรรคก้าวไกล แต่ขั้วอำนาจเดิมมองว่า หากพรรคก้าวไกลเข้ามาบริหาร อาจจะขัดเรื่องทุนนิยมผูกขาดและอำนาจนิยม ดังนั้นจึงไม่อยากให้พรรคก้าวไกลเข้ามาเป็นรัฐบาล ขณะเดียวกัน พรรคก้าวไกล ก็มีนโยบายที่สุดโต่งเกินไป และไม่คาดคิดว่าพรรคตัวเองจะชนะการเลือกตั้งมาเป็นแกนนำรัฐบาลจัดตั้งรัฐบาลได้จึงไม่ได้เตรียมตัวเอาไว้ก่อน
“ต่างฝ่ายต่างดึงดันเข้าสู่ ภาวะเดดล็อก (Deadlock) ทางการเมือง กล่าวคือ ฝ่ายชนะการเลือกตั้งเดินหน้าสู่สิ่งที่เคยหาเสียงไว้แบบเต็มรูปแบบ ทั้งๆที่คุมความได้เปรียบมากมาย ด้วยเสียงสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ส่วนฝ่ายที่พ่ายแพ้การเลือกตั้งและกำลังจะสูญเสียอำนาจทั้งทางเศรษฐกิจและการปกครองก็ต่อสู้ทุกรูปแบบ โดยใช้เครื่องมือเดิมๆ คือ นิติสงครามซึ่งมาจากนิติบริกร” นายอิศเรศ กล่าว
นายอิศเรศ กล่าวว่า ดังนั้น ท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ และความเดือดร้อนของประชาชนรวมถึงปัญหาสังคมอื่นๆ ที่รออยู่มากมาย ควรจะมีทางออกที่ประเทศจะบอบช้ำน้อยที่สุด ทุกฝ่ายจะได้มีสติในการตัดสินใจ และยอมถอยคนละครึ่งก้าว โดย
1. กลไก ส.ส. รวบรวมเสียงพรรคร่วมรัฐบาลให้กว่า 312 เสียง และจัดทำนโยบายรัฐบาลที่เดินสายกลาง ไม่สุดโต่งจนเกินไป
2. กลไก ส.ว. ที่มีวุฒิภาวะที่ดี
และ 3. ประชาชนและกองเชียร์ของทุกฝ่ายควรส่งเสียงเชียร์อย่างมีความอดทน และ ไม่สร้างเงื่อนไขให้นำไปสู่ความรุนแรงใดๆ
ทั้งนี้ เพื่อให้มีทางออกทางการเมือง และอนาคตที่ดีของประเทศไทย
นายอิศเรศ กล่าวว่า อย่างไรก็ดี มีความเห็นว่าไม่อยากให้พรรคก้าวไกลกลับไปเป็นฝ่ายค้าน และไม่อยากให้ขั้วอำนาจเดิมกลับขึ้นมาเป็นรัฐบาลอีก เนื่องจาก 9 ปีที่ผ่านมาหลังการยึดอำนาจโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และการสืบทอดอำนาจ ประเทศไทยบอบช้ำทั้งทางเศรษฐกิจ ต้องยอมรับอย่างประจักษ์ว่าปัญหารากฐานอย่างความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการคอร์รัปชั่นไม่เคยถูกแก้ไขอย่างจริงจังเลย จึงอยากให้พรรคอื่นเข้ามาบริหารงานต่อบ้าง จะได้แก้ไขปัญหาเดิมที่เคยเกิด
นายอิศเรศ กล่าวว่า หาก นายพิธา ไม่ได้รับคะแนนโหวตให้เป็นนายกฯ ในวันที่ 19 กรกฎาคมนี้ และครั้งต่อไปเปิดทางให้พรรคอันดับสองอย่างพรรคเพื่อไทยเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี แต่อย่างน้อยขอให้พรรคก้าวไกล ยังคงเป็นฝ่ายรัฐบาลต่อไป เพื่อเข้ามาปฏิรูปสังคม ส่วนพรรคเพื่อไทยก็แก้ปัญหาเศรษฐกิจ และพรรคร่วมต่างก็เข้ามาบริหารตามความถนัดของพรรคที่แบ่งหน้าที่กัน เพื่อเดินหน้าประเทศต่อไป
นายอิศเรศ กล่าวว่า ส่วนกรณีหากโหวตนายกฯ ไม่จบในรอบสองนี้ มองว่ายังไม่มีผลต่อเรื่องเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นการลงทุน เนื่องจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับรองผลการเลือกตั้งและรายชื่อส.ส. 500 รายชื่อ เร็วว่า 60 วัน จึงทำให้กระบวนการจัดตั้งรัฐบาลเร็วขึ้น แม้จะมีการโหวตนายกหลายรอบ แต่ถ้าอยู่ในไทม์ไลน์จัดตั้งรัฐบาลเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2566 นี้ ก็ยังเป็นไปตามที่เอกชนคาดหวังไว้
อดีตเลขาฯสมช. ชี้วิกฤตโหวตนายกฯ ทำคนตาสว่าง เห็นชัดเรื่องนี้ ทำกันเป็นขบวนการ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4085848
อดีตเลขาฯสมช. ชี้วิกฤตโหวตนายกฯ ทำคนตาสว่าง เห็นชัดๆ เรื่องนี้ทำกันเป็นขบวนการ
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวว่า วิกฤตการโหวตตั้งนายกรัฐมนตรียามนี้ ประชาชนตาสว่างแล้วว่ามีขบวนการอำมหิตต้องการขจัด นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ไม่ให้เป็นนายกรัฐมนตรี รวมทั้งดีดพรรคก้าวไกลไม่ให้ร่วมรัฐบาล แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเรื่องนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าตราบใดที่พรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยยังคงยึดมั่นเจตจำนงของประชาชน 26 ล้านเสียง ที่ได้สร้างความชอบธรรมผนังทองแดงกำแพงเหล็กหนุนหลังไว้ให้ ก็มิอาจมีอุปสรรคใดจะมาขวางกั้นนายพิธาได้ การที่ ส.ว.บางกลุ่มอ้างเหตุผลร้อยแปดคัดค้านไม่โหวตให้นายพิธาได้เป็นนายกฯ ประชาชนเขาต่างรู้ถึงก้นบึ้งว่าเป็นเหตุผลลับลวงพราง กลุ่มคัดค้านมีที่มาที่ไม่ชอบธรรม มีพฤติกรรมหน้าด้าน
ฉะนั้น เทคนิคการต่อสู้กับคนจำพวกนี้ต้องยึดหลักความชอบธรรมจากศรัทธาแรงกล้าของประชาชนหนุนหลังผสานเข้ากับการใช้รูปมวยตื๊อเดินหน้าเข้าต่อสู้ กงล้อกาลเวลาที่มีพลังศรัทธาประชาชนร่วมกันเข็นมันจะเดินหน้าไปควบคู่กับการขัดเกลาใบหน้าคนหน้าด้านให้บางลงจนยอมจำนนในท้ายที่สุด ถึงมันอาจต้องใช้เวลาไปบ้าง แต่ประชาชนเขาก็พร้อมยอมรับ เพื่อให้ได้การเปลี่ยนแปลงตามเจตจำนง ยืนยันได้จากผลโพลของนิด้าโพลที่ 40 กว่าเปอร์เซ็นต์ระบุว่า ให้โหวตชื่อพิธาซ้ำไปจนกว่าจะผ่านจนได้
‘ก้าวไกล’ ชงร่างกม.เปลี่ยนประเทศเข้าสภา 2 ชุดแรก 7 ฉบับ หวังส.ส.ทุกพรรคหนุน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4086134
‘ก้าวไกล’ ชงร่าง กม.เปลี่ยนประเทศเข้าสภา 2 ชุดแรก 7 ฉบับ แก้ปัญหา ปชช. หวัง ส.ส.ทุกพรรคหนุน
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ที่รัฐสภา ส.ส.พรรคก้าวไกล (ก.ก.) นำโดย นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค ก.ก. เสนอร่างกฎหมายเปลี่ยนประเทศ จำนวน 2 ชุด รวม 7 ฉบับ ได้แก่ ชุดกฎหมายปฏิรูปกองทัพ 5 ฉบับ และชุดกฎหมายปิดช่องทุนผูกขาด 2 ฉบับ โดยมีตัวแทนประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้รับเอกสาร
นายพริษฐ์กล่าวว่า สาเหตุของการมีอยู่ของพรรค ก.ก. คือการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้มีการเมืองที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน มีเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างเป็นธรรม มีระบบการบริหารราชการที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ และมีสังคมที่เท่าเทียมและโอบรับความหลากหลาย เริ่มต้นจากการผลักดันนโยบายที่พรรค ก.ก.ได้ให้สัญญากับประชาชนในการเลือกตั้ง ผ่านสองกลไกสำคัญคือ กลไกฝ่ายบริหารและกลไกฝ่ายนิติบัญญัติ แม้การจัดตั้งรัฐบาลตามมติมหาชนเพื่อขับเคลื่อนนโยบายผ่านกลไกฝ่ายบริหารยังไม่แล้วเสร็จ แต่พรรค ก.ก. เราพร้อมเดินหน้าในการใช้กลไกนิติบัญญัติเพื่อขับเคลื่อนนโยบายทันที ผ่านการเสนอชุดกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา เพื่อแก้ไขปัญหาของพี่น้องประชาชนและของประเทศ
นายพริษฐ์กล่าวว่า ปัจจุบันพรรค ก.ก.ได้เตรียม ‘ชุดกฎหมายเปลี่ยนประเทศ’ ไว้ทั้งหมด 14 ชุด โดยวันนี้เป็นการยื่นร่างกฎหมาย 2 ชุดแรก รวมกันทั้งหมด 7 ฉบับ ได้แก่ ชุดที่หนึ่ง ชุดกฎหมายปฏิรูปกองทัพ (Demilitarize) จำนวน 5 ฉบับ เพื่อทำให้กองทัพมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และอยู่ใต้รัฐบาลพลเรือน ประกอบด้วย
1. ร่าง พ.ร.บ.รับราชการทหาร เพื่อยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหารในยามปกติ และเปลี่ยนเป็นระบบสมัครใจ 100%
2. ร่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม เพื่อตัดอำนาจสภากลาโหม ให้พลเรือนอยู่เหนือกองทัพ
3. ร่าง พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ เพื่อเพิ่มความโปร่งใสเรื่องภาระค่าใช้จ่ายและเงินนอกงบประมาณทั้งหมดของรัฐ
4. ร่าง พ.ร.บ.ยกเลิก พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 เพื่อดำเนินการยุบกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)
5. ร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกประกาศ คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. เพื่อยกเลิกประกาศและคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพ
ชุดที่สอง ชุดกฎหมายปิดช่องทุนผูกขาด (Demonopolize) จำนวน 2 ฉบับ เพื่อส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม และยกระดับขีดความสามารถของเศรษฐกิจไทย ประกอบด้วย
1. ร่าง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต หรือร่าง ‘สุราก้าวหน้า’ เพื่อปลดล็อกการผลิตสุราของผู้ผลิตรายย่อยและสุราชุมชน
2. ร่าง พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า เพื่อสร้างกติกาแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม ปฏิรูปคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า และออกกฎ ‘คนฮั้ววงแตก’ ในการป้องกันการฮั้วประมูลของบางบริษัทที่ร่วมมือกันผูกขาดหรือลดการแข่งขัน
นายพริษฐ์กล่าวว่า ส่วนชุดกฎหมายเปลี่ยนประเทศอีก 12 ชุด ที่พรรค ก.ก.จะยื่นต่อสภาหลังจากนี้ ประกอบด้วย ชุดกฎหมายปลดล็อกท้องถิ่น, ชุดกฎหมายปฏิรูประบบราชการ, ชุดกฎหมายป้องกันการทุจริต, ชุดกฎหมายยกระดับบริการสาธารณะ, ชุดกฎหมายปฏิรูปที่ดิน, ชุดกฎหมายคุ้มครองสิทธิแรงงาน, ชุดกฎหมายรักษาสิ่งแวดล้อม, ชุดกฎหมายปฏิรูประบบภาษี, ชุดกฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ, ชุดกฎหมายโอบรับความหลากหลาย, ชุดกฎหมายยุติความขัดแย้ง และชุดกฎหมายแก้รัฐธรรมนูญ
“พรรค ก.ก.เชื่อว่าหากได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ชุดกฎหมายดังกล่าวจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนว่าประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม เป็นไปได้ โดยมีจุดเริ่มต้นที่สภาผู้แทนราษฎร”
เมื่อถามว่าการยื่นเรื่องปฏิรูปกองทัพในวันนี้ จะส่งผลต่อเสียงสนับสนุนในการโหวตนายกฯ วันที่ 19 กรกฎาคมหรือไม่ เพราะ ส.ว.บางส่วนก็เป็นคนในกองทัพ นายพริษฐ์กล่าวว่า ทั้งหมดเป็นนโยบายที่สื่อสารไปแล้วก่อนการเลือกตั้ง จึงไม่น่ามีปัญหาอะไร ส่วนเรื่องความคืบหน้าการยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ไปก่อนหน้านี้ เป็นหน้าที่รัฐสภาว่าสามารถบรรจุเข้าวาระได้เมื่อใด แต่จากการสอบถามก็ทราบมาว่ามีการตรวจรายชื่อครบถ้วนเกิน 100 คนแล้ว ไม่ติดขัดอะไรแล้ว