ไซยาไนด์ สารเคมี ที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ก่อนเลย แต่ หากมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ หายใจลำบาก หมดสติ ชัก
บางที ก็ ไม่สามารถระบุ ว่าได้ รับ โดยตรงได้ เพราะนั่นเป็นอาการที่เข้ากับได้หลายโรค
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ อาการพิษจาก ไซยาไนด์ เป็นอย่างไร รักษาเบื้องต้นแบบไหน
พิษของไซยาไนด์ ยับยั้งการใช้พลังงานจากออกซิเจนของเซลล์ในร่างกาย จึงมีอาการคล้ายภาวะขาดออกซิเจนของอวัยวะต่างๆ
และเพิ่มการเผาผลาญแบบไม่ใช้ออกซิเจนทำให้เกิดสารพิษทำให้เลือดเป็นกรด อวัยวะที่ใช้พลังงานมากเช่นสมองจะได้รับผลกระทบ
อาการของผู้ได้รับสารพิษอาจมีอาการ หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมดสติ ชัก เลือดเป็นกรดรุนแรง
และเสียชีวิตได้โดยผลกระทบจากการได้รับไซยาไนด์อาจ
แบ่งได้ 2 ประเภท
ดังนี้ภาวะเป็นพิษจากไซยาไนด์แบบเฉียบพลัน เป็นอาการที่เกิดขึ้นในทันที เช่น หายใจติดขัด เลือดไหลเวียนผิดปกติ
ภาวะหัวใจหยุดเต้น สมองบวม ชัก และหมดสติ เป็นต้น
ภาวะเป็นพิษจากไซยาไนด์แบบเรื้อรัง เกิดจากการได้รับไซยาไนด์ ปริมาณเล็กน้อยต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน
ในเบื้องต้นอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ง่วงซึม คลื่นไส้ อาเจียน เกิดผื่นแดง และอาจมีอาการอื่น ๆ
เกิดขึ้นตามมา เช่น รูม่านตาขยาย ตัวเย็น อ่อนแรง หายใจช้า เป็นต้น หากไม่ได้รับการรักษา
อาจทำให้หัวใจเต้นช้าหรือเต้นผิดปกติ ผิวหนังบริเวณใบหน้าและแขนขากลายเป็นสีม่วง หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด

หากรอดชีวิตจากพิษไซยาไนด์อาจมีผลต่อเนื่อง มีอาการคล้ายโรคพาร์กินสัน เนื่องจากสมองส่วน basal ganglion ถูกทำลายถาวร
หากไม่รอดชีวิต การตรวจชันสูตรศพสามารถตรวจพบสารไซยาไนด์ในเลือดเพื่อบอกสาเหตุของการเสียชีวิตได้
การรับพิษ ได้ทั้งการหายใจ และดูดซึมทางผิวหนัง เยื่อบุ และทางเดินอาหาร เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะกระจายไปทั่วร่างกายอย่างรวดเร็ว
อาการเกิดภายในวินาทีหากได้รับทางการหายใจ ส่วนการกินหรือทางผิวหนังมีอาการหลังสัมผัสเป็นนาทีถึงไม่เกินหนึ่งชั่วโมง
การแก้พิษ ทำได้โดยให้ยา thiosulfate ร่างกายจะเปลี่ยนไซยาไนด์เป็น thiocyanate ซึ่งไม่เป็นพิษและขับออกทางปัสสาวะได้
หรือให้สาร hydrocobalamine ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินบี 12 เพื่อเปลี่ยนเป็น cyanocobalamine ขับออกทางปัสสาวะเช่นกัน
และบางส่วนขับออกทางการหายใจ เหงื่อ และปัสสาวะ การช่วยคนถูกพิษไซยาไนด์จึงห้ามช่วยหายใจแบบ mouth-to-mouth
เพราะอาจได้รับพิษด้วย
การตรวจร่างกายผู้ที่สงสัยว่าถูกพิษไซยาไนด์ ผู้ได้รับสารพิษจะมีลักษณะพิเศษคือผิวแดง (cherry-red)
เพราะออกซิเจนในหลอดเลือดดำสูง หรือ ผิวม่วงคล้ำได้ ลมหายใจกลิ่นอัลมอนด์หากเกิดพิษจากการสูดดมสาร hydrogen cyanide
การช่วยเหลือเบื้องต้น หากเกิดจากการสัมผัส ให้ถอดชุดออก ล้างบริเวณสัมผัสด้วยน้ำและสบู่
โดยผู้ช่วยเหลือต้องสวมชุดและหน้ากากเพื่อป้องกันตนเอง ไม่แนะนำให้ล้วงคออาเจียนเนื่องจากไซยาไนด์ดูดซึมอย่างรวดเร็ว

อาการพิษจาก ไซยาไนด์ เป็นอย่างไร รักษาเบื้องต้นแบบไหน
บางที ก็ ไม่สามารถระบุ ว่าได้ รับ โดยตรงได้ เพราะนั่นเป็นอาการที่เข้ากับได้หลายโรค
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ อาการพิษจาก ไซยาไนด์ เป็นอย่างไร รักษาเบื้องต้นแบบไหน
และเพิ่มการเผาผลาญแบบไม่ใช้ออกซิเจนทำให้เกิดสารพิษทำให้เลือดเป็นกรด อวัยวะที่ใช้พลังงานมากเช่นสมองจะได้รับผลกระทบ
อาการของผู้ได้รับสารพิษอาจมีอาการ หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมดสติ ชัก เลือดเป็นกรดรุนแรง
และเสียชีวิตได้โดยผลกระทบจากการได้รับไซยาไนด์อาจ แบ่งได้ 2 ประเภท
ดังนี้ภาวะเป็นพิษจากไซยาไนด์แบบเฉียบพลัน เป็นอาการที่เกิดขึ้นในทันที เช่น หายใจติดขัด เลือดไหลเวียนผิดปกติ
ภาวะหัวใจหยุดเต้น สมองบวม ชัก และหมดสติ เป็นต้น
ภาวะเป็นพิษจากไซยาไนด์แบบเรื้อรัง เกิดจากการได้รับไซยาไนด์ ปริมาณเล็กน้อยต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน
ในเบื้องต้นอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ง่วงซึม คลื่นไส้ อาเจียน เกิดผื่นแดง และอาจมีอาการอื่น ๆ
เกิดขึ้นตามมา เช่น รูม่านตาขยาย ตัวเย็น อ่อนแรง หายใจช้า เป็นต้น หากไม่ได้รับการรักษา
อาจทำให้หัวใจเต้นช้าหรือเต้นผิดปกติ ผิวหนังบริเวณใบหน้าและแขนขากลายเป็นสีม่วง หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด
หากไม่รอดชีวิต การตรวจชันสูตรศพสามารถตรวจพบสารไซยาไนด์ในเลือดเพื่อบอกสาเหตุของการเสียชีวิตได้
อาการเกิดภายในวินาทีหากได้รับทางการหายใจ ส่วนการกินหรือทางผิวหนังมีอาการหลังสัมผัสเป็นนาทีถึงไม่เกินหนึ่งชั่วโมง
หรือให้สาร hydrocobalamine ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินบี 12 เพื่อเปลี่ยนเป็น cyanocobalamine ขับออกทางปัสสาวะเช่นกัน
และบางส่วนขับออกทางการหายใจ เหงื่อ และปัสสาวะ การช่วยคนถูกพิษไซยาไนด์จึงห้ามช่วยหายใจแบบ mouth-to-mouth
เพราะอาจได้รับพิษด้วย
เพราะออกซิเจนในหลอดเลือดดำสูง หรือ ผิวม่วงคล้ำได้ ลมหายใจกลิ่นอัลมอนด์หากเกิดพิษจากการสูดดมสาร hydrogen cyanide
โดยผู้ช่วยเหลือต้องสวมชุดและหน้ากากเพื่อป้องกันตนเอง ไม่แนะนำให้ล้วงคออาเจียนเนื่องจากไซยาไนด์ดูดซึมอย่างรวดเร็ว