สืบสานงานท่านพุทธทาส

เราเพิ่งไปพบ youtube channel นี้ ชื่อ สืบสานงานท่านพุทธทาส
https://www.youtube.com/@user-ve1xv6qj5q/videos

เราเป็นชาวพุทธรุ่นใหม่ อยู่ระดับอนุบาล ไม่ค่อยได้เรียนรู้จากการบรรยายของครูอาจารย์รุ่นเก่าๆ เท่าไหร่นัก
แต่แน่นอนว่า รู้จักชื่อท่านพุทธทาส มานานแล้ว

พอลองคลิกเข้าไปดู พบว่า มีหัวข้อที่น่าสนใจมากมาย
เพราะมีหลายประเด็นที่เราสงสัย  และมีคำถามยอดนิยมที่คนชอบถามเกี่ยวกับพุทธศาสนา
แล้วท่านพุทธทาสก็ให้คำตอบไว้  เช่น   การกำเนิดมนุษย์ เรื่องพรหม เรื่องง่วนดิน อะไรพวกนี้
ซึ่งเราเคยฟังแว๊บๆ  แต่หาคลิปนั้นไม่เจอแล้ว 55  แต่ที่ฟังมา มันไม่ใช่อย่างที่หลายคนเข้าใจค่ะ
เพราะฉะนั้น การอ่านตำรา อ่านภาษาโบราณ ที่ผ่านการแปล การเรียบเรียง และอื่นๆ ฯลฯ
แล้วหากมีความรู้ มีปัญญาไม่มากพอ แล้วพยายามตีความตามตัวหนังสือ มันเป็นเรื่องที่ผิดเพี้ยนได้เยอะค่ะ
แต่เราไปเจอคลิปนี้แทน  พรหมที่ลงมากินง่วนดิน ติดใจกลับพรหมโลกไม่ได้กลายเป็นมนุษย์ไปนั้น เป็นพรหมพวกไหhttps://www.youtube.com/watch?v=ktKoH3TIaiI

รวมถึงกรณีที่มีคนกล่าวตำหนิท่านพุทธทาสในหลายประเด็น ลูกศิษย์ก็นำมาถามให้ท่านพุทธทาสได้ตอบ เช่น
เขาหาว่าท่านว่าติเตียนอภิธรรมปิฎก เป็นเนื้องอกออกมาภายหลังและไม่ใช่คำตรัสของพระพุทธเจ้า
 https://www.youtube.com/watch?v=_wLxjoMh5Lw

เราก็คิดว่า น่าสนใจดี สำหรับผู้ที่สนใจงานของท่าน

หมายเหตุ : ในฐานะที่เราเป็นแค่เด็กอนุบาลทางธรรม  เราก็ไม่รู้ว่า เค้าเถียงอะไรกันเกี่ยวกับท่านพุทธทาส
เพราะเห็นใน pantip  ก็เห็นมีนักปราชญ์หลายท่าน พิมพ์เก่งๆ กันทั้งนั้น  ดูเหมือนจะเข้าใจธรรมขั้นสูง

ถ้ามองท่านพุทธทาสในมุมมองเปรียบเทียบ  เรามองว่า ท่านเปรียบเหมือนนักศึกษาธรรม ในระดับปริญญาตรี โท เอก
แน่นอนว่า เราเองเป็นเด็กอนุบาล  เราก็ไม่อาจจะเข้าใจนักศึกษาระดับสูงๆ ได้มากนัก
แต่เราก็เห็นบางคนใน internet ตำหนิท่านอยู่บ่อยๆ   
ก็สงสัยว่า ภูมิธรรมของท่านผู้ตำหนิเหล่านั้น คงต้องเทียบได้ใกล้เคียงกันกับท่านพุทธทาสอยู่ (หรือไม่?)
นักศึกษาระดับปริญญา เค้าเถียงอะไรกัน  เราก็คงชี้ถูกชี้ผิดไม่ได้ เพราะเรามีปัญญาแค่อนุบาล

แต่เอาเป็นว่า ...ณ จุดนี้ ...ถึงแม้เราจะโน้มเอียงที่จะเชื่อท่านพุทธทาส มากกว่าเชื่อนักปราชญ์ใน pantip
แต่เราก็ไม่ได้ปักใจเชื่อว่า ท่านพุทธทาสจะถูกไปทุกเรื่อง
(จนกว่าเราจะพัฒนาปัญญาให้มากพอ เพื่อจะไปเข้าใจสิ่งเหล่านั้นจริงๆ)

อีกทั้ง พระพุทธองค์ และครูอาจารย์ระดับใหญ่ๆ หลายท่าน มักย้ำคำสอนประมาณว่า
ไม่จำเป็นต้องเชื่อ ไม่บังคับให้เชื่อ  แต่เมื่อรับรู้อะไร ก็จงใช้สติปัญญาพิจารณาให้รอบคอบรัดกุม
แล้วถ้าปัญญาไม่พอ ก็ต้องไปพัฒนาฝึกฝนให้ปัญญาเกิดขึ้นจริงแก่ตนเอง

พวกจริตนิสัย ทิฐิ  ปัญญา  นั้น เป็นสิ่งที่ยัดเยียดให้กันไม่ได้ บังคับกันไม่ได้
ใครสั่งสมมาอย่างไร  มีความโน้มเอียงไปทางไหน ... ก็เป็นเรื่องเฉพาะตน
แต่ก็สามารถขัดเกลาได้ พัฒนาได้ เมื่อฝึกภาวนาไปถึงขั้นสูงๆ 
แต่ถ้าหมดเวลาไปกับสิ่งอื่นๆ มากกว่าการฝึกฝนภาวนา  ก็คงลำบากหน่อยค่ะ

----------------------

อย่างไรแล้ว การมีเมตตาต่อกัน เข้าใจความแตกต่างของเพื่อนมนุษย์ เปิดใจกว้างต่อกัน 
คุยกันด้วยปัญญา และเมตตา ก็ช่วยได้เยอะ
และอะไรที่เกินตัว เกินปัญญาจะเข้าใจ  ก็ไม่รู้จะเถียงกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปยังไง 55

แล้วถ้าเป็นชาวพุทธ  ก็หันมองตัวเองเป็นหลัก  พัฒนาขัดเกลาตัวเองเป็นหลัก
แล้ววันหนึ่ง เราก็อาจจะไปเข้าใจจริงๆว่า  ที่ท่านพุทธทาสสอนไว้ เป็นจริง เป็นประโยชน์แค่ไหน หรือมันไม่จริงแท้??
เราก็จะได้มีปัญญาแท้จริง เพื่อไปสัมผัสสัจธรรมจริงๆ ค่ะ

ใครสนใจ ก็ลองเข้าไปดูนะคะ  หลายคำถามยอดนิยม ที่คนมักสงสัย มักถามใน pantip เราก็เห็นมีคำตอบอยู่ในนั้นเยอะค่ะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 21
1. ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือเห็นต่างจากเรา เราไม่ว่าอะไรค่ะ^^
เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ในโลกนี้ เพราะไม่มีทางทำให้ทุกคนคิดเห็นเหมือนกันไปหมด  
อย่างที่รู้กันดีว่า นิสัยใจคอ สติปัญญา ทิฐิ ฯลฯ  ของแต่ละคนนั้นต่างกันไปค่ะ

แต่เราเชื่อว่า อย่างน้อยหลายท่านก็ต้องมีเจตนาพื้นฐานอะไรที่ดีอยู่ในใจ
ถึงได้มาสนใจพุทธศาสนาค่ะ ดีๆ ชั่วๆ มีอยู่ในตัวปุถุชน
อย่างน้อยกุศลที่ทุกท่านทำมา ก็ส่งผลให้มาสนใจพุทธศาสนา ณ ชีวิตนี้

(หรือแม้แต่คนที่นับถือต่างศาสนา หลายคนก็เริ่มต้นจากเจตนาดีกันทั้งนั้นค่ะ)  

เพราะฉะนั้น ความแตกต่างของผู้คน ไม่ใช่ปัญหาสำหรับเราค่ะ
เราว่าเราพอจะเข้าใจในความแตกต่างเหล่านี้ค่ะ

ส่วนใครจะรับมือกับความแตกต่างเหล่านี้แบบไหน เป็นวิจารณญาณของแต่ละท่านเลยค่ะ^^


2. ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือเห็นต่างจากเรา เราก็ไม่ว่าค่ะ เพราะเราเป็นแค่เด็กอนุบาลทางธรรม
เราย่อมไม่ได้มีสติปัญญาพร้อมสมบูรณ์แน่ๆ ค่ะ  เราจึงพร้อมจะขัดเกลาพัฒนาค่ะ

ส่วนที่ใครไม่เห็นด้วยกับท่านพุทธทาส  แต่ละท่านก็หาทางรับมือตามแนวทางที่ท่านเห็นสมควรละกันค่ะ

ส่วนตัวเรา อย่างที่เขียนไว้ต้นกระทู้ และขอเสริมว่า
ตัวเราเองไม่สามารถเข้าใจอะไรได้อย่างถ่องแท้ ไม่ว่าจะเป็นคำของพระพุทธองค์
หรือคำของท่านพุทธทาส หรือคำของครูอาจารย์ หรือคำในตำราต่างๆ
... จนกว่าเราจะได้ไปสัมผัส ได้ไปประสบอะไรหลายอย่างด้วยตัวเอง
ไปพบสัจธรรมด้วยตนเอง   เราจึงเน้นไปทางการฝึกภาวนา ฝึกสติปัฏฐานค่ะ

3. ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือเห็นต่างจากเรา  ก็ไม่เป็นไรค่ะ
อะไรที่เป็นเจตนาและการกระทำที่เป็นกุศลของทุกท่าน  เราขออนุโมทนานะคะ  ^^
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
นักบวชคึก ก็มี ท่านพุทธทาส เป็นไอด้าว ว่าซ่าน ตัดพระไตรปิฏกทิ้งกันไปตัดกันมาอยู่นี้แหละ

++++++++++++++++++++++++++++++++++

การวิจารณ์พระไตรปิฏก ด้วยทิฏฐิวิบัติ  ของท่านพุทธทาส  ( อาจารย์ใหญ่ นักบวชคึก)
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chalermsakm&month=11-2010&date=15&group=1&gblog=2

วาทะ นักบวชคึกฤทธิ์ กล่าว ตำหนิพระสารีบุตร ---> ขอผิดนิดเดียวเท่านั้นแหละ จบเลย !!!
http://pantip.com/topic/32925172

ประวัตินักบวชคึกฤทธิ์ ที่มีท่านพุทธทาส เป็นแบบอย่าง
http://www.watnapahpong.org/AboutMe.aspx

ท่านแนะนำการศึกษาพระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ จากหนังสือที่ท่านพุทธทาสได้รวบรวมเฉพาะคำพูดจากพระโอษฐ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยตรง ไม่ปนความเห็นของผู้ใด มี ๕ เล่ม คือ ๑.อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น ๒.อริยสัจจากพระโอษฐ์  ภาคปลาย ๓. ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์   ๔.พุทธประวัติจากพระโอษฐ์  และ ๕.ปฏิจฺจสมุปฺบาทจากพระโอษฐ์  ซึ่งทางธรรมสภาได้รวบรวมและจัดส่งให้โดยสะดวกแก่ผู้โทรสั่งซื้อ ท่านกล่าวว่า การที่พุทธบริษัทศึกษาและปฏิบัติจากคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยตรงนี้ จะทำให้การภาวนาเจริญก้าวหน้า และเป็นทางเดียวที่จะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาที่บริสุทธิ์ได้อย่างสมบูรณ์





ความเห็นผิดสุดโต่ง ๒ สาย (ธรรมกลาย&มโนอิทธิ, พุทธทาส+นักบวชคึก+สันติอโศก)
http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/Y2639614/Y2639614.html

ถ้ามองท่านพุทธทาสในมุมมองเปรียบเทียบ  เรามองว่า ท่านเปรียบเหมือนนักศึกษาธรรม ในระดับปริญญาตรี โท เอก
แน่นอนว่า เราเองเป็นเด็กอนุบาล  เราก็ไม่อาจจะเข้าใจนักศึกษาระดับสูงๆ ได้มากนัก


ถ้าเทียบ กับ พระอรหันต์ที่ร่วมกัน สังคายนาพระไตรปิฏก และ อรรถกถาจารย์ ที่ช่วยขยายาความพระบาลี ให้ชนรุ่นหลัง ได้เข้าใจพระบาลียิ่งขึ้น ผมว่า   ท่านพุทธทาสเปรียบเหมือนเด็กอนุบาลครับ


พระพุทธโฆษาจารย์ ผู้มีคุณต่อชาวพุทธเถรวาท
https://pantip.com/topic/30481699/comment1-1

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

------------- เกียรติคุณของพระพุทธโฆสาจารย์----------------------
    พระเถระผู้มีนามว่าพุทธโหสะนี้ มีเกียรติคุณเฟื่องฟุ้งในสมัยของท่าน เป็นที่ยอมรับในลังกา และอินเดียว่าเป็นนักปราชญ์  ทรงวิทยาคุณสูงส่งประกอบด้วยคุณธรรม คือ ศรัทธาความรู้และความเพียรอันบริสุทธิ์ยิ่งกระกระฉ่อนด้วยคุณสมุทัย คือ ศีล ความประพฤติ ความซื่อตรง และความอ่อนโยน มีความสามารถ แตกฉานในพระพุทธศาสนา และลัทธิคำสอนของพระศาสดา คณาจารย์อื่นๆ ประกอบด้วยปัญญาอันแหลมคม แจ่มจ้าด้วยญาณรัศมีอันมิได้ติดขัดในศาสนาของพระศาสดา และในอรรถกถาทั้งหลาย มีวาจาไพเราะเปล่งออกโดยมิได้ติดขัดเป็นนักพูดผู้ประเสริฐ เป็นมหากวี  เป็นเครื่องประดับวงศ์แห่งพระเถระคณะมหาวิหาร มีความรู้บริสุทธิ์ และไพบูลย์ ท่านผู้ประกอบด้วยเกียรติคุณดังกล่าวแต่โดยย่อนี้แล ได้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรคไว้แล้ว
+++++++++++++++++++++++++++++++
สืบสานงานท่านพุทธทาส

ถ้าจะสืบสานแบบงู ๆ ปลา ๆ ยกเอา อัตตโนมติของท่านพุทธทาสเป็นหลัก  แบบที่ นักบวชคึก ทำ /  ผมว่า  อย่าหาทำ ครับ
ความคิดเห็นที่ 6
หมายเหตุ : ในฐานะที่เราเป็นแค่เด็กอนุบาลทางธรรม  เราก็ไม่รู้ว่า เค้าเถียงอะไรกันเกี่ยวกับท่านพุทธทาส
เพราะเห็นใน pantip  ก็เห็นมีนักปราชญ์หลายท่าน พิมพ์เก่งๆ กันทั้งนั้น  ดูเหมือนจะเข้าใจธรรมขั้นสูง


ท่านพุทธทาส เถียงกับ พระพุทธเจ้าในเรื่อง นรกสวรรค์ หลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิด กล่าวตู่พระพุทธเจ้าว่า เอออวยสวมรอยกับศาสนาพราหมณ์ในเรื่องเหล่านี้ เพราะสมัยนั้นคนโง่เป็นส่วนมาก ว่าซั่น

เทวดามีจริงหรือ? (ท่านพุทธทาสกล่าวตู่พระพุทธเจ้า ว่าทรง เอออวยสวมรอยกับศาสนาพราหมณ์)
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/buddhadas/bdd-28.htm
https://www.angelfire.com/ego/self0/dhamanukom/tevada83.html

นรก-สวรรค์ ตามหลักของพระพุทธเจ้า(พระพุทธเจ้า เอออวยสวมรอย กับศาสนาพราหมณ์ )
https://www.angelfire.com/ego/self0/dhamanukom/heaven92.html



ตามรอยพุทธทาส...ตายแล้วไปไหน
http://sammatitti.blogspot.com/2012/10/blog-post_27.html



ควรศึกษาทิฏฐิของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/08/Y6885482/Y6885482.html

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187
ความคิดเห็นที่ 5
หมายเหตุ : ในฐานะที่เราเป็นแค่เด็กอนุบาลทางธรรม  เราก็ไม่รู้ว่า เค้าเถียงอะไรกันเกี่ยวกับท่านพุทธทาส
เพราะเห็นใน pantip  ก็เห็นมีนักปราชญ์หลายท่าน พิมพ์เก่งๆ กันทั้งนั้น  ดูเหมือนจะเข้าใจธรรมขั้นสูง


เราชาวพุทธ ควรศึกษา พระไตรปิฏก อรรถกถา เป็นหลัก ให้เกิด ศรัทธา คือความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา ๔ ประการ ไม่ต้องไปฟังจากคำอัตตโนมติจาก ครูบาอาจารย์ เป็นหลัก เพราะบางคนก็เลอะเลือนในพระไตรปิฏก อรรถกถา เชื่อถือไม่ได้

อย่าให้ สมมุติสงฆ์ บัง พระพุทธเจ้า (พระธรรมวินัย, พระไตรปิฏก อรรถกถา)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ศรัทธา ๔
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=21279

สัทธา ความเชื่อ;
ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก
ท่านแสดงสืบๆ กันมาว่า ๔ อย่างคือ
๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม
๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม
๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต;



อะไรคือสัมมาทิฏฐิ
http://pantip.com/topic/33586481/comment25

อรรถกถา  ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ ๑
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=11&p=1

อนุปุพพีกถา ๕

เหตุนั้น วันนั้น พระศาสดาทอดพระเนตรอุปนิสัยของกุฎุมพีมหาปาละแล้ว เมื่อทรงแสดงธรรม ได้ตรัสอนุปุพพีกถา คือทรงประกาศทานกถา(พรรณนาทาน) สีลกถา(พรรณนาศีล) สัคคกถา(พรรณนาสวรรค์) โทษ ความเลวทรามและความเศร้าหมองแห่งกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในเนกขัมมะ(คือความออกไปจากกามทั้งหลาย)

มหาปาละขอบวช
กุฎุมพีมหาปาละได้สดับธรรมนั้นแล้ว คิดว่า “บุตรและธิดาก็ดี โภคสมบัติก็ดี ย่อมไปตามผู้ไปสู่ปรโลกหาได้ไม่ แม้สรีระก็ไปกับตัวไม่ได้ ประโยชน์อะไรของเราด้วยการอยู่ครองเรือน เราจักบวช” พอเทศนาจบ เขาก็เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลขอบวช.
ขณะนั้น พระศาสดาตรัสถามเขาว่า “ญาติไหนๆ ของท่านที่ควรจะต้องอำลาไม่มีบ้างหรือ?”
เขาทูลว่า “พระเจ้าข้า น้องชายของข้าพระพุทธเจ้ามีอยู่.”
พระศาสดารับสั่งว่า “ถ้าอย่างนั้นท่านจงอำลาเขาเสีย [ก่อน].”
--------------------------------------


ทางแห่งความดี : ความสำคัญของใจ
http://pantip.com/topic/30532106/comment26

วันนั้น พระศาสดา ทรงเห็นอุปนิสัยอันงามของมหาบาลแล้ว ทรงหลั่งพระธรรมเทศนามุ่งมหาบาลเป็นสำคัญ ทรงเทศนาอนุปุพพิกถา 5 คือ

1. ทานกถา ว่าด้วยการให้ทาน
2. สีลกถา ว่าด้วยการรักษาศีล
3. สัคคกถา ว่าด้วยความสุขในสวรรค์
4. กามาทีนวกถา ว่าด้วยโทษและความต่ำทรามของกาม
5. เนกขัมมานิสังสกถา ว่าด้วยอานิสงส์แห่งการหลีกออกจากกาม

อานิสงส์ของการเจริญวิปัสสนาเป็นอานิสงส์สูงสุด
http://pantip.com/topic/33737761/comment5

เหตุให้เกิดศรัทธา ๔ ประการ (จากพระอภิธรรม ปุคคลบัญญัติ)

๑. รูปัปปมาณศรัทธา -- บุคคลผู้ถือรูปที่สมส่วน หรืองามพร้อม ไม่มีที่ติเป็นประมาณ แล้วจึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธา ( หรือเห็นความเป็นระเบียบ, สวยงาม)

๒. โฆสัปปมาณศรัทธา -- บุคคลผู้ถือเสียงมีการสรรเสริญคุณ พูดยกย่องชมเชย เขียนหรือพูดต่อหน้า หรือแม้ติดในเสียงผู้แสดง ก็นับว่าถือเสียงเป็นเหตุให้เกิดศรัทธา บุคคลนี้ ชื่อว่าถือเสียงเป็นประมาณ

๓. ลูขัปปมาณศรัทธา -- บุคคลผู้ถือความเศร้าหมองแห่งจีวร บาตร เสนาสนะ หรือเห็นการทำทุกรกิริยา ( เช่น ไม่ใส่รองเท้า ไม่ใช้อิริยาบถนอน ฉันมื้อเดียว ฯลฯ ) ถือเอาสิ่งเหล่านี้เป็นประมาณ แล้วเกิดศรัทธา

๔. ธัมมัปปมาณศรัทธา -- บุคคลผู้ถือธรรม คือ เหตุ – ผล ด้วยปัญญา ฟัง คิด ( ภาวนา – ศีล สมาธิ ปัญญา ) จนเข้าถึงเหตุ – ผล เกิดปัญญาขึ้น บุคคลนั้นจึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธา

ท่านจัดอันดับบุคคลในโลกนี้ ที่ศรัทธาในรูปมีมากที่สุด ผู้ศรัทธาในธรรม ถือเหตุ – ผล มีน้อยที่สุด

หมายเหตุ ชาวพุทธเรามักหลงติดอาจารย์ ไม่อาการใดก็อาการหนึ่งเสมอ

จากหนังสือ แนะแนวการปฏิบัติวิปัสสนา โดย อาจารยบ์แนบ  มหานีรานนท์

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6180
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

คู่มือพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๒
เจตสิกสังคหวิภาค
https://www.thepathofpurity.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A0-%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A0-%E0%B8%98-%E0%B8%A1%E0%B8%A1-%E0%B8%95%E0%B8%96%E0%B8%AA-%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%B0/%E0%B8%9B%E0%B8%A3-%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%97%E0%B8%97-%E0%B9%92/

เหตุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสสัทธา
https://web.archive.org/web/20180403010002/http://abhidhamonline.org/aphi/p2/037.htm

(๑) รูปปมาณ เลื่อมใสสัทธา เพราะเห็นรูปสมบัติสวยงาม

(๒) ลูขปฺปมาณ เลื่อมใสสัทธาเพราะเห็นความประพฤติเรียบร้อยเคร่งในธรรมวินัย

(๓) โฆสปฺปมาณ เลื่อมใสสัทธา เพราะได้ฟังชื่อเสียงลือว่าดีอย่างนั้นอย่างนี้

(๔) ธมฺมปฺปมาณ เลื่อมใสสัทธา เพราะได้สดับธรรมของผู้ที่ฉลาดในการแสดง

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
อาจารย์ผู้บอกกรรมฐานอย่างน้อยที่สุด
ก็ต้องเป็นผู้ไม่เลอะเลือนทั้งในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
https://pantip.com/topic/38517496/comment9
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่