จากที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าทั้งระบบไฟฟ้ากำลังและไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ต่างก็เจอปัญหาที่คล้ายคลึงกันเกี่ยวกับการบริหารพลังงานหรือแม้แต่การจัดการรูปแบบสัญญาณทางไฟฟ้าโดยให้ได้พลังงานสูง ต่างก็ประสบปัญหาเดียวกันคือค่าความสูญเสียและความร้อน ทำให้ต้องออกแบบระบบที่มาแก้ปัญหานี้ต่ออีกที จึงเป็นที่มาที่คิดว่าจะยังมีทางไหนไหมที่มีโอกาสสร้างระบบที่ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในทุกๆ ด้าน และใช้ได้ในทุกระบบ จนได้ออกแบบ สวิตช์ทางไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่น่าจะมีโอกาสแก้ปัญหาดังที่ว่ามาได้ทั้งหมด
จนสรุปเป็นวงจรง่ายๆ มีเพียง Capacitor และสวิตช์แบบ SPDT หรือใช้แบบ DPDT ซึ่งในการสร้างต้นแบบของจริงต้องใช้ MOSFET หรือ IGBT แทน Relay สวิตช์ในชุดทดลอง ซึ่งวงจรที่ออกแบบสามารถสร้างทดสอบในโปรแกรม Virtual ต่างๆ ได้
ในคลิปจะเป็นการต่อชุดทดสอบง่ายๆ ด้วย Relay ซึ่งมีข้อจำกัดแค่ความถี่ตอบสนองได้สูงสุดเพียง 40 Hz แต่ก็พอทดสอบเบื้องต้นได้ว่ามีแนวโน้มจะทำงานจริงได้ไหม (เมื่อออแบบวงจรใหม่ใช้ FET แทนสวิตช์โดยสมบูรณ์) ซึ่งจะทำให้วงจรทำงานที่ความถี่ที่สูงขึ้นได้เป็นผลให้อัตราการเรียกกระแสดีกว่าชุดทดสอบเบื้องต้นมาก
หากทำสำเร็จมีระบบมีข้อดีเด่นชัดคือ
- ค่าประสิทธิภาพ การแปลงไฟฟ้าสูงมาก อาจถึง 99.99%
- แปลงแรงดันที่ต่ำมากๆ โดยเรียกกระแสสูงๆ ได้ เช่น จากในคลิปทดสอบ Boost แรงดันต่ำที่ 0.1 V ให้เป็น 1 V ได้ ซึ่งวงจรในปัจจุบันในระดับเดียวกันในโลกนี้ยังไม่สามารถทำได้ ที่ทำได้มีเพียงระบบวงจรระดับนาโนใน IC Chip ที่แปลงได้แต่กระแสที่ได้จะต่ำมากๆ ระดับไมโครแอมป์ถึงไม่กี่มิลิแอมป์
- ความร้อนน้อยมาก เนื่องจากไม่มีส่วนไหนใช้การเหนี่ยวนำทางแม่เหล็กไฟฟ้า
- ขยายขนาดระบบวงจรให้เล็กระดับนาโนฯ หรือใหญ่ระดับ Power Plant ได้ เพราะวงจรประกอบด้วย C และ FET เท่านั้น ซึ่งในระบบการออกแบบ IC มีใช้กันเป็นปกติ
- วงจรสามารถเรียกกระแสได้เต็มๆ เนื่องจากไม่เกิดคอขวดที่ส่วนไหนเลย อยู่ที่ความถี่ในการสวิตช์สลับวงจรเท่านั้น ยิ่งความถี่สูงแรงดันและกระแสจะนิ่งมากขึ้น
- ใช้อุปกรณ์น้อยกว่าระบบเดิมมาก ต้นทุนต่ำ เนื่องจากอัตราการโหลดกระแสไม่ขึ้นกับข้อจำกัดของตัวอุปกรณ์อย่างเดียว เพราะทำงานแบบ Switching ผสมทำให้ระบบเรียกกระสใช้งานได้มากกว่าที่ตัวอุปกรณ์จ่ายได้จริง (อัตราการจ่ายกระแสตัว FET ไม่ต้องสูงมากเหมือนชุดไฟขาออกแบบปกติ เพราะ FET ในวงจรจะทำหน้าที่ส่งกระแสทั้งหมดได้ขึ้นอยู่ที่ความถี่ ยิ่งความถี่สูง กระแสไฟออกจะได้มากตามอัตราส่วนความถี่
- ความปลอดภัยสูง เนื่องจากวงจรทั้งหมดแยกภาระโหลดกันชัดเจน โอกาสที่อุปกรณ์จะรับภาระโหลดตัวเดียวแล้วเกิดความร้อนระเบิดหรือแม้แต่แรงดันสูงระดับหลายแสนหรือล้านโวลต์เป็นไปได้ยาก เนื่องจากสามารถออกแบบหลีกเลี่ยงการ Spark ภายในระบบได้เพราะแรงดันสูงจะเกิดที่ปลายของวงจรแล้วเท่านั้น
- เป็นเพียงโมดูลนึง สามารถออกแบบวงจรอื่นๆ ครอบเพื่อความเสถียรและประยุกต์การใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ
คลิปทดสอบวงจรเบื้องต้น Ver.2
https://youtu.be/C7HXdQAxmCc
ถ้าหากพิสูจน์แน่ชัดว่ายังไม่มีใครทำมาก่อน ผู้คิดค้นขอใช้สิทธิ์แจกฟรีทุกกรณี เงื่อนไขเดียวคือถ้าจะเอาไปแสวงหาผลประโยชน์ทำการค้าก็ขออนุญาตมาหน่อย ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้นสิ้น
ส่วนใครจะดราม่าขอแบบวิชาการมีความรู้พื้นฐานจริงๆ ไม่เอามั่วๆ โยงโน่นนี่ที่ผิดจากพื้นฐานทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แม้ในทางปฎิบัตินะครับ วงจรมันแทบไม่มีอะไรเลย หวังว่าจะหาความรู้เข้าใจในสิ่งที่นำเสนอได้ไม่ยาก
ระบบ Gateway ทางไฟฟ้าแบบใหม่ ที่มีประสิทธิภาพสูง อยากให้ช่วยกันวิเคราะห์ว่ามีโอกาสทำได้จริงไหม
จนสรุปเป็นวงจรง่ายๆ มีเพียง Capacitor และสวิตช์แบบ SPDT หรือใช้แบบ DPDT ซึ่งในการสร้างต้นแบบของจริงต้องใช้ MOSFET หรือ IGBT แทน Relay สวิตช์ในชุดทดลอง ซึ่งวงจรที่ออกแบบสามารถสร้างทดสอบในโปรแกรม Virtual ต่างๆ ได้
ในคลิปจะเป็นการต่อชุดทดสอบง่ายๆ ด้วย Relay ซึ่งมีข้อจำกัดแค่ความถี่ตอบสนองได้สูงสุดเพียง 40 Hz แต่ก็พอทดสอบเบื้องต้นได้ว่ามีแนวโน้มจะทำงานจริงได้ไหม (เมื่อออแบบวงจรใหม่ใช้ FET แทนสวิตช์โดยสมบูรณ์) ซึ่งจะทำให้วงจรทำงานที่ความถี่ที่สูงขึ้นได้เป็นผลให้อัตราการเรียกกระแสดีกว่าชุดทดสอบเบื้องต้นมาก
หากทำสำเร็จมีระบบมีข้อดีเด่นชัดคือ
- ค่าประสิทธิภาพ การแปลงไฟฟ้าสูงมาก อาจถึง 99.99%
- แปลงแรงดันที่ต่ำมากๆ โดยเรียกกระแสสูงๆ ได้ เช่น จากในคลิปทดสอบ Boost แรงดันต่ำที่ 0.1 V ให้เป็น 1 V ได้ ซึ่งวงจรในปัจจุบันในระดับเดียวกันในโลกนี้ยังไม่สามารถทำได้ ที่ทำได้มีเพียงระบบวงจรระดับนาโนใน IC Chip ที่แปลงได้แต่กระแสที่ได้จะต่ำมากๆ ระดับไมโครแอมป์ถึงไม่กี่มิลิแอมป์
- ความร้อนน้อยมาก เนื่องจากไม่มีส่วนไหนใช้การเหนี่ยวนำทางแม่เหล็กไฟฟ้า
- ขยายขนาดระบบวงจรให้เล็กระดับนาโนฯ หรือใหญ่ระดับ Power Plant ได้ เพราะวงจรประกอบด้วย C และ FET เท่านั้น ซึ่งในระบบการออกแบบ IC มีใช้กันเป็นปกติ
- วงจรสามารถเรียกกระแสได้เต็มๆ เนื่องจากไม่เกิดคอขวดที่ส่วนไหนเลย อยู่ที่ความถี่ในการสวิตช์สลับวงจรเท่านั้น ยิ่งความถี่สูงแรงดันและกระแสจะนิ่งมากขึ้น
- ใช้อุปกรณ์น้อยกว่าระบบเดิมมาก ต้นทุนต่ำ เนื่องจากอัตราการโหลดกระแสไม่ขึ้นกับข้อจำกัดของตัวอุปกรณ์อย่างเดียว เพราะทำงานแบบ Switching ผสมทำให้ระบบเรียกกระสใช้งานได้มากกว่าที่ตัวอุปกรณ์จ่ายได้จริง (อัตราการจ่ายกระแสตัว FET ไม่ต้องสูงมากเหมือนชุดไฟขาออกแบบปกติ เพราะ FET ในวงจรจะทำหน้าที่ส่งกระแสทั้งหมดได้ขึ้นอยู่ที่ความถี่ ยิ่งความถี่สูง กระแสไฟออกจะได้มากตามอัตราส่วนความถี่
- ความปลอดภัยสูง เนื่องจากวงจรทั้งหมดแยกภาระโหลดกันชัดเจน โอกาสที่อุปกรณ์จะรับภาระโหลดตัวเดียวแล้วเกิดความร้อนระเบิดหรือแม้แต่แรงดันสูงระดับหลายแสนหรือล้านโวลต์เป็นไปได้ยาก เนื่องจากสามารถออกแบบหลีกเลี่ยงการ Spark ภายในระบบได้เพราะแรงดันสูงจะเกิดที่ปลายของวงจรแล้วเท่านั้น
- เป็นเพียงโมดูลนึง สามารถออกแบบวงจรอื่นๆ ครอบเพื่อความเสถียรและประยุกต์การใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ
คลิปทดสอบวงจรเบื้องต้น Ver.2 https://youtu.be/C7HXdQAxmCc
ถ้าหากพิสูจน์แน่ชัดว่ายังไม่มีใครทำมาก่อน ผู้คิดค้นขอใช้สิทธิ์แจกฟรีทุกกรณี เงื่อนไขเดียวคือถ้าจะเอาไปแสวงหาผลประโยชน์ทำการค้าก็ขออนุญาตมาหน่อย ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้นสิ้น
ส่วนใครจะดราม่าขอแบบวิชาการมีความรู้พื้นฐานจริงๆ ไม่เอามั่วๆ โยงโน่นนี่ที่ผิดจากพื้นฐานทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แม้ในทางปฎิบัตินะครับ วงจรมันแทบไม่มีอะไรเลย หวังว่าจะหาความรู้เข้าใจในสิ่งที่นำเสนอได้ไม่ยาก