เวทีดีเบตมติชน คึก! เพื่อไทย-ก้าวไกล หนุนแก้ ม.112 ใครมีสิทธิ์ร้องทุกข์
https://www.khaosod.co.th/election-2023/news_7555568
มติชน จัดเวทีดีเบต เลือกตั้ง 66 ‘พริษฐ์’ ย้ำจุดยืนก้าวไกล ต้องแก้มาตรา 112 ใครมีสิทธิ์ร้องทุกข์-ความหนักของโทษ ‘หมอมิ้ง’ หนุนแก้ไข
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 13 มี.ค. 2566 ที่โรงแรม พูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ (รางน้ำ) เครือมติชนจัดแคมเปญ “
มติชน: เลือกตั้ง 2566 บทใหม่ประเทศไทย” เปิด 5 เวที 10 ยุทธศาสตร์ 2 กลยุทธ์ ซึ่งวันนี้เป็นเวทีแรก ประยันนโยบาย “
ย้ำจุดยืน ชูจุดขาย ประกาศจุดแข็ง” ที่มีตัวแทนจาก 8 พรรคการเมืองร่วมขึ้นเวทีประชันนโยบาย ได้แก่ นาย
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) นาย
อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรมว.สาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.)
นาย
วราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) นาย
สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประธานพรรคชาติพัฒนากล้า (ชพก.) นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้จัดการการสื่อสารและการรณรงค์นโยบายของพรรคก้าวไกล นพ.
พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ประธานคณะกรรมการด้านนโยบายและเศรษฐกิจ พรรคเพื่อไทย (พท.) น.ต.
ศิธา ทิวารี เลขาธิการพรรคไทยสร้างไทย(ทสท.) นาย
สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ประธานยุทธศาสตร์การเมือง พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)
โดยมีผู้บริหารมติชน นำโดย น.ส.
ปานบัว บุนปาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท มติชน จำกัด มหาชน, นาย
วรศักดิ์ ประยูรศุข รองประธานกรรมการบริษัทมติชน, นาย
จำลอง ดอกปิก บรรณาธิการหนังสือพิมพ์มติชน, นาย
ปราปต์ บุนปาน รองกรรมการผู้จัดการสายเทคโนโลยีและดิจิทัลมีเดีย บริษัท มติชน, นาย
นฤตย์ เสกธีระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท งานดี จำกัด, นาย
จตุรงค์ ปทุมธานีมานนท์ บรรณาธิการบริหารมติชน ให้การต้อนรับ ทั้งนี้ มีกองเชียร์ของแต่ละพรรคเดินทางมาร่วมให้กำลังใจอย่างคึกคัก
โดยในรอบแรก ตอบคำถามจับคู่ดีเบต นาย
พริษฐ์ ตอบคำถามพรรคของคุณจะรับมือหรือคลี่คลายปัญหา กรณีสังคมมีข้อเห็นต่างเรื่องข้อกฎหมาย เช่น มาตรา 112 และ มาตรา 116 อย่างไร ว่า พรรคก้าวไกลยืนยันว่ามาตรา 112 และ 116 ในการบังคับใช้และเนื้อหาของกฎหมายเป็นอุปสรรคของเสรีภาพในการแสดงออก
พรรคก้าวไกลคิดว่า มาตรา 112 มีทั้งหมด 3 ปัญหาจึงเสนอให้มีการแก้ไข
1. การบังคับใช้ แม้เนื้อหากฎหมายจะเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ แต่การบังคับใช้หลายครั้งไม่เข้าข่ายการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ พรรคก้าวไกลจึงเสนอให้เขียนให้ชัดเจน เพื่อคุ้มครองการวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริต
2. ความหนักของโทษ จะเห็นว่าโทษจำคุก 3-15 ปี ของไทยสูงกว่ามาตรฐานสากลเป็นอย่างมาก พรรคก้าวไกลจึงเสนอลดโทษจำคุก เหลือ 0-1 ปี
และ 3. ใครมีสิทธิ์ร้องทุกข์กล่าวโทษ เพราะเรากังวลว่าจะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง พรรคก้าวไกลจึงเสนอให้มีการจำกัดเรื่องคนที่มีสิทธิร้องทุกข์กล่าวโทษ โดยให้เป็นตัวแทนของผู้เสียหายมีสิทธิ์ร้องทุกข์กล่าวโทษเท่านั้น
หลังจากนั้น นาย
พริษฐ์ เลือก นพ.
พรหมินทร์ ตอบคำถามเดียวกันต่อ โดยนพ.
พรหมินทร์ ตอบคำถามว่า พรรคเพื่อไทยยึดมั่นในระบบประชาธิปไตยมาตลอด มาตั้งแต่พรรคไทยรักไทย เมื่อพูดถึงมาตรา 112 ตนเห็นด้วยว่า การมีกฎหมายดูแลปกปักษ์รักษาประมุขของประเทศเป็นเรื่องจำเป็น แต่เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป สาระของกฎหมายก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องมากขึ้น
กระบวนการแก้ไขโดยสันติวิธีต้องกลับเข้าไปในสภาฯ แล้วหารือกัน ตนเห็นด้วยกับนาย
พริษฐ์ว่ายังมีหลายจุดที่ต้องแก้ไข ซึ่งต้องถกเถียงกันเพื่อหาทางออก ประเด็นสำคัญตนเห็นด้วยอย่างยิ่งกับการลดโทษ และผู้มีสิทธิ์ร้องทุกข์กล่าวโทษ
“
นอกจากนี้อีกเรื่องที่สำคัญ คือกระบวนการใช้กฎหมาย ซึ่งสมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทย เรื่องเหล่านี้ก็เคยเกิดขึ้น แต่มีกระบวนการและองค์กรต่างๆ คอยกลั่นกรองพิจารณาว่าเรื่องเหล่านี้เข้าข่ายหรือไม่ ดังนั้น เราเห็นด้วยว่าจะต้องมีการแก้ไข แต่เรื่องนี้มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันมาก ขึงต้องเข้ากระบวนสภาฯ แล้วหารือกัน แต่เรายึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” นพ.
พรหมินทร์ กล่าว
กกต.เตือนหัวหน้าพรรค รทสช. คุม ‘ไตรรงค์’ ปราศรัยสุ่มเสี่ยง ย้ำเข้มห้ามดึงสถาบันหาเสียง
https://www.matichon.co.th/politics/news_3870093
เลขาฯ กกต. แจ้งพรรคการเมือง ควบคุมสมาชิกพรรคห้ามดึงสถาบันมาหาเสียง ออกหนังสือเตือน หน.รทสช. ควบคุม ‘ไตรรงค์’ หลังปราศรัยโคราชประเด็นสุ่มเสี่ยง
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นาย
แสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ลงนามในหนังสือ เรื่อง การควบคุมและกำกับดูแลมีให้สมาชิกพรรคการเมืองกระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย แจ้งต่อหัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรค โดยระบุว่า ด้วยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 22 กำหนดให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมือง มีหน้าที่ควบคุมและกำกับดูแลมิให้สมาชิกพรรคการเมืองกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ข้อบังคับ รวมตลอดทั้งระเบียบ ประกาศ และคำสั่งของ กกต.
และเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) หรือให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) แล้วแต่กรณี กรรมการบริหารพรรคการเมือง และกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีหน้าที่ควบคุมและกำกับดูแลมีให้สมาชิกพรรคการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองกระทำการในลักษณะที่อาจทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรืออาจเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใดซึ่งสมัครเข้ารับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
นายทะเบียนพรรคการเมืองพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้พรรคการเมืองปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จึงขอให้พรรคการเมืองแจ้งให้สมาชิกพรรคการเมืองได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ข้อบังคับ รวมตลอดทั้งระเบียบ ประกาศ และคำสั่งของ กกต.
โดยเฉพาะระเบียบ กกต.ว่าด้วยการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในส่วนของการนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการหาเสียงเลือกตั้ง และเมื่อความปรากฏต่อคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือเมื่อคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองได้รับแจ้งจากนายทะเบียนพรรคการเมืองว่าสมาชิกพรรคการเมืองกระทำการอันอาจมีลักษณะเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 22 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง
ให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีมติ หรือสั่งการให้สมาชิกพรรคการเมืองยุติการกระทำนั้นโดยพลัน และกำหนดมาตรการ หรือวิธีการที่จำเป็นเพื่อมิให้สมาชิกพรรคการเมืองผู้ใดกระทำการอันอาจมีลักษณะดังกล่าวอีก แล้วแจ้งให้นายทะเบียนพรรคการเมืองทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีมติ
ทั้งนี้ หากคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 22 วรรคสาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 นายทะเบียนพรรคการเมืองจะเสนอให้ กกต.เพื่อพิจารณามีคำสั่งให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ คำสั่งดังกล่าวให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และห้ามมิให้กรรมการบริหารพรรคการเมืองซึ่งพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุดังกล่าวดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองจนกว่าจะพ้นเวลา 20 ปี นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง ตามมาตรา 22 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน
นอกจากนี้ เลขาธิการ กกต.ยังได้ลงนามในหนังสือ เรื่อง การควบคุมและกำกับดูแลมิให้สมาชิกพรรคการเมืองกระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย ส่งถึง หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ โดยมีรายละเอียดว่า ด้วยปรากฏข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 นาย
ไตรรงค์ สุวรรณคีรี ได้ปราศรัย ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา
ช่วงหนึ่งของการปราศรัยได้นำสถาบันพระมหากษัตริย์มาใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งนายทะเบียนพรรคการเมืองพิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของนาย
ไตรรงค์ สมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ อาจเป็นการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบ กกต.ว่าด้วยการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในส่วนของการนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการหาเสียงเลือกตั้งได้
ดังนั้น จึงขอให้ท่านควบคุมและกำกับดูแลมิให้นาย
ไตรรงค์กระทำการอันอาจเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ข้อบังคับรวมตลอดทั้งระเบียบ ประกาศ และคำสั่งของ กกต.
หนังต่อต้านสงครามเวอร์ชันเยอรมันคว้าออสการ์
https://tna.mcot.net/world-1132339
ลอสแอนเจลิส 13 มี.ค.- ภาพยนตร์เรื่อง All Quiet on Western Front เวอร์ชันเยอรมัน คว้ารางวัลออสการ์ครั้งที่ 95 สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม เป็นภาพยนตร์ที่ถูกมองว่าสะท้อนภาพการทำสงครามในยูเครนของรัสเซียที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้
ภาพยนตร์เรื่อง
All Quiet on Western Front หรือ “
แนวรบด้านตะวันตก เหตุการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง” ดัดแปลงมาจากนวนิยายชื่อดังของ
เอริช มาเรีย เรอมาร์ก ที่ตีพิมพ์ในปี 2472 ผลิตเพื่อออกอากาศทางเน็ตฟลิกซ์ในปี 2565 เป็นภาพยนตร์ภาษาเยอรมันเรื่องแรกที่คว้ารางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม (Best International Feature) จากภาพยนตร์ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงทั้งหมด 9 เรื่อง ส่วนภาพยนตร์ภาษาเยอรมันที่ได้รับรางวัลสาขานี้เป็นเรื่องหลังสุดคือ The Lives of Others ในปี 2550 ครั้งนั้นใช้ชื่อรางวัลสาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม (Best Foreign Language Film) จนถึงปี 2563
เอ็ดเวิร์ด แบร์เกอร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวสวิส วัย 52 ปี เคยเผยในช่วงที่ภาพยนตร์เปิดตัวในเดือนกันยายน 2565 ว่า ภาพยนตร์เวอร์ชันเยอรมันนี้แตกต่างจากเวอร์ชันอเมริกันปี 2473 และเวอร์ชันอังกฤษปี 2522 ที่สร้างขึ้นจากมุมมองของผู้ชนะสงคราม เขาเห็นว่า เยอรมนียังคงมีความรู้สึกละอาย เศร้าใจ และรู้สึกผิดกับสงครามอยู่เสมอ จึงจำเป็นต้องนำเสนอมุมมองนี้ให้โลกได้เห็น
นาง
คลาวเดีย รอธ รัฐมนตรีวัฒนธรรมของเยอรมนีกล่าวเมื่อครั้งที่ภาพยนตร์เรื่องนี้กวาดรางวัลบาฟตา (BAFTA) ของอังกฤษถึง 7 สาขาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งครบ 1 ปีที่รัสเซียทำสงครามในยูเครนว่า เป็นภาพยนตร์ที่ถูกที่ถูกเวลา เพราะได้พูดถึงความโหดร้ายของสงครามที่เกิดขึ้นในใจกลางยุโรปอย่างเจ็บปวดรวดร้าว ด้วยภาพที่ตราตรึงยากจะลืมเลือน ขณะที่นักวิจารณ์ชาวเยอรมันหลายคนมองว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้สะท้อนถึงการเข่นฆ่าของรัสเซียที่กำลังดำเนินอยู่ในยูเครนในขณะนี้ เพราะเป็นเรื่องราวที่เล่าผ่านมุมมองของทหารคนหนึ่งที่ไปรบเพราะคำโกหกเรื่องความรักชาติ.-สำนักข่าวไทย
JJNY : เพื่อไทย-ก้าวไกลหนุนแก้ม.112│กกต.เตือน รทสช.│หนังต่อต้านสงครามคว้าออสการ์│ฝ่ายหนุนรัสเซียในมอลโดวาประท้วงรบ.
https://www.khaosod.co.th/election-2023/news_7555568
มติชน จัดเวทีดีเบต เลือกตั้ง 66 ‘พริษฐ์’ ย้ำจุดยืนก้าวไกล ต้องแก้มาตรา 112 ใครมีสิทธิ์ร้องทุกข์-ความหนักของโทษ ‘หมอมิ้ง’ หนุนแก้ไข
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 13 มี.ค. 2566 ที่โรงแรม พูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ (รางน้ำ) เครือมติชนจัดแคมเปญ “มติชน: เลือกตั้ง 2566 บทใหม่ประเทศไทย” เปิด 5 เวที 10 ยุทธศาสตร์ 2 กลยุทธ์ ซึ่งวันนี้เป็นเวทีแรก ประยันนโยบาย “ย้ำจุดยืน ชูจุดขาย ประกาศจุดแข็ง” ที่มีตัวแทนจาก 8 พรรคการเมืองร่วมขึ้นเวทีประชันนโยบาย ได้แก่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรมว.สาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.)
นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประธานพรรคชาติพัฒนากล้า (ชพก.) นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้จัดการการสื่อสารและการรณรงค์นโยบายของพรรคก้าวไกล นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ประธานคณะกรรมการด้านนโยบายและเศรษฐกิจ พรรคเพื่อไทย (พท.) น.ต.ศิธา ทิวารี เลขาธิการพรรคไทยสร้างไทย(ทสท.) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ประธานยุทธศาสตร์การเมือง พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)
โดยมีผู้บริหารมติชน นำโดย น.ส.ปานบัว บุนปาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท มติชน จำกัด มหาชน, นายวรศักดิ์ ประยูรศุข รองประธานกรรมการบริษัทมติชน, นายจำลอง ดอกปิก บรรณาธิการหนังสือพิมพ์มติชน, นายปราปต์ บุนปาน รองกรรมการผู้จัดการสายเทคโนโลยีและดิจิทัลมีเดีย บริษัท มติชน, นายนฤตย์ เสกธีระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท งานดี จำกัด, นายจตุรงค์ ปทุมธานีมานนท์ บรรณาธิการบริหารมติชน ให้การต้อนรับ ทั้งนี้ มีกองเชียร์ของแต่ละพรรคเดินทางมาร่วมให้กำลังใจอย่างคึกคัก
โดยในรอบแรก ตอบคำถามจับคู่ดีเบต นายพริษฐ์ ตอบคำถามพรรคของคุณจะรับมือหรือคลี่คลายปัญหา กรณีสังคมมีข้อเห็นต่างเรื่องข้อกฎหมาย เช่น มาตรา 112 และ มาตรา 116 อย่างไร ว่า พรรคก้าวไกลยืนยันว่ามาตรา 112 และ 116 ในการบังคับใช้และเนื้อหาของกฎหมายเป็นอุปสรรคของเสรีภาพในการแสดงออก
พรรคก้าวไกลคิดว่า มาตรา 112 มีทั้งหมด 3 ปัญหาจึงเสนอให้มีการแก้ไข
1. การบังคับใช้ แม้เนื้อหากฎหมายจะเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ แต่การบังคับใช้หลายครั้งไม่เข้าข่ายการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ พรรคก้าวไกลจึงเสนอให้เขียนให้ชัดเจน เพื่อคุ้มครองการวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริต
2. ความหนักของโทษ จะเห็นว่าโทษจำคุก 3-15 ปี ของไทยสูงกว่ามาตรฐานสากลเป็นอย่างมาก พรรคก้าวไกลจึงเสนอลดโทษจำคุก เหลือ 0-1 ปี
และ 3. ใครมีสิทธิ์ร้องทุกข์กล่าวโทษ เพราะเรากังวลว่าจะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง พรรคก้าวไกลจึงเสนอให้มีการจำกัดเรื่องคนที่มีสิทธิร้องทุกข์กล่าวโทษ โดยให้เป็นตัวแทนของผู้เสียหายมีสิทธิ์ร้องทุกข์กล่าวโทษเท่านั้น
หลังจากนั้น นายพริษฐ์ เลือก นพ.พรหมินทร์ ตอบคำถามเดียวกันต่อ โดยนพ.พรหมินทร์ ตอบคำถามว่า พรรคเพื่อไทยยึดมั่นในระบบประชาธิปไตยมาตลอด มาตั้งแต่พรรคไทยรักไทย เมื่อพูดถึงมาตรา 112 ตนเห็นด้วยว่า การมีกฎหมายดูแลปกปักษ์รักษาประมุขของประเทศเป็นเรื่องจำเป็น แต่เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป สาระของกฎหมายก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องมากขึ้น
กระบวนการแก้ไขโดยสันติวิธีต้องกลับเข้าไปในสภาฯ แล้วหารือกัน ตนเห็นด้วยกับนายพริษฐ์ว่ายังมีหลายจุดที่ต้องแก้ไข ซึ่งต้องถกเถียงกันเพื่อหาทางออก ประเด็นสำคัญตนเห็นด้วยอย่างยิ่งกับการลดโทษ และผู้มีสิทธิ์ร้องทุกข์กล่าวโทษ
“นอกจากนี้อีกเรื่องที่สำคัญ คือกระบวนการใช้กฎหมาย ซึ่งสมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทย เรื่องเหล่านี้ก็เคยเกิดขึ้น แต่มีกระบวนการและองค์กรต่างๆ คอยกลั่นกรองพิจารณาว่าเรื่องเหล่านี้เข้าข่ายหรือไม่ ดังนั้น เราเห็นด้วยว่าจะต้องมีการแก้ไข แต่เรื่องนี้มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันมาก ขึงต้องเข้ากระบวนสภาฯ แล้วหารือกัน แต่เรายึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” นพ.พรหมินทร์ กล่าว
กกต.เตือนหัวหน้าพรรค รทสช. คุม ‘ไตรรงค์’ ปราศรัยสุ่มเสี่ยง ย้ำเข้มห้ามดึงสถาบันหาเสียง
https://www.matichon.co.th/politics/news_3870093
เลขาฯ กกต. แจ้งพรรคการเมือง ควบคุมสมาชิกพรรคห้ามดึงสถาบันมาหาเสียง ออกหนังสือเตือน หน.รทสช. ควบคุม ‘ไตรรงค์’ หลังปราศรัยโคราชประเด็นสุ่มเสี่ยง
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ลงนามในหนังสือ เรื่อง การควบคุมและกำกับดูแลมีให้สมาชิกพรรคการเมืองกระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย แจ้งต่อหัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรค โดยระบุว่า ด้วยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 22 กำหนดให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมือง มีหน้าที่ควบคุมและกำกับดูแลมิให้สมาชิกพรรคการเมืองกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ข้อบังคับ รวมตลอดทั้งระเบียบ ประกาศ และคำสั่งของ กกต.
และเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) หรือให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) แล้วแต่กรณี กรรมการบริหารพรรคการเมือง และกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีหน้าที่ควบคุมและกำกับดูแลมีให้สมาชิกพรรคการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองกระทำการในลักษณะที่อาจทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรืออาจเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใดซึ่งสมัครเข้ารับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
นายทะเบียนพรรคการเมืองพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้พรรคการเมืองปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จึงขอให้พรรคการเมืองแจ้งให้สมาชิกพรรคการเมืองได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ข้อบังคับ รวมตลอดทั้งระเบียบ ประกาศ และคำสั่งของ กกต.
โดยเฉพาะระเบียบ กกต.ว่าด้วยการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในส่วนของการนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการหาเสียงเลือกตั้ง และเมื่อความปรากฏต่อคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือเมื่อคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองได้รับแจ้งจากนายทะเบียนพรรคการเมืองว่าสมาชิกพรรคการเมืองกระทำการอันอาจมีลักษณะเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 22 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง
ให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีมติ หรือสั่งการให้สมาชิกพรรคการเมืองยุติการกระทำนั้นโดยพลัน และกำหนดมาตรการ หรือวิธีการที่จำเป็นเพื่อมิให้สมาชิกพรรคการเมืองผู้ใดกระทำการอันอาจมีลักษณะดังกล่าวอีก แล้วแจ้งให้นายทะเบียนพรรคการเมืองทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีมติ
ทั้งนี้ หากคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 22 วรรคสาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 นายทะเบียนพรรคการเมืองจะเสนอให้ กกต.เพื่อพิจารณามีคำสั่งให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ คำสั่งดังกล่าวให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และห้ามมิให้กรรมการบริหารพรรคการเมืองซึ่งพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุดังกล่าวดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองจนกว่าจะพ้นเวลา 20 ปี นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง ตามมาตรา 22 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน
นอกจากนี้ เลขาธิการ กกต.ยังได้ลงนามในหนังสือ เรื่อง การควบคุมและกำกับดูแลมิให้สมาชิกพรรคการเมืองกระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย ส่งถึง หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ โดยมีรายละเอียดว่า ด้วยปรากฏข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ได้ปราศรัย ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา
ช่วงหนึ่งของการปราศรัยได้นำสถาบันพระมหากษัตริย์มาใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งนายทะเบียนพรรคการเมืองพิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของนายไตรรงค์ สมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ อาจเป็นการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบ กกต.ว่าด้วยการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในส่วนของการนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการหาเสียงเลือกตั้งได้
ดังนั้น จึงขอให้ท่านควบคุมและกำกับดูแลมิให้นายไตรรงค์กระทำการอันอาจเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ข้อบังคับรวมตลอดทั้งระเบียบ ประกาศ และคำสั่งของ กกต.
หนังต่อต้านสงครามเวอร์ชันเยอรมันคว้าออสการ์
https://tna.mcot.net/world-1132339
ลอสแอนเจลิส 13 มี.ค.- ภาพยนตร์เรื่อง All Quiet on Western Front เวอร์ชันเยอรมัน คว้ารางวัลออสการ์ครั้งที่ 95 สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม เป็นภาพยนตร์ที่ถูกมองว่าสะท้อนภาพการทำสงครามในยูเครนของรัสเซียที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้
ภาพยนตร์เรื่อง All Quiet on Western Front หรือ “แนวรบด้านตะวันตก เหตุการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง” ดัดแปลงมาจากนวนิยายชื่อดังของเอริช มาเรีย เรอมาร์ก ที่ตีพิมพ์ในปี 2472 ผลิตเพื่อออกอากาศทางเน็ตฟลิกซ์ในปี 2565 เป็นภาพยนตร์ภาษาเยอรมันเรื่องแรกที่คว้ารางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม (Best International Feature) จากภาพยนตร์ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงทั้งหมด 9 เรื่อง ส่วนภาพยนตร์ภาษาเยอรมันที่ได้รับรางวัลสาขานี้เป็นเรื่องหลังสุดคือ The Lives of Others ในปี 2550 ครั้งนั้นใช้ชื่อรางวัลสาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม (Best Foreign Language Film) จนถึงปี 2563
เอ็ดเวิร์ด แบร์เกอร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวสวิส วัย 52 ปี เคยเผยในช่วงที่ภาพยนตร์เปิดตัวในเดือนกันยายน 2565 ว่า ภาพยนตร์เวอร์ชันเยอรมันนี้แตกต่างจากเวอร์ชันอเมริกันปี 2473 และเวอร์ชันอังกฤษปี 2522 ที่สร้างขึ้นจากมุมมองของผู้ชนะสงคราม เขาเห็นว่า เยอรมนียังคงมีความรู้สึกละอาย เศร้าใจ และรู้สึกผิดกับสงครามอยู่เสมอ จึงจำเป็นต้องนำเสนอมุมมองนี้ให้โลกได้เห็น
นางคลาวเดีย รอธ รัฐมนตรีวัฒนธรรมของเยอรมนีกล่าวเมื่อครั้งที่ภาพยนตร์เรื่องนี้กวาดรางวัลบาฟตา (BAFTA) ของอังกฤษถึง 7 สาขาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งครบ 1 ปีที่รัสเซียทำสงครามในยูเครนว่า เป็นภาพยนตร์ที่ถูกที่ถูกเวลา เพราะได้พูดถึงความโหดร้ายของสงครามที่เกิดขึ้นในใจกลางยุโรปอย่างเจ็บปวดรวดร้าว ด้วยภาพที่ตราตรึงยากจะลืมเลือน ขณะที่นักวิจารณ์ชาวเยอรมันหลายคนมองว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้สะท้อนถึงการเข่นฆ่าของรัสเซียที่กำลังดำเนินอยู่ในยูเครนในขณะนี้ เพราะเป็นเรื่องราวที่เล่าผ่านมุมมองของทหารคนหนึ่งที่ไปรบเพราะคำโกหกเรื่องความรักชาติ.-สำนักข่าวไทย