ข้อเท็จจริงกรณี พ.ร.บ. เงินกู้สองล้านล้าน แผนการพัฒนาที่เอื้อประโยชน์ต่อคนบางกลุ่ม และขัดกับรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน

เราต่างน่าจะคุ้นเคยกันดีกับกรณี พ.ร.บ. เงินกู้สองล้านล้านบาทในสมัยของนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อันเป็นร่างกฎหมายฉบับสำคัญต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมของประเทศไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นการให้อำนาจแก่กระทรวงการคลัง โดยอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเพื่อนำไปใช้จ่ายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมของประเทศ แน่นอนว่าแผนการดังกล่าวนี้นอกจากเรื่องการพัฒนาการคมนาคมแล้ว

ประเด็นที่ถูกพูดถึงอย่างมากนั่นก็คือ การที่ร่างฉบับนี้ถูกตีตกโดยศาลรัฐธรรมนูญอันนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ขัดขวางความเจริญ

อย่างไรก็ดี ความเจริญจำเป็นต้องไปพร้อมกับกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการใช้เงินจำนวนมากมีผลผูกพันและส่งผลยาวนาน กระบวนการตรวจสอบจึงมีความจำเป็นเพื่อทำให้เกิดความยั่งยืน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพิจารณาจากร่าง พ.ร.บ. สองล้านล้านนั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างอย่างมโหฬารทั่วประเทศโดยมีวงเงินเท่ากับร้อยละ 80 ของ พ.ร.บ. งบประมาณร่ายจ่ายประจำปี 2556 รวมถึงผูกพันรัฐบาลไม่ใช่เพียงชุดนี้เท่านั้น และรัฐบาลจะต้องมีภาระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเพิ่มสูงสุดอีกประมาณ 1.4 แสนล้านบาทต่อปี โดยมีอายุการเป็นหนี้ 50 ปี

การพัฒนาประเทศมิใช่เรื่องที่ผิด เพราะใครๆ ก็ต้องการพัฒนา แต่สิ่งสำคัญที่จะต้องทำไปคู่กันนั่นคือ การดำเนินการอย่างถูกต้องตามกระบวนการประชาธิปไตย

ร่าง พ.ร.บ. เงินกู้สองล้านล้านบาทมีปัญหาอย่างไร ? และศาลรัฐธรรมนูญฉุดความเจริญของประเทศอย่างที่มีผู้กล่าวอ้างหรือไม่ ? ติดตามอ่านได้ใน   https://bit.ly/3IRuz89
#LueHistory #พรบสองล้านล้าน #ยิ่งลักษณ์



เราต่างน่าจะคุ้นเคยกันดีกับกรณี พ.ร.บ. เงินกู้สองล้านล้านบาท ในสมัยของนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อันเป็นร่างกฎหมายฉบับสำคัญต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมของประเทศไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นการให้อำนาจแก่กระทรวงการคลังโดยอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเพื่อนำไปใช้จ่ายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมของประเทศ แน่นอนว่าแผนการดังกล่าวนี้นอกจากเรื่องการพัฒนาการคมนาคมแล้ว ประเด็นที่ถูกพูดถึงอย่างมากนั่นก็คือการที่ร่างฉบับนี้ถูกตีตกโดยศาลรัฐธรรมนูญอันนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ขัดขวางความเจริญ อย่างไรก็ดี ความเจริญจำเป็นต้องไปพร้อมกับกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการใช้เงินจำนวนมากมีผลผูกพันและส่งผลยาวนาน กระบวนการตรวจสอบจึงมีความจำเป็นเพื่อทำให้เกิดความยั่งยืน

ก่อนที่จะกล่าวถึง พ.ร.บ. สองล้านล้านนั้น จำเป็นที่จะต้องกล่าวถึงรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายพื้นฐานและเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศเสียก่อน ในขณะนั้นรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้อยู่และส่วนที่เป็นส่วนใหม่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้าทั้งหมดคือ มีการบัญญัติหมวดที่ 8 ว่าด้วยการเงิน เพิ่มขึ้นเข้ามา เนื่องจากปัญหาการเงินการคลังในประเทศและแรงกดดันจากระหว่างประเทศในขณะนั้น โดยเนื้อหาในหมวดที่ 8 นี้ มีเพียง 5 มาตรา ซึ่งโดยหลักแล้วเป็นเรื่องการถ่วงดุลและการรักษาความมั่นคงของระบบการคลังเอาไว้ [1] ดังนั้น การจะออกกฎหมายใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคลังนั้นจะต้องคำนึงตามบทบัญญัติในหมวดนี้เอาไว้ด้วย

ร่าง พ.ร.บ. สองล้านล้านนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างอย่างมโหฬารทั่วประเทศโดยมีวงเงินเท่ากับร้อยละ 80 ของ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 รวมถึงผูกพันรัฐบาลไม่ใช่เพียงชุดนี้เท่านั้น และรัฐบาลจะต้องมีภาระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเพิ่มสูงสุดอีกประมาณ 1.4 แสนล้านบาทต่อปี โดยมีอายุการเป็นหนี้ 50 ปี [2] อย่างไรก็ดี พ.ร.บ. ฉบับนี้กลับมอบอำนาจการตัดสินใจใช้เงินจำนวนมากให้ฝ่ายบริหารผ่านการปรับรายละเอียดในเอกสารตลอดระยะเวลา 7 ปี ตามแผนงาน ในขณะที่ฝ่ายนิติบัญญัติมีโอกาสให้ความเห็นชอบพระราชบัญญัติและบัญชีแนบท้ายเพียงครั้งเดียว [3] ทำให้รัฐบาลสามารถรวบอำนาจในการจัดสรรงบประมาณโดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาในรัฐสภา [4]

ตัวโครงการจำนวนมากเองยังไม่มีการศึกษาความเป็นไปได้ ไม่ผ่านการศึกษาความคุ้มค่าทางการเงินและด้านอื่นๆ ซึ่งอาจมีการเร่งสรุปผลการศึกษาทั้งที่ไม่คุ้มค่าในการลงทุน [5] โดยยังไม่รวมไปถึงประเด็นของผู้ผลักดันนโยบายที่มองไม่เห็น อย่างกลุ่มอสังหาฯ กลุ่มรับหมา และกลุ่มทุนจากต่างประเทศ [6] ดังที่ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้ระบุไว้ว่ากลุ่มรับเหมามีบทบาทในการผลักดันนโยบายอย่างอ้อมๆ เพราะจะได้รับประโยชน์มหาศาลดังที่เขากล่าวว่า “พวกที่รับเหมา วัสดุก่อสร้าง เพราะโครงการมันขนาดใหญ่ ประมาณแปดแสนล้าน … จริงๆ แล้วถ้าเกิดมองดู คนที่ได้ผลกระทบในแง่มองบวกมันจะเยอะ” [7]

พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นฝ่ายค้านในขณะนั้นได้ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำวินิจฉัย โดยศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า พ.ร.บ. นี้ตราขึ้นโดยไม่สอดคล้องกับกฎหมาย และสามารถดำเนินโครงการด้วยวิธีการอื่นๆ ได้ และที่สำคัญคือ กําหนดให้คณะรัฐมนตรีรายงานการกู้เงินและผลการดําเนินงานต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อทราบเท่านั้น จึงแตกต่างจากที่พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 บัญญัติไว้ ทําให้การควบคุมตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง [8]

โดยพรรคประชาธิปัตย์กล่าวย้ำว่า พวกเขาไม่ได้คัดค้านโครงการแต่คัดค้านวิธีการในการได้รถไฟความเร็วสูงซึ่งไม่จำเป็นต้องไปกู้ให้เป็นภาระ [9] ทั้งยังไม่มีหลักประกันภัยความเสี่ยงทางการคลังและระบบเศรษฐกิจอย่างเพียงพอ การมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้นจึงเป็นการมุ่งให้กฎหมายอยู่ในกรอบวินัยทางการเงินและอยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ แม้โครงการจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญไม่ก้าวล่วงไปยังเรื่องดังกล่าว [10]
โดยสรุปแล้ว พ.ร.บ. นี้เป็นการที่ฝ่ายบริหารสามารถกู้เงินเอง จัดสรรงบเอง อนุมัติเงินเอง สั่งจ่ายเงินเอง และเปลี่ยนรายการได้เอง พ.ร.บ. นี้จึงขัดกับรัฐธรรมนูญอย่างโจ่งแจ้งและทำให้กลไกการตรวจสอบทำงานยากลำบาก [11] การพัฒนาประเทศมิใช่เรื่องที่ผิด เพราะใครๆ ก็ต้องการพัฒนา แต่สิ่งสำคัญที่จะต้องทำไปคู่กันนั่นคือ การดำเนินการอย่างถูกต้องตามกระบวนการประชาธิปไตย เพราะวินัยการคลังต้องคู่โครงการ เมื่อนั้นหลักนิติรัฐจึงจะคงอยู่ได้อย่างยั่งยืน

https://www.luehistory.com/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่