“จาตุรนต์” ห่วงได้ไม่คุ้มเสีย เปิดรับนักท่องเที่ยวจีนโดยไม่คัดกรอง ชี้หากมาตรการไม่ดีพอ หวั่นระบาดใหญ่
https://www.matichon.co.th/politics/news_3755342
“จาตุรนต์” ห่วงได้ไม่คุ้มเสีย เปิดรับนักท่องเที่ยวจีนโดยไม่คัดกรอง ชี้หากมาตรการไม่ดีพอ หวั่นระบาดใหญ่
นาย
จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่องมาตรการรับนักท่องเที่ยวจีน โดยมีรายละเอียดว่า
“หลายประเทศออกมาตรการสำหรับผู้ที่เดินทางมาจากประเทศจีนแล้ว องค์การอนามัยโลกยังเสนอว่าเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ควรจะแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับโควิดในจีนหรือที่มาจากจีน เนื่องจากจีนปิดประเทศอยู่นาน และเมื่อเปิดก็พบว่ามีแนวโน้มที่ชาวจีนจะติดโควิดกันมาก รวมทั้งผู้ที่จะเดินทางออกนอกประเทศด้วย โดยที่ประเทศต่างๆ ยังไม่มีความรู้หรือข้อมูลมากเพียงพอเกี่ยวกับโควิดในจีนว่าเป็นสายพันธุ์ใด ใช้วัคซีนและยาชนิดไหนได้ผลเพียงใด
แต่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสาธารณสุขกลับออกมาประกาศชอบมาตรการรับนักท่องเที่ยวจีน โดยไม่ต้องตรวจโควิดในผู้เดินทาง เพราะอยากเน้น ‘หลักความเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ’
ทั้งที่การคัดกรองอย่างเข้มงวดเป็นเรื่องจำเป็นและไม่ใช่การเลือกปฏิบัติ แต่เป็นการปฏิบัติอย่างเหมาะสมมีเหตุมีผล กระทรวงสาธารณสุขน่าจะเข้าใจดีที่สุดกว่าใคร ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บที่ต่างกันก็ต้องใช้วิธีต่างกัน คนที่อยู่ในกลุ่ม 608 ก็พึงได้รับการปฏิบัติแตกต่างจากผู้ที่อายุน้อยและแข็งแรง ก็ไม่ใช่การเลือกปฏิบัติแต่อย่างใด การที่ใช้เหตุผลของหลักความเท่าเทียมจึงเป็นการใช้อย่างผิดฝาผิดตัว
รัฐบาลไทยก็ไม่ควรชักช้า ควรรีบคิดหามาตรการที่เหมาะสมโดยเร็ว กับประชาชนคนไทยและกับนักท่องเที่ยวที่มาจากจีน ทั้งการดูแลให้บริการทางสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพ การตรวจ ATK ฟรี การสุ่มตรวจ RT-PCR ให้รู้ว่าโควิดจากจีนเป็นสายพันธุ์ใด มีภาวะดื้อวัคซีนหรือไม่ การเตรียมยาต้านไวรัสคุณภาพดีในราคาไม่แพงให้บริการ
ต้องไม่ประมาทและเตรียมพร้อมกับทุกสถานการณ์ แทนที่คิดเอาแต่ได้ หากหวังแต่นักท่องเที่ยวเข้ามามากๆอย่างเดียวโดยไม่มีมาตรการที่ดีพอ อาจเกิดการระบาดในไทยครั้งใหญ่อีกก็ได้ และหลายประเทศอาจจะเตือนคนในประเทศของตนให้ระวังในการเดินมาประเทศไทยก็ได้ด้วย นั่นจะกลายเป็นได้ไม่คุ้มเสีย”
https://www.facebook.com/Chaturon.FanPage/posts/pfbid02HnU1LgCxFnu7S32MH2zJa1w2BuXVhupuDnx8QHQogU4AQ5q62q26S9c2ytXfR44Yl
“ไอติม” ชี้ 2 สิ่งที่ ส.ว.ควรทำ หลังเลือกตั้ง’66 เพื่อให้เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย
https://www.matichon.co.th/politics/news_3755364
“ไอติม” ชี้ 2 สิ่งที่ ส.ว.ควรทำ หลังเลือกตั้ง’66 เพื่อให้เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย
เมื่อวันที่ 3 มกราคม นาย
พริษฐ์ วัชสินธุ สมาชิกพรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับสิ่งที่ส.ส.ควทำในการการเลือกตั้ง 2566 โดยมีรายละเอียดว่า
2 สิ่งที่ ส.ว. ควรทำ เพื่อให้การเลือกตั้ง 2566 เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย
อย่างที่หลายคนทราบดี มาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ให้อำนาจ ส.ว. 250 คน ที่มาจากการแต่งตั้งโดย คสช. มาร่วมเลือกนายกฯ กับ ส.ส. 500 คนที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นมาตราที่ขัดกับหลักขั้นพื้นฐานของประชาธิปไตย เพราะเป็นการทำ ส.ว. 1 คน มีอำนาจในการเลือกนายกฯเทียบเท่ากับประชาชน 70,000+ คนรวมกัน และเปิดช่องให้เรามีนายกฯ ที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากเสียงส่วนใหญ่ของ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน (เช่น ได้เสียงจาก ส.ว. ทั้ง 250 คน + เสียงจาก ส.ส. เพียง 125 คน หรือ 1 ใน 4) – การพยายามกำจัดมาตรา 272 (หรือที่หลายฝ่ายเรียกว่า “ปิดสวิตช์ ส.ว.) จึงเป็นโจทย์สำคัญที่ควรทำให้สำเร็จก่อนการเลือกตั้งที่จะมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้ ส.ว. มีอำนาจมาขัดเจตนารมณ์ของประชาชนที่ถูกสะท้อนผ่านผลการเลือกตั้ง
ในช่วงวันหยุดปีใหม่ที่ผ่านมา ผมได้ติดตามบทสัมภาษณ์ของคุณ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ที่มีการวิเคราะห์ว่าสมาชิกวุฒิสภาจะมีท่าทีอย่างไร เกี่ยวกับการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญและการเลือกนายกฯหลังการเลือกตั้งที่จะมาถึง – หากคำพูดของประธานวุฒิสภาเป็นจริงและสะท้อนถึงความคิดของสมาชิกวุฒิสภาในภาพรวม ผมมีความกังวลว่าวุฒิสภาชุดนี้ จะยังคงเลือกเดินหน้าแสดงบทบาทที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตยต่อไป:
1. คุณพรเพชรกล่าวว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรีบปิดสวิตช์ ส.ว. (ตัดอำนาจ ส.ว. ในการเลือกนายกฯ) เพราะเหลือวาระอีกแค่ 1 ปีเศษๆ – ตรงนี้เป็นการละเว้นการพูดถึงสาระสำคัญของปัญหา เพราะแม้ ส.ว. จะเหลือวาระอีกไม่นาน แต่ระยะเวลาที่เหลือนั้นคาบเกี่ยวกับช่วงการเลือกตั้งในปี 2566 ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้ ส.ว. มีส่วนในการแทรกแซงกระบวนการเลือกนายกฯและการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง ซึ่งอาจส่งผลไปอีก 4 ปีตามวาระรัฐบาลใหม่
2. คุณพรเพชรกล่าวว่า ในการเลือกนายกรัฐมนตรี สมาชิกวุฒิสภาแต่ละคนอาจลงคะแนนเสียงแตกต่างกันออกไปตาม “ดุลยพินิจของสมาชิก” – ตรงนี้เป็นปัญหาเช่นกัน เพราะหากเราต้องการให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยที่เคารพเสียงของประชาชนที่แสดงออกผ่านบัตรเลือกตั้ง ส.ว. 250 คน ที่มาจากการแต่งตั้ง (แม้จะมีอำนาจทำได้) ก็ไม่ควรเลือกนายกตามความเชื่อของคนเอง แต่ควรเลือกนายกที่ได้รับเสียงสนับสนุนจากเสียงส่วนใหญ่ของ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้ง
หากสมาชิกวุฒิสภาอยากเห็นประเทศเดินหน้าตามวิถีประชาธิปไตย ที่เคารพ 1 สิทธิ 1 เสียงของประชาชนในการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง ผมขอเสนอให้ท่านดำเนินการดังต่อไปนี้:
1. โหวตสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (ที่พรรคเพื่อไทยยื่นต่อประธานสภาฯเมื่อ 16 ธ.ค.) เพื่อยกเลิกมาตรา 272 และปิดสวิตช์ตนเองให้สำเร็จก่อนการเลือกตั้ง – หากท่านจะให้เหตุผล (เหมือนที่เคยให้ในการอภิปรายครั้งก่อน) ว่าท่านไม่ประสงค์จะใช้อำนาจในทางที่ไปขัดผลการเลือกตั้งแม้จะมีอำนาจทำได้ ท่านก็ยิ่งไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่สนับสนุนการตัดอำนาจตนเองในการเลือกนายกฯเพื่อตัดไฟตั้งแต่ต้นลม
(ป.ล. การที่ ส.ว. งดออกเสียงอาจไม่พอ เพราะมาตรา 272 กำหนดให้นายกฯต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของ “สมาชิก[รัฐสภา]ทั้งหมดที่มีอยู่” (เกิน 375 เสียง) ไม่ใช่แค่เกินกึ่งหนึ่งของ “สมาชิก[รัฐสภา]ทั้งหมดที่ลงคะแนนเสียง”)
2. ออกมายืนยันกับประชาชนก่อนการเลือกตั้งว่า (หากพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ทัน):
– 2.1. ท่านพร้อมจะลงมติสนับสนุนนายกที่ได้รับเสียงสนับสนุนจาก ส.ส. เกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร *ไม่ว่านายกคนนั้นจะเป็นใครหรือมาจากพรรคไหน*
– 2.2. ท่านจะไม่เข้ามาแทรกแซงกระบวนการจัดตั้งรัฐบาลหลังเลือกตั้ง และไม่อนุญาตให้ใครหรือพรรคใด เอาเสียงของท่านไปต่อรองในกระบวนการจัดตั้งรัฐบาล โดยอ้างว่าท่านจะสนับสนุนเฉพาะคนไหนเป็นนายกฯหรือพรรคไหนเป็นรัฐบาลเท่านั้น
ในเชิงหลักการ คำยืนยันดังกล่าวจำเป็นต้องยืนยันกันทั้ 250 คน และยืนยันอย่างสาธารณะ เพราะหากท่านมีเจตนาจะทำตามทั้งข้อ 2.1 และ 2.2 แต่ไม่ออกมาประกาศชัดโดยให้ประชาชนรู้เห็นเป็นพยาน พรรคอื่นอาจเอาเสียงของท่านไปอ้างในการต่อรองการจัดตั้งรัฐบาลได้ (เช่น “ต้องร่วมรัฐบาลกับนายก X หรือ พรรค X เท่านั้น เพราะ ส.ว. ไม่มีทางโหวตให้คนอื่นนอกจาก X เนื่องจาก X เป็นคนตั้ง ส.ว. เข้ามา”)
ถ้าท่านดำเนินการตาม 2 ข้อนี้ได้ ท่านจะพิสูจน์ให้ประชาชนเห็น ว่าแม้ที่มาของท่านเป็นสิ่งที่ขัดกับหลักประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน แต่ ณ วันนี้ ท่านได้พยายามแล้ว ในการทำให้ประเทศเดินหน้าตามหลักประชาธิปไตย ที่ประชาชนทุกคนมี 1 สิทธิ 1 เสียงเท่าเทียมกันในการกำหนดอนาคตประเทศ เริ่มต้นจากการเลือกตั้ง 2566 ที่กำลังจะมาถึง
https://www.facebook.com/paritw/posts/pfbid0ohGbE3RxzzXG8yw551fnv6VmMu2ZhPVbuA9CSaFX9tLJLLCjV3C4pP4xvErd7Gxwl
‘เสรีพิศุทธ์’ เข้ารพ. จากอาการออกซิเจนในเลือดต่ำ ประกาศหยุดปราบโกงชั่วคราว
https://www.matichon.co.th/politics/news_3755442
‘เสรีพิศุทธ์’ เข้า รพ.จากอาการออกซิเจนในเลือดต่ำ ประกาศหยุดปราบโกงชั่วคราว
เมื่อวันที่ 3 มกราคม เพจเฟซบุ๊ก “
พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส” ได้โพสต์คลิปวิดีโอ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ขณะนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลพร้อมระบุข้อความว่า “
เสรีพิศุทธ์ ป่วย พักโหน่ยนะ ขอหยุดปราบโกงชั่วคราว!”
ทั้งนี้ในคลิปวิดีโอดังกล่าว พล.ต.อ.
เสรีพิศุทธ์ระบุว่า ขอหยุดปราบโกงชั่วคราว เพราะป่วยครับ นอนรักษาตัวที่ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ จากอาการออกซิเจนในเลือดต่ำ ตอนนี้กำลังให้ยา หมอบอกทำงานหนักเกินไป คาด 2-3 วันคงหาย
https://www.facebook.com/sereepisutht/posts/pfbid02YwpsgZLFVLpsT7gydG8kxinHG6xa7rWT4DhFZEqAoZ4edduSKQ61R395SvNnn5twl
JJNY : “จาตุรนต์” ห่วงได้ไม่คุ้มเสีย│ “ไอติม” ชี้ 2 สิ่งที่ ส.ว.ควรทำ│‘เสรีพิศุทธ์’ เข้ารพ. │บ่ายนี้! ชวน นัดคุย 3 วิป
https://www.matichon.co.th/politics/news_3755342
“จาตุรนต์” ห่วงได้ไม่คุ้มเสีย เปิดรับนักท่องเที่ยวจีนโดยไม่คัดกรอง ชี้หากมาตรการไม่ดีพอ หวั่นระบาดใหญ่
นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่องมาตรการรับนักท่องเที่ยวจีน โดยมีรายละเอียดว่า
“หลายประเทศออกมาตรการสำหรับผู้ที่เดินทางมาจากประเทศจีนแล้ว องค์การอนามัยโลกยังเสนอว่าเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ควรจะแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับโควิดในจีนหรือที่มาจากจีน เนื่องจากจีนปิดประเทศอยู่นาน และเมื่อเปิดก็พบว่ามีแนวโน้มที่ชาวจีนจะติดโควิดกันมาก รวมทั้งผู้ที่จะเดินทางออกนอกประเทศด้วย โดยที่ประเทศต่างๆ ยังไม่มีความรู้หรือข้อมูลมากเพียงพอเกี่ยวกับโควิดในจีนว่าเป็นสายพันธุ์ใด ใช้วัคซีนและยาชนิดไหนได้ผลเพียงใด
แต่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสาธารณสุขกลับออกมาประกาศชอบมาตรการรับนักท่องเที่ยวจีน โดยไม่ต้องตรวจโควิดในผู้เดินทาง เพราะอยากเน้น ‘หลักความเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ’
ทั้งที่การคัดกรองอย่างเข้มงวดเป็นเรื่องจำเป็นและไม่ใช่การเลือกปฏิบัติ แต่เป็นการปฏิบัติอย่างเหมาะสมมีเหตุมีผล กระทรวงสาธารณสุขน่าจะเข้าใจดีที่สุดกว่าใคร ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บที่ต่างกันก็ต้องใช้วิธีต่างกัน คนที่อยู่ในกลุ่ม 608 ก็พึงได้รับการปฏิบัติแตกต่างจากผู้ที่อายุน้อยและแข็งแรง ก็ไม่ใช่การเลือกปฏิบัติแต่อย่างใด การที่ใช้เหตุผลของหลักความเท่าเทียมจึงเป็นการใช้อย่างผิดฝาผิดตัว
รัฐบาลไทยก็ไม่ควรชักช้า ควรรีบคิดหามาตรการที่เหมาะสมโดยเร็ว กับประชาชนคนไทยและกับนักท่องเที่ยวที่มาจากจีน ทั้งการดูแลให้บริการทางสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพ การตรวจ ATK ฟรี การสุ่มตรวจ RT-PCR ให้รู้ว่าโควิดจากจีนเป็นสายพันธุ์ใด มีภาวะดื้อวัคซีนหรือไม่ การเตรียมยาต้านไวรัสคุณภาพดีในราคาไม่แพงให้บริการ
ต้องไม่ประมาทและเตรียมพร้อมกับทุกสถานการณ์ แทนที่คิดเอาแต่ได้ หากหวังแต่นักท่องเที่ยวเข้ามามากๆอย่างเดียวโดยไม่มีมาตรการที่ดีพอ อาจเกิดการระบาดในไทยครั้งใหญ่อีกก็ได้ และหลายประเทศอาจจะเตือนคนในประเทศของตนให้ระวังในการเดินมาประเทศไทยก็ได้ด้วย นั่นจะกลายเป็นได้ไม่คุ้มเสีย”
https://www.facebook.com/Chaturon.FanPage/posts/pfbid02HnU1LgCxFnu7S32MH2zJa1w2BuXVhupuDnx8QHQogU4AQ5q62q26S9c2ytXfR44Yl
“ไอติม” ชี้ 2 สิ่งที่ ส.ว.ควรทำ หลังเลือกตั้ง’66 เพื่อให้เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย
https://www.matichon.co.th/politics/news_3755364
“ไอติม” ชี้ 2 สิ่งที่ ส.ว.ควรทำ หลังเลือกตั้ง’66 เพื่อให้เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย
เมื่อวันที่ 3 มกราคม นายพริษฐ์ วัชสินธุ สมาชิกพรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับสิ่งที่ส.ส.ควทำในการการเลือกตั้ง 2566 โดยมีรายละเอียดว่า
2 สิ่งที่ ส.ว. ควรทำ เพื่อให้การเลือกตั้ง 2566 เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย
อย่างที่หลายคนทราบดี มาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ให้อำนาจ ส.ว. 250 คน ที่มาจากการแต่งตั้งโดย คสช. มาร่วมเลือกนายกฯ กับ ส.ส. 500 คนที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นมาตราที่ขัดกับหลักขั้นพื้นฐานของประชาธิปไตย เพราะเป็นการทำ ส.ว. 1 คน มีอำนาจในการเลือกนายกฯเทียบเท่ากับประชาชน 70,000+ คนรวมกัน และเปิดช่องให้เรามีนายกฯ ที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากเสียงส่วนใหญ่ของ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน (เช่น ได้เสียงจาก ส.ว. ทั้ง 250 คน + เสียงจาก ส.ส. เพียง 125 คน หรือ 1 ใน 4) – การพยายามกำจัดมาตรา 272 (หรือที่หลายฝ่ายเรียกว่า “ปิดสวิตช์ ส.ว.) จึงเป็นโจทย์สำคัญที่ควรทำให้สำเร็จก่อนการเลือกตั้งที่จะมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้ ส.ว. มีอำนาจมาขัดเจตนารมณ์ของประชาชนที่ถูกสะท้อนผ่านผลการเลือกตั้ง
ในช่วงวันหยุดปีใหม่ที่ผ่านมา ผมได้ติดตามบทสัมภาษณ์ของคุณ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ที่มีการวิเคราะห์ว่าสมาชิกวุฒิสภาจะมีท่าทีอย่างไร เกี่ยวกับการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญและการเลือกนายกฯหลังการเลือกตั้งที่จะมาถึง – หากคำพูดของประธานวุฒิสภาเป็นจริงและสะท้อนถึงความคิดของสมาชิกวุฒิสภาในภาพรวม ผมมีความกังวลว่าวุฒิสภาชุดนี้ จะยังคงเลือกเดินหน้าแสดงบทบาทที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตยต่อไป:
1. คุณพรเพชรกล่าวว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรีบปิดสวิตช์ ส.ว. (ตัดอำนาจ ส.ว. ในการเลือกนายกฯ) เพราะเหลือวาระอีกแค่ 1 ปีเศษๆ – ตรงนี้เป็นการละเว้นการพูดถึงสาระสำคัญของปัญหา เพราะแม้ ส.ว. จะเหลือวาระอีกไม่นาน แต่ระยะเวลาที่เหลือนั้นคาบเกี่ยวกับช่วงการเลือกตั้งในปี 2566 ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้ ส.ว. มีส่วนในการแทรกแซงกระบวนการเลือกนายกฯและการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง ซึ่งอาจส่งผลไปอีก 4 ปีตามวาระรัฐบาลใหม่
2. คุณพรเพชรกล่าวว่า ในการเลือกนายกรัฐมนตรี สมาชิกวุฒิสภาแต่ละคนอาจลงคะแนนเสียงแตกต่างกันออกไปตาม “ดุลยพินิจของสมาชิก” – ตรงนี้เป็นปัญหาเช่นกัน เพราะหากเราต้องการให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยที่เคารพเสียงของประชาชนที่แสดงออกผ่านบัตรเลือกตั้ง ส.ว. 250 คน ที่มาจากการแต่งตั้ง (แม้จะมีอำนาจทำได้) ก็ไม่ควรเลือกนายกตามความเชื่อของคนเอง แต่ควรเลือกนายกที่ได้รับเสียงสนับสนุนจากเสียงส่วนใหญ่ของ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้ง
หากสมาชิกวุฒิสภาอยากเห็นประเทศเดินหน้าตามวิถีประชาธิปไตย ที่เคารพ 1 สิทธิ 1 เสียงของประชาชนในการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง ผมขอเสนอให้ท่านดำเนินการดังต่อไปนี้:
1. โหวตสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (ที่พรรคเพื่อไทยยื่นต่อประธานสภาฯเมื่อ 16 ธ.ค.) เพื่อยกเลิกมาตรา 272 และปิดสวิตช์ตนเองให้สำเร็จก่อนการเลือกตั้ง – หากท่านจะให้เหตุผล (เหมือนที่เคยให้ในการอภิปรายครั้งก่อน) ว่าท่านไม่ประสงค์จะใช้อำนาจในทางที่ไปขัดผลการเลือกตั้งแม้จะมีอำนาจทำได้ ท่านก็ยิ่งไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่สนับสนุนการตัดอำนาจตนเองในการเลือกนายกฯเพื่อตัดไฟตั้งแต่ต้นลม
(ป.ล. การที่ ส.ว. งดออกเสียงอาจไม่พอ เพราะมาตรา 272 กำหนดให้นายกฯต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของ “สมาชิก[รัฐสภา]ทั้งหมดที่มีอยู่” (เกิน 375 เสียง) ไม่ใช่แค่เกินกึ่งหนึ่งของ “สมาชิก[รัฐสภา]ทั้งหมดที่ลงคะแนนเสียง”)
2. ออกมายืนยันกับประชาชนก่อนการเลือกตั้งว่า (หากพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ทัน):
– 2.1. ท่านพร้อมจะลงมติสนับสนุนนายกที่ได้รับเสียงสนับสนุนจาก ส.ส. เกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร *ไม่ว่านายกคนนั้นจะเป็นใครหรือมาจากพรรคไหน*
– 2.2. ท่านจะไม่เข้ามาแทรกแซงกระบวนการจัดตั้งรัฐบาลหลังเลือกตั้ง และไม่อนุญาตให้ใครหรือพรรคใด เอาเสียงของท่านไปต่อรองในกระบวนการจัดตั้งรัฐบาล โดยอ้างว่าท่านจะสนับสนุนเฉพาะคนไหนเป็นนายกฯหรือพรรคไหนเป็นรัฐบาลเท่านั้น
ในเชิงหลักการ คำยืนยันดังกล่าวจำเป็นต้องยืนยันกันทั้ 250 คน และยืนยันอย่างสาธารณะ เพราะหากท่านมีเจตนาจะทำตามทั้งข้อ 2.1 และ 2.2 แต่ไม่ออกมาประกาศชัดโดยให้ประชาชนรู้เห็นเป็นพยาน พรรคอื่นอาจเอาเสียงของท่านไปอ้างในการต่อรองการจัดตั้งรัฐบาลได้ (เช่น “ต้องร่วมรัฐบาลกับนายก X หรือ พรรค X เท่านั้น เพราะ ส.ว. ไม่มีทางโหวตให้คนอื่นนอกจาก X เนื่องจาก X เป็นคนตั้ง ส.ว. เข้ามา”)
ถ้าท่านดำเนินการตาม 2 ข้อนี้ได้ ท่านจะพิสูจน์ให้ประชาชนเห็น ว่าแม้ที่มาของท่านเป็นสิ่งที่ขัดกับหลักประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน แต่ ณ วันนี้ ท่านได้พยายามแล้ว ในการทำให้ประเทศเดินหน้าตามหลักประชาธิปไตย ที่ประชาชนทุกคนมี 1 สิทธิ 1 เสียงเท่าเทียมกันในการกำหนดอนาคตประเทศ เริ่มต้นจากการเลือกตั้ง 2566 ที่กำลังจะมาถึง
https://www.facebook.com/paritw/posts/pfbid0ohGbE3RxzzXG8yw551fnv6VmMu2ZhPVbuA9CSaFX9tLJLLCjV3C4pP4xvErd7Gxwl
‘เสรีพิศุทธ์’ เข้ารพ. จากอาการออกซิเจนในเลือดต่ำ ประกาศหยุดปราบโกงชั่วคราว
https://www.matichon.co.th/politics/news_3755442
‘เสรีพิศุทธ์’ เข้า รพ.จากอาการออกซิเจนในเลือดต่ำ ประกาศหยุดปราบโกงชั่วคราว
เมื่อวันที่ 3 มกราคม เพจเฟซบุ๊ก “พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส” ได้โพสต์คลิปวิดีโอ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ขณะนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลพร้อมระบุข้อความว่า “เสรีพิศุทธ์ ป่วย พักโหน่ยนะ ขอหยุดปราบโกงชั่วคราว!”
ทั้งนี้ในคลิปวิดีโอดังกล่าว พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ระบุว่า ขอหยุดปราบโกงชั่วคราว เพราะป่วยครับ นอนรักษาตัวที่ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ จากอาการออกซิเจนในเลือดต่ำ ตอนนี้กำลังให้ยา หมอบอกทำงานหนักเกินไป คาด 2-3 วันคงหาย
https://www.facebook.com/sereepisutht/posts/pfbid02YwpsgZLFVLpsT7gydG8kxinHG6xa7rWT4DhFZEqAoZ4edduSKQ61R395SvNnn5twl