@@@ Medical hub & corridor @@@

    ดร.สาธิต กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดนโยบาย Medical Hub มีมติอนุมัติหลักการใน 3 ประเด็นสำคัญ คือ (1) แผนยุทธศาสตร์แนวทางการพัฒนาเขตระเบียงเศรษฐกิจเวลเนสอันดามัน (Andaman Wellness Corridor : AWC) ที่ส่งเสริมบริการสุขภาพด้วยกลไกพิเศษ โดยใช้นวัตกรรมในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ได้แก่ จ.ภูเก็ต : ศูนย์กลางการรักษาในกลุ่มโรคสลับซับซ้อน ทันตกรรม ผ่าตัดแปลงเพศ สปา ในสถานพยาบาลรัฐและเอกชน, ศูนย์กลางการประชุมและนิทรรศการนานาชาติ และศูนย์กลางบริการเวลเนสระดับโลก รวมถึงการเตรียมจัดงาน Specialized Expo – Phuket 2028 จ.พังงา : ศูนย์กลางการดูแลนักท่องเที่ยวทางทะเล ร่วมกับ Sky Doctor,ศูนย์ประสานงานกลางจัดเก็บค่ารักษาพยาบาลจากชาวต่างชาติเพื่อลดปัญหาหนี้สูญ, พัฒนาระบบกลุ่มพำนักระยะยาวในการรักษา Climate Therapy, พัฒนาศูนย์ทันตกรรม จ.กระบี่ : ส่งเสริมพัฒนาสปาคลองท่อมสู่ระดับโลก จ.ตรัง : ศูนย์กลางเมืองแห่งอาหารการกิน, ศูนย์กลาง Wellness Destination ในพื้นที่อันดามัน จ.สตูล : การพัฒนาเป็นเมืองพำนักระยะยาว จ.ระนอง : แหล่งน้ำพุร้อน สปาเพื่อการบำบัดโดยเฉพาะ เป็นการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจระหว่างการระบาดและภายหลังการระบาดของโควิด 19 สร้างพื้นที่พร้อมยกระดับสมรรถนะกิจการธุรกิจสุขภาพ เพื่อรองรับการบริการนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีแนวโน้มการเติบโตสูง


(2) การส่งเสริมการลงทุนขนาดใหญ่ ได้แก่ โครงการ จ.อุดรธานี เมืองทางการแพทย์ (Udonthani Green Medical Town: UGDMT) สู่ระเบียงเศรษฐกิจสุขภาพอีสานตอนบนสู่อินโดจีน : โครงการจัดตั้งศูนย์มะเร็งเป็น “ศูนย์การแพทย์แม่นยำในภูมิภาคอินโดจีน เพื่อบรรลุการเป็นศูนย์กลางการบริการสุขภาพและผลิตภัณฑ์สุขภาพลุ่มน้ำโขงที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและบริการสุขภาพ  และ

(3) การพัฒนาระบบอนุญาตหลัก (Super License) รองรับการประกอบกิจการเพื่อสุขภาพในพื้นที่นำร่อง ซึ่งจะมีการเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป


          ดร.สาธิต กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังสั่งการ 3 เรื่องสำคัญ คือ (1) การประกาศให้ประเทศไทยเป็น Thailand Wellness Economic Corridor (TWC) และกฎหมายเฉพาะ ซึ่งกลุ่ม Medical Tourism และ Health and Wellness Tourism สามารถสร้างรายได้ถึง 80,000 – 120,000 บาท/ครั้ง การพัฒนาศักยภาพเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จะช่วยดึงดูดนักลงทุนและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้กลับสู่ประเทศเกิดการจ้างงาน ส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิง Medical and Wellness สู่เวทีโลก

(2) ต้นแบบความร่วมมือรัฐ เอกชน สู่การขับเคลื่อนจังหวัดสงขลาเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในอนุภูมิภาค เนื่องจากมีความพร้อมด้านแหล่งท่องเที่ยวและการคมนาคม นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางสะดวก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย

(3) การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินจากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เพื่อยกระดับความเชื่อมั่นในการท่องเที่ยว  คุ้มครองนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ประสบอุบัติเหตุอย่างเหมาะสม รวมถึงพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินในแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างครบวงจรและยั่งยืน

 ****************************************** 30 กันยายน 2565
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่