สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ตอนนั้นรัชกาลที่ 6 ได้สั่งประชุมเชื้อพระวงศ์และขุนนางว่าสยามจะเข้าร่วมกับฝ่ายไหนดี เสียงในที่ประชุมส่วนใหญ่ค่อนไปทางเข้าร่วมกับฝ่ายเยอรมัน เพราะต้องการจะแก้แค้นที่ฝรั่งเศสเคยย่ำยีสยามมาหลายครั้ง แต่รัชกาลที่ 6 ไม่เห็นด้วยเนื่องจากว่า
หากเข้ากับฝ่ายสัมพันธมิตร
กรณีชนะ - สยามจะได้ประโยชน์อย่างมากรวมถึงสถานะของสยามจะยิ่งมั่นคง สามารถใช้โอกาสนี้แก้ไขสนธิสัญญาที่เสียเปรียบได้
กรณีแพ้ - ไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะสยามอยู่ห่างจากเยอรมันและอาณานิคมของเยอรมันมาก ถึงเยอรมันอยากจะแก้แค้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
หากเข้ากับฝ่ายมหาอำนาจกลาง
กรณีชนะ - สยามจะได้ประโยชน์มหาศาล ถ้าโชคดีอาจได้ดินแดนที่เสียไปกลับคืนมาทั้งหมด
กรณีแพ้ - หายนะจะบังเกิดแก่สยาม อังกฤษกับฝรั่งเศสจะแก้แค้นสยามอย่างรุนแรงที่สุดถึงขั้นฉีกสยามออกเป็นสองส่วน และแบ่งกันไปปกครอง
เมื่อพิจารณาถึงผลได้ผลเสียแล้ว สิ่งที่ประเทศเล็กอย่างสยามควรคำนึงถึงมากที่สุดคือกรณีที่แพ้หากใช่กรณีที่ชนะไม่ รัชกาลที่ 6 จึงตัดสินใจนำสยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งก็ส่งผลให้สยามได้ผลประโยชน์มากมายทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงคือการที่สยามเป็นผู้ชนะสงคราม และทางอ้อมคือการที่สยามได้ฝึกนักบินจำนวนมากโดยไม่ต้องเสียสตางค์เลย
หากเข้ากับฝ่ายสัมพันธมิตร
กรณีชนะ - สยามจะได้ประโยชน์อย่างมากรวมถึงสถานะของสยามจะยิ่งมั่นคง สามารถใช้โอกาสนี้แก้ไขสนธิสัญญาที่เสียเปรียบได้
กรณีแพ้ - ไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะสยามอยู่ห่างจากเยอรมันและอาณานิคมของเยอรมันมาก ถึงเยอรมันอยากจะแก้แค้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
หากเข้ากับฝ่ายมหาอำนาจกลาง
กรณีชนะ - สยามจะได้ประโยชน์มหาศาล ถ้าโชคดีอาจได้ดินแดนที่เสียไปกลับคืนมาทั้งหมด
กรณีแพ้ - หายนะจะบังเกิดแก่สยาม อังกฤษกับฝรั่งเศสจะแก้แค้นสยามอย่างรุนแรงที่สุดถึงขั้นฉีกสยามออกเป็นสองส่วน และแบ่งกันไปปกครอง
เมื่อพิจารณาถึงผลได้ผลเสียแล้ว สิ่งที่ประเทศเล็กอย่างสยามควรคำนึงถึงมากที่สุดคือกรณีที่แพ้หากใช่กรณีที่ชนะไม่ รัชกาลที่ 6 จึงตัดสินใจนำสยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งก็ส่งผลให้สยามได้ผลประโยชน์มากมายทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงคือการที่สยามเป็นผู้ชนะสงคราม และทางอ้อมคือการที่สยามได้ฝึกนักบินจำนวนมากโดยไม่ต้องเสียสตางค์เลย
ความคิดเห็นที่ 4
1) จริงๆรัชกาลที่ 6 ท่านทรงเอาใจช่วยอังกฤษอยู่ตั้งแต่ต้นครับ เนื่องจากทรงสำเร็จการศึกษาจากอังกฤษและมีพระสหายในอังกฤษอยู่มาก ตลอดช่วงก่อนสยามประกาศสงครามกับมหาอำนาจกลาง รัชกาลที่ 6 ทรงเคยทรงบริจารพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้พลเรือนอังกฤษและครอบครัวทหารผ่านศึกชาวอังกฤษด้วยฮะ
2) แต่ในราชสำนักสยามและในหมู่ประชาชนชาวสยามเอง เสียงก็ยังแตกแยกนะครับ เพราะนักเรียนนอกสายเยอรมันก็อยากให้เอาใจช่วยมหาอำนาจกลาง นักเรียนนอกสายอังกฤษและฝรั่งเศสก็เอาใจช่วยสัมพันธมิตร นั่นทำให้รัชกาลที่ 6 ทรงมองว่าการวางตัวเป็นกลางในช่วงแรกจะดีกว่า
3) ช่วงปี 1916 ทางมหาอำนาจกลาง (นำโดยเยอรมัน) และสัมพันธมิตร (นำโดยฝรั่งเศสและรัสเซีย) ก็มีมาเชิญชวนสยามให้เข้าร่วมสงครามเช่นกันครับ แต่อังกฤษที่เป็นหัวเรือใหญ่ของสัมพันธมิตรกลับนิ่งเฉยหรือออกจะกีดกันไม่อยากให้สยามเข้าร่วมสงครามด้วย เพราะอังกฤษเกรงว่าหากสยามเข้าร่วมสงคราม อังกฤษจะต้องเสียผลประโยชน์ในสนธิสัญญาเอาเปรียบต่างๆที่ทำไว้กับสยาม อีกทั้งอังกฤษก็ไม่เชื่อว่าการเข้าร่วมสงครามของสยามจะส่งผลดีต่ออังกฤษในสงครามเท่าใดนัก
4) ต้นปี 1917 เยอรมันประกาศทำสงครามเรือดำน้ำแบบไม่จำกัดขอบเขต หรือก็คือ เยอรมันจะจมเรือสินค้าทุกลำที่มุ่งไปอังกฤษหรือฝรั่งเศสแบบไม่สนว่าจะเป็นเรือสัญชาติไหน
เมื่อถึงฤดูร้อนปี 1917 สหรัฐก็ประกาศสงครามกับมหาอำนาจกลาง ซึ่งค่อนข้างแน่ชัดในวงนักการทหารหรือนักยุทธศาสตร์ที่จะมองว่า มหาอำนาจกลางหมดหนทางชนะหรือหนทางชนะเกิดได้ยากเต็มทน เพราะสหรัฐมีขนาดเศรษฐกิจมหึมาและมีความสดในการทำสงครามมาก
5) ถึงเดือนมิถุนายน 1917 รัชกาลที่ 6 เลยทรงตัดสินพระทัยแล้วว่า ควรจะปรับทิศทางของสยามที่มีต่อสถานการณ์สงครามครับ โดยจริงๆก็ทรงอยากจะประกาศสงครามกับมหาอำนาจกลางนั่นแล แต่ต้องทรงเรียกประชุมคณะองค์มนตรีและที่ปรึกษาเพื่อทรงโน้มน้าวให้ทุกคนเห็นชอบครับ
ดังที่คุณ zodiac28 กล่าวมา ทรงพยายามชี้แจงข้อได้ข้อเสียของสยาม หากตัดสินใจเข้าร่วมกับสัมพันธมิตรหรือมหาอำนาจกลาง ซึ่งพระวินิจฉัยก็ทรงถูกต้องและทำให้คณะเสนาบดีที่มีใจเอนไปทางมหาอำนาจกลางไม่สามารถโต้แย้งใดๆได้ เพราะการประกาศเข้าร่วมสงครามกับสัมพันธมิตร ปลอดภัยกว่าและแทบไม่มีข้อเสียใดๆเลย
2) แต่ในราชสำนักสยามและในหมู่ประชาชนชาวสยามเอง เสียงก็ยังแตกแยกนะครับ เพราะนักเรียนนอกสายเยอรมันก็อยากให้เอาใจช่วยมหาอำนาจกลาง นักเรียนนอกสายอังกฤษและฝรั่งเศสก็เอาใจช่วยสัมพันธมิตร นั่นทำให้รัชกาลที่ 6 ทรงมองว่าการวางตัวเป็นกลางในช่วงแรกจะดีกว่า
3) ช่วงปี 1916 ทางมหาอำนาจกลาง (นำโดยเยอรมัน) และสัมพันธมิตร (นำโดยฝรั่งเศสและรัสเซีย) ก็มีมาเชิญชวนสยามให้เข้าร่วมสงครามเช่นกันครับ แต่อังกฤษที่เป็นหัวเรือใหญ่ของสัมพันธมิตรกลับนิ่งเฉยหรือออกจะกีดกันไม่อยากให้สยามเข้าร่วมสงครามด้วย เพราะอังกฤษเกรงว่าหากสยามเข้าร่วมสงคราม อังกฤษจะต้องเสียผลประโยชน์ในสนธิสัญญาเอาเปรียบต่างๆที่ทำไว้กับสยาม อีกทั้งอังกฤษก็ไม่เชื่อว่าการเข้าร่วมสงครามของสยามจะส่งผลดีต่ออังกฤษในสงครามเท่าใดนัก
4) ต้นปี 1917 เยอรมันประกาศทำสงครามเรือดำน้ำแบบไม่จำกัดขอบเขต หรือก็คือ เยอรมันจะจมเรือสินค้าทุกลำที่มุ่งไปอังกฤษหรือฝรั่งเศสแบบไม่สนว่าจะเป็นเรือสัญชาติไหน
เมื่อถึงฤดูร้อนปี 1917 สหรัฐก็ประกาศสงครามกับมหาอำนาจกลาง ซึ่งค่อนข้างแน่ชัดในวงนักการทหารหรือนักยุทธศาสตร์ที่จะมองว่า มหาอำนาจกลางหมดหนทางชนะหรือหนทางชนะเกิดได้ยากเต็มทน เพราะสหรัฐมีขนาดเศรษฐกิจมหึมาและมีความสดในการทำสงครามมาก
5) ถึงเดือนมิถุนายน 1917 รัชกาลที่ 6 เลยทรงตัดสินพระทัยแล้วว่า ควรจะปรับทิศทางของสยามที่มีต่อสถานการณ์สงครามครับ โดยจริงๆก็ทรงอยากจะประกาศสงครามกับมหาอำนาจกลางนั่นแล แต่ต้องทรงเรียกประชุมคณะองค์มนตรีและที่ปรึกษาเพื่อทรงโน้มน้าวให้ทุกคนเห็นชอบครับ
ดังที่คุณ zodiac28 กล่าวมา ทรงพยายามชี้แจงข้อได้ข้อเสียของสยาม หากตัดสินใจเข้าร่วมกับสัมพันธมิตรหรือมหาอำนาจกลาง ซึ่งพระวินิจฉัยก็ทรงถูกต้องและทำให้คณะเสนาบดีที่มีใจเอนไปทางมหาอำนาจกลางไม่สามารถโต้แย้งใดๆได้ เพราะการประกาศเข้าร่วมสงครามกับสัมพันธมิตร ปลอดภัยกว่าและแทบไม่มีข้อเสียใดๆเลย
ความคิดเห็นที่ 7
ในบทความนี้มีเขียนรายละเอียดเยอะเหมือนกัน https://www.silpa-mag.com/history/article_42927
แต่ถ้าจะเอาย่อๆ ก็ประมาณว่า
ร.6 ได้วิตกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นว่า ถ้าเราแสดงความลำเอียงเข้าข้างเยอรมัน อังกฤษกับฝรั่งเศสก็คงไม่ปล่อยไว้แน่ และอังกฤษกับฝรั่งเศสก็เห็นว่าไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะให้สยามไปอยู่ข้างเค้าจึงให้อยู่เป็นกลางไป
“ฐานะแท้จริงของกรุงสยามนั้น เป็นอยู่อย่างไร อาณาเขตของเราตกอยู่ในท่ามกลางระหว่างแดนของอังกฤษและฝรั่งเศส เพราะฉนั้น ถ้าแม้เราแสดงความลำเอียงเข้าข้างเยอรมันแม้แต่น้อย เพื่อนบ้านผู้มีอำนาจ ก็คงจะได้ชนเอาหัวแบนเมื่อนั้น การที่อังกฤษ ฝรั่งเศส เขายอมให้กรุงสยามคงเป็นกลางอยู่นั้น ก็เพราะเขายังไม่เห็นความจำเป็นที่จะให้เราเข้ากับเขาเท่านั้น และถ้าเมื่อใดเขารู้สึกว่าความเป็นกลางของเราเป็นเครื่องกีดขวางแก่เขาแล้ว ไม่ต้องสงสัยเลยเขาคงจะไม่ยอมให้เราคงเป็นกลางอยู่เป็นแน่แท้”
แต่ช่วงนั้นฝรั่งเศสจะขอให้สยามไล่ชาวเยอรมันที่ทำราชการออกทั้งหมด และให้สยามทำสัญญาการค้าใหม่ให้ฝรั่งเศสได้เปรียบเยอรมนี ซึ่งจะเป็นเหตุให้สยามต้องวิวาทกับเยอรมนีโดยไม่มีใครมาช่วย จึงทำให้คิดว่าถ้าสยามยังคงเป็นกลางต่อไปก็คงจะมีแต่เสมอตัวกับขาดทุน
แต่ถ้าเข้าข้างสัมพันธมิตรแล้วก็มีแต่ทางได้กับเสมอตัว เพราะเมื่อสงครามสงบลงแล้วสยามสามารถใช้ประโยชน์จากการเป็นชาติที่ชนะสงครามเจรจากับนานาชาติเพื่อแก้ไขสนธิสัญญาที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ทั้งเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและแก้พิกัดภาษีศุลกากร
ในช่วงนั้นฝั่งสยามพอรู้ว่า ฝรั่งเศสและรัสเซียต่างก็รู้สึกเป็นเกียรติที่สยามจะเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร แต่อังกฤษยังคงแสดงท่าทีคัดค้านเพราะคำนึงถึงประโยชน์ทางการค้าอยู่ และถ้าสยามไม่คำนึงถึงท่าทีของอังกฤษแล้วอังกฤษก็คงจะไม่ยอมรับและคงจะตอบรับการเข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรของสยามเช่นเดียวกับที่ตอบประเทศจีนไปก่อนหน้านั้นว่า “ไม่รู้ไม่ชี้ จะทำสงครามกับเยอรมันก็ทำไปตามลำพัง”
เมื่อเห็นท่าทีของอังกฤษเป็นอย่างนั้นแล้วฝั่งสยามจึงขอดูท่าทีของอังกฤษไปก่อน
ในท้ายสุดอังกฤษก็ยินยอมให้สยามเข้าร่วมแต่อังกฤษมีเหตุผลว่าทางสยามเท่าที่ปรากฏไม่เคยได้รบกับใครมาก่อน จึงจะให้ทหารสยามไปขนสัมภาระผ่านทะเลทรายเมโสโปเตเมียและส่งเสบียง แต่ทางร.6 เห็นว่าไม่เหมาะจึงทรงหันไปเจรจากับฝรั่งเศส ทางฝรั่งเศสแจ้งกลับมาว่ากองทัพฝรั่งเศสกำลังขาดแคลนเรื่องการพาหนะ ทั้งเรื่องกองยานยนต์ นักบิน รวมทั้งเรื่องพยาบาลสนาม ขอให้สยามช่วยใน 3 เรื่องนี้ ร.6 เห็นชอบกับข้อเสนอของฝรั่งเศสจึงตอบรับและประกาศสงครามกับเยอรมนีและออสเตรีย–ฮังการี
ทางฝั่งเยอรมัน นายกรัฐมนตรีเยอรมนียังได้กล่าวถึงที่สยามประกาศสงครามกับเยอรมันในที่ประชุมรัฐสภาว่า ไม่มีเหตุผลอันสมควรแต่ประการใดเลยที่ไทยจะประกาศสงคราม แต่หากถูกอังกฤษและฝรั่งเศสบีบบังคับให้ทำ และการกระทำของไทยจะไม่ทำให้เยอรมนีเสียหายแต่ประการใดได้ ในส่วนของประชาชนชาวเยอรมันเองนั้น โดยมากก็เชื่อตามคำของรัฐบาลเยอรมนีว่า เราถูกประเทศสัมพันธมิตรบีบคั้นให้ประกาศสงคราม แต่มีความรู้สึกผิดกับรัฐบาลเยอรมนีที่ไม่โกรธเคืองเราเลย ถือเสียว่าเราเป็นชาติเล็กไม่มีกำลังเมื่อถูกบีบคั้นและไม่มีใครช่วยแล้วจะไปต่อสู้อย่างไรได้
นอกจากนั้นเยอรมันยังดูแลนักเรียนไทยที่ตกเป็นชนชาติศัตรูเป็นอย่างดี โดยนำตัวไปควบคุมไว้กับนายทหารสัญญาบัตรที่ตกเป็นเชลยสงครามที่เซลส์สลอฟ (Celle-Schloss) ซึ่งเป็นพระราชวังโบราณของพระเจ้าไกเซอร์ ทั้งยังอนุญาตให้ครูเข้าไปสอนภาษาเยอรมัน และเรียนหนังสือภาษาฝรั่งเศสกับเชลยศึกชาวฝรั่งเศสอีกด้วย
แต่ถ้าจะเอาย่อๆ ก็ประมาณว่า
ร.6 ได้วิตกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นว่า ถ้าเราแสดงความลำเอียงเข้าข้างเยอรมัน อังกฤษกับฝรั่งเศสก็คงไม่ปล่อยไว้แน่ และอังกฤษกับฝรั่งเศสก็เห็นว่าไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะให้สยามไปอยู่ข้างเค้าจึงให้อยู่เป็นกลางไป
“ฐานะแท้จริงของกรุงสยามนั้น เป็นอยู่อย่างไร อาณาเขตของเราตกอยู่ในท่ามกลางระหว่างแดนของอังกฤษและฝรั่งเศส เพราะฉนั้น ถ้าแม้เราแสดงความลำเอียงเข้าข้างเยอรมันแม้แต่น้อย เพื่อนบ้านผู้มีอำนาจ ก็คงจะได้ชนเอาหัวแบนเมื่อนั้น การที่อังกฤษ ฝรั่งเศส เขายอมให้กรุงสยามคงเป็นกลางอยู่นั้น ก็เพราะเขายังไม่เห็นความจำเป็นที่จะให้เราเข้ากับเขาเท่านั้น และถ้าเมื่อใดเขารู้สึกว่าความเป็นกลางของเราเป็นเครื่องกีดขวางแก่เขาแล้ว ไม่ต้องสงสัยเลยเขาคงจะไม่ยอมให้เราคงเป็นกลางอยู่เป็นแน่แท้”
แต่ช่วงนั้นฝรั่งเศสจะขอให้สยามไล่ชาวเยอรมันที่ทำราชการออกทั้งหมด และให้สยามทำสัญญาการค้าใหม่ให้ฝรั่งเศสได้เปรียบเยอรมนี ซึ่งจะเป็นเหตุให้สยามต้องวิวาทกับเยอรมนีโดยไม่มีใครมาช่วย จึงทำให้คิดว่าถ้าสยามยังคงเป็นกลางต่อไปก็คงจะมีแต่เสมอตัวกับขาดทุน
แต่ถ้าเข้าข้างสัมพันธมิตรแล้วก็มีแต่ทางได้กับเสมอตัว เพราะเมื่อสงครามสงบลงแล้วสยามสามารถใช้ประโยชน์จากการเป็นชาติที่ชนะสงครามเจรจากับนานาชาติเพื่อแก้ไขสนธิสัญญาที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ทั้งเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและแก้พิกัดภาษีศุลกากร
ในช่วงนั้นฝั่งสยามพอรู้ว่า ฝรั่งเศสและรัสเซียต่างก็รู้สึกเป็นเกียรติที่สยามจะเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร แต่อังกฤษยังคงแสดงท่าทีคัดค้านเพราะคำนึงถึงประโยชน์ทางการค้าอยู่ และถ้าสยามไม่คำนึงถึงท่าทีของอังกฤษแล้วอังกฤษก็คงจะไม่ยอมรับและคงจะตอบรับการเข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรของสยามเช่นเดียวกับที่ตอบประเทศจีนไปก่อนหน้านั้นว่า “ไม่รู้ไม่ชี้ จะทำสงครามกับเยอรมันก็ทำไปตามลำพัง”
เมื่อเห็นท่าทีของอังกฤษเป็นอย่างนั้นแล้วฝั่งสยามจึงขอดูท่าทีของอังกฤษไปก่อน
ในท้ายสุดอังกฤษก็ยินยอมให้สยามเข้าร่วมแต่อังกฤษมีเหตุผลว่าทางสยามเท่าที่ปรากฏไม่เคยได้รบกับใครมาก่อน จึงจะให้ทหารสยามไปขนสัมภาระผ่านทะเลทรายเมโสโปเตเมียและส่งเสบียง แต่ทางร.6 เห็นว่าไม่เหมาะจึงทรงหันไปเจรจากับฝรั่งเศส ทางฝรั่งเศสแจ้งกลับมาว่ากองทัพฝรั่งเศสกำลังขาดแคลนเรื่องการพาหนะ ทั้งเรื่องกองยานยนต์ นักบิน รวมทั้งเรื่องพยาบาลสนาม ขอให้สยามช่วยใน 3 เรื่องนี้ ร.6 เห็นชอบกับข้อเสนอของฝรั่งเศสจึงตอบรับและประกาศสงครามกับเยอรมนีและออสเตรีย–ฮังการี
ทางฝั่งเยอรมัน นายกรัฐมนตรีเยอรมนียังได้กล่าวถึงที่สยามประกาศสงครามกับเยอรมันในที่ประชุมรัฐสภาว่า ไม่มีเหตุผลอันสมควรแต่ประการใดเลยที่ไทยจะประกาศสงคราม แต่หากถูกอังกฤษและฝรั่งเศสบีบบังคับให้ทำ และการกระทำของไทยจะไม่ทำให้เยอรมนีเสียหายแต่ประการใดได้ ในส่วนของประชาชนชาวเยอรมันเองนั้น โดยมากก็เชื่อตามคำของรัฐบาลเยอรมนีว่า เราถูกประเทศสัมพันธมิตรบีบคั้นให้ประกาศสงคราม แต่มีความรู้สึกผิดกับรัฐบาลเยอรมนีที่ไม่โกรธเคืองเราเลย ถือเสียว่าเราเป็นชาติเล็กไม่มีกำลังเมื่อถูกบีบคั้นและไม่มีใครช่วยแล้วจะไปต่อสู้อย่างไรได้
นอกจากนั้นเยอรมันยังดูแลนักเรียนไทยที่ตกเป็นชนชาติศัตรูเป็นอย่างดี โดยนำตัวไปควบคุมไว้กับนายทหารสัญญาบัตรที่ตกเป็นเชลยสงครามที่เซลส์สลอฟ (Celle-Schloss) ซึ่งเป็นพระราชวังโบราณของพระเจ้าไกเซอร์ ทั้งยังอนุญาตให้ครูเข้าไปสอนภาษาเยอรมัน และเรียนหนังสือภาษาฝรั่งเศสกับเชลยศึกชาวฝรั่งเศสอีกด้วย
แสดงความคิดเห็น
เหตุใดสยามถึงประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งร่วมกับฝ่ายพันธมิตร
รบกวนช่วยตอบด้วยครับ ขอบคุณครับ หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ
หมายเหตุ: แท็กอาวุธยุทโธปกรณ์ด้วยเพราะหลายท่านในแท็กนี้น่าจะมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การทหารดีครับ