🇹🇭🧡มาลาริน🧡🇹🇭ข่าวดี บริษัทยากำลังเร่งผลิตวัคซีนเข็มเดียวใช้ทั้งโควิด-หวัดใหญ่/อสม.กระหึ่มโลก! อนุทินยกเป็นหมอคนแรก

เพี้ยนปักหมุดศูนย์จีโนมฯ เผยบริษัทยากำลังเร่งผลิตวัคซีน mRNA เข็มเดียวใช้ทั้งโควิด-หวัดใหญ่


ศูนย์จีโนมทางการแพทย์เผย ม.กลาสโกว์ได้ศึกษาไวรัสไฮบริด ซึ่งผสมโควิดและไข้ไหวัดใหญ่แล้ว แต่แค่อยู่ในห้องปฏิบัติการ เผยผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่เตรียมคลอด 1 เข็มครอบจักรวาลป้องกันไวรัสครอบคลุม

27 ต.ค.2565 - ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า น่ากังวลหรือไม่กับ “ไวรัสไฮบริด” อันเกิดจากการหลอมรวมระหว่างอนุภาคไวรัสสองประเภทคือ “ไวรัสอาร์เอสวี” และ “ไวรัสไข้หวัดใหญ่” เข้าด้วยกันโดยพบว่าสามารถหลบเลี่ยงระบบภูมิคุ้มกันต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ดี

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ ในประเทศอังกฤษได้ทดลองนำไวรัสสองประเภทคือ ไวรัสอาร์เอสวี (RSV: Respiratory Syncytial Virus) และไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นอาร์เอ็นเอไวรัสทั้งคู่ (ภาพ1) เข้ามาเลี้ยงรวมกันกับเซลล์ปอดที่เพาะเลี้ยงในหลอดทดลองเดียวกัน ปรากฏว่าแทนที่ไวรัสทั้งสองประเภทจะแย่งชิงแทรกตัวเข้าสู่เซลล์ปิดโอกาสไวรัสอีกประเภทที่จะตามเข้าเซลล์มา ดังเช่นในกรณีของไวรัสโคโรนา 2019 แต่กลับพบว่าผนังของอนุภาคของไวรัสอาร์เอสวีและไวรัสไข้หวัดใหญ่ มีการหลอมรวมกันโดยมีจีโนมแยกจากกัน กลายเป็นไวรัสลูกผสมชนิดใหม่ มีรูปร่างคล้ายต้นปาล์ม – โดยไวรัส RSV ดูเสมือนเป็นลำต้น ส่วนใบมาจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ (ภาพ2) โดยรูปสัณฐานเดิมของอนุภาคไวรัส RSV เมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนจะพบว่ามีหลากหลายรูปแบบ เช่น ทรงกลม ทรงเรียวยาว และทรงไม่สมมาตร ในขณะที่ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ส่วนใหญ่จะมีสัณฐานเป็นทรงกลมหรือทรงรี (ภาพ3)

จากการทดสอบในหลอดทดลองพบว่าไวรัสลูกผสมระหว่างไวรัส RSV และไวรัสไข้หวัดใหญ่ เข้าถึงเซลล์เป้าหมายได้หลากหลายขึ้น เพราะเดิมไวรัสไข้หวัดใหญ่จะแพร่ติดต่อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่นเซลล์จมูก ลำคอ และหลอดลม ในขณะที่ ไวรัส RSV จะเข้ารุกรานระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง เซลล์หลอดลมและปอด อันเป็นสาเหตุสำคัญของโรคปอดบวมในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ทำให้ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและเสียชีวิตหลายพันคนในแต่ละปี แต่ไวรัสลูกผสมที่เกิดขึ้นในหลอดทดลองหากสามารถมาระบาดในคนคาดว่าน่าจะสามารถติดเชื้อได้ทั้ง จมูก ลำคอ หลอดลม และ ปอด ทำให้ผู้ติดเชื้อไวรัสลูกผสมอาจมีการติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงมากกว่าที่ติดเชื้อไวรัส RSV หรือไวรัสไข้หวัดใหญ่เพียงประเภทใดประเภทหนึ่ง

ไวรัสลูกผสมสามารถแพร่เชื้อไปยังเซลล์ข้างเคียงได้แม้ในบริเวณนั้นมีแอนติบอดีต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่ซึ่งปรกติจะสามารถขัดขวางการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เข้าสู่เซลล์ได้ ภายใต้กล้องจุลทรรศน์นักวิจัยสังเกตเห็นแอนติบอดีจับติดกับเปลือกนอกของไวรัสลูกผสมบริเวณที่เป็นส่วนของไวรัสไข้หวัดใหญ่ แต่ไวรัสลูกผสมยังสามารถใช้โปรตีนเปลือกนอกในส่วนของไวรัส RSV ที่อยู่ใกล้เคียงกันในการเกาะกับผิวเซลล์ปอดและแทรกตัวเข้าสู่เซลล์ได้อยู่ดี แสดงให้เห็นว่าอนุภาคไวรัสไฮบริดได้อาศัยส่วนเปลือกของไวรัส RSV ที่ไม่มีแอนติบอดีมาบล็อกเป็นเสมือนม้าโทรจันนำไวรัสไข้หวัดใหญ่หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันเข้าสู่เซลล์

แต่อย่าเพิ่งด่วนกังวล เพราะเราพบไวรัสลูกผสมเพียงในห้องปฏิบัติของมหาวิทยาลัยกลาสโกว์เท่านั้น ยังไม่มีรายงานว่าตรวจพบไวรัสลูกผสมลักษณะนี้ก่อโรคในมนุษย์

นอกจากนี้บริษัทผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่กำลังเร่งผลิตวัคซีนชนิด mRNA ที่เป็นวัคซีนรวม (combined vaccine) ระหว่างไวรัสโคโรนา 2019-ไวรัสไข้หวัดใหญ่-ไวรัส RSV ในการฉีดเพียงเข็มเดียวให้กับเด็กเล็กและผู้สูงอายุเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจอันเนื่องมาจากไวรัส โดยจะเริ่มทำการวิจัย(ในคน)ระยะที่หนึ่ง (Clinical Trial phase I) ปลายปี 2565 ซึ่งจากข้อมูลเบื้องต้นในสัตว์ทดลองพบว่าสามารถกระตุ้นภูมิกันต่อไวรัสทั้งสามประเภทได้สูงเป็นที่น่าพอใจไปพร้อมกัน อันคาดว่าน่าจะสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสลูกผสมระหว่างไวรัสโคโรนา 2019-ไวรัสไข้หวัดใหญ่-ไวรัส RSV ได้ด้วย
ดังนั้นการระบาดของเชื้อไวรัสลูกผสมหากเกิดขึ้นในอนาคตอาจจะยากที่จะติดต่อในเด็กที่ได้รับการฉีดวัคซีนรวม (combined vaccine) ระหว่างไวรัสโคโรนา 2019-ไวรัสไข้หวัดใหญ่-ไวรัส RSV
https://www.nature.com/articles/s41564-022-01242-5
https://www.theguardian.com/.../immune-system-evading...
https://www.pharmacytimes.com/.../combination-flu-covid...



https://www.thaipost.net/covid-19-news/250484/

เพี้ยนแคปเจอร์อสม.กระหึ่มเวทีโลก! “อนุทิน” ยก เป็นหมอคนแรก สุดยอดอาวุธลับประเทศไทย คุมโควิด-19 ระบาด
 
 
วันนี้ (27 ต.ค.) นายวัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวภายหลังจากที่การประชุม World Bio Hub ที่กรุงโซล ประเทศ เกาหลีใต้ เสร็จสิ้น โดยในงานนี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวง ได้เข้าร่วมประชุมด้วย

นายวัชรพงศ์ ระบุว่า การประชุมในครั้งนี้ เราได้ประโยชน์ในเรื่องหลักๆ คือ การบรรลุสัญญาร่วมเป็นภาคีกับสถาบันวัคซีนนานาชาติ ซึ่งจะทำให้ไทย ได้แลกเปลี่ยนข้อมูล และผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีน กับนานาชาติ ไปจนถึงการบรรลุข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขไทย กับกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งจะเป็นการพัฒนา องค์ความรู้ของประเทศไทย โดยเฉพาะ ด้านเทคโนโลยีการสื่อสารสุขภาพ ซึ่งทางเกาหลี มีความโดดเด่นในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมาก

นอกจากนั้น การร่วมประชุมในระดับโลก ยังเป็นการสะท้อนความยอดเยี่ยมของระบบสาธารณสุขไทย ที่นานาชาติ ยอมรับ และหวังจะได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์ จากไทย โดยเฉพาะในการประเด็นของประสิทธิภาพระหว่างจัดการวิกฤติโรคระบาด

“เวทีนี้ ให้ความสำคัญกับเรื่องของการพัฒนา และกระจายวัคซีน สำหรับประเทศไทย นอกจากจะสามารถพัฒนาวัคซีนโควิด 19 ได้ในประเทศ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ยังได้ยกย่องชื่นชม อสม. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ที่ทำหน้าที่กระจายข้อมูลข่าวสาร ในการให้บริการวัคซีนของภาครัฐ ให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบ ทั้ง ยังเป็นผู้ที่ทำงานหนัก อำนวยความสะดวกให้ประชาชนไปถึงจุดบริการด้วย แม้ประเทศไทย จะนำวัคซีนเข้ามาในระบบบริการเป็นจำนวนมาก แต่หากประชาชนไม่ร่วมมือ ความสำเร็จก็เกิดขึ้นยาก ซึ่งส่วนสำคัญ ที่สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน นายอนุทิน ระบุว่า คือ อสม.นี่เอง ที่คอยไปเคาะประตูบ้าน ไปบอกถึงประโยชน์ของการฉีดวัคซีนโควิด-19 จนประชาชนรับทราบและเข้าใจ ทำให้ไทยมียอดฉีดวัคซีนแล้วกว่า 80% ของประชากร อสม.คืออาวุธลับของไทย ในการต่อสู้กับภัยสาธารณสุข

เรื่อง อสม.นั้น ต่างชาติให้ความสนใจอย่างมาก มีประเทศไทย เป็นประเทศเดียวที่ทำแบบนี้ได้ สำหรับคนไทยแล้ว นายอนุทิน มองว่า อสม. ก็ไม่ต่างจากหมอคนที่ 1 ที่สามารถบรรเทาความเจ็บป่วยได้ในระดับหนึ่ง เหมือนชั้นกรองแรกในระบบสาธารณสุขไทย ที่คอยประคองไม่ให้ระบบสาธารณสุข สามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างเข้มแข็ง”
 

 
https://mgronline.com/politics/detail/9650000102667
 
 
 ติดตามข่าวโควิดกันต่อค่ะ.....
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 15

ไทยพร้อมร่วมมือเกาหลีใต้ ด้านความมั่นคงสุขภาพ
เพื่อเสริมระบบสุขภาพให้เข้มแข็ง และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งสองประเทศอย่างยั่งยืน

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าสถาบันวัคซีนนานาชาติ (IVI) เป็นองค์กรระดับโลกด้านวัคซีน ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2540 เพื่อพัฒนาและส่งมอบวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ราคาไม่แพงสำหรับประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก ขณะที่ประเทศไทยมีการก่อตั้งสถาบันวัคซีนแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2555 ก่อนการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2561 อย่างเป็นทางการ เพื่อเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานของวัคซีน ให้มีความพร้อมรับมือกับโรคระบาดในอนาคต ในนามของรัฐบาลไทยต้องขอขอบคุณ IVI ที่จัดพิธีแสดงสัตยาบันของการที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคี (State Party) ของ IVI ซึ่งจะทำให้เกิดการส่งเสริมความร่วมมือ ในการวิจัยและพัฒนาวัคซีนต่างๆ รวมถึงการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน โดยปีนี้สถาบันวัคซีนแห่งชาติบรรลุข้อตกลงกับทาง IVI ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและส่งบุคลากรผู้เชี่ยวชาญของสถาบันฯ จำนวน 3 คนไปเรียนรู้และทำให้เกิดเครือข่ายการทำงานร่วมกัน ส่วนการประชุม World Bio Summit 2022 เป็นการประชุมที่รวบรวมผู้นำระดับโลกด้านวัคซีน เพื่อหารือเกี่ยวกับ “อนาคตของวัคซีนและชีวอนามัย” จากประสบการณ์และบทเรียนที่เรียนรู้จากการระบาดของโรคโควิด 19 พร้อมเสนอวิธีการเสริมสร้างความสามารถในการตอบสนองต่อโรคติดเชื้อในอนาคต ซึ่งตนได้นำเสนอภายในงานว่า บทเรียนการระบาดใหญ่ของโรคโควิด 19 คือ ไม่มีใครปลอดภัยจนกว่าทุกคนจะปลอดภัย และต้องเตรียมพร้อมสำหรับภัยคุกคามต่อสุขภาพในอนาคต ซึ่งการพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรค ยา และวัคซีนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ต้องได้รับความร่วมมืออย่างมากจากนานาประเทศ อย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพราะเป็นเรื่องยากสำหรับประเทศใดประเทศหนึ่งที่จะพร้อมในทุกด้าน เช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แหล่งเงินทุน ต้นแบบของไวรัสที่มาจากการระบาด และโอกาสในการทดลองวัคซีน ดังนั้น จึงต้องร่วมกันคิดหาวิธีวางแผนและบรรลุเป้าหมาย

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02FSEzxKCjLbaMF5Wt5Qk3dKk9oEb8cAsKWrozuy6kwAB7PAw8w1SJUJ2u9XNUTR4zl


การทิ้งหน้ากากอนามัยและ ATK ภายใต้สถานการณ์ COVID-19
จาก “โรคติดต่ออันตราย” สู่ “โรคติดต่อเฝ้าระวัง”

ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02Les499DKh6uKMFCTNU2QcPdShFoGtR6SmMcLoXDArSmemuvdrUbCYVWpr8WPnb6Zl


‘กลุ่มเสี่ยง’ 608 ‘เด็กเล็ก’ ควรฉีดวัคซีนโควิดก่อนเข้าฤดูหนาว ลดป่วยรุนแรง เสียชีวิต

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์โรคโควิด 19 ของประเทศไทย มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง โดยสัปดาห์ที่ 42 ช่วงวันที่ 16-22 ตุลาคม 2565 มีผู้ป่วยรายใหม่ 2,616 ราย เฉลี่ยวันละ 373 ราย ผู้เสียชีวิต 40 ราย เฉลี่ยวันละ 5 ราย ประชาชนเริ่มใช้ชีวิตตามปกติมากขึ้น

หากต้องเข้าไปในพื้นที่คนหนาแน่น การระบายอากาศไม่ดี ขอให้ยังคงปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตัว ทั้งการสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อยๆ ที่สำคัญ คือ การมารับวัคซีนโควิด 19 ซึ่งขณะนี้มีการฉีดไปแล้ว 142.8 ล้านโดส ความครอบคลุมเข็มปกติเกือบ 82% แต่เข็มกระตุ้นในทุกกลุ่มยังมารับน้อย ไม่ถึง 50%

นพ.โสภณ กล่าวต่อว่า การได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็ม 4 จะช่วยลดอาการรุนแรงและการเสียชีวิตได้เกือบ 100% โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง 608 หากได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 หรือ 3 มาแล้วเกิน 3-4 เดือน ให้มารับวัคซีนเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน ส่วนกลุ่มเด็กเล็ก อายุ 6 เดือน - 4 ปี ซึ่งยังไม่เคยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโควิด 19

ขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุขส่งวัคซีนไฟเซอร์ฝาสีแดงกระจายไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อให้บริการในคลินิกเด็กสุขภาพดี (well baby clinic) แล้ว ผู้ปกครองสามารถให้เด็กฉีดพร้อมกับวัคซีนป้องกันโรคอื่นๆ ได้ จะช่วยลดความเสี่ยงอาการรุนแรงและเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด 19 รวมถึงการเกิดภาวะอักเสบของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายเด็ก (MIS-C) ได้

ทั้งนี้ ช่วงฤดูหนาวจะมีการระบาดของเชื้อไวรัสก่อโรคเพิ่มขึ้นหลายโรค รวมถึงโรคโควิด 19 ดังนั้น ขอให้กลุ่มเสี่ยงทั้งกลุ่ม 608 และเด็กเล็กต่ำกว่า 5 ขวบ มารับวัคซีนเพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโควิด 19 ก่อนที่จะถึงฤดูหนาว โดยโรงพยาบาลต่างๆ จะมีการจัดพื้นที่ให้บริการกลุ่มเด็กอายุ 6 เดือน - 4 ปี เป็นการเฉพาะ เพื่อให้ได้รับวัคซีนเร็วขึ้นผู้ปกครองพาบุตรหลานไปรับวัคซีนได้ตามความสมัครใจ ไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยจะมีการฉีดวัคซีนทั้งหมด 3 เข็ม เข็มแรกและเข็มสองห่างกัน 1 เดือน และเข็มสามห่างจากเข็มสอง 2 เดือน

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า "เด็กเล็กโดยเฉพาะที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการป่วยหนัก อาจพบภาวะแทรกซ้อน จากการติดเชื้อโควิด-19 ได้แก่ ปอดบวม และหลอดลมอักเสบ ซึ่งอาจมีอาการรุนแรงถึงชีวิต ซึ่งไม่ต่างจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ รวมถึงอาจพบภาวะ MIS-C ได้ด้วย ดังนั้น จึงควรให้เร่งรัดการฉีดวัคซีนในกลุ่มเป้าหมายเด็กเล็ก เช่นเดียวกับในกลุ่ม 608 ที่มีอัตราการป่วยหนัก และเสียชีวิตสูงเช่นกัน

ขณะนี้วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ไฟเซอร์ฝาสีแดงสำหรับฉีดในเด็ก 6 เดือน - 4 ปี เข้ามาในประเทศไทยแล้ว เป็นวัคซีนที่ได้รับการอนุมัติจากสหภาพยุโรป (EU) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สหรัฐอเมริกา และประเทศไทย รวมถึงมีการอนุมัติให้ใช้ในหลายๆ ประเทศแล้ว จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่ามีความปลอดภัย ผลข้างเคียงน้อยกว่าวัคซีนที่ฉีดในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ เมื่อคำนึงถึงผลประโยชน์และความเสี่ยงที่ได้รับ แนะนำให้เด็กเล็กฉีด โดยเฉพาะในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจเป็นจุดเสี่ยงที่แพร่เชื้อและติดต่อระหว่างกันได้ง่าย ทั้งนี้ถึงแม้ว่าอาจจะป้องกันการติดเชื้อโควิดไม่ได้ทั้งหมด และหากติดเชื้อแล้วจะลดความรุนแรง ลดอัตราการป่วยหนักและเสียชีวิตได้
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid0pBjZYYCyuMTSWHu1F8WN8kQsVihnk8haXeacs75yo1S7c2nbp3XxNAYVXcY8Xmdrl


กทม.เปิดฉีดวัคซีนโควิดเด็ก 6 เดือน-4 ปี ที่ รพ.ในสังกัดและศูนย์สาธารณสุข ตามความสมัครใจ

กทม.เปิดให้บริการฉีดวัคซีนโควิด19 (ไฟเซอร์ฝาแดง) สำหรับเด็กอายุ 6 เดือนถึง 4 ปีแล้ว โดยให้บริการในสถานพยาบาลของ กทม.ทุกแห่ง ทั้งศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาลในสังกัด กทม. ผู้ปกครองสามารถพาบุตรหลานไปฉีดได้ตามความสมัครใจ ย้ำวัคซีนมีความจำเป็นในเด็กเล็กช่วยลดอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้

ทั้งนี้ วัคซีนโควิด 19 สำหรับเด็กอายุ 6 เดือนถึง 4 ปี มีขนาด 3 ไมโครกรัม ปริมาณ 0.2 มิลลิลิตร ฉีดจำนวน 3 เข็ม ระยะห่างเข็มแรกกับเข็มสอง 4 สัปดาห์ และระยะห่างเข็มสามอีก 8 สัปดาห์ สามารถให้พร้อมกับวัคซีนชนิดอื่นได้ในวันเดียวกัน หรือห่างกันเท่าใดก็ได้

สอบถามข้อมูลได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422
https://web.facebook.com/Rachadaspoke/posts/pfbid02ADqfQMytXJ7yCfXb1eVFPTAziVCRR2VvAMRozz1BPTw576m6VXHV1fAjkgPwRduil
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่