ก็เป็นอีกคำถามที่มีคนถามกันมาบ่อยมากก (บ่อยจริงๆไม่ได้โม้) ว่าในการคุมอาหารเนี่ย ปริมาณน้ำตาลมีผลอะไรยังไงมั้ย โดยเฉพาะในการลดความอ้วน วันนี้มีงานวิจัยที่เขาได้ทำการทดลองกับกลุ่มผู้หญิงจำนวน 42 คน BMI ประมาณ 35 อายุอยู่ในช่วง 40 ปี อ้วนแต่ไม่ได้เป็นเบาหวานมาทำการทดลองนะคับ 😎
📌 โดยการทดลองแบ่งคนออกเป็นกลุ่มที่ทาน น้ำตาลเยอะ (121g ต่อวัน) และ น้ำตาลน้อย (58g ต่อวัน) โดยทั้งสองกลุ่ม จัดให้ทานอาหารเป็นการ Diet นะครับ คือทานน้อยกว่า Baseline ของทั้งสองกลุ่ม ในสัดส่วนการ Defecit เท่ากันทั้งสองกลุ่ม จากนั้นก็มาดูผลการเปลี่ยนแปลงในตัวชี้วัดต่างๆ ซึ่งจะขอเอาตัวหลักๆที่น่าสนใจ ว่าการกินน้ำตาลเยอะมีผลยังไงบ้าง โดยเฉพาะกับค่า Fasting Glucose ซึ่งเป็นตัวชี้วัด การเป็นเบาหวานในอันดับแรกๆนะครับ
📌 ผลก็คือ #ทั้งสองกลุ่มน้ำหนักลดได้พอๆกัน ดูจากกราฟเลยนะ ไม่พิมพ์ตัวเลขละขี้เกียจ ๕๕ ส่วนตัวชี้วัดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ความดัน น้ำตาลในเลือด ไขมันช่องท้อง หรือ สัดส่วนไขมันในร่างกาย ก็ลดได้พอๆกัน
📌 และที่สำคัญ แม้จะกินน้ำตาลในปริมาณที่สูง (เอาจริงๆทั้งสองกลุ่มกินเกินกว่าค่าที่เขามักจะแนะนำกันไว้ที่ 24g เสียด้วยซ้ำ) ก็ไม่ได้มีผลที่แตกต่างอะไรกันต่อระดับน้ำตาลในเลือดนะครับ
❓คำอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร ? .. ก็คือมัน make sense มากๆอยู่แล้วครับ ทั้งสองกลุ่มทานไม่เกินกว่าที่ใช้ ทานน้อยกว่ากรอบการเผาผลาญ ของตัวเองทั้งคู่ แม้ว่าจะทานน้ำตาลเข้าไปเยอะกว่าคำแนะนำทางสุขภาพ แต่ไอ้ที่ทานเข้าไปนั้น ร่างกายนำไปใช้งานทั้งหมด ไม่ได้เป็นส่วนเกินสะสม ก็ไม่ส่งผลอะไรกับตัวชี้วัดต่างๆ 😜
คนที่ทานน้ำตาลเยอะเกินไปแล้วมีปัญหา อันดับแรกๆคือคนที่มีภาวะโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แต่ถ้าเราไม่ได้เป็นเบาหวานซึ่งมีปัญหากับการดื้ออินซูลินแล้วก็ไม่ได้มีความน่ากังวลอะไรกับระดับน้ำตาล หรือระดับคาร์โบไฮเดรตนัก ถ้าปริมาณที่ทานยังอยู่ในช่วงที่ร่างกายต้องการนำไปใช้งาน
หรือบางคนอาจจะมีปัญหากับน้ำตาล หรือสารประกอบอื่นๆในผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลสูง อันนั้นจะต้องดูเป็นเคสๆไป 🥰
ส่วนถ้าเป็นการทานเกินจากกรอบ ของตัวเองไปมากๆถ้าไม่ได้เป็นเบาหวาน ไม่ดื้ออินซูลิน ถ้าเกินไปมาก น้ำตาลก็เปลี่ยนเป็นไขมันสะสม ซึ่งถ้าเกินนานๆ ไขมันก็จะสะสมมากเราก็จะอ้วน ซึ่งพออ้วนมากขึ้น อันนั้นจะเริ่มส่งผลกับการดื้ออินซูลิน และจะนำไปสู่การเป็นเบาหวานได้
📌 ดังนั้น สรุปสั้นๆนะครับ #ถ้าไม่ได้กินเกิน #มันจะเอาอะไรไปมีปัญหา #เพราะ

ใช้หมด
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-08-01-metabolic-and-behavioral-effects-of-a-highsucrose-diet-during-weight-loss/
ลดน้ำหนักกินน้ำตาลได้มั้ย ? 🤔
📌 โดยการทดลองแบ่งคนออกเป็นกลุ่มที่ทาน น้ำตาลเยอะ (121g ต่อวัน) และ น้ำตาลน้อย (58g ต่อวัน) โดยทั้งสองกลุ่ม จัดให้ทานอาหารเป็นการ Diet นะครับ คือทานน้อยกว่า Baseline ของทั้งสองกลุ่ม ในสัดส่วนการ Defecit เท่ากันทั้งสองกลุ่ม จากนั้นก็มาดูผลการเปลี่ยนแปลงในตัวชี้วัดต่างๆ ซึ่งจะขอเอาตัวหลักๆที่น่าสนใจ ว่าการกินน้ำตาลเยอะมีผลยังไงบ้าง โดยเฉพาะกับค่า Fasting Glucose ซึ่งเป็นตัวชี้วัด การเป็นเบาหวานในอันดับแรกๆนะครับ
📌 ผลก็คือ #ทั้งสองกลุ่มน้ำหนักลดได้พอๆกัน ดูจากกราฟเลยนะ ไม่พิมพ์ตัวเลขละขี้เกียจ ๕๕ ส่วนตัวชี้วัดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ความดัน น้ำตาลในเลือด ไขมันช่องท้อง หรือ สัดส่วนไขมันในร่างกาย ก็ลดได้พอๆกัน
📌 และที่สำคัญ แม้จะกินน้ำตาลในปริมาณที่สูง (เอาจริงๆทั้งสองกลุ่มกินเกินกว่าค่าที่เขามักจะแนะนำกันไว้ที่ 24g เสียด้วยซ้ำ) ก็ไม่ได้มีผลที่แตกต่างอะไรกันต่อระดับน้ำตาลในเลือดนะครับ
❓คำอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร ? .. ก็คือมัน make sense มากๆอยู่แล้วครับ ทั้งสองกลุ่มทานไม่เกินกว่าที่ใช้ ทานน้อยกว่ากรอบการเผาผลาญ ของตัวเองทั้งคู่ แม้ว่าจะทานน้ำตาลเข้าไปเยอะกว่าคำแนะนำทางสุขภาพ แต่ไอ้ที่ทานเข้าไปนั้น ร่างกายนำไปใช้งานทั้งหมด ไม่ได้เป็นส่วนเกินสะสม ก็ไม่ส่งผลอะไรกับตัวชี้วัดต่างๆ 😜
คนที่ทานน้ำตาลเยอะเกินไปแล้วมีปัญหา อันดับแรกๆคือคนที่มีภาวะโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แต่ถ้าเราไม่ได้เป็นเบาหวานซึ่งมีปัญหากับการดื้ออินซูลินแล้วก็ไม่ได้มีความน่ากังวลอะไรกับระดับน้ำตาล หรือระดับคาร์โบไฮเดรตนัก ถ้าปริมาณที่ทานยังอยู่ในช่วงที่ร่างกายต้องการนำไปใช้งาน
หรือบางคนอาจจะมีปัญหากับน้ำตาล หรือสารประกอบอื่นๆในผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลสูง อันนั้นจะต้องดูเป็นเคสๆไป 🥰
ส่วนถ้าเป็นการทานเกินจากกรอบ ของตัวเองไปมากๆถ้าไม่ได้เป็นเบาหวาน ไม่ดื้ออินซูลิน ถ้าเกินไปมาก น้ำตาลก็เปลี่ยนเป็นไขมันสะสม ซึ่งถ้าเกินนานๆ ไขมันก็จะสะสมมากเราก็จะอ้วน ซึ่งพออ้วนมากขึ้น อันนั้นจะเริ่มส่งผลกับการดื้ออินซูลิน และจะนำไปสู่การเป็นเบาหวานได้
📌 ดังนั้น สรุปสั้นๆนะครับ #ถ้าไม่ได้กินเกิน #มันจะเอาอะไรไปมีปัญหา #เพราะ
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-08-01-metabolic-and-behavioral-effects-of-a-highsucrose-diet-during-weight-loss/