🇹🇭💛🇹🇭มาลาริน/18ก.ค.โควิดไทยอันดับ27โลก/ป่วย1,814คน หาย2,361คน เสียชีวิต17 คน/140โดสช่วยชีวิต/ให้ซื้อได้ในร้านขายยา


https://www.sanook.com/news/8593474/


https://www.bangkokbiznews.com/social/1015935


https://www.bangkokbiznews.com/social/1015860

เพี้ยนแคปเจอร์ฉีดไปแล้ว 140 ล้านโดส สธ.เผยวัคซีนช่วยชีวิตคนไทยจากโควิด 4.9แสนคน แอนติบอดี LAAB มาล็อตแรกสัปดาห์หน้า


18 ก.ค.65-ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และ รศ.ดร.ชรินทร์ โหมดชัง ผู้เชี่ยวชาญด้าน Mathematic Modeling สำหรับโรคติดต่อ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงสถานการณ์โควิด 19 ประสิทธิผลวัคซีนโควิด 19 และแนวทางการใช้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป LAAB โดย นพ.โอภาสกล่าวว่า การพิจารณาสถานการณ์โรคโควิด 19 ของประเทศไทย มีการใช้ข้อมูลทั้งจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ที่เข้ารักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยปอดอักเสบ ใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้เสียชีวิต และผู้ติดเชื้อที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก หรือ Home Isolation ซึ่งขณะนี้พบว่า ผู้ป่วยปอดอักเสบ ใส่ท่อช่วยหายใจ และเสียชีวิต ดูเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ กทม. ปริมณฑล และจังหวัดใหญ่ โดยช่วงหยุดยาวที่ผ่านมามีการเดินทางไปต่างจังหวัดกันมาก จึงต้องติดตามว่าแนวโน้มจะเป็นอย่างไร

นพ.โอภาสกล่าวว่า ผู้เสียชีวิตในสัปดาห์ที่ผ่านมา เกือบทั้งหมดเป็นกลุ่ม 608 คือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโรคประจำตัว และหญิงตั้งครรภ์ รวมกันถึง 98% โรคเรื้อรังที่พบมากที่สุด คือ ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ส่วนใหญ่ไม่ได้รับวัคซีนหรือรับไม่ครบ อย่างไรก็ตาม อัตราการเสียชีวิตโควิดต่อแสนประชากรสูงสุดช่วงระลอกเดลตา และลดน้อยลงในช่วงโอมิครอนบ่งบอกว่า มีความรุนแรงน้อยกว่าเดลตา ขณะที่การฉีดวัคซีนในคนไทยมากกว่า 140 ล้านโดส ทำให้มีภูมิคุ้มกันระดับหนึ่ง จึงลดอัตราเสียชีวิตได้ ส่วนอัตราการครองเตียงระดับ 2-3 ยังรองรับได้ มี 4 จังหวัดที่เริ่มตึงตัว คือ กทม. นนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี เนื่องจากคนไข้เพิ่มขึ้น และมีการคืนเตียงไปใช้ดูแลผู้ป่วยทั่วไป แต่สามารถขยายเตียงได้หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลง ซึ่งปลัดกระทรวงสาธารณสุขสั่งการเตรียมความพร้อมในจังหวัดต่างๆ ให้รองรับแล้ว และได้เชิญ กทม.หารือการจัดระบบการรักษาพยาบาลและการส่งต่อ เนื่องจากมีโรงพยาบาลหลายสังกัดในพื้นที่

สำหรับหลังช่วงหยุดยาวย้ำว่า ยังต้องเข้มมาตรการ 2U ได้แก่ Universal Prevention มาตรการป้องกันส่วนบุคคล เว้นระยะห่าง สวมหน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ และตรวจ ATK เมื่อมีอาการคล้ายหวัด ซึ่งโอมิครอน BA.4/BA.5 จุดเด่น คือ เจ็บคอ ระคายคอ น้ำมูก หากมีอาการคล้ายไข้หวัดอย่านิ่งนอนใจ ให้ตรวจ ATK และ Universal Vaccination ฉีดวัคซีน ซึ่งขณะนี้คนไปรับวัคซีนเพิ่มขึ้น ส่วนหน่วยงานต่างๆ หากพบผู้ติดเชื้อ ถ้ามีอาการน้อย สามารถแยกกักรักษาที่บ้านแบบ 7+3 คือ แยกกักตัว 7 วัน และเฝ้าระวังสังเกตอาการอีก 3 วัน ซึ่งควรงดเว้นการพบผู้อื่นและสวมหน้ากากตลอดเวลา

นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า ส่วนกลุ่มที่มีปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกันไม่ดี กระทรวงสาธารณสุขจัดหาภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือแอนติบอดี LAAB มาใช้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและผู้ที่ผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป โดยจะเข้ามาล็อตแรกสัปดาห์หน้าประมาณ 7 พันชุด โดย 1 ชุดมียา 2 ตัว ใช้ฉีดเข้าสะโพกทั้ง 2 ข้าง ซึ่งภายในสัปดาห์นี้จะมีการสรุปข้อมูลเข้ามาว่า แต่ละจังหวัดมีผู้ป่วยมากน้อยเท่าไร เพื่อกระจายได้ตามที่ขึ้นทะเบียนร้องขอมา โดยจะจัดส่งไปยังระดับจังหวัดพิจารณาจัดสรรต่อไป และจะมีการอบรมทำความเข้าใจการใช้ LAAB ทั่วประเทศ ซึ่งการใช้ให้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยรายนั้น

ด้าน รศ.ดร.ชรินทร์ กล่าวว่า มีงานวิจัยตีพิมพ์ของสถาบัน The MRC Centre for Global Infectious Disease Analysis ซึ่งเป็นหนึ่งในที่ปรึกษาขององค์การอนามัยโลก ทำแบบจำลองประเมินการฉีดวัคซีนโควิด 19 ทั่วโลกใน 185 ประเทศรวมถึงประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 8 ธ.ค. 2563 – 8 ธ.ค. 2564 หรือช่วงเวลา 1 ปี พบว่า วัคซีนโควิดช่วยรักษาชีวิตคนทั่วโลกได้ประมาณ 20 ล้านคน ส่วนเฉพาะในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. – 8 ธ.ค. 2564 พบว่าช่วยรักษาชีวิตคนไทย 382,600 คน แต่การระบาดไม่ได้จบเพียงเท่านี้ ยังพบสายพันธุ์โอมิครอนอีก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร นำแบบจำลองนี้มาศึกษาต่อตั้งแต่วันที่ 8 ธ.ค.2564 เป็นต้นมา พบว่าวัคซีนช่วยรักษาชีวิตคนไทยอีกประมาณ 107,400 คน ดังนั้น เมื่อรวมทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. 2564 – 3 ก.ค. 2565 วัคซีนช่วยรักษาชีวิตคนไทยไม่ให้เสียชีวิตประมาณ 490,000 คน และลดจำนวนผู้ป่วยรุนแรงทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลจำนวนมาก

รศ.ดร.ชรินทร์ กล่าวว่า เมื่อฉีดวัคซีนโควิดพบว่า อัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยของผู้ติดโควิดเริ่มลดลงเรื่อยๆ และเริ่มลดลงอีกเมื่อมีการฉีดเข็มกระตุ้น จนทั่วโลกอัตราการเสียชีวิตของโควิดน่าจะต่ำกว่าไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล แต่ภูมิคุ้มกันที่ได้จากวัคซีนจะลดลงตามเวลา เป็นธรรมชาติของภูมิคุ้มกันจากวัคซีน คล้ายผลของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ต้องฉีดกันทุกปี ประกอบกับสายพันธุ์โอมิครอน ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนลดลงเร็วมาก คนที่ติดสายพันธุ์ก่อนหน้ายังติดโอมิครอนซ้ำได้อีก จึงต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นอีกครั้งเร็วขึ้น ซึ่งระยะเวลาที่เหมาะสมคือ 4 เดือน โดยประสิทธิผลมีความคุ้มค่ามาก โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ และกลุ่ม 608 ซึ่งถ้าติดเชื้อแล้วจะมีโอกาสเสียชีวิตสูง

https://www.thaipost.net/covid-19-news/183129/

เพี้ยนแคปเจอร์สธ. จ่อขยายคลินิกเอกชนจัดซื้อยาโมลนูพิราเวียร์ดูแลผู้ป่วยโควิด เพิ่มการเข้าถึง



นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงการเข้าถึงยารักษาโควิด-19 ว่า ที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคโควิด-19 (EOC) เตรียมการให้คลินิกเอกชนสามารถจัดซื้อยาโมลนูพิราเวียร์มาใช้ดูแลผู้ป่วยโควิดได้ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาโมลนูพิราเวีย์มากขึ้น
 
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าหมายให้โรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นที่ผู้ติดเชื้อสามารถดูแลตนเองได้ ซึ่งกรณียาโมลนูพิราเวียร์ เป็นยาที่แพทย์สั่งจ่ายให้ผู้ป่วยนำกลับไปรับประทานที่บ้านได้ โดยโรงพยาบาลเอกชนได้รับการสนับสนุนยาโมลนูพิราเวียร์จากกระทรวงสาธารณสุข สำหรับดูแลผู้ป่วยโควิด-19 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถจัดซื้อยาโมลนูพิราเวียร์มาให้บริการผู้ป่วยโควิด-19 เองเพิ่มเติมได้

“ที่ประชุมได้มอบหมายให้ นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จัดทำแผนดำเนินการและกรอบระยะเวลาในเรื่องนี้ของโรงพยาบาลและคลินิกเอกชน โดยให้องค์การเภสัชกรรมร่วมจัดหายาเพิ่มเติม ซึ่งในอนาคตอาจขยายให้ร้านขายยาสามารถจ่ายยาโมลนูพิราเวียร์ได้ด้วย แต่ยังต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกรมการแพทย์ คือ เป็นผู้ป่วยอาการสีเหลืองขึ้นไป สำหรับยาโมลนูพิราเวียร์ ขณะนี้มีบริษัทที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้ว 3 บริษัท” นพ.เกียรติภูมิ กล่าว

สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด ไม่จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัสทุกราย โดยกรณีมีอาการเล็กน้อย สามารถใช้ยารักษาตามอาการ หรือใช้ยาฟ้าทะลายโจรได้ ส่วนกรณีที่ต้องได้รับยาต้านไวรัส ทั้งยาฟาวิพิราเวียร์ โมลนูพิราเวียร์ เรมเดซิเวียร์ แพกซ์โลวิด รวมถึงแอนติบอดี LAAB ที่จะเข้ามาในสัปดาห์หน้า จะขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ตามแนวทางและข้อบ่งชี้ของกรมการแพทย์ ซึ่งยาเหล่านี้ต้องสั่งใช้โดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเท่านั้น และการหาซื้อยารับประทานเองอาจได้รับยาปลอมและเป็นอันตรายได้

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (18 ก.ค. 65)

https://www.infoquest.co.th/2022/217491

  ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ

วันนี้หายป่วยมากกว่าป่วยใหม่อีกวันนะคะ

วัคซีนช่วยชีวิตคนไทยและคนทั่วโลก  ฉีดวัคซีนกระตุ้นช่วยลดการเสียชีวิตได้

สธ.จะให้ร้านขายยาจำหน่ายยาโควิดเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงยาได้มากขึ้น

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 16
กระทรวงสาธารณสุข แถลงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 18 กรกฎาคม 2565 เวลา 11.30 น.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
https://www.facebook.com/fanmoph/videos/1395101930988547/ (มีคลิป)
แถลงความคืบหน้าสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ณ กระทรวงสาธารณสุข
18 กรกฎาคม 2565


[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม 2565
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0astbpvCe6Hg6fyX2NtCiRWEF77Jk4QTuUjuwDuU5jvXy9tZVwraXEjeTbjwBWWPLl


จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 17 ก.ค. 2565)
รวม 140,743,315 โดส ใน 77 จังหวัด

ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 17 กรกฎาคม 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 27,982 โดส

เข็มที่ 1 : 1,319 ราย
เข็มที่ 2 : 2,085 ราย
เข็มที่ 3 : 24,578 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,061,109 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,335,721 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 30,346,485 ราย

แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid035DPiBeJqh9nPs93q7J57gSMJh8NCgMgB3vBmwLjKEw2WH27nVp8Mbct5qibjLi5yl


กรมอนามัย แนะ หลังหยุดยาวสังเกตอาการตัวเอง หากเสี่ยงตรวจ ATK ทันที เน้น Universal Prevention อย่างเคร่งครัด

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่าการเดินทางกลับหลังช่วงวันหยุดยาว ขอความร่วมมือประชาชนที่มีการท่องเที่ยว เดินทางไกลข้ามต่างจังหวัดหรือกลับภูมิลำเนาให้หมั่นสังเกตอาการตนเอง หากมีอาการไอ เจ็บคอ ไข้ ปวดกล้ามเนื้อ มีน้ำมูก ปวดศีรษะ หายใจลำบาก หรือไปยังพื้นที่เสี่ยงโดยไม่ได้มีการป้องกันที่ดีพอ ให้ตรวจ ATK ก่อนเดินทางกลับเข้าทำงานโดยเฉพาะผู้ที่เดินทางด้วยขนส่งสาธารณะนานเกิน 4 ชั่วโมง หรือไปในสถานที่ที่มีการรวมกลุ่มคนจำนวนมากหากมีอาการเข้าข่ายว่าจะติดโควิด-19 สามารถเข้าสู่กระบวนการของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยขอรับชุดตรวจ ATK ที่ร้านขายยาใกล้บ้านที่เข้าร่วมโครงการผ่านแอปเป๋าตังหรือใช้บัตรประชาชนไปรับเพื่อตรวจยืนยันได้ทันที

แต่หากตรวจ ATK แล้วขึ้น 2 ขีดคือ ผลเป็นบวกว่าติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มที่มีอาการไม่มากหรือกลุ่มสีเขียวให้เข้ารักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกที่หน่วยบริการประจําตามสิทธิหรือหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ตามนโยบาย 30 บาท รักษาทุกที่ ซึ่งจะได้รับการดูแลรักษาตามแนวทาง เจอแจกจบ ของกระทรวงสาธารณสุขโดยให้กักตัว 5 วันแบบ Home Isolation และอีก 5 วัน ให้สังเกตอาการ ซึ่งสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ต้องคงมาตรการสวมหน้ากากอนามัยป้องกันเมื่อออกจากบ้าน

ทั้งนี้ เมื่อกลับเข้าทำงาน กลุ่มวัยทำงานยังคงต้องปฏิบัติตนเพื่ออยู่ที่ทำงานอย่างปลอดภัยจากโควิด-19 โดยก่อนเข้าทำงานให้ประเมินตนเองผ่านระบบ “ไทยเซฟไทย” หรือแอปพลิเคชันอื่น ๆ หากพบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง ให้แจ้งหัวหน้างาน และปฏิบัติตามมาตรการของหน่วยงานที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งขอให้ปฏิบัติตามหลักUP (Universal Prevention) อย่างเคร่งครัด

ที่มา กรมอนามัย
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02G3gLvpCS2wbogoGHNQ3hXsnznF4FP2Roj1PSphq7eB3niADVtVdsRPL1BHFeSrp7l


ผู้ติดเชื้อโควิด -19 “สิทธิบัตรทอง” ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด "กรณีไม่มีอาการ หรือ อาการน้อย" เข้ารับการรักษาตามแนวทางของ สธ. ตามนี้ได้เลย !!

ที่มา สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid08Jpu558ssEwb4YbWC5jioze2mPuRKhEaQWCJQTNUDg99vTbXEMCyis65MBgDqQUBl


เช็คตัวเอง ก่อนกลับมาทำงาน หมั่นสังเกตอาการตนเอง หากพบว่ามีความเสี่ยงให้ตรวจ ATK ทันที และยังคงต้องปฏิบัติตามหลัก Universal Prevention อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19

ที่มา : กรมอนามัย
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0kvkBHnrvdyypwbYW6CNXZjLaZwtcnbJ8tVsgb6Q1nKGmJGYVngRSVdg6hwBY6J3Sl


ครม. อนุมัติ 3,995 ล้านบาท จัดหายาโควิด เพื่อหน่วยบริการสุขภาพทุกระดับ 3 เดือน (ก.ค. - ก.ย. 65)

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบโครงการจัดหายารักษาผู้ป่วยโควิด-19 กรอบวงเงิน 3,995.2708 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินงาน 3 เดือน (ก.ค. -ก.ย. 65) แบ่งเป็นสำหรับซื้อยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ (ของใหม่) ได้แก่ Favipiravia/Molnupiravia เฉลี่ย 27 ล้านเม็ด/เดือน (จำนวน 1,296.00 ล้านบาท) และ Remdesivir จำนวน 57,000 vial/เดือน (จำนวน 21.96 ล้านบาท) วงเงินรวม 1,317.96 ล้านบาท รวมทั้งเป็นการแบ่งค้างชำระ สำหรับ Favipiravia/Molnupiravia 165 ล้านเม็ด (จำนวน 2,653.81 ล้านบาท) และค่าชุดตรวจ ATK จำนวน 1 ล้านชุด (จำนวน 23.50 ล้านบาท) ของเดือน มี.ค.- มิ.ย. 65 รวมวงเงิน 2,677.31 ล้านบาท

ทั้งนี้ โครงการจัดหายารักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับ เตรียมความพร้อมในการรับมือและป้องกันโรคโควิด-19 และดูแลรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 สนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ ในการรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้อย่างปลอดภัยในหน่วยบริการสุขภาพทุกระดับ

ที่มา โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0aiwB14g28A6ZMHQBDoG1ZXxp84Kqt5kFz87TngvVNfbmoMvmcPBwc8tWU374iyxNl


3 แนวปฏิบัติสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 "สิทธิประกันสังคม" มาตรา 33 และ 39 เพื่อรองรับการเข้าสู่โรคประจำถิ่นอย่างปลอดภัย

Cr. สำนักงานประกันสังคม
https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/pfbid0KsV8sexrz97ty7tMaAhCA5z22Rw1hkmJxJQ4vVwqMWx89xzbrH4hzWv2pgAJm5NKl


เมื่อไรที่ต้องสวมแมสก์

กลุ่มเสี่ยง 608 (สูงอายุ มีโรคประจำตัว ตั้งครรภ์)
- ผู้ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์
- ผู้ติดเชื้อโควิด 19/ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง
สวมหน้ากากเมื่อต้องอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น

ประชาชนทั่วไป/ผู้ใช้บริการ
- สวมหน้ากากเมื่ออยู่ในอาคาร
- สวมหน้ากากเมื่ออยู่นอกอาคาร เมื่อเว้นระยะห่างไม่ได้

ยกเว้น
- อยู่คนเดียว
- อยู่ร่วมกับบุคคลอื่น ระยะห่างได้ การระบายอากาศดี
- ทำกิจกรรมที่จำเป็น เช่น กินอาหาร ออกกำลังกาย

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid032J7iqWUAiexguC2XSD8YYxMvrsJGP3w6nHW6rGbdQxLUgMCeX5VHJBm4y418nGowl
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่