คลังคำศัพท์ของผู้อ่านไทยยุคใหม่น้อยลง เกิดจากอะไร และควรแก้ไขอย่างไร

จขกท. อ่านในเพจหนึ่งเกี่ยวกับหนังสือ วงการวรรณกรรมไทยยุคใหม่ ผู้เขียนโพสต์นั้นได้ออกมาโพสต์เชิงบ่นเกี่ยวกับคลังศัพท์ของนักอ่านไทยรุ่นใหม่ที่น้อยลงท ทำนองว่า เวลานักอ่านรุ่นใหม่อ่านหนังสือวรรณกรรม ทั้งที่เป็นของไทยหรือฉบับแปล ก็มักจะได้รับฟีดแบ็คกลับมาว่าใช้คำยาก อ่านไม่เข้าใจ ทั้งๆ ที่คำที่ใช้ หากเป็นคนที่อ่านหนังสือ ก็จะเข้าใจได้ไม่ยากเลย (ผู้เขียนจำคำไม่ได้เลยไม่ยกตัวอย่างครับ)

เลยมีการถกเถียงกันว่าเป็นเพราะอะไร เป็นเพราะยุคใหม่มีหนังสืออ่านนอกเวลาน้อย หรือเป็นเพราะผู้อ่านจำนวนมากมีคลังคำน้อยแล้วไปโทษผู้แต่งหรือผู้แปล คหสต. มองว่า เป็นเพราะหลายอย่างที่กล่าวมา บวกกับคนรุ่นใหม่อาจจะเน้นอ่านอะไรทางโซเชียลมีเดียมากกว่า เลยทำให้ชินแต่กับคำง่ายๆ ซึ่งอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนเห็นด้วยเลยคือ ต่อไปอาจจะมีการใช้คำง่ายมากขึ้น เพื่อเหตุผลทางการตลาด แต่ว่าความงามทางภาษาและวรรณศิลป์ก็อาจลดลงด้วย คหสต. มองว่า การส่งเสริมการอ่าน เพิ่มหนังสืออ่านนอกเวลาอาจช่วยได้ และถ้ามีทุนมากพอ จขกท. อยากสนับสนุนการแปลหนังสือหรือแต่งหนังสือให้มีสองฉบับเลย เป็นภาษาไทย และภาษาไทยอย่างง่าย แบบเดียวกับที่วิกิพีเดียภาษาอังกฤษมี English และ Simple English อย่างหลังเคยลองอ่านดูแล้วภาษาง่ายมาก ใครอยากฝึกอ่านภาษาอังกฤษลองไปอ่านดูได้

ลองแสดงความเห็นกันดูครับ ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่