สาระน่ารู้เกี่ยวกับดาบญี่ปุ่น ตอน ดาบญี่ปุ่นแท้ และใบรับรองการลงทะเบียนดาบปืนคืออะไร?

สาระน่ารู้เกี่ยวกับดาบญี่ปุ่น ตอน ดาบญี่ปุ่นแท้ และใบรับรองการลงทะเบียนดาบปืนคืออะไร?

            บทความนี้เขียนขึ้นจากประสบการณ์ และการศึกษาเกี่ยวกับดาบญี่ปุ่นด้วยตัวเอง และจากประสบการณ์ของท่านอื่น ซึ่งเนื้อหาที่เขียนอาจมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องทั้งหมด เนื่องเป็นคำศัพท์เฉพาะการแปลอาจไม่ถูกต้อง และอาจมีข้อมูลที่ไม่สามารถอ้างอิงแหล่งที่มาได้ เนื่องเป็นข้อมูลที่เคยรวบรวมในช่วงแรกๆ ของการศึกษาดาบญี่ปุ่น และไม่ได้คัดลอกเว็บไซต์เก็บไว้ ดังนั้นควรใช้วิจารณญาณในการอ่านข้อมูลดังต่อไปนี้...

       ๑.  ดาบญี่ปุ่นแท้
            ในญี่ปุ่นคำว่า “ดาบญี่ปุ่นแท้” หมายถึง ดาบที่ทำโดยวิธีกรรมแบบดั่งเดิม ดาบญี่ปุ่นดั่งเดิม ทำมาจากเหล็กกล้าคาร์บอนบริสุทธิ์ที่ผลิตขึ้นโดยวิธีดีออกซิไดซ์ที่อุณหภูมิต่ำเหล็กกล้าส่วนใหญ่เป็น “ทามาฮากาเนะ (Tamahagane)” โดยมีการเพิ่ม “โอโรชิกาเนะ (Oroshigane)” จากนั้นเหล็กเหล่านี้จะถูกขัดเกลาด้วยวิธีการเชื่อมแบบพับ  

การเชื่อมเหล็ก  
            ๑.๑ “ทามาฮากาเนะ (Tamahagane)”
เตาหลอมทาทาระดั้งเดิม ที่สุดท้ายในจังหวัดชิมาเนะ

            “ทามาฮากาเนะ” ผลิตโดยวิธี “ทาทาระ (Tatara)” เป็นเทคนิคที่ใช้ในญี่ปุ่นเพื่อผลิตเหล็กกล้าบริสุทธิ์ วัตถุดิบที่ใช้ได้แก่ ทรายเหล็ก และถ่านจำนวนมาก เมื่ออุณหภูมิหลอมเหลวในทาทาระต่ำ และธาตุเหล็กที่ลดลงจะไม่กลายเป็นของเหลวทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ ธาตุอื่นๆ ในทรายเหล็กจึงไม่สามารถสร้างโลหะผสมในเหล็ก และถูกกำจัดออกไปพร้อมกับตะกรัน (ตะกรันเกิดจากสิ่งเจือปน) แท่งทาทาระที่เพิ่งเกิดใหม่จากเตาทาทาระนั้นใหญ่มาก มีขนาดเท่ากับน่องและมีคุณสมบัติต่างๆ ของเหล็ก มันถูกหักเป็นชิ้นเล็ก ๆ หลายชิ้นและส่งให้ช่างเหล็ก

แท่งทาทาระ

            เหล็กทามาฮากาเนะ (Tamahagane) นั้นมีความบริสุทธิ์มากเหมือนเหล็กกล้า ซึ่งชิ้นส่วนของทามาฮากาเนะมีคุณภาพไม่เหมือนกัน แต่ละชิ้นมีคุณภาพแตกต่างกัน ช่างตีดาบจึงตรวจสอบพื้นผิวที่หักเพื่อทราบคุณภาพ 

เหล็กทามาฮากาเนะ

                   -  ด้านซ้ายมีความแข็งและหนาแน่น มีปริมาณคาร์บอนสูง เหล็กส่วนคมที่ใช้สำหรับตัด แต่เปราะบาง
                   -  ด้านขวาอ่อนกว่า ปริมาณคาร์บอนที่หยาบและต่ำกว่า เหมาะสำหรับด้านหลังและลำตัวของใบดาบ มีความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นได้

            ๑.๒ “โอโรชิกาเนะ (Oroshigane)”

            โอโรชิกาเนะ (Oroshigane) คือ ชิ้นส่วนเล็กๆ ของเหล็กทามาฮากาเนะ/ เหล็กบริสุทธิ์ (Pure iron)/ เหล็กฟองน้ำ (Sponge iron)/ เหล็กอิเล็กโทรลิซิส (Electrolysis iron) หรือเครื่องใช้เหล็กเก่าที่ทำจากเหล็กหลอมทาทาระ เป็นเหล็กกล้าที่ทำขึ้นโดยช่างตีเหล็กเอง ด้วยกระบวนการนี้ ช่างตีเหล็กจึงได้เหล็กที่มีคุณภาพตรงตามที่ต้องการ ช่างตีเหล็กสามารถผลิตเหล็กกล้าคาร์บอนบริสุทธิ์ได้โดยใช้ไฟของตัวเองและถ่านจำนวนมาก พูดง่ายๆ ก็คือ “Oroshigane” เป็นทามาฮากาเนะส่วนตัวของช่างตีเหล็ก 

   

โอโรชิกาเนะ (Oroshigane)

เพิ่มเติม : 

            การผลิตเหล็กทามาฮะกาเนะ ใน 1 ปี จะทำการหลอมประมาณ 3-4 ครั้ง โดยผู้ผลิตสองราย ได้แก่ นิตโตะโฮ (日刀保)  และบริษัทฮิตาชิเมทัล (日立鉄会社) ภายใต้การควบคุมของกระทรวงวัฒนธรรมและสมาคมช่างตีดาบของญี่ปุ่น การผลิตทามะฮะกะเนะ  จากทรายซาเตะซึ (砂鉄) และส่วนประกอบอื่น เรียกโดยรวมว่า “เคะระ (けら)” 

            การเริ่มต้นโดยการใส่เศษแร่เหล็กโคะโมะริ (こもり鉄) กับทรายซาเตะซึ (砂鉄) เข้าไปหลอม เติมถ่านและควบคุมไฟโดย “มูราเกะ (むらげ)” ซึ่งเป็นทีมช่างผู้เชี่ยวชาญที่ทำหน้าที่ควบคุมไฟและส่วนผสม ตลอดจนเวลาการตัดสินคุณภาพของ เคะระ (けら) ก่อนการทุบเตาและหลังการทุบเตา อีกทั้งยังเป็นทีมตัดสินคุณภาพ เคะระ ส่วนต่างๆ เพื่อการนำไปใช้ในส่วนต่างๆ ของดาบ การเติมส่วนผสมและโหมไฟขณะหลอม หลังจากสามวันสามคืน มูระเกะ ตรวจดูส่วนผสมและสีของ เคะระ เมื่อได้ที่ จึงกำหนดเวลาการทุบทาทาระ 

            จากนั้นเมื่อปล่อยให้เย็นลงดีแล้ว จะมีสภาพเหมือนสะเก็ดดาวตก มูระเกะ จะเริ่มตรวจสอบคุณภาพของ ทามะกะฮะเนะ ในก้อน คะเระ แล้วจัดลำดับเกรด ส่งให้แก่ผู้สั่งจอง หรือผู้ประมูล ว่ากันว่าส่วนที่ดีที่สุดราคาต่อกรัมสูงกว่าทองคำเสียอีก ช่างดาบชั้นเลิศเท่านั้นที่จะได้ครอบครอง (เหล็กทามาฮากาเนะที่มีคุณภาพสูง จะมีปริมาณคาร์บอนอยู่ประมาณ 1% - 1.5% ซึ่งข้อมูลปริมาณคาร์บอนในดาบญี่ปุ่นในอดีตอยู่ระหว่าง 0.5–0.7 %)

แหล่งอ้างอิง : http://www.ksky.ne.jp/~sumie99/steel.html

       2.  ใบรับรองการลงทะเบียนดาบปืนคืออะไร? (TOROKUSHO)

ใบรับรองการลงทะเบียนดาบปืน

            ในญี่ปุ่นตามบทบัญญัติของ "กฎหมายควบคุมอาวุธปืนและดาบ มาตรา 14" ปืนสมัยก่อน เช่น ปืนคาบศิลาที่มีคุณค่าเหมือนงานศิลป์หรือของโบราณ หรือดาบที่มีคุณค่าด้านศิลป์ได้รับการศึกษาจากแต่ละจังหวัด กำหนดให้ต้องขึ้นทะเบียนโดยคณะกรรมการ (เดิม คือ คณะกรรมการคุ้มครองทรัพย์สินทางวัฒนธรรม) ดาบญี่ปุ่นทั้งหมดที่ทำโดยวิธีการฝึกอบรมปกติต้องมี "ใบรับรองการลงทะเบียนดาบปืน"

            เมื่อคุณซื้อ (ครอบครอง) ดาบญี่ปุ่นเล่มใหม่ คุณจะได้รับใบรับรองการลงทะเบียนดาบปืนฟรี ผู้ซื้อดาบญี่ปุ่นได้รับอนุญาตตั้งแต่วันที่ซื้อและสามารถนำกลับบ้านได้ ในทางตรงกันข้าม ดาบญี่ปุ่นที่ไม่มีใบรับรองการจดทะเบียนละเมิด "กฎหมายอาวุธปืนและดาบ" (กฎหมายควบคุมการครอบครองอาวุธปืนและดาบ) และไม่สามารถครอบครองได้

            ดาบญี่ปุ่นในการออกหนังสือรับรองการจดทะเบียน หล่อหลอมและชุบแข็งตามธรรมเนียมแล้ว จะออกให้เฉพาะของมีค่าเท่านั้น คุณค่าไม่ได้อยู่ที่ราคา แต่อยู่ที่ว่ามันเป็นศิลป์เหมือนดาบญี่ปุ่นหรือไม่ กล่าวอีกนัยหนึ่งถ้าเป็นสนิมผิวเผินก็สามารถคืนสภาพเดิมได้โดยการลับคม แต่ถ้าดูว่าสนิมขึ้นที่แกนกลางจะไม่ออกใบรับรองการจดทะเบียน 

            อย่างไรก็ตาม โปรดทราบว่าคำจารึกของช่างตีดาบใน "ใบรับรองการลงทะเบียน" ในขณะนี้ไม่ใช่ข้อพิสูจน์ว่าเป็นของแท้ เนื่องจากเป็นคำจารึกที่ตัดก้านจริง (nakago) หากผ่าน จะออกใบรับรองการลงทะเบียนทันที โปรดเก็บไว้ในที่ปลอดภัยเพื่อไม่ให้สูญหาย คุณสามารถใช้หนังยางพันไว้รอบๆ ปลอกก็ได้ แต่ถ้าเป็นไปได้ ขอแนะนำให้เก็บแยกไว้ต่างหาก เช่น สมุดบัญชีเงินฝากและตราประทับ

ตัวอย่างใบจดทะเบียนแบบเก่า (Daimyo Torokusho ปี1951)

ขอขอบคุณ "คุณ Krit Vt" จากกลุ่มคนรักดาบซามูไร และกลุ่มประวัติศาสตร์ดาบญี่ปุ่น ที่แบ่งปันภาพและข้อมูลเกี่ยวกับ "Daimyo Torokusho ปี1951"

            นี่คือต้นฉบับ Torokusho (บัตรลงทะเบียน) สำหรับดาบคะตะนะ Yoshimichi บัตรนี้ได้รับการจดทะเบียนในปีโชวะที่ 26 (ค.ศ.1951) โดยมีความสำคัญเนื่องจากปี 1951 เป็นปีแรกที่ดาบได้รับการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในอดีตครอบครัวไดเมียวหลายครอบครัวได้ถูกรับเชิญให้ส่งดาบสะสมที่ครั้งหนึ่งเคยถือครองโดยตระกูลที่มีชื่อเสียง และเป็นดาบที่ถือครองโดยตระกูลที่มีชื่อเสียงเล่มแรกที่จดทะเบียนในญี่ปุ่น หมายเลขบัตร คือ 12111

ตัวอย่างใบจดทะเบียนแบบใหม่ (ปัจจุบัน)


       3. บทสรุป

            ในประเทศญี่ปุ่นเองก็มีดาบที่ไม่ขึ้นทะเบียนหรือผิดกฎหมาย ราคาจะไม่เเพง ผู้ขายมักอ้างว่าไม่มีใบรับรอง หรือใบรับของถูกสลักออก แต่ต้องมาดูรายละเอียดอย่างอื่นด้วย มักขายเร็ว ราคาไม่แพงในเว็บต่างๆ ขายชาวต่างชาติเป็นหลัก ด้วยเหตุนี้จึงเกิดสถาบันรับรองดาบ เพราะดาบไม่เพียงแต่มีคุณค่า แต่ต้องสามารถหาต้นสายที่มาได้  รวมไปถึงชุดแต่ง (Koshirae) ด้วย

            นอกจากนี้ตลาดดาบในญี่ปุ่น ล้วนมีกลวิธีมากมายสำหรับร้านค้า เช่น ดาบมือสอง, ดาบปลอม, ดาบผิดยุค, ดาบนำเข้า, ดาบทดสอบ, ดาบไม่ขึ้นทะเบียน, ดาบปลอมลายเซ็น หากไม่ใช่ร้านใหญ่ (ร้านใหญ่เขาไม่ยอมเอาชื่อเสียงมาแลกกับของปลอม) หรือไม่น่าเชื่อถือ มักจะขายเอากำไรอย่างเดียว ยิ่งหากคุณเป็นชาวต่างชาติ อ่านภาษาญี่ปุ่นไม่ออก แทบจะยากมากที่จะอ่านตัวอักษร 

            สำหรับนักสะสมดาบ ใบรับรองการลงทะเบียน นอกจากจะใช้ยืนยันว่าดาบเล่มนั้นมีค่าเป็นงานศิลป์แล้ว ยังสามารถใช้เป็นใบผ่านเข้าประเทศญี่ปุ่นได้อีกด้วย  ซึ่งใบรับรองการลงทะเบียนต้องเป็นของเล่มนั้นด้วย หมายถึง ข้อมูลในใบรับรองลงทะเบียนต้องตรงกับใบดาบของดาบเล่มนั้น หากข้อมูลไม่ตรงกัน เป็นไปได้ที่ใบรับรองฯ อาจไม่ใช่ของดาบเล่มนั้น เนื่องจากใบรับรองลงทะเบียนจะจดบันทึกรายละเอียดเท่าที่ปรากฏบนใบดาบ ณ ตอนนั้นเท่านั้น ซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะจดบันทึกรายละเอียดที่ไม่ปรากฏบนใบดาบ

            สำหรับดาบญี่ปุ่นที่นำเข้าอาจมีหรือไม่มี “ใบรับรองการลงทะเบียน” ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ซื้อได้ขอสำเนาใบรับรองการลงทะเบียนจากต้นทางหรือไม่ (ดาบนั้นจะมีคุณค่าหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่ใบรับรองการลงทะเบียน แต่อยู่ที่เนื้อแท้ของดาบเล่มนั้น ถึงจะมีใบรับรองฯ แต่ถ้าใบดาบไม่เข้าลักษณะเป็นงานศิลป์ ก็ต่างกับไม่มีใบรับรองฯ) เมื่อดาบถูกส่งออกไปต่างประเทศ “ต้นฉบับใบรับรองการลงทะเบียน” จะถูกเก็บไว้ที่ประเทศญี่ปุ่น ส่วน “สำเนาใบรับรองการลงทะเบียน” จะแนบมากับดาบ หากภายหลังมีการส่งดาบกลับไปยังประเทศญี่ปุ่น เพื่อบูรณะใบดาบ (การลับคมใบดาบ กรณีใบดาบขึ้นสนิม) หรือเพื่อชินซะ (ตรวจสอบใบดาบเพื่อขอใบรับรองเป็นดาบศิลป์) ดาบเล่มนั้นจะถูกตรวจสอบ โดยอ้างอิงจากข้อมูล “สำเนาใบรับรองการลงทะเบียน” หรือเอกสารอื่น เช่น Invoice & Packing list ตอนที่นำดาบเข้าประเทศ เป็นต้น ซึ่งการตรวจสอบอาจใช้เวลาประมาณ 1 – 2 เดือน (โดยมีค่าตรวจสอบประมาณ 6,300 เยน) เมื่อตรวจสอบว่าเป็นดาบญี่ปุ่นที่ส่งไปต่างประเทศจริง ดาบเล่มนั้นจะได้รับ “ใบรับรองการลงทะเบียนใหม่” (ทุกครั้งที่ส่งดาบกลับประเทศญี่ปุ่นจะได้รับการลงทะเบียนใหม่ทุกครั้ง และคุณไม่สามารถนำดาบอื่นนอกจากดาบญี่ปุ่นเข้าประเทศญี่ปุ่นได้ กล่าวคือ ดาบที่ไม่ใช่ดาบญี่ปุ่น หรือดาบญี่ปุ่นที่ตีขึ้นจากช่างต่างชาติ เช่น จีน, ใต้หวัน, เกาหลี, ยุโรป และอเมริกา ดังนั้นคุณไม่ควรนำดาบที่ไม่ใช่ดาบญี่ปุ่น เข้าญี่ปุ่นโดยไม่จำเป็น)

ตัวอย่าง คลิป-การทำดาบญี่ปุ่นโดยชาวตะวันตก 

แหล่งอ้างอิง :
https://www.touken-world.jp/tips/10014/
http://www7b.biglobe.ne.jp/~osaru/touroku.htm
https://www.tsuruginoya.com/infomation/faq

By Samurai Rapbitz
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่