JJNY : ติดเชื้อ 5,633 เสียชีวิต 45│ทุเรียนตกเกรด ขายคนไทยแพง│เมืองกรุงฯอ่วม ฝนถล่ม น้ำท่วม-รถติด│“ชัชชาติ” เมินถูกโจมตี

ยอดโควิด-19 วันนี้ ไทยติดเชื้อเพิ่ม 5,633 ราย เสียชีวิต 45 ราย
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/114022/
 
  
ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 รายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ล่าสุด วันนี้ พบมีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 5,633 ราย เสียชีวิตเพิ่มอีก 45 ราย กำลังรักษาอยู่ 60,883 ราย
วันนี้ (18 พ.ค.65) ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. เปิดเผยสถานการณ์ประจำวัน ว่า พบผู้ติดเชื้อโควิด รวม 5,633 ราย จำแนกเป็น
 
ผู้ป่วยจากในประเทศ 5,632 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 1 ราย ผู้ป่วยสะสม 2,165,175 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
 
หายป่วยกลับบ้าน 8,042 ราย หายป่วยสะสม 2,129,638 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 60,883 ราย เสียชีวิต 45 ราย
จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 1,160 ราย เฉลี่ยจังหวัดละ 15 ราย อัตราครองเตียง ร้อยละ 15.6
 

  
ทุเรียนตกเกรดขายคนไทยแพง ล้งคัดออกไม่ผ่านเกณฑ์ส่งจีน
https://www.prachachat.net/local-economy/news-933280

ลุยสำรวจแผงค้าเส้นทางทุเรียนตะวันออก พบทุเรียนตกเกรดในประเทศกลับขายในราคาทุเรียนเกรด A ส่งออกไปจีน ส่งผลคนไทยกินทุเรียนตกเกรดแพงเท่ากับคนจีนที่กินทุเรียนคุณภาพ เหตุล้งคัดออกไม่ผ่านมาตรฐานส่งออก ด้อยคุณภาพ ทุเรียนอ่อน ถูกนำมาเหมาขายส่งแบบยกเข่ง 60-80 บาทต่อ กก. แต่ราคาขายปลีกพุ่ง
 
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” ลงพื้นที่สำรวจตลาดทุเรียนจังหวัดจันทบุรี ซึ่งถือเป็นแหล่งปลูกและแหล่งค้าส่งทุเรียนใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พบว่า ตลาดขายส่งทุเรียนภายในจังหวัดค่อนข้างคึกคัก มีรถขนทุเรียนวิ่งเข้าออกตลอดเวลา ทุเรียนส่วนใหญ่ที่นำมาขายให้แผงตอนนี้เป็น “พันธุ์หมอนทอง” ขนาดใหญ่-เล็กไม่เท่ากัน คละไซซ์ และส่วนหนึ่งยังมีทุเรียนอ่อนผสมอยู่ด้วย ลักษณะของทุเรียนจากผิวภายนอกบางส่วนมีเพลี้ยขาวหรือเชื้อราดำปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก
 
จากการสอบถามพ่อค้าแม่ค้าเจ้าของแผงในตลาดผลไม้หลายรายให้ข้อมูลใกล้เคียงกันว่า ทุเรียนที่เข้ามาสู่ตลาดค้าส่งภายในประเทศทั้งหมดเป็นทุเรียนที่โรงคัดบรรจุหรือล้งที่ทำส่งออก “คัดทิ้ง” เพราะไม่ได้มาตรฐานส่งออก 3 เกรดคือ A B C โดยสินค้าส่งออกมาตรฐานกำหนดน้ำหนักไว้ที่ประมาณ 2-3 กก./ลูก
 
แต่ทุเรียนที่เข้ามาสู่ตลาดภายในประเทศมีขนาดลูกเล็ก-ใหญ่ไม่เท่ากัน และบางครั้งผิวภายนอกไม่สวย โดยราคารับซื้อทุเรียนที่เข้ามาในตลาดทุกวันมีการขึ้นราคารับซื้อไว้ แต่ราคาจริงจะตกลงกันเองตามคุณภาพของทุเรียนที่นำมาขาย ซึ่งแต่ละแผงมีคู่ค้าที่เคยค้าขายกันเป็นประจำอยู่แล้ว โดยผู้ที่นำมาขายมีทั้งชาวสวนโดยตรงและพ่อค้าคนกลางที่รวบรวมผลผลิตส่งให้ผู้ส่งออก
 
“ราคาเฉลี่ยที่ล้งส่งออกเปิดรับซื้อทุเรียนจากสวนหรือพ่อค้าคนกลางตอนนี้ประมาณ 110-120 บาท/กก. แต่ทุเรียนตกเกรดที่ถูกคัดทิ้งกลับถูกนำมาขายที่ราคาประมาณ 60-80 บาท/กก.ตามคุณภาพ เมื่อพ่อค้าแม่ค้าขายส่งซื้อทุเรียนมาแล้วจะแยกเป็นเข่งแล้วขายส่งต่อแบบยกเข่ง
ยกตัวอย่าง เข่งขนาดน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 65 กก. ราคาขายอยู่ที่ 90-100 บาท/กก. แต่เมื่อกระจายผลผลิตไปทั่วประเทศราคาขายจะเพิ่มเป็น 130-180 บาท/กก. หรือแพงกว่านี้แล้วแต่พื้นที่ เนื่องจากมีค่าขนส่งและการมีสต๊อกผลผลิตเก็บไว้นานก็ขาดทุนมากขึ้น
 
เพราะน้ำหนักทุเรียนจะหายไปเรื่อย ๆ โดยพ่อค้าแม่ค้าขายปลีกบางรายไปแกะเป็นพูสวย ๆ ขายพูเดียว 200 บาท หรือเท่ากับคนไทยกินทุเรียนตกเกรดแพงใกล้เคียงกับทุเรียนส่งออกไปจีน แต่คุณภาพกลับแตกต่างกันมาก”
 
นายสัญชัย ปุรณะชัยคีรี นายกสมาคมผู้ค้าและส่งออกผลไม้ไทย เจ้าของล้งดราก้อน เฟรช ฟรุท จ.จันทบุรี กล่าวว่า ตลาดทุเรียนในประเทศไทยกับตลาดต่างประเทศนั้น “ต่างกันราวฟ้ากับดิน” ผลผลิตคุณภาพจะถูกคัดส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศหรือตลาดจีนเป็นหลัก 99% ส่วนที่ไม่ได้คุณภาพทั้งทุเรียนอ่อน มีรา มีหนอน มีขนาดลูกใหญ่หรือเล็กเกินไปจะถูกคัดออกและส่วนนี้ก็จะถูกกระจายเข้าสู่ตลาดทุเรียนภายในประเทศ
 
“เรียกได้ว่าทุเรียนสวยส่งไปเมืองนอก ไม่สวยขายในไทย ตลาดในประเทศที่ขายผลผลิตคุณภาพมีเพียง 15% ส่วนอีก 85% คือทุเรียนที่ผู้ส่งออกไม่รับซื้อ ซึ่งผลไม่สวย เนื้อไม่ดี ลูกอ่อน พ่อค้าจะนำมารวม ๆกันแล้วส่งขาย เพราะคนไทยส่วนใหญ่สู้ราคาไม่ไหว ซึ่งราคาส่งออกช่วงพีคสูงถึง 250 บาท/กก.
ซึ่งตอนนี้ราคาส่งออกก็ปรับลงมาอยู่ที่ประมาณ 110บาทต่อกก. ขณะที่ทุเรียนที่ขายในประเทศจะเป็นทุเรียนเกรดต่ำ ราคาส่งแม่ค้าอยู่ที่ประมาณ 60-70 บาท/กก. ซึ่งราคามาถึงผู้บริโภคก็สูงกว่า 100 บาทต่อ ก.ก.” นายสัญชัยกล่าว
 
นายสัญชัย โกสัลส์วัฒนา นายกสมาคมผู้ผลิตทุเรียนไทย กล่าวถึงสถานการณ์ทุเรียนภาคตะวันออกปี 2565 ว่า ช่วงพีกสุดหลังวันที่ 20 พฤษภาคมไปแล้ว (ผลผลิตช่วงพีก 740,000 ตัน ส่งออกไปแล้ว 200,000 ตัน) ราคาทุเรียนส่งออกน่าจะยังคงทรงตัวอยู่ 110-120 บาท
 
จากปัจจัยหลักเรื่องมาตรการตรวจเข้ม สกัดทุเรียนอ่อนตอบโจทย์ตลาดจีนที่ได้บริโภคทุเรียนคุณภาพ แม้จะเลยวันที่กำหนดตัดทุเรียนแล้ว ราคายังคงอยู่ในระดับเลข 3 หลัก และความนิยมบริโภคทุเรียนไทยของตลาดจีน และรูปแบบการบริโภคของจีนอัพเกรดขึ้น
 
จีนรับซื้อทุเรียนทุกไซซ์ สามารถนำไปขายแยกเกรดตามกลุ่มลูกค้า ถ้าเป็นเกรดดีมากราคา (กล่องละ 6 กก.) 700-800 หยวน ลูกค้าจะแย่งกันซื้อครั้งละ 40-50 กล่อง หรือซื้อยกตู้ เปรียบเทียบกับเกรดพอทานได้กล่องละ 400-600 หยวน
 
ขณะที่ นายชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 (สวพ.6) กล่าวว่า ปัญหาทุเรียนอ่อนในรอบ 2 ปีที่ผ่านถือว่าน้อยลงมากเมื่อเทียบจากอดีต โดยเฉพาะตลาดส่งออกที่สามารถตรวจสอบและควบคุมได้บ้างในระดับหนึ่ง ขณะที่ตลาดภายในประเทศยังประสบปัญหานี้อยู่
  
“ฤดูกาลของทุเรียนมีเพียงปีละครั้ง ชาวสวนก็อยากขายแพงเพื่อให้ได้ราคาที่ดีที่สุด ยิ่งตลาดจีนรับไม่อั้นและเป็นตลาดใหญ่ คนไทยต้องรอจนกว่าจะส่งออกไม่ได้ถึงจะได้กินของถูกของดี แต่ถ้ามีเงินสามารถซื้อผลผลิตคุณภาพได้ก็ สามารถกินของดีเหมือนคนจีนได้เหมือนกัน” นายชลธีกล่าว
  

  
ชีวิตดีดีไม่ลงตัว! เมืองกรุงฯอ่วม ฝนถล่ม น้ำท่วม-รถติด ช้ำหนักไม่มีรถกลับบ้าน
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_7055263

ชีวิตดีๆไม่ลงตัว! เมืองกรุงฯอ่วม ฝนถล่ม น้ำท่วม-รถติด ช้ำหนักไม่มีรถกลับบ้าน เขตหลักสี่ ปริมาณฝนสูงสุด
 
เมื่อเวลา 23.30 น. วันที่ 17 พ.ค.65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่เวลา 18.00 น. มีฝนตกปกคลุมพื้นที่ กทม. ทั้งใน เขตหนองแขม บางแค บางกอกน้อย  สาทร บางรัก ปทุมวัน ราชเทวี ดินแดง ห้วยขวาง วังทองหลาง บางกะปิ บึงกุ่ม คันนายาว สะพานสูง ประเวศ บางนา หลักสี่ จตุจักร ดอนเมือง สายไหม เคลื่อนตัวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
 
แนวโน้มคงที่โดยทั่วไป เคลื่อนตัวทิศตะวันออก แนวโน้มคงที่/ปริมาณฝนสูงสุด ที่เขตหลักสี่ 116.5 มม.
  
จากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้กรุงเทพ เกิดปัญหารถติดหนัก น้ำท่วมขังในถนนหลายสายสำคัญ อาทิเช่น ถ.รัชดาภิเษก ที่มีน้ำท่วมขังเป็นระยะ ถ.ลาดพร้าว และ ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ เป็นต้น ทำให้ประชาชนใช้เวลาในการเดินทางหลายชั่วโมงในช่วงเย็นถึงค่ำ บางส่วนเจอปัญหาไม่มีรถโดยสารเดินทางกลับบ้าน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่